ความรู้ปัจจุบัน ฤา จะเทียบชั้นกับวันวาน
Ancient Wisdom V/S Digital Technology
คำถามง่ายๆ ...... พันปีที่แล้วผู้สร้างปราสาทภูเพ็ก บนยอดภูเขา +520 เมตร ในดินแดนหนองหารหลวง (ปัจจุบันคือจังหวัดสกลนคร) ใช้วิธีอะไรออกแบบและก่อสร้างให้หันหน้าตรง "ทิศตะวันออกแท้" ชนิดที่เรียกว่า "เป๊ะเว่อร์" ทั้งๆที่บรรพชนเหล่านั้นมีเพียงอุปกรณ์พื้นบ้านธรรมดา เช่น มีด พร้า จอบ เสียม ฯลฯ
ยุคปัจจุบันเราๆท่านๆใช้ Smartphone Application GPS ไปตรวจพิสูจน์พบว่าปราสาทหลังนี้ทำมุมกวาดจากทิศเหนือ 90 องศา (azimuth 90) หมายถึง "ทิศตะวันออกแท้" (due east) ยืนยันว่าปราสาทหลังนี้หันหน้าตรงกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "วิษุวัต" บรรพชนเมื่อพันปีที่แล้ว ....... มีทีเด็ดอะไร?
บทความนี้จะพิสูจน์โดยนั่ง time machine ย้อนเวลากลับไปพันปี ใช้อุปกรณ์ง่ายๆไม่เอาเปรียบท่านบรรพชน ใช้เพียงไม้แท่งเดียวบวกกับองค์ความรู้ดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์โบราณ ...... ดูซิว่าภูมิปัญญาโบราณกับมนุษย์ไฮเท็คยุคไทยก้มหน้าใครจะแน่กว่ากัน หรือจะเข้าตำรา ...... "ความรู้ปัจจุบัน ฤา จะเทียบชั้นกับวันวาน"
ปราสาทภูเพ็กหันหน้าตรงทิศตะวันออกแท้เพื่อสะท้อนปรากฏการณ์
ดาราศาสตร์ "วิษุวัต" (equinox) ดวงอาทิตย์ตรงกับกึ่งกลางประตู
ปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
ก่อนอื่นลองมาดูข้อมูลปัจจุบันว่าปราสาทภูเพ็กมีอะไรในเชิงคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์
ปราสาทหลังนี้สร้างในยุคขอมเรืองอำนาจตั้งอยู่บนยอดภูเขาที่ชื่อ "ภูเพ็ก" สูงจากระดับน้ำทะเลกลาง +520 เมตร ที่บ้านภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม สกลนคร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากรเมื่อ ปี พ.ศ.2478 ตัวปราสาทเป็นหินทรายทั้งหมดแต่สร้างไม่เสร็จและถูกทิ้งร้างมานานร่วมพันปี ท่านที่สนใจรายละเอียดเชิงเรื่องราวสามารถอ่านได้ในบทความของ website www.yclsakhon.com เดียวกันนี้ อนึ่ง ผมเริ่มศึกษาข้อมูลดาราศาสตร์ที่ปราสาทหลังนี้ตั้งแต่ปี 2544 และยังคงพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน
ปราสาทภูเพ็กตั้งอยู่บนยอดเขา +520 เมตร จากระดับน้ำทะเล
เป็นปราสาทขอมที่อยู่ในทำเลสูงที่สุดในประเทศไทย แต่ก่อสร้างได้เพียง
ฐานรากและบางส่วนของห้องปรางค์
จากการตรวจสอบด้วยภาพถ่ายยืนยันว่าปราสาทหลังนี้หันหน้าเข้า "ทิศตะวันออกแท้"
เพื่อให้สอดรับกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "วิษุวัต" เป็นวันสำคัญทางความเชื่อ
ดวงอาทิตย์ยามเช้าตรู่ทำมุมตรงกับกลางประตู
ตรวจสอบด้วย Application GPS Smartphone พบว่าตรงกับพิกัดดาราศาสตร์
ณ มุมกวาด 90 องศา (azimuth 90) หรือทิศตะวันออกแท้ (due east)
ทดสอบเครื่อมือ GPS และ เข็มทิศแม่เหล็ก ยืนยันว่าปราสาท
หันด้านข้างไปที่ทิศเหนือแท้ 00.00 องศา
ร่องรอยขีด Equinox Line ที่พื้นหินยังคงปรากฏเห็นชัด
ท่อโสมสูตร หรือท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ด้านทิศเหนือก็ตรงกับพิกัด true north
Application GPS ยืนยันพิกัด "ทิศเหนือแท้" ที่มุม 00.00 องศา
เข็มทิศแม่เหล็กก็ยืนยันตรงกัน ณ ทิศเหนือ
คราวนี้ ...... มาถึงคำถามบรรพชนเมื่อพันปีที่แล้วใช้ความรู้อะไร?
คิดคำตอบอยู่นานหลายปีได้ค้นคว้าเอกสารหลายแหล่ง ที่สุดสรุปได้ว่าท่านเหล่านั้นใช้วิธีการดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า "Shadow Plot" หมายถึงการใช้เงาดวงอาทิตย์เป็นเครื่องมือในการคำนวณค้นหาตำแหน่งทิศตะวันออก - ตะวันตก เหนือ - ใต้
คำถามต่อมา "ทำได้จริงหรือ" ...... ต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง ทำกับมือตัวเอง ณ สถานที่จริง เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2550 (1 Feb 2007) ใช้อุปกรณ์พื้นบ้านราคาห้าสิบบาทมีทอนอย่างที่เห็นในภาพ
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 ( 1 Feb 2007) ไปที่ปราสาทภูเพ็กด้วยอุปกรณ์
ที่ไม่ต่างกับพันปีที่แล้ว คือแผ่นกระดาษและตะปูเพื่อทำ shadow plot
ปฏิบัติการแบบ one man show นั่งพักหลบแดดทุกๆ 10 นาที
Plot เงาดวงอาทิตย์ทุกๆ 10 นาที ตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงบ่าย
ทำเครื่องหมาย ณ จุดตัดระหว่างเงาดวงอาทิตย์กับวงกลมและลากเส้นตรง
จะได้แนว E - W
ใช้วิชาเรขาคณิตระดับมัธยมหาเส้นแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับ E - W
ในที่สุดด้วยหลักดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ก็สามารถค้นหา
ตำแหน่งทิศ ตะวันออก - ตะวันตก เหนือ - ใต้ ได้ภายใน 6 ชั่วโมง
หลายวันต่อมามีคนมาช่วยลากเส้นเชือกจากพิกัด ตะวันออก - ตะวันตก เข้าหาตัวประตู
พบว่าตัวประตูหันหน้าตรงกับทิศตะวันออกแท้ที่มุมกวาด 90 องศา
สอบเทียบกับ center-line ของประตู
ยืนยันว่า center-line อยู่ในแนว East - west
มีการทำซ้ำหลายครั้งด้วยอุปกรณ์คล้ายๆกัน ผลก็ออกมาเหมือนกัน
สำรวจการวางผังก่อสร้างปราสาทลูกที่ภูเพ็ก
ตำแหน่งที่ตั้งปราสาทลูก ณ ความสูง +317 m จากระดับน้ำทะเล
วางหินเป็นแถวคู่ในแนว N - S
การวางแนวรากฐานระเบียงคต? ที่ถูกต้องตามหลักดาราศาสตร์
หินแท่งสี่เหลี่ยมถูกวางเป็นมุมฉากชี้ไปยังทิศเหนือและทิศตะวันตกอย่างแม่นยำ
การวางแนวหินที่ถูกต้องตามหลักดาราศาสตร์
ต้องใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ (เข็มทิศ และ GPS) ทำการตรวจสอบ ...... แต่พันปีที่แล้วเครื่อมือเหล่านี้ยังไม่เกิด ท่านบรรพชนเหล่านั้นใช้องค์ความรู้อะไร?
รายละเอียดวิธีการ shadow plot
การทำ shadow plot ทำได้ทุกวันถ้าท้องฟ้าแจ่มใส
ลักษณะการเคลื่อนตัวของดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์
Shadow Plot ในฤดูหนาว ช่วงกลางคืนยาวกว่ากลางวัน
เอาแท่งไม้ตรงๆปักลงไปให้ตั้งฉากกับพื้น และเริ่ม Plot เงาดวงอาทิตย์ทุกๆ 10 นาที
ตั้งแต่เช้าจนถึงบ่ายแก่ๆ จะได้เส้นโค้งๆตามภาพ
สร้างวงกลมโดยใช้จุดที่ตั้งไม้เป็นศูนย์กลาง ทำเครื่องหมาย ณ จุดที่ตัดกัน
ลากเส้นตรงระหว่างสองจุด จะได้แนวทิศตะวันออก - ตะวันตก
และเส้นตั้งฉากคือ เหนือ - ใต้
ออกแบบฐานราก (floor-plan layout) ของตัวปราสาทให้สอดคล้องกับทิศทั้งสี่
เริ่มก่อสร้างตัวปราสาทตามกรอบฐานราก
Shadow Plot ในฤดูร้อน กลางวันยาวกว่ากลางคืน
ทำ shadow plot เหมือนในฤดูหนาว แต่เงาดวงอาทิตย์อยู่คนละข้าง
Shadow Plot ในช่วงปรากฏการณ์ "วิษุวัต" กลางวันเท่ากับกลางคืน
เงาดวงอาทิตย์เป็นเส้นตรงในแนวทิศ ตะวันออก - ตะวันตก ตั้งแต่เช้าจนค่ำ
จึงง่ายกว่าฤดูหนาวและฤดูร้อน ลากเส้นตั้งฉากก็ได้แนว เหนือ - ใต้
ทดสอบ Shadow Plot กับโบราณสถานอื่นๆ
เมืองโบราณเชียงใหม่
เดือนมีนาคม ปี 2559 (March 2016) บรรยายให้สมาคมมัคคุเทศก์เชียงใหม่ ในหัวข้อ "ดาราศาสตร์กับการท่องเที่ยว" และลงพื้นที่ ประตูท่าแพ ทำ Shadow Plot พิสูจน์ว่าตัวเมืองเชียงใหม่โบราณออกแบบเหมือน Angkor Thom ที่กัมพูชา ดังนั้นเมื่อถึงปรากฏการณ์ "วิษุวัต" 21 มีนาคม และ 23 กันยายน จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นกลางประตูท่าแพ
บรรยายภาคทฤษฏีแก่สมาชิกสมาคมมัคคุเทศก์เชียงใหม่
ลงพื้นที่ประตูท่าแพ ใช้อุปกรณ์ "ไม้แท่งเดียว"
ทำ Shadow Plot ได้แนวทิศ East - West
และสุดท้ายก็ได้ครบทั้ง East - west and North - South
ถ่ายภาพร่วมกัน
ภาพปรากฏการณ์ "วิษุวัต" ที่ประตูท่าแพ
แผนผังเมืองโบราณเชียงใหม่เหมือน Angkor Thom ที่กัมพูชา
เมืองโบราณโคราช ที่ประตูชุมพล
เดือนมีนาคม ปี 2563 เป็นวิทยากรบรรยาหัวข้อ "ดาราศาสตร์กับการท่องเที่ยว" ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏโคราช และลงพื้นที่ "ประตูชุมพล" หน้าอนุเสาวรีย์คุณย่าโม เพื่อทำ Shadow Plot
จากผลการทำ Shadow Plot ได้แนวทิศ East - West and North - South
อธิบายผลการทำ Shadow Plot ว่าประตูชุมพลตรงกับดวงอาทิตย์ปรากฏการณ์ "วิษุวัต" (Equinox)
ถ่ายภาพร่วมกันกับผู้เข้าอบรม
ภาพปรากฏการณ์วิษุวัตที่ประตูชุมพล
ตรงกับวันแห่งชัยชนะของย่าโม 23 มีนาคม
เมืองโคราชโบราณถูกออกแบบเหมือน Angkor Thom สอดคล้องกับ
ทิศ East - West and North - South
สรุป
การวางผังปราสาทให้ตรงกับทิศทั้งสี่ โดยใช้วิธี Shadow Plot น่าจะมีความเป็นไปได้ในเชิงดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ยุคโบราณ เพราะใช้เวลาเพียงวันเดียวบวกกับอุปกรณ์ธรรมดาๆแต่มีความแม่นยำสูง
อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีอธิบายว่าบรรพชนในยุคดังกล่าวใช้วิธีเช่นนี้จริงหรือไม่ ....... Shadow Plot จึงเป็นทฤษฏีที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดด้วยเหตุผลเชิงตรรกะอ้างอิงจากผลงานการก่อสร้างตัวเมืองและปราสาทใหญ่โตที่ผู้สร้างต้องมีความรู้ด้านดาราศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์