8 พฤษภาคม และ 5 สิงหาคม ปรากฏการณ์ "อาทิตย์ตรงศรีษะ" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล ....... วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
ราวเที่ยงของช่วงวันดังกล่าวมักจะมีปรากฏการณ์ "อาทิตย์ทรงกลด" เหนือท้องฟ้าเมืองสกลนคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

อธิบายในแง่มุมวิทยาศาสตร์
ย้อนกลับไปในยุคแห่งอดีตกาลบรรพชนที่เห็นปรากฏการณ์นี้คงจะเชื่อว่าเป็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับอภินิหารหรืออิทธิฤทธิ์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความเกี่ยวข้องกับศาสนสถาน เช่น ปราสาทขอม ครั้นมาถึงยุค 4.0 เราๆท่านๆที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์คงทราบดีว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เนื่องมาจากความชื้นในอากาศผสมผสานกับมุมหักเหของแสงอาทิตย์ที่กระทำต่อพื้นโลก ณ ช่วงเวลานั้นๆ เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นภาพจึงขออธิบายด้วยไดอะแกรม ดังนี้
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะมุมเอียงราว 23.5 องศา ทำให้มุมตกกระทบของแสงอาทิตย์เปลี่ยนไปทุกวัน

ตัวเมืองสกลนครตั้งอยู่ที่เส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ จะมีปรากฏการณ์ "อาทิตย์ตรงศรีษะ" ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ 8 พฤษภาคม และ 5 สิงหาคม

แสดงการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาของดวงอาทิตย์เหนือท้องฟ้าเมืองสกลในแต่ละฤดูกาล และมีโอกาสทำมุมฉากปีละ 2 ครั้ง

ปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตั้งฉากหรือตรงศรีษะ" เกิดขึ้นได้เฉพาะตำแหน่งพื้นโลกที่อยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 23.5 องศาเหนือ และ 23.5 องศาใต้ เท่านั้น

ปัจจุบันขณะที่แกนเอียงของโลกยังคงอยู่ที่ 23.5 องศา ทำให้ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะจำกัดเฉพาะพื้นที่ในขอบเขตระหว่างเส้นรุ้ง 23.5 N และ 23.5 S เท่านั้น ในอนาคตอีกหลายพันปีหากแกนโลกขยับไปที่มุมเอียง 24 องศา ขอบเขตของปรากฏการณ์นี้จะขยายตามไปด้วย

พื้นที่อื่นๆของโลกที่อยู่นอกพิกัด 23.5 N - 23.5 S จะไม่มีโอกาศได้เห็น "อาทิตย์ตรงศรีษะ"

ในชั้นบรรยากาศมีเกร็ดน้ำแข็งขนาดจิ๋วมากมายทำหน้าที่เสมือนปริซึ่มหักเหแสงอาทิตย์

การหักเหของแสงอาทิตย์ด้วยมุม 22 องศา จะก่อให้เกิดภาพเหมือนรุ้งกินน้ำ เรียกว่า "halo of the sun"

เราๆท่านยๆชาวไทยเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "อาทิตย์ทรงกลด"
สกลนคร ........ ทำไมจึงตรงกับวันที่ 8 พฤษภาคม และ 5 สิงหาคม
ตามเหตุผลทางดาราศาสตร์ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนตัวระหว่างทิศเหนือ (Tropic of Cancer 23.5 N) และทิศใต้ (Tropic of Capricorn 23.5 S) ทำให้ปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะเวลาเที่ยงสุริยะ หรือ Solar Noon" เกิดขึ้นทุกวันในพื้นที่ต่างๆกันโดยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม (Vernal Equinox) ณ เส้นศูนย์สูตร (Equator) และขยับไปทางเหนืออย่างต่อเนื่องจนสิ้นสุดที่เส้นรุ้ง 23.5 N ตรงกับวันที่ 21-22 มิถุนายน จากนั้นก็จะเคลื่อนตัวกลับลงมาทางทิศใต้ผ่ายเส้นศูนย์สูตรลงไปจนถึงเส้นรุ้ง 23.5 S ตรงกับวันที่ 21-22 ธันวาคม และก็เริ่มเคลื่อนกลับขึ้นมาทางทิศเหนืออีกวนไปวนมาแบบนี้ทั้งปี โดยเฉลี่ยปรากฏการณ์นี้จะเคลื่อนตัววันละ 0.13 องศา จังหวัดสกลนครตั้งอยู่ที่เส้นรุ้ง 17 N จึงได้คิววันที่ 8 พฤษภาคม (ขาขึ้น) และ 5 สิงหาคม (ขาลง)
นานๆครั้งชาวสกลนครจะเห็นปรากฏการณ์นี้ตรงกับวันสำคัญทางศาสนาพุทธ "วิสาขบูชา" เช่น วันที่ 8 พฤษภาคม 2552 และจะเกิดขึ้นอีกในวันวิสาขบูชา 8 พฤษภาคม 2571 และ 9 พฤษภาคม 2590
วันวิสาขบูชา 8 พฤษภาคม 2552 ได้นัดสื่อมวลชนไปทำข่าวที่วัดพระธาตุเชิงชุม เพื่อชมปรากฏการณ์ "อาทิตย์ตรงศรีษะกับองค์พระธาตุ" และได้ชม "อาทิตย์ทรงกลด" ในคราวเดียวกัน วันวิสาขบูชาครั้งต่อไป 6 พฤษภาคม 2563 ถ้าท้องฟ้าเปิดและความชื้นในชั้นบรรยากาศเหมาะสมก็จะสามารถมองเห็นปรากฏการณ์แบบนี้อีกครั้ง

เชิญให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและคุณนายไปร่วมรับพลัง "อาทิตย์ตรงศรีษะ" ในวันวิสาขบูชา และทำข่าวโดยออกทีวีช่อง 7 สี

8 พฤษภาคม 2552 ตรงกับวัน "วิสาขบูชา" และคาดว่าจะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันวิสาขบูชา 6 พฤษภาคม 2563

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพาดหัวเป็นข่าวใหญ่และโปรยหัวว่า "วิจารณ์ทั้งดี - ร้าย" ตามสไตล์ของสื่อหัวสีเขียว
.jpg)
ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะและวันวิสาขบูชาเวียนมาพบกันอีก 8 พฤษภาคม 2571 และ 9 พฤษภาคม 2590
.jpg)

วันที่ 5 สิงหาคม ปี 2558 และ 2562 ก็มีปรากฏการณ์อาทิตย์ทรงกลดที่พระธาตุเชิงชุมและพระธาตุนารายณ์เจงเวง (ปราสาทขอม)

การหักเหของแสงอาทิตย์เนื่องจากเกร็ดน้ำแข็งขนาดจิ๋วในชั้นบรรยากาศทำให้มองเห็นเหมือนรุ้งกินน้ำ หรือเราๆท่านๆเรียกว่า "ทรงกลด"

เปรียบเทียบปรากฏการณ์ "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทภูเพ็ก ปราสาทนารยณ์เจงเวล และพระธาตุเชิงชุม วันที่ 5 สิงหาคม ปี 2558 และ 2562

สังเกตเงาดวงอาทิตย์ทำมุม 90 องศา กับกระถางที่อยู่ใกล้กับปราสาทนารายณ์เจงเวง
อนึ่ง ถ้าความชื้นในชั้นบรรยากาศไม่มากเพียงพอก็ไม่เกิดปรากฏการณ์ "อาทิตย์ทรงกลด"
ตัวอย่าง วันที่ 8 พฤษภาคม 2563 (8 May 2020) เป็นปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ" ที่เมืองสกลนคร แต่วันนั้นอากาศร้อนจัดถึง 40 องศา และอากาศแห้งมากทำให้ความชื้นในชั้นบรรยากาศไม่เพียงพอจึงไม่เกิด "อาทิตย์ทรงกลด" เปรียบเที่ยบภาพถ่ายอาทิตย์ตรงศรีษะที่ปราสาทนารายณ์เจงเวง อ.เมืองสกลนคร ระหว่างวันที่ 5 สิงหาคม 2562 กับ 8 พฤษภาคม 2563
ทุกปีจะมีปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ" (sun overhead) ที่ อ.เมืองสกลนคร 2 ครั้ง คือวันที่ 8 พฤษภาคม และ 5 สิงหาคม
ปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ" วันที่ 8 พฤษภาคม 2563 ไม่มี "อาทิตย์ทรงกลด" เพราะความชื้นในชั้นบรรยากาศไม่เพียงพอ แต่วันที่ 5 สิงหาคม 2562 มี "อาทิตย์ทรงกลด" เพราะความชื้นมากเพียงพอ
.jpg)
เป็นการเปรียบเทียบระหว่างวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 กับ 5 สิงหาคม 2562
ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ 5 สิงหาคม 2564
คราวนี้เก็บข้อมูลอยู่ที่บ้านเพราะติดสอนนักเรียนแบบ online และใช้แท่งศิวะลึงค์เป็นอุปกรณ์จับมุมดวงอาทิตย์ วันนี้ไม่เห็นปรากฏการณ์ "ทรงกลด" เพราะความชื้นในชั้นบรรยากาศไม่เพียงพอเนื่องจากฝนทิ้งช่วงหลายวัน แต่ภาพถ่ายเงาดวงอาทิตย์ ณ แท่งศิวะลึงค์สามารถอธิบายปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ" ได้อย่างชัดเจน

ณ เวลาเที่ยงสุริยะ (solar noon) วันที่ 5 สิงหาคม 2564 ไม่มีปรากฏการณ์ "ทรงกรด" เพราะความชื้นในชั้นบรรยากาศน้อยเกินไปจึงมองเห็นเพียง "วงแหวนทรงกลดเพียงบางๆ"

เงาดวงอาทิตย์ ณ แท่งศิวลึงค์ Before, solar noon, และ after
.jpg)
เปรียบเทียบตำแหน่งดวงอาทิตย์ใน 3 ช่วงเวลาของปรากฏการณ์ "ตรงศรีษะ" (sun overhead)

ภาพถ่ายแท่งศิวะลึงค์ "ไร้เงา" ทั้งสี่ทิศขณะเกิดปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ"

ได้ฤกษ์เปิดตัว "ชมรมอารยธรรมสกลนคร" ในปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ 8 พฤษภาคม 2564 ณ ปราสาทนารายณ์เจงเวง อ.เมืองสกลนคร
ชมรมอารยธรรมสกลนครเป็นแนวคิดริเริ่มของอาจารย์วรวิทย์ ตงศิริ หรืออีกนัยหนึ่งผู้มีสัมผัสพิเศษกับศาสตร์แห่งความเชื่อในสมยานาม "ฤาษีเอก อมตะ" ชมรมนี้ประกอบด้วยอาสาสมัครชาวไทสกลที่มีความชอบ "สืบเสาะเจาะลึกแบบเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ" เพื่อนำเสนอเรื่องราวอารยธรรมตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันให้มองเห็นภาพเชิงประจักษ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวมิติใหม่ อีกทั้งเป็นการเรียนรู้สำหรับผู้สนใจตลอดจนนักเรียนและนักศึกษา ด้วยเหตุผลนี้สมาชิกของชมรมจึงประกอบด้วยบุคคลากรที่หลากหลาย นักการศึกษา นักพิภพวิทยา แพทย์ ศิลปิน และผู้เชี่ยวชาญศาสตร์แห่งความเชื่อ ฯลฯ ชมรมจะทำงานสนับสนุนนโยบายของท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดคนปัจจุบัน ดร.ชูพงษ์ คำจวง โดยมีอาจารย์ประหยัด ธานะราช ที่ปรึกษานายก อบจ. เป็นผู้ประสานงานกับชมรม
.jpg)
8 พฤษภาคม 2564 ปรากฏการณ์อาทิตย์ตรงศรีษะ เวลา 12:00 น สุริยะเทพส่งรังสีตรงลงมาที่ยอดปราสาทนารายณ์เจงเวง
.jpg)
เปรียบเทียบบรรยากาศระหว่างปรากฏการณ์เมื่อ 2562 กับ 2564 ปราสาทนารยร์เจงเวง
เปิดตัวแกนนำ "ชมรมอารยธรรมสกลนคร" เสื้อขาวอาจารย์วรวิทย์ ตงศิริ หรือ ฤาษีเอก อมตะ นายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน นักพิภพวิทยา และนายประหยัด ธานะราช ที่ปรึกษานายก อบจ.สกลนคร
.jpg)
แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมสัมผัสปรากฏการณ์อาทิตย์ตรงศรีษะที่ปราสาทนารายณ์เจงเวง
.jpg)
บรรยายแบบสดๆท่ามกลางอาทิตย์ตรงศรีษะ

เริ่มประกอบพิธีโดย ฤาษีเอก อมตะ

ประกอบพิธีถวายช่อดอกไม้และผลไม้
.jpg)
ฤาษีเอก อมตะ บรรยายแก่ แขก VIP ท่าน ดร.ภก.ชยันต์ พิเชียรสุนทร ราชบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชาเภสัชศษสตร์ และ ผศ.พิเชษฐ เวชวิฐาน หัวหน้าสาขาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
สื่อทีวีช่องวันตีข่าว "ไร้เงาหัว" เล่นเอาต๊กใจมกเลย
.jpg)
.jpg)
แง่มุมแห่งความเชื่อ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ซินแสต้อม เจ้าของเพจดูดวงโหราศาสตร์ไทยระบบรังสีดาว ให้ทัศนะว่า...... วันนี้มีความร้อนแรงเป็นวันอุบาท หากจะทำอะไรที่เป็นศิริมงคลจะต้องมายังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ปราสาทนารายณ์เจงเวง เพื่อให้ช้วยกรองเอาสิ่งไม่ดีออกไป

นายสุทธิธรรม พากเพียร หรือซินแสต้อม เจ้าของเพจดูดวงโหราศาตร์ไทยระบบรังสีดาว ให้เกียรติส่งคำทำนายมาให้
.jpg)
คำอธิบายของซินแสต้อมกล่าวว่า 8 พฤษภาคม 2564 เป็นวันอุบาทว์ วันพิลา ควรงดการทำการมงคลทั้งแวง ....... แต่อย่ากระนั้นเลยยังมีวิธีรับพลังหรืออธิฐานพรโดยได้รับพลังรับมงคลรับพรเต็มๆ ก็คือ ต้องมีจุดกรองพลังร้าย อาทิ พระธาตุเชิงชุม พระธาตุภูเพ็ก พระธาตุนารายณ์เจงเวง
.jpg)
เที่ยงตรง ....... ศิวะลึงค์ไร้เงา
เปรียบเทียบบรรยากาศตั้งแต่ 12:00 น. 13:00 น. และ 14:00 น.
.jpg)
สรุป
ปรากฏการณ์ "อาทิตย์ตรงศรีษะ กับอาทิตย์ทรงกลด" มีความสัมพันธ์กันด้วยเหตุผลทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ อันเนื่องจากตำแหน่งดวงอาทิตย์บวกกับความชื้นในชั้นบรรยากาศที่เหมาะสม
แต่ถ้าย้อนกลับไปในยุคแห่งบรรพชน เขาเหล่านั้นคงนึกถึง "ความศักดิ์สิทธิ์" หรืออิทธิฤทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ....... นี่คือความลงตัวระหว่างวิทยาศาสตร์และความเชื่อ