The Cosmic Code of Borobudur
รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
พุทธสถานใหญ่ที่สุดในโลกสร้างเมื่อพันปีที่แล้วราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในยุคของราชวงศ์ไสเร็นทรา (Sailendra) เมืองยอกยาการ์ต้า (Yogyakarta) เกาะชวา อินโดนีเซีย เมืองนี้เป็น "อโยธยา" แห่งที่สองรองมาจากอโยธยาบ้านเกิดของพระรามริมแม่น้ำสารายุ ประเทศอินเดีย ส่วนอโยธยาแห่งที่สามก็คือ "พระนครศรีอยุธยา" ประเทศไทย อนึ่ง ในที่นี้ผมจะขอกล่าวถึงผลการค้นคว้าเฉพาะเรื่องราว "รหัสจักรวาล" ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อตามสไตล์ของเว้ปไซด์ yclsakhon ส่วนข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และอื่นๆทุกท่านสามารถอ่านจาก Google ได้ตามอัธยาศัย
รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
อโยธยา ไม่มีวันตาย (Ayodhya Never Die) คำว่า "อยุธ" ภาษาสันสกฤหมายถึง "ไม่มีใครเอาชนะได้" เมืองอโยธยามีสามแห่ง คือ อโยธยาบ้านเกิดพระราม ประเทศอินเดีย ยอกยาการ์ต้า เกาะชวา อินโดนีเซีย และพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
รหัสจักรวาล คืออะไร
เราๆท่านๆที่ศึกษาเรื่องราวของมนุษยชาติตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงอารยธรรมแห่งเมโสโปเตเมีย อาจจะแปลกใจว่าทำไมบรรพชนเหล่านั้นหมกมุ่นอยู่กับดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดวงดาวบนท้องฟ้าอย่างมากมาย สิ่งก่อสร้างจำนวนมากถูกกำหนดให้สอดคล้องกับปรากฏการณ์สำคัญของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ พวกเขารู้จักตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวัน "วิษุวัต" (equinox) ที่ทำให้กลางวันเท่ากับกลางคืน และปรากฏการณ์ "ครีษมายัน" ( summer solstice) กลางวันยาวที่สุด รวมทั้งปรากฏการณ์ "เหมายัน" (winter solstice) กลางคืนยาวที่สุด โบราณสถานที่มีชื่อเสียงจำนวนมากของโลกถูกสร้างให้สอดคล้องกับปรากฏการณ์เหล่านี้ มิติแห่งกาลเวลา (dimension of time) ถูกพัฒนาขึ้นมาจากตำแหน่งดวงอาทิตย์และตำแหน่งดวงจันทร์ในแต่ละฤดูกาล ที่สุดของที่สุดก็กลายมาเป็น "ปฏิทินสุริยคติและจันทรคติ" ที่เราๆท่านๆใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก
ขณะเดียวกันมนุษยชาติเอาปรากฏการณ์เหล่านี้มาผูกกับความเชื่อและความศิริมงคลทำให้เกิดวิชา "โหราศาสตร์" (astrology) ชาวสุเมเรี่ยนในดินแดนเมโสโปเตเมียสร้างคณิตศาสตร์ฐานหกสิบ (sexagesimal system) และเรื่องราวของ "จักรราศี" (12 zodiacs) โดยใช้ตำแหน่งดวงอาทิตย์และกลุ่มดาวฤกษ์เป็นตัวชี้วัดโดยแบ่งท้องฟ้าออกเป็น 12 ส่วนๆละ 30 องศา (12 x 30 = 360) เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนไป 30 องศา กลุ่มดาวฤกษ์ฉากหลังก็เปลี่ยนไปเมื่อครบทั้ง 12 กลุ่ม ก็กลับมาที่เดิมและเริ่มต้นใหม่ ทำนองเดียวกันการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ก็ถูกกำหนดให้เป็น "นักษัตร" และใช้ในการกำหนดวันสำคัญทางศาสนาต่างๆ ดังนั้นจึงพูดได้ว่า "ดาราศาสตร์อยู่ในลมหายใจของมนุษยชาติ" หรืออีกนัยหนึ่งนั่นคือ "รหัสจักวาล" (The Cosmic Code) ที่แฝงอยู่ในวิถีชีวิตของมวลมนุษย์
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยมุมเอียงราว 23.5 องศา ทำให้เกิดฤดูกาลต่างอันเป็นผลจาก "มุมตกกระทบของแสงอาทิตย์" ที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ทำให้เกิดภาพการเคลื่อนตัวที่ขอบท้องฟ้า บรรพชนก่อนประวัติศาสตร์เฝ้ามองปรากฏการณ์นี้ด้วยความฉงนและสงสัยว่าทำไมดวงอาทิตย์เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องทุกๆวัน
การเฝ้าสังเกตอย่างต่อเนื่องหลายปีทำให้พบว่าการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์มีความสัมพันธ์กับภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป
เอาก้อนหินมาวางให้ตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในแต่ละการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ นี่คือ "สุริยะปฏิทินฉบับแรกของโลก"
พัฒนาขึ้นมาเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่และมีรูปทรง เช่น Stonehenge
ก่อสร้างเครื่องหมายตำแหน่งดวงอาทิตย์ตามฤดูกาลโดยใช้ภูมิประเทศเป็นตัวช่วย
เมื่อมาถึงยุค "อารยธรรมชาวสุเมเรี่ยน" ราวหกพันปีที่แล้ว
พวกเขาอยู่ที่ลุ่มน้ำแห่งเมโสโปเตเมีย (ปัจจุบันประเทศอีรัก)
ให้กำเนิดคณิตศาสตร์ฐานหกสิบ (sexagesimal system)
เกิดตัวเลข "แม่ 12" และนำไปสู่ข้อมูล 12 ชั่วโมง x 2 = 1 วัน และ 12 เดือน = 1 ปี
สร้างนาฬิกาแดด (sundial) ให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ฐานหกสิบ โดยแบ่งหน้าปัดนาฬิกาออกเป็นชั่วโมงละ 15 องศา (15 x 24 = 360)
ตำแหน่งดวงอาทิตย์ถูกประกบด้วยกลุ่มดาวฤกษ์เป็นฉากหลัง
ดวงอาทิตย์และกลุ่มดาวฤกษ์ที่ฉากหลังเปลี่ยนไปทุกๆ 30 วัน (โดยประมาณ) ชาวสุเมเรียนจึงแบ่งท้องฟ้าออกเป็น 12 ส่วนๆละ 30 องศา (12 x 30 = 360)
เป็นที่มาของ 12 ราศี (12 zodiacs)
หลักฐานจารึกสัญลักษณ์จักรราศีของชาวสุเมเรี่ยน
ถ่ายทอดไปยังอาณาจักรอียิปส์
วิชาดาราศาสตร์ถูกถ่ายทอดมายังอินเดีย และส่งไม้ต่อไปยังเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
เรื่องราวของดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ และปฏิทินสุริยะคติถูกถ่ายทอดจากเโสโปเตเมียไปยังดินแดนต่างๆทั่วโลก รวมทั้งดินแดนของ "ชาวอารยัน" ในอัฟกานีสสถาน ผมเคยทำงานเป็นที่ปรึกษาโครงการ Alternative Agriculture กับ UNDP ในประเทศนี้เมื่อปี คศ. 2006 ภายใต้ภารกิจของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง (โครงการดอยตุง) ทำให้ทราบเรื่องราววิถีชีวิตของชาวพื้นเมืองและแน่นอนครับข้อมูลด้านดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับปฏิทินสุริยะคติ วันปีใหม่ของชาวอารยันคือ Nawruz ตรงกับปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) ปัจจุบันเทียบตรงกับวันที่ 21 มีนาคม ของปฏิทินสากล อนึ่ง ชื่อจริงๆของอัฟกานีสถานคือ "อารียาน่า" (Ariana) หมายถึงชาวอารยัน และสายการบินประจำชาติคือ Ariana Airline
ราวสามพันกว่าปีที่แล้วชาวอารยันเข้ามาครอบครองอินเดียและทำให้เกิดศาสนาพราหมณ์และฮินดูมีการปกครองระบอบกษัตริย์และแบ่งเป็นอาณาจักรต่างๆ ผู้ใดมีอำนาจก็สามารถขยายอิทธิพลไปยังดินแดนที่ห่างไกล เช่น ส่งกองทัพเรือไปครอบครองหมู่เกาะในดินแดนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ก่อตั้งอาณาจักรโพ้นทะเลขึ้นมาใหม่ นักประวัติศาสตร์เรียกชื่อดินแดนนี้ว่า "อาณาจักรศรีวิชัย" (Sri Vijaya) จากนั้นก็ขยายอิทธิพลขึ้นมายังแผ่นดินทางทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือกลายเป็นอารยธรรมทวารวดี อาณาจักรจามปา อาณาจักรขอม อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรศรีอยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน ทั้งหมดนี้นักวิชาการเรียกชื่อว่า "อิทธิพลอารยธรรมอินเดีย" (Indianization) อนึ่ง ผมเป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย Bombay University and Punjab Agricultural University ระหว่าง 1969 - 1974 ทำให้คุ้นเคยกับวิถีชีวิตของชาวภารตะอย่างดี
บูโรพุทโธ (Borobudur) เป็นหนึ่งในอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียดังเห็นได้ว่ามีทั้งสิ่งก่อสร้างชองศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู โดยบูโรพุทโธเป็นศาสนสถานของพุทธ ส่วนปราสาทปรัมบานัม (Prambanam) เป็นศาสนสถานของฮินดู ตั้งอยู่ที่เมือง "ยอกยากาตาร์" (Yogyakarta) เกาะชวา อินโดนีเซีย
ชาวอารยันเข้ามาครอบครองอินเดียราวสามพันกว่าปีที่แล้วทำให้เกิดศาสนาพราหมณ์และศาสนาฮินดู
ที่เมือง Jaipur รัฐ Rajastan มีสิ่งก่อสร้างอายุ 300 ปี ชื่อว่า Jantar Mantar เป็นนาฬิกาแดดใหญ่ที่สุดในโลก และสุริยะปฏิทินจักรราศี แสดงว่าอินเดียรับอิทธิพลทางดาราศาสตร์มาจากชาวอารยัน
นาฬิกาแดดชนิด Equatorial อายุ 300 ปี ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และสุริยะปฏิทินจักรราศี
ตัวอย่างสุริยะปฏิทินจักรราศี Leo สัญลักษณ์เป็น "สิงห์" เราๆท่านๆเรียกว่า "ราศีสิงห์"
จากประสบการณ์ของศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยในประเทศอินเดียระหว่างปี 2512 - 2517 ทำให้มีความคุ้นเคยกับอารยธรรมอินเดียอย่างซาบซึ้
แสดงเส้นทางการขยายอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียมายังเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ทำงานร่วมกับ UNDP ในประเทศอัฟกานีสสถาน AD 2006
วันปีใหม่ของชาวอัฟกานีสถานคือ Nawruz ตรงกับปรากฏการณ์ vernal equinox (21 March ในปฏิทินสากล)
บุโรพุทโธ กับ "รหัสจักรวาล"
พันกว่าปีที่แล้วเกาะชวาอยู่ในอิทธิพลอินเดียมีทั้งศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู บูโรพุทโธ (Borobudur) เป็นศาสนสถานพุทธใหญ่ที่สุดในโลก ตามประวัติระบุว่าสร้างในสมัยราชวงศ์ไศยเรนทรา (Sairendra) คริสต์ศตวรรษที่ 9 โบราณสถานแห่งนี้มีนัยสำคัญทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ ดังนี้
1.หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้ที่มุมกวาด 90 องศา ตรงกับปรากฏการณ์ "วิษุวัต" (equinox)
ข้อมูลจาก Google Earth ยืนยันว่า "บุโรพุทโธ" หันหน้าตรงกับมุมกวาด 90 องศา หรือทิศตะวันออกแท้ (Due East)
เช้าตรู่วันที่ 21 มีนาคม ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงกับ center-line ของบุโรพุทโธ (ภาพ computerized simulation)
เส้นทางเดินของดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต"
2.บุโรพุทโธ ไม่ได้ stand alone มีพุทธสถานอีก 2 แห่ง คือ Pawon และ Medut ตั้งอยู่ในเส้นตรงเดียวกัน และทั้งหมดนี้ชี้ตรงไปที่มุมกวาด 83 องศา หรือ Azimuth 83 degree (ตรวจสอบด้วย Google Earth) จากจารึกของวิหาร Medut เป็นภาษาบาหลีโบราณและภาษาสันสกฤตระบุว่าสร้างเมื่อ "มหาศักราช 746 หรือ AD 824" ผมใช้ข้อมูลเหล่านี้เข้าไปคำนวณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์พบเรื่องราวที่น่าสนใจกล่าวคือ โบราณสถานทั้งสามแห่งเรียงตัวเป็นเส้นตรงชี้ไปที่ดวงอาทิตย์ในราศีเมษ (Zodiac Aries) ตรงกับวันที่ 1 เมษายน มหาศักราช 746 (AD 824)
เหตุผลที่บรรพชนผู้สร้างกำหนดให้โบราณสถานทั้งสามแห่งเรียงตัวเป็นเส้นตรงและชี้ไปที่ราศีเมษ เพราะปฏิทิน "มหาศักราช" (Saka Calendar) ถือว่า "ราษีเมษ" เป็นจุดเริ่มต้นของ "จักรราศี"
แผนที่ Google Earth แสดงให้เห็นว่า Borobudur, Pawon and Medut เรียงตัวเป็นเส้นตรง
ทั้งสามศาสนาสถานเรียงตัวเป็นเส้นตรงชี้ไปที่มุมกวาด 83 องศา
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์แสดง simulation ให้เห็นการเรียงตัวของ Borobudur, Pawon and Medut ชี้ไปที่ "ราศีเมษ" (Aries)
Astronomical simulation แสดงให้เห็นว่าเมื่อวันที่ 1 เมษายน มหาศักราช 746 (AD 824) ราศีเมษ (Aries) อยู่ที่ตำแหน่ง Azimuth 83 degree
3.การที่ด้านบนของบุโรพุทโธมีพระพุทรูปจำนวน 72 องค์ เท่ากับจำนวน 72 วัน นับจากปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead) กับองค์ปรางค์และเคลื่อนตัวไปยังด้านใต้สุดที่ปรากฏการณ์ "เหมายัน" (winter solstice) และเคลื่อนที่กลับมาที่เดิม
มีพระพุทธรูป 72 องค์ อยู่บนด้านบน
พระพุทธรูป 72 องค์ แบ่งออกเป็น ชั้นบนสุด 16 องค์ ชั้นสอง 24 องค์ ชั้นล่าง 32 องค์
ทั้งสามชั้นของบุโรพุทโธมีชื่อว่า Arupahatatu ออกเสียงภาษาไทยอาจจะเป็น "อะรูปะธาตุ"
พระพุทธรูป 72 องค์ เท่ากับจำนวน 72 วัน นับจากปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead) 10 October ไปยัง ปรากฏการณ์เหมายัน (Winter Solstice) 21 December และเคลื่อนที่กลับมาที่เดิมอีกครั้ง
4.วันที่มีปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ ณ บุโรพุทโธ" 10 October และ 2 March ดวงอาทิตย์จะตก ณ ตำแหน่ง เส้นตรงมองจาก Medut and Pawon
วิหารปรัมบานัม กับดาราศาสตร์ (The Astronomical Prambanam Temple)
เป็นปราสาทฮินดูสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 (850 AD) หลังจากการล่มสลายของรราชวงส์ไศยเรนทรา (Sailendra) เป็นปราสาทฮินดูใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย ท่านที่สนใจข้อมูลทางประวัติศาสตร์สามารถเข้าชมได้ทาง Google เมื่อพูดถึงนัยทางดาราศาสตร์ปราสาทหลังนี้ทำมุมกวาด 90 องศา หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้ตรงกับปรากฏการณ์ "วิษุวัต" (equinox)
Simulation ปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox)
ปรากฏการณ์ "วิษุวัต" ระหว่างบุโรพุทโธ ปรัมบานัม และปราสาทนครวัด
เนื่องจากสถานที่ตั้งของบุโรพุทโธ ปรัมบานัม อยู่ที่เส้นรุ้ง 7 องศา ทางทิศใต้ของเส้นศูนย์สูตร (Lat 7 S) ส่วนปราสาทนครวัดตั้งอยู่ที่เส้นรุ้ง 13 องศาเหนือ ทำให้เส้นทางเดินของดวงอาทิตย์กลับทางกัน
ดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" ที่ปราสาทนครวัด กัมพูชา เอียงไปทางทิศใต้ ส่วนที่บุโรพุทโธ และปรัมบานัม เอียงไปทางทิศเหนือ
มุมดวงอาทิตย์ ณ เที่ยงสุริยะ (solar noon) ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร ประเทศไทย เส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ เปรียบเทียบกับบุโรพุทโธ และปรัมบานัม เส้นรุ้ง 7 องศาใต้
คำถาม ....... ทำไมบุโรพุทโธ และปรัมบานัม จึงมีความผูกพันกับดาราศาสตร์
เนื่องจากเมื่อพันปีที่แล้วดินแดนแห่งนี้อยู่ภายใต้อิทธิพลของอารยธรรมอินเดีย ปฏิทินที่บรรพชนใช้จึงเป็น "มหาศักราช" (Saka Calendar) ซึ่งใช้ปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์เป็นตัวกำหนดเดือนต่างๆ เริ่มต้นที่เดือนไจตระ (Chaitra Month) ตรงกับปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) ปัจจุบันปฏิทินฉบับนี้ยังคงใช้อยู่ที่ประเทศอินเดีย อัฟกานีสถาน และประเทศในเอเซียกลาง เช่น อุซเบกิซสถาน คาซักสถาน และประเทศในดินแดนเปอร์เซีย เช่น อิหร่าน แม้ว่าปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามอย่างเป็นทางการแต่รากเหง้าของอิทธิพลอินเดียยังคงแฝงอยู่อย่างแน่นหนา ได้แก่สัญลักษณ์ของรัฐบาลเป็นรูป "พญาครุฑ" และสายการบิน Garuda Airline และที่เห็นได้ชัดเจนเชิงประจักษ์คือเกาะบาหลียังคงเป็นวัฒนธรรมฮินดูอย่างแนบแน่น วันขึ้นปีใหม่ของชาวบาหลีคือ ขึ้นหนึ่งค่ำ หลังจาก vernal equinox ของปฏิทินมหาศักราช (first day of Saka Lunar Calendar) ปี 2020 ตรงกับ 25 มีนาคม
เปรียบเทียบสัญลักษณ์พญาครุฑของอินโดนีเซีย และของไทย
สายการบิน Garuda Airline
ชาวเกาะบาหลียังคงยึดวัฒนธรรมฮินดูอย่างแนบแน่น
วันฉลองเทศกาลปีใหม่ของชาวบาหลี (Baliness New Year festival)
รูปร่างหน้าตาของปฏิทินมหาศักราช ถ้าเป็นปีปกติเดือน Chaitra จะมี 30 วัน และทุกๆ 4 ปี จะมี 31 วัน ทำให้วันขึ้นปีใหม่เป็น 22 March and 21 March ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่าจำนวนวันในช่วง "กลางวันยาวกว่ากลางคืน" (Long Day) จะมี 31 วัน หลังจากปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" (Autumnal Equinox 23 Sep) จำนวนวันจะเป็น 30 วัน
สรุป
แม้ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนไปพันปี แต่โบราณสถาน "บุโรพุทโธ" ยังคงยืนเด่นเป็นสง่า และแฝงเร้นด้วยรหัสแห่งจักรวาลที่ท่านต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง