Biofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
ทางเลือกใหม่ของเกษตรกรยุคดิจิตอล และเกษตรกรรุ่นเก่าที่ยังมีไฟแรง
ความเป็นมา
ปี 2521 - 2522 และ 2539 ได้รับทุนจากรัฐบาลอิสราเอลไปเข้าอบรมหลักสูตร "การพัฒนาชุมชน และการชลประทานระบบน้ำหยด" ระหว่างนั้นได้เห็นวิธีการเลี้ยงปลาระบบปิดในทะเลทรายเพื่อป้อนตลาดในชื่อ "ปลานักบุญเปรโต" (St.Peter'sFish) เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกที่นับถือคริตส์เพราะมีที่มาจากเรื่องราวของพระเยซูและนักบุญเปรโตในพระคำภีร์ไบเบิ้ล ต่อมาทราบว่าปลาดังกล่าวคือ "Tilapia" คนไทยรู้จักดีในชื่อ "ปลานิล" ตอนนั้นยังไม่ทราบว่าระบบฟาร์มปลาใช้เทคโนโลยีอะไร มาทราบภายหลังว่านั่นคือ Biofloc Farming
ข้อมูลนี้คาใจมาตลอดหลายปีแต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นคุยกับใคร ถึงปี 2559 มีการจัดตั้งบริษัทประชารัฐสามัคคีสกลนครฯและได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารจึงนำเสนอแนวคิดต่ออาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.ราชภัฏสกลนคร และเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณกลุ่มจังหวัด "กลุ่มสนุก" (สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร) โครงการต้นแบบเริ่มต้นเมื่อตุลาคม 2560 และพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน
ได้เห็นการเลี้ยงปลาใรทะเลทรายที่ประเทศอิสราเอลเมื่อปี 2521-2522 และ 2539 จึงเป็นที่มาของแนวคิดฟาร์มปลาระบบปิดแบบ Biofloc
ทำไมจึงเอาระบบ Biofloc มาเผยแพร่
การเลี้ยงปลาที่เราๆท่านๆเห็นมาตลอดหลายสิบปีก็คือ "บ่อดิน และกระชัง" แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งก็ต้องเผชิญกับปัญหา เช่น กระชังเสียหายจากระดับแม่น้ำไม่คงที่ทำให้ตลิ่งพังลงมาทับกระชัง ปลาตายเพราะน๊อกน้ำเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำกระทันหันดังตัวอย่างที่แม่น้ำโขง และปัญหา "พยาธิใบไม้ในตับ" อันเป็นสาเหตุโรคมะเร็งท่อน้ำดีของชาวอีสานจำนวนมากเพราะเขาเหล่านั้นนิยมกินปลาดิบๆสุกๆในลักษณะลาบก้อยซอยแซ่ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีเลี้ยงปลาระบบปิดแบบ Biofloc ที่ไม่มีการขุดบ่อดิน ไม่ต้องมีกระชังในแม่น้ำ และสามารถตัดวงจรพยาธิใบไม้ในตับได้อย่างสิ้นเชิง
ปัญหาใหญ่ของการเลี้ยงปลาในกระชังและในบ่อดิน
วงจรของพยาธิใบไม้ในตับเริ่มต้นที่ "สัตว์เลืดอุ่น เช่น มนุษย์ และวัวควาย" อุจาระที่มีใข่พยาธิปนเปือนลงไปในแหล่งน้ำ ตัวอ่อนพยาธิออกจากใข่และเข้าไปอยู่ที่หอย ออกจากหอยไปอยู่ที่ปลา คนก็กินปลาและเป็นโรคพยาธิเป็นวงจรที่ไม่จบไม่สิ้น ระบบ Biofloc สามารถตัดวงจรเหล่านี้ได้อย่างสิ้นเชิง
ฟาร์มเลี้ยงปลาระบบปิดแบบ Biofloc คืออะไร
ถาม รูปร่างหน้าตาของระบบ Biofloc เป็นอย่างไร
ตอบ เป็นการเลี้ยงปลาระบบปิดในภาชนะบรรจุน้ำขนาดต่างๆตั้งแต่ 1,000 - 100,000 ลิตร
ถาม ทำไมจึงเรียกชื่อว่า Biofloc
ตอบ Biofloc เป็นศัพท์ใช้เรียกกลุ่มจุลินทรีย์ (group of microganism) ที่อยู่ในน้ำและสามารถย่อยสลายของเสียที่เกิดจากปลาให้แปรสภาพจาก "แอมโมเนีย" ซึ่งเป็นพิษต่อปลาให้กลายเป็นก๊าซไนโตรงเจนระเหยทิ้งไปในอากาศ ทำให้น้ำมีคุณภาพดีอย่างต่อเนื่องพูดง่ายๆว่า Biofloc คือ "บ้านที่ดีของปลา"
ตัวอย่างรูปร่างหน้าตาของจุลินทรีย์ (Microorganism) ที่อยู่ใน Biofloc มีทั้งแพลงก์ตอนชนิดที่เป็นพืช (Phytoplankton) และแพงก์ตอนชนิดที่เป็นสัตว์ (Zooplankton) รวมทั้งสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วอีกมากมายหลายประเภท จุลินทรีย์เหล่านี้จะย่อยสลายของเสียที่เกิดจากปลาได้แก่สารแอมโมเนียให้แปรสภาพเป็นก๊าซในโตรเจนระเหยไปในอากาศ ขณะเดียวกันแพลงก์ตอนเหล่านี้มีโปรตีนสูงสามารถใช้เป็นอาหารเสริมของปลาได้อย่างดี
วิธีการสร้างตะกอน Biofloc
ตะกอน Biofloc เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วที่เรียกว่า "จุลินทรีย์" นานาชนิดมารวมตัวกัน เช่น แพลงก์ตอนพืช (phytoplankton) แพลงก์ตอนสัตว์ (zooplankton) และสรรพสิ่งอื่นๆอีกมากมาย เมื่อจับตัวกันมากๆก็กลายเป็น "ก้อนตะกอน" มองเห็นด้วยตาเปล่าเรียกว่า "ตะกอน Biofloc" ถ้าเอาไปใส่ในภาชนะ Imhoff Cone จะเห็นได้ชัดเจน ตะกอนเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นพนักงานกำจัดของเสียที่เกิดจากปลาได้แก่ "สารแอมโมเนีย" ให้สลายตัวเป็น "ก๊าซไนโตรเจน" ระเหยไปในอากาศ ขณะเดียวกันตะกอน Biofloc มีโปรตีนสูงมากสามารถเป็นอาหารของปลาชนิดกินพืช
จุดเด่นของระบบ Biofloc คืออะไร
1.เป็นการผลิตปลา premium grade และ food safety ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่ามาจากแหล่งผลิตที่ไหน รุ่นไหน รูปร่างหน้าตาของแหล่งผลิตสะอาดปลอดภัยจริงหรือไม่
2.เลี้ยงปลาได้หลากหลายชนิดตามความต้องการของตลาด
3.ผู้ประกอบการสามารถเลือกขนาดการผลิตได้ตั้งแต่ภาชนะขนาดเล็ก 1,000 ลิตร จนถึงขนาดใหญ่ 100,000 ลิตร
4.ใช้เนื้อที่น้อยและประหยัดน้ำ มีความเสี่ยงต่ำมากต่อปัญหาน้ำท่วม ฝนแล้ง และโจรกรรม
5. ช่วยลดต้นทุนอาหารปลาเพราะตะกอน Biofloc เป็นอาหารเสริมที่มีโปรตีนสูง
6. เป็นการทำฟาร์มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับหลักการ BCG Model ประกอบด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio-Economy) เศรษฐกิจหมุมเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)
ฟาร์มปลาระบบ Biofloc สอดคล้องกับ BCG Model ตามนโยบายรัฐบาล
จุดอ่อนสำคัญที่ต้องแก้ไขของระบบ Biofloc คืออะไร
การเลี้ยงปลาระบบนี้จำเป็นต้องมีไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ air pump เติมอากาศลงในน้ำและกวนให้ตะกอน Biofloc เคลื่อนไหวตลอดเวลา หากไฟฟ้าดับปลาจะขาดอากาศและตะกอน Biofloc นอนก้นกลายเป็นของเสียและเป็นพิษต่อปลา
ด้วยเทคโนโลยีระบบ Digital เราสามารถติดตั้งอุปกรณ์สำรองไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ เมื่อไฟฟ้าดับ Inverter จะสั่งการไปที่ Batteries ให้จ่ายไฟฟ้าเข้า Air Pump อย่างรวดเร็วแค่กระพริบตา เมื่อไฟฟ้ากลับมาตามปกติ Inverter จะทำหน้าที่ Recharge Batteries (Deep Cycle Batteries) ให้เต็มตลอดเวลา ขณะเดียวกันก็ยังมี option เป็นระบบ Hybrid กับ Solar Cells ทั้งหมดนี้สามารถตรวจสอบผ่านสัญญาณ Internet ผ่าน Smartphone เพื่อให้ทราบการทำงานอย่าง Real Time ไฟฟ้าดับจึงไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป
ผังวงจรระบบสำรองไฟฟ้าอัตโนมัติประกอบด้วย Inverter, Deep Cycle Batteries 27 Volt, Air Pressure Sensor, Solar Cells เชื่อมโยงกับ Internet สามารถติดตามผลแบบ Real Time ผ่าน application LINE ใน Smartphone
เมื่อเกิดไฟฟ้าดับจะมีการแจ้งเตือนเข้ามายัง Smartphone ผ่าน Application LINE และรายงานให้ทราบว่าระบบไฟฟ้าสำรองกำลังทำงาน
ผังแสดง Air Pressure (ใช้หน่วยวัด MPa Mega Pascal) ที่เกิดจาก Air Pump สามารถเปิดดูได้แบบ Real Time ทาง Application LINE ผ่าน Smartphone
การลงทุนจะใช้เงินเท่าไหร่
เป็นคำถามยอดฮิตของผู้สนใจ ภาควิชาประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.ราชภัฏสกลนครจึงสร้างต้นแบบและเก็บข้อมูลอย่างละเอียดทำให้สามารถออกแบบโมเดลการเลี้ยงปลานิล Premium Grade เชิงพาณิชย์ ดังนี้
1.ติดตั้งบ่อเลี้ยงปลาระบบปิด 1 ยูนิต ประกอบด้วย ภาชนะบรรจุน้ำได้ประมาณ 3,000 ลิตร จำนวน 12 ใบ ใช้พื้นที่ประมาณ 300 ตารางเมตร แนะนำให้อยู่ภายในโรงเรือนจะสะดวกต่อการจัดการและดูแลรักษา
ติดตั้งท่อน้ำเข้าและท่อระบายน้ำที่ก้นบ่อ
รูปร่างหน้าตาของถังเลี้ยงปลาขนาด 3,000 ลิตร
รูปร่างหน้าตาของถังเลี้ยงปลาแบบ Biofloc ต้องเป็นวัสดุที่สะอาด คงทน และบำรุงรักษาง่าย
ใส่น้ำประมาณ 60 ซม ของความสูงของถัง ให้เหลือขอบเหนือน้ำ 25 ซม
2.ระบบ Air Pump และระบบสำรองไฟฟ้าอัตโนมัติ ระบบสูบน้ำระบายน้ำ และเครื่องให้อาหารปลาแบบอัตโนมัติ
วิเคราะห์ต้นทุน กำไร การเลี้ยงปลานิล
ต้นทุนที่เป็น Fixed Cost (ลงทุนครั้งเดียว)
ใช้เงินทั้งสิ้น 178,100 ต่อ 1 ยูนิต อุปกรณ์เหล่านี้มีอายุใช้งานนานหลายปี ถ้าคิดเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อการเลี้ยงปลานิล 1 รุ่น (5 เดือน) ตกเป็นค่าใช้จ่าย 7,450 บาท
ต้นทุนที่เป็นค่าใช้จ่ายแปรผัน (Variable Cost)
เป็นค่าพันธุ์ปลา (อัตราความหนาแน่น 70 ตัว ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ทั้งหมดใช้ปลา 2,520 ตัว) อาหารปลา ไฟฟ้า ค่าแรง และเบ็ดเตล็ด (กากน้ำตาลโมลาด และผง Zeolite สำหรับทำให้เกิดตะกอน Biofloc) เป็นเงินรุ่นละ 40,760 บาท
อาหารเป็นต้นทุนที่มีส่วนแบ่งถึง 55%
ดังนั้น การบริหารอัตราการแลกเปลี่ยนอาหาร (Feed Conversion Rate: FCR) จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อต้นทุกการผลิต หนึ่งในวิธีการก็คือ "ให้กินครั้งละน้อยๆ" โดยคำนวณปริมาณอาหารเท่ากับ 10% ของน้ำหนักปลา และแบ่งออกเป็น 10 ส่วน /วัน ดังตัวอย่าง ปริมาณปลา 70 ตัว ต่อ 1 บ่อ เฉลี่ยน้ำหนักตัวละ 200 กรัม เท่ากับน้ำหนักทั้งหมด 14,000 กรัม หรือ 14 กิโลกรัม ต้องให้อาหาร 10% ของน้ำหนัก เท่ากับ 1.4 กิโลกรัม แบ่งออกเป็น 10 ส่วนๆละ 0.14 กิโลกรัม หรือ 140 กรัม จะเห็นได้ว่าวิธีการนี้สอดคล้องกับการใช้เครื่องให้อาหารอัตโนมัติ (automatic feeder) ที่สามารถตั้งเวลาและปริมาณอาหารอย่างแม่นยำ
คำนวณต้นทุน กำไร ต่อการเลี้ยงปลานิล 1 รุ่น (5 เดือน)
ถ้าโครงการนี้ได้รับการสนับสนับสนุนจากโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล ในเงื่อนไขอุดหนุนต้นทุนคงที่ (Investment Cost หรือ Fixed Cost) 50% แต่ไม่เกินรายละ 150,000 บาท เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ระยะปลอดหนี้ 2 ปี จะช่วยให้เกษตรตั้งตัวได้เร็วขึ้น
วิเคราะห์ต้นทุน กำไร การเลี้ยงปลาดุกระบบ Biofloc
อีกไม่นานจะมีข้อมูลรายละเอียดสำหรับการเลี้ยงปลาดุก (เริ่มเลี้ยง 10 กรกฏาคม 2563) รออีกนิดครับ จะ update
ปลาดุกเป็นปลาอีกหนึ่งชนิดที่ตลาดให้ความนิยม อีกไม่เกิน 5 เดือน จะมีข้อมูลรายละเอียดให้ทราบ
สรุป
การเลี้ยงปลาระบบปิดแบบ Biofloc เป็นมิติใหม่ของการผลิตอาหารคุณภาพสูงและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นการเกษตรในมิติ Agriculture 4.0 ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มอบให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเป็น center of agritech and innovation
PoiwerPoint Presentation of Biofloc