ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




ปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)

 ปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคงอยู่ที่ 23.5 หรือไม่

Operation Chou Li Episode IV ...... Earth's axis tilt 23.5?

          โลกหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะเอียงประมาณ 23.5 องศา ทำให้เกิดฤดูกาลและปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สำคัญ 4 อย่าง คือ วสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ครีษมายัน (Summer Solstice) ศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) และ เหมายัน (Winter Solstice) ปฏิบัติการชูหลีครั้งที่ 4 จะยืนยันว่าโลกยังคงโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยมุมเอียงประมาณ 23.5 องศา เช่นปกติหรือไม่? ปฏิบัติการครั้งนี้ใช้สถานที่ ณ ปราสาทขอมโบราณชื่อ "ปราสาทภูเพ็ก" บนยอดภูเขา +520 เมตรจากระดับน้ำทะเล อยู่ในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

           ชูหลี (Chou Li) เป็นนักดาราศาสตร์ขาวจีนเมื่อ 3,000 ปีที่แล้ว เป็นคนแรกที่ค้นพบวิธีการวัดมุมเอียงของโลก เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านจึงใช้ชื่อ "ปฏิบัติการชูหลี" (Operation Chou Li) และได้ดำเนินการมาแล้ว 3 ครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 โดยใช้สถานที่ปราสาทภูเพ็กและปรากฏการณ์ "ครีษมายัน" (summer solstice) วันที่ 21 มิถุนายน 2562 เชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) วันที่ 21 มีนาคม 2562   

 

 

Operation Chou Li ดำเนินการมาแล้ว 3 ครั้ง เริ่มตั้งแต่ปี 2559 

 

       ปรากฏการณ์สำคัญดาราศาสตร์

          โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยมุมเอียงประมาณ 23.5 องศา ทำให้มุมตกกระทบของแสงอาทิตย์ที่กระทำต่อพื้นผิวโลกเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลาเป็นต้นเหตุของการเกิดฤดูกาลต่างๆ

 

ฤดูกาลและปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สำคัญ 4 อย่าง เริ่มต้นที่ วสันตวิษุวัต (vernal equinox) กลางวันกับกลางคืนเท่ากันและเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ ครีษมายัน (summer solstice) กลางวันยาวที่สุดในรอบปี ศารทวิษุวัต (autumnal equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืนครั้งที่สองเป็นเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง เหมายัน (winter solstice) กลางคืนยาวที่สุดในรอบปี 

 

ปรากฏการณ์ "ครีษมายัน" (summer solstice) ดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับผิวโลก ณ เส้นรุ้ง 23.5 องศาเหนือ หรือ Tropic of Cancer

 

ปราสาทภูเพ็กกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ดาราศาสตร์

 

ภาพนี้แสดงให้เห็นว่าดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "ครีษมายัน" ส่องไปที่ด้านทิศเหนือของตัวปราสาทเท่านั้น ส่วนด้านทิศใต้ของปราสาทจะมืด เพราะดวงอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ

 

       ขั้นตอนปฏิบัติการ

          1.ใช้สูตรการคำนวณ "มุมเอียงโลก" (Earth's axis tilt) ตามทฤษฏีของนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกโบราณชื่อ "ปีธากอรัส" (Pythagoras) 

          มุมเอียงโลก = ผลบวกของมุมตกกระทบดวงอาทิตย์ ณ เที่ยงสุริยะ ระหว่างปรากฏการณ์วสันตวิษุวัต (vernal equinox 21 March) กับ ปรากฏการณ์ครีษมายัน (summer solstice 21 June) อนึ่งมุมตกกระทบดวงอาทิตย์ ณ เที่ยงสุริยะของปรากฏการณ์วสันตวิษุวัตมีค่าเท่ากับองศาของเส้นรุ้ง 

 

สูตรการคำนวณมุมเอียงของโลก (Earth's axis tilt) โดยใช้มุมตกกระทบของดวงอาทิตย์ ณ เที่ยงสุริยะ ในปรากฏการณ์วสันตวิษุวัต (อีกนัยหนึ่งองศาเส้นรุ้ง) กับครีษมายัน

 

พิสูจน์สูตรการคำนวณมุมเอียงโลกระหว่างปรากฏการณวสันตวิษุวัติ กับปรากฏการณ์ครีษมายัน

 

มุมตกกระทบดวงอาทิตย์ ณ เที่ยงสุริยะปรากฏการณ์วสันตวิษุวัตเท่ากับองศาเส้นรุ้งของสถานที่นั้นๆ

 

          2.ตรวจสอบตำแหน่งดวงอาทิตย์ เบื้องต้นของการวัดมุมเอียงของโลกใช้ตำแหน่งมุมกวาดดวงอาทิตย์ยามเช้าในปรากฏการณ์ครีษมายัน (summer solstice) เป็นตัวชี้วัด โดยปกติดวงอาทิตย์จะขึ้น ณ มุมกวาด 65 องศา (azimuth 65) ทีมงานประกอบด้วยตัวผมและนักวิชาการท้องถิ่นชื่อคุณนกภูเพ็ก ขึ้นไปที่ปราสาทภูเพ็กตั้งแต่เวลาตีห้าเช้ามืดวันที่ 21 มิถุนายน 2562 เพื่อเก็บภาพและตรวจสอบตำแหน่งดวงอาทิตย์ด้วยเข็มทิศแม่เหล็กและแท่งหินทรายที่ตั้งชื่อว่า "สุริยะปฏิทินขอมพันปี"

          อนึ่ง หลายท่านอาจถามว่า "ทำไมต้องไปปฏิบัติการที่ปราสาทภูเพ็ก" ต้องตื่นแต่เช้ามืดและเดินขึ้นบันไดร่วม 500 ขั้น เหนื่อยแทบตาย สู้ปฏิบัติการอยู่แถวๆสนามมิ่งเมืองไม่ดีกว่าหรือ สบายกว่ากันเยอะเลย? มีคำอธิบายด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดังนี้

         1.ปราสาทภูเพ็กเป็นโบราณสถานยุคขอมเรืองอำนาจ มีคุณสมบัติทางดาราศาตร์เพราะถูกออกแบบให้ตรงกับทิศทั้งสี่ (the four cardinals) และมีแท่งหิน "ครรภบัตร" ที่สามารถชี้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ได้อย่างดีเสมือนเป็น "สุริยะปฏิทิน" จึงเป็นตัวช่วยในการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับวัดมุมตกกระทบดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า "นาฬิกาแดด" ให้ตรงกับทิศเหนือแท้ได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องพึ่งเครื่องมือวิทยาศาสตร์

       2.ปราสาทหลังนี้ตั้งอยู่บนยอดภูเขา +520 เมตร จากระดับน้ำทะเลทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์ได้อย่างสวยงามไร้สิ่งบดบัง ถ้าไปใช้สถานที่อื่นๆอาจจะถูกบดบังด้วยสิ่งก่อสร้าง เช่น อาคารพาณิชย์ เสาไฟฟ้า ฯลฯ ขณะเดียวกันที่นี่ไม่มีผู้คนมายุ่มย่ามเหมาะแก่การเก็บข้อมูลอย่างมีสมาธิ 

       3.ปฏิบัติการดาราศาสตร์ในสไตล์ของผมก็เหมือนภาพยนต์ประเภท Indiana Jonnes หรือ Discovery Channel ต้องมีเรื่องราวประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นองค์ประกอบ (Story Behind) เพื่อให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้นและเร้าใจ ไม่งั้นจะกลายเป็นปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่จืดชืดไร้อารมณ์

 

 ปราสาทภูเพ็กเหมาะอย่างยิ่งต่อปฏิบัติการทางดาราศาสตร์อีกทั้งมีเรื่องราวลักษณะ Story Behind ที่ตื่นตาตื่นใจ

 

 

ผมและคุณนกภูเพ็กเดินขึ้นบันไดร่วม 500 ขั้น เพื่อไปท่ีปราสาทภูเพ็ก เช้าตรู่ตั้งแต่ 05:00 วันที่ 21 มิถุนายน 2562

 

มองขอบฟ้าจากยอดภูเขาภูเพ็ก ณ เวลา 05:33 น. ดวงอาทิตย์ยังไม่ปรากฏ

 

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ชื่อ The Starry Night แสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์ยามเช้าในปรากฏการณ์ "ครีษมายัน" (summer solstice) ณ มุมกวาด 65 องศา (azimuth 65) 

 

ดวงอาทิตย์ขึ้นที่ขอบท้องฟ้า ณ เวลา 05:48 น.

 

ใช้เข็มทิศแม่เหล็กชี้ไปที่ตำแหน่งมุมกวาด 65 องศา (azimuth 65) คาดว่าดวงอาทิตย์น่าจะโผล่ขึ้นตรงนี้ และเมื่อถึงเวลา 05:48 ก็ได้ภาพดวงอาทิตย์ ณ ตำแหน่งที่กำหนดจริงๆ 

 

 

เปรียบเทียบภาพระหว่างเช้ามืดและดวงอาทิตย์เริ่มขึ้น

 

ใช้เข็มทิศแม่เหล็กจับพิกัดตำแหน่งดวงอาทิตย์ที่ขอบท้องฟ้าได้ ณ มุมกวาด 65 องศา (azimuth 65) ตรงกับข้อมูลในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์

 

        ถอดรหัสแท่งหิน "ครรภบัตร" พบสุริยะปฏิทิน

           เดือนกรกฏาคม 2544 ได้ขึ้นไปสำรวจปราสาทภูเพ็กโดยมีลูกสาวคนเล็กขึ้นไปเป็นเพื่อน (กรวิกา บุณโยทยาน น้องนุ้ย กำลังเรียนมัธยมที่พังโคนวิทยาคม) เดินไปที่หน้าประตูปราสาทด้านทิศตะวันออกเห็นแท่งหินสี่เหลี่ยมมีสัญลักษณ์รูปร่างประหลาดวางอยู่ข้างหลังแท่งศิวะลึงค์ จึงใช้เข็มทิศแม่เหล็กวางทาบลงไปพบว่าแท่งหินนี้ทำมุมสอดคล้องกับหลักดาราศาสตร์ จึงเกิดความสงสัยว่าต้องมีนัยอะไรสักอย่างเพราะสัญลักษณ์ช่องหินด้านทิศตะวันออกชี้ไปที่ตำแหน่งปรากฏการณ์ "วิษวัต" จึงวางแผนจะกลับไปที่นั่นอีกครั้งเช้ามืดวันที่ 23 กันยายน 2544 โดยเรียนท่านเจ้าอาวาสวัดพระธาตุภูเพ็ก (หลวงปู่กง) ว่าจะขออนุญาตขึ้นไปบนปราสาทเช้ามืดวันดังกล่าว ท่านก็ได้มอบให้พระภิกษุชื่อหลวงพี่เจี้ยบเป็นเพื่อนในวันดังกล่าว

            คืนวันที่ 22 กันยายน 2544 ขับรถไปนอนที่บ้านภูเพ็ก ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม โดยพักที่บ้านของอาจารย์พิศวง สายสร้อย อดีตนิติกรสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดสกลนครซึ่งเป็นเพื่อร่วมงานกันมาก่อนหลายปี โดยมีนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ชื่อไกรราศฯเป็นเพื่อน เช้ามืด 23 กันยายน 2544 ก็รีบตื่นและขับรถขึ้นไปจอดที่ลานวัดพระธาตุภูเพ็กพบกับหลวงพี่เจี้ยบ เราทั้งสามคนรีบเดินขึ้นปราสาทภูเพ็ก และที่สุดก็ได้เห็นและถ่ายภาพปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" (Autumnal Equinox 23 Sep 2001) ดวงอาทิตย์ทำมุมตรงกับตำแหน่งทิศตะวันออกของแท่งหินดังกล่างอย่างแม่นยำ  

 

กรมศิลปากรเรียกแท่งหินนี้ว่า "ครรภบัตร" (Deposit Stone) ถูกฝังอยู่ใต้ศิวลึงค์ภายในฐานโยนี

 

 

           หนังสือ "ร้อยรอยเก่าสกลนคร" พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2555 โดยกรมศิลปากร อธิบายว่า "ครรภบัตร" เป็นแท่งหินรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านบนตรงกลางเป็นช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 22 ซม และมีช่องสี่เหลี่ยมขนาด 5 x 5 ซม เจาะเรียงเป็นแนวรอบช่องสี่เหลี่ยมตรงกลางด้านละ 5 ช่อง รวมทั้งสิ้น 16 ช่อง

            "ครรภบัตร" คือแท่งหินสำหรับบรรจุสัญลักษณ์มงคลสำหรับประกอบพิธีฝังอาถรรพณ์ก่อนการประดิษฐานรูปเคารพ โดยจะอยู่ภายในแท่นที่ประดิษฐานรูปเคารพอีกชั้นหนึ่ง ช่องเหล่านี้เจาะสำหรับบรรจุแผ่นโลหะ หินรัตนชาติ หรือสิ่งของอื่นๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ของอนุภาคทั้งหลายในจักรวาล ตามตำแหน่ง ทิศ และระดับความสำคัญ ครรภบัตรที่มีการบรรจุสัญลักษณ์อย่างถูกต้องจะทำหน้าที่เป็น "มณฑล" หรือแผนผังจักรวาลในรูปย่อที่รวมพลังอำนาจและความศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในจักรวาล อันจะส่งกระแสถ่ายทอดความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่รูปเคารพที่ประดิษฐานอยู่ด้านบน รูปเคารพนั้นจะเกิดมีชีวิตและพลังอำนาจกลายเป็นตัวแทนอันสมบูรณ์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า 

 

สุริยะปฏิทินขอมพันปีชี้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ครีษมายัน (Summer Solstice) 21 June 2019 

 

อีกภาพของดวงอาทิตย์กับสุริยะปฏิทินขอมพันปี

 

 

แท่งหินทรายก้อนนี้คือ "ครรภบัตร" (deposit stone) จะถูกฝังอยู่ใต้ฐานโยนีและแท่งศิวลึงค์ นักวิชาการกรมศิลปากรได้อธิบายในหนังสือชื่อ "รอยอดีตสกลนคร" ว่าแท่งหินนี้อาจเป็นเสมือน "ผังจักรวาล" ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นส่วนตัวของผมว่า "สุริยะปฏิทิน" 

 

ปราสาทภูเพ็ก ทำหน้าที่เป็นสุริยะปฏิทินโดยชี้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ดาราศาสตร์

 

ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์สำคัญทั้ง 4 ฤดู  

 

 

ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สำคัญทั้ง 4 ฤดูกาล เริ่มตั้งแต่ vernal equinox, summer solstice , autumnal equinox and winter solstice

 

เชื่อว่าแท่งหิน "ครรภบัตร" มีคุณสมบัติเป็น "สุริยะปฏิทิน" ได้อีกหน้าที่หนึ่งเพราะมีความสอดคล้องกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์สำคัญ คือ Equinox, Summer Solstice และ Winter Solstice 

 

สอบเทียบตำแหน่งดวงอาทิตย์ด้วยเข็มทิศแม่เหล็กและแท่งหินสุริยะปฏิทินขอมพันปีได้ข้อมูล azimuth 65 

 

       3.วัดมุมตกกระทบของดวงอาทิตย์เพื่อคำนวณมุมเอียงของโลก

          แบ่งการเก็บข้อมูลมุมตกกระทบดวงอาทิตย์ ณ เที่ยงสุริยะ ออกเป็น 2 ส่วน คือ Experiment 1 ใช้แท่งเหล็กสูง 109 ซม. และ Experiment 2 ใช้นาฬิกาแดดขนาด 5 ซม.

 

Experiment 1 เป็นแท่งเหล็กสูง 109 ซม ส่วน Experiment 2 เป็นนาฬิกาแดดขนิด Horizontal ขนาด 5 ซม. 

 

          3.1 Experiment 1

          ติดตั้งแท่งเหล็กสูง 109 ซม. ให้ได้ฉากกับพื้นดินที่ราบเรียบ ณ ทิศเหนือของปราสาทภูเพ็ก เลือกเอาบริเวณที่แสงอาทิตย์ส่องได้ทั่วถึงระหว่างเช้าจนถึงประมาณเที่ยงเศษๆ และบันทึกการเคลื่อนที่ของปลายเงาแท่งเหล็กด้วยก้อนหินขนาดเล็ก เรียกว่าการทำ shadow plot 

 

วางก้อนหินเพื่อบันทึกตำแหน่งยอดเงาของแท่งเหล็กตั้งแต่ 09:30 น.

 

วางก้อนหินเพื่อบันทึกการเคลื่อนที่ของเงาดวงอาทิตย์

 

การเคลื่อนที่ของเงาดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "ครีษมายัน" (summer solstice) เป็นเส้นโค้ง 

 

เงาของแท่งเหล็กจะตรงกับทิศเหนือ เป็นการยืนยันตำแหน่งดวงอาทิตย์ ณ เที่ยงสุริยะ วัดความยาวของเงาได้เท่ากับ 12 ซม.

 

มุมตกกระทบของดวงอาทิตย์ ณ เที่ยงสุริยะเท่ากับ 6.28299 เมื่อนำไปบวกับมุมตกกระทบของปรากฏการณ์วสันตวิษุวัติ 17.354 จะได้ค่ามุมเอียงของโลกเท่ากับ 23.63699 องศา 

 

ภาพปฏิบัติการอีราโต้สทีเน้ส (Operation Eratosthenes II) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 

 

ได้ค่ามุมตกกระทบดวงอาทิตย์ ณ เที่ยงสุริยะ เท่ากับ 17.354 องศา ซึ่งเป็นค่าเดียวกันกับองศาของเส้นรุ้ง ณ ปราสาทภูเพ็ก 

 

          3.2 Experiment 2

          วางนาฬิกาแดดให้ตั้งฉากกับเส้นรอยขีดที่ผนังของ "ท่อโสมสูตร" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปราสาทภูเพ็ก 

 

ท่อโสมสูตร (Somasutra) หมายถึงท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อประกอบการทำพิธีสำคัญ ท่อนี้อยู่ที่ทิศเหนือของปราสาทและชี้ตรงไปที่ทิศเหนือแท้ตามความเชื่อของบรรพชนในยุคนั้น 

 

วางนาฬิกาแดดให้ตั้งฉากกับเส้นแนวดิ่งของท่อโสมสูตร โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ใดๆทั้งสิ้น

 

 

นาฬิกาแดดทำมุมฉากกับผนังของปราสาทด้านทิศเหนือและรอยขีดแนวดิ่งของท่อโสมสูตร

 

เงาของนาฬิกาแดดจะเริ่มเคลื่อนจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก

 

เงาของนาฬิกาแดดจะเริ่มสั้นลงเมื่อเข้าใกล้เวลาเที่ยงสุริยะ (solar noon) 

 

งานาฬิกาแดดสั้นลงเรื่อยๆเมื่อเข้าใกล้เวลาเที่ยงสุริยะ

 

เงานาฬิกาแดดจะสั้นที่สุด ณ เวลาเที่ยงสุริยะ และชี้ตรงกับทิศเหนือแท้ 

 

วัดความยาวของเงาได้เท่ากับ 0.55 ซม.

 

เส้นสีแดงคือมุมตกกระทบของดวงอาทิตย์ ณ เที่ยงสุริยะ

 

มุมตกกระทบ ณ เที่ยงสุริยะจากการวัดของนาฬิกาแดดเท่ากับ 6.2773 องศา เมื่อนำไปบวกกับมุมตกกระทบของปรากฏการณ์วสันตวิษุวัต 17.354 จะได้ค่ามุมเอียงของโลก 23.6313 องศา

 

          3.3 ประมวลผล Experiment 1 และ Experiment 2 

         ค่าเฉลี่ยมุมเอียงของโลกจากทั้งสอง Experiment เท่ากับ 23.634145 องศา เมื่อเปรียบเทียบกับมุมเอียงของโลกจริงๆตามข้อมูล Google 23.43676 องศา มีค่าความคลาดเคลื่อนเพียง 0.197385 องศา หรือ 0.84% 

 

 

           สรุป

           ปฏิบัติการชูหลีครั้งที่ 4 (Operation Chou Li Episode IV) ยืนยันด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ว่า "มุมเอียงของโลก" ยังคงปกติ แสดงว่าความผันผวนของภูมิอากาศที่เรียกว่า Climate Change เกิดจากเงื้อมมือของมนุษย์กิเลสหนาอย่างเราๆท่านๆนี่แหละที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างล้างผลาญ ดังนั้นจึงขอเชิญชวนให้ทุกท่านได้ตระหนัก หันมาให้ความร่วมมือตามข้อตกลง Paris Agreement ที่ให้ทุกประเทศลดการปล่อยกาซ CO2 และอย่าให้อายเด็กอายุ 16 ปีชาวสวีเดนชื่อ Greta Thanberg ที่กล่าวคำคมว่า "ไม่มีใครเล็กเกินไปที่จะทำอะไรสักอย่าง" (No one is too small to do something)  

 

 

 

 

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ