สุริยะปฏิทินขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก
ปราสาทภูเพ็ก เป็นโบราณสถานยุคขอมเรืองอำนาจ แต่สร้างไม่เสร็จปรากฏเพียงฐานรากและผนังของห้องปรางค์และยังไม่มีลวดลายที่สามารถใช้เปรียบเทียบเพื่อกำหนดอายุ นักโบราณคดีของกรมศิลปากรจึงสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 ปราสาทหลังนี้ตั้งอยู่บนยอดภูเขาที่ชื่อว่าภูเพ็กสูงจากระดับน้ำทะเล 520 เมตร (สูงที่สุดในบรรดาปราสาทขอมที่พบในประเทศไทย) มุมมองระยะไกลจากทะเลสาปหนองหารจะเห็นว่าภูเขาลูกนี้รูปร่างเหมือนเขาพระสุเมรุ อย่างไรก็ตามหากสร้างเสร็จจะเป็นปราสาทขอมใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเนื่องจากมีขนาดห้องปรางค์ 5.5 m x 5.5 m และยาว 40 เมตร เปรียบเทียบกับปราสาทพิมายซึ่งกล่าวว่าใหญ่ที่สุดก็มีขนาดห้องปรางค์ 4.4 m x 4.4 m และยาว 30 เมตร

ภาพถ่ายทางอากาศทำให้ทราบว่าภูเขา "ภูเพ็ก" มีรนูปร่างคล้ายเขาพระสุเมรุ

GPS แสดงผลการวัดความสูงของที่ตั้งปราสาทภูเพ็ก +520 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ปราสาทภูเพ็กตั้งอยู่สูงที่สุดในประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับปราสาทขอมอื่นๆ

การสร้างปราสาทขอมบนภูเขามักนิยมเลือกให้คล้ายเขาพระสุเมรุ (ภาพบนปราสาทภูเพ็ก ภาพกลางปราสาทพนมกรอม กัมพูชา ภาพล่างปราสาทวัดภู สปป.ลาว)

ปราสาทภูเพ็กสร้างได้เพียงฐานรากและผนังห้องปรางค์

เปรียบเทียบขนาดของปราสาทภูเพ็กกับปราสาทพิมาย

จากการคำนวณด้วยหลักคณิตศาสตร์พบว่าปราสาทภูเพ็กน่าจะสูง 35 เมตร ขณะที่ปราสาทพิมายสูง 28 เมตร
คำถาม .......ทำไมปราสาทภูเพ็กจึงเป็น "สุริยะปฏิทิน"
คำตอบ ....... เมื่อพิจารณาด้วยข้อมูลเชื่อมโยงระหว่างศาสนา ความเชื่อ โบราณคดี และดาราศาสตร์ พบว่าปราสาทหลังนี้เป็นศาสนสถานที่มีคุณสมบัติเป็นสุริยะปฏิทิน ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1.ตั้งอยู่บนทางด้านทิศตะวันออกของยอดภูเขาเพื่อให้รับแสงอาทิตย์โดยไม่มีอะไรมาบดบัง และหันหน้าตรงกับทิศตะวันออกแท้ ณ มุมกวาด 90 องศา จากทิศเหนือ (azimuth 90)

ตัวปราสาทตั้งอยู่บนยอดเขาด้านทิศตะวันออกเพื่อให้รับแสงอาทิตย์โดยไม่มีสิ่งบดบัง
.jpg)
Center-line ของปราสาทภูเพ็กตรงกับตำแหน่งทิศตะวันออกแท้ ณ มุมกวาด 90 องศา
2.มีความสอดคล้องกับข้อมูลของปฏิทิน "มหาศักราช" (Saka Calendar) ที่อาณาจะจักรขอมรับอิทธิพลจากอินเดียโบราณ ปฏิทินฉบับนี้ถูกออกแบบให้ตรงกับปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ 100% เริ่มต้นที่วันปีใหม่ 1st of Chaitra Month ตรงกับ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืนในฤดูใบไม้ผลิ และวันที่ 1 ของแต่ละเดือนจะตรงกับวันเริ่มต้นของจักรราศีทั้ง 12 ราศี ขณะเดียวกันเดือนต่างๆที่อยู่ในช่วง "กลางวันยาว" (long day) จะมี 31 วัน ส่วนเดือนต่างๆที่อยู่ในช่วง "กลางวันสั้น" (short day) จะมี 30 วัน และทุกๆ 4 ปี จะให้เดือนแรกของปีคือ Chaitra มี 31 วัน ทั้งนี้เพื่อให้ปีปกติ (normal year) มี 365 วัน และปีพิเศษมี 366 วัน (leap year)
อนึ่ง ข้อมูลทางดาราศาสตร์ของปฏิทินมหาศักราชถูกบรรจุเป็นสัญลักษณ์อยู่ในแท่งหินทรายรูปร่างสี่เหลี่ยม ที่กรมศิลปากรเรียกว่า "ครรภบัตร" (deposit stone) ซึ่งปกติจะถูกฝังอยู่ใต้ฐานโยนีและแท่งศิวลึงค์ หนังสือ "ร้อยรอยเก่าสกลนคร" จัดทำโดยสำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด กรมศิลปากร ให้คำอธิบายแท่งหินนี้ว่า .......... เป็นสัญลักษณ์ของอนุภาคทั้งหลายในจักรวาล ตามตำแหน่ง ทิศ และระดับความสำคัญ ครรภบัตรที่มีการบรรจุสัญลักษณ์อย่างถูกต้องจะทำหน้าที่เป็น "มณฑล" หรือผังจักรวาล อันจะส่งกระแสถ่ายทอดความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่รูปเคารพที่ประดิษฐานอยู่ด้านบน รูปเคารพนั้นจะเกิดมีชีวิตและพลังอำนาจกลายสภาพเป็นตัวแทนอันสมบูรณ์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า
เมื่อใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ถอดรหัสคณิตศาสตร์ของสัญลักษณ์ดังกล่าวพบว่าตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์และปฏิทินมหาศักราชอย่างลงตัว

ปฏิทินมหาศักราช (Saka Calendar) เป็นปฏิทินฉบับที่สอดคล้องกับหลักดาราศาตร์ 100%
.jpg)
แท่งหิน "ครรภบัตร" ตั้งอยู่หน้าประตูปราสาทภูเพ็ก โดยมีแท่งศิวลึงค์ตั้งอยู่ข้างหน้า
ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาตร์ตรวจสอบสัญลักษณ์เหล่านี้พบว่ามีความสอดคล้องกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์สำคัญของรอบปีปฏิทินมหาศักราช
.jpg)
สัญลักษณ์ของแท่งครรภบัตรตรงกับดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์สำคัญ ได้แก่ "ครีษมายัน" (summer solstice) "วิษุวัต" (equinox) และ "เหมายัน" (winter solstice)
รวมทั้งราศีย่อยๆในรอบปีปฏิทินมหาศักราช
3.แท่งหินครรภบัตรกับห้องปรางค์มีความสมมาตรกันอย่างลงตัว ก็แสดงว่ามุมของห้องปรางค์ต้องมีความเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์และปฏิทินมหาศักราช ทดสอบนำภาพแท่งหินครรภบัตรสวนเข้ากับห้องปรางค์ของปราสาทพบว่า "ลงตัวพอดี"
.jpg)
เปรียบเทียบ floor-plan ของปราสาทภูเพ็กกับแท่งหินครรภบัตร
.jpg)
แท่งหินครรภบัตรมีสัดส่วนที่สมมาตรกับห้องปรางค์อย่างลงตัว
มุมและ center ของห้องปรางค์มีความสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์

แท่งหินครรภบัตรและห้องปรางค์ทั้งคู่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) หย่อนตัวลงทางทิศตะวันตกตรงกับ center ของห้องปรางค์
สรุป
การพิสูจน์ทางวิทยาศาตร์ที่สอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีและเรื่องราวประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ "สุริยะปฏิทินขอมพันปี" ทำให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยจัดทำแสตมป์ที่ระลึกในชุด Unseen Thailand เมื่อปี 2547 และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็ได้จัดทำหนังสือชุด Unseen Thailand ในปีเดียวกัน โดยบรรจุเรื่องราวของ "สุริยะปฏิทินขอมพันปี"


แสตมป์ชุด Unseen Thailand มีทั้งหมด 20 ดวง และหนึ่งในนั้นคือ "สุริยะปฏิทินขอมพันปี" ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
