ReadyPlanet.com
dot
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletMegalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ปี "อธิกสุรทิน" ทำไมต้อง 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




พระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้

 

        พระยาสุระอุทก .........หนองหารหลวง 

        ตำนานที่จับต้องได้

          ฟังเรื่องราวตำนานเมืองหนองหารหลวงในเวอร์ชั่น "พระยาสุระอุทก" เปรียบเทียบกับเวอร์ชั่น "ผาแดง นางไอ่" พบว่าตำนานพระยาสุระอุทกน่าจะมีเค้าโครงจากความเป็นจริงมากกว่าเพราะสามารถพิสูจน์เชิงวิทยาศาสตร์และโบราณคดีด้วยหลักฐานที่เรียกว่า "วัตถุพยาน" และตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ รวมทั้งปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่สอดคล้อง 

 

 

 

            คำบอกเล่าจากท่าน ผศ.ดร.สพสันติ์ เพชรคำ อดีตผู้อำนวยการศูนย์หนองหารศึกษา บอกว่าการตั้งเมืองเดิมตามตำนานหนองหารหลวงอยู่ที่บริเวณบ้านน้ำพุ ต.บ้านแป้น อ.โพนนาแก้ว ด้านทิศตะวันออกของหนองหาร ต่อมาย้ายมาสร้างเมืองใหม่ ณ ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นเมืองสกลนครปัจจุบัน ประกอบกับเมื่ออ่านเอกสารที่มีผู้รวบรวมในชื่อ "สกล ซิตี้" ก็ได้เรื่องราวเพิ่มเติมทำให้ร้อยเรียงเรื่องราวได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามเรื่องทั้งหมดนี้เป็นเพียงตำนานไม่ใช่ประวัติศาสตร์ ผู้รวบรวมก็พูดตรงๆว่าคัดลอกเอามาจาก internet และมาเรียบเรียงใหม่ให้ดูง่ายขึ้น

          เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นภาพก่อนนำเข้าสู่บทเรียนจึงขอเล่าเรื่องราวโดยสังเขป ดังนี้ 

          1.กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วขุนขอมราชบุตรของเจ้าเมืองอินทปัตถ์นคร (เข้าใจว่าเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรขอม ปัจจุบันน่าจะตรงกับ Siem Reap ประเทศกัมพูชา) นำครอบครัวและข้าทาสบริวารมาตั้งบ้านเรือนที่ริมบึงหนองหารตรงท่านางอาบ ปัจจุบันคือบ้านน้ำพุ ต.บ้านแป้น อ.โพนนาแก้ว และให้ชื่อเมืองนี้ว่า "หนองหารหลวง"

 

 

          2.ขุนขอมมีบุตรชายชื่อว่า "สุระอุทกกุมาร" ในวันประสูติมีพระขรรค์ติดตัว และเกิดปรากฏการณ์ "น้ำพุ" พุ่งขึ้นมาจากใต้ดินใกล้ๆกับเมือง จึงตั้งชื่อบริเวณนั้นว่า "ซ่งน้ำพุ" เมื่อขุนขอมสิ้นพระชนม์ เจ้าสุระอุทกก็ขึ้นครองเมืองมีนามตามท้องเรื่องว่า "พระยาสุระอุทก" พระยาสุระอุทกให้กำเนิดบุตรชายสองคน ชื่อว่า เจ้าภิงคาร และเจ้าคำแดง

 

 

 

         3.ต่อมาพระยาสุระอุทกเกิดเรื่องวิวาทกับพญานาคธนมูลมีการต่อสู้กันด้วยอิทธิฤทธิ์ของทั้งคู่แต่ไม่มีใครแพ้หรือชนะ พยานาคธนมูลยังคงเจ็บใจจึงพาบรรดาพรรคพวกแปลงกายเป็น "เก้งเผือก" เดินทางมายังนครหนองหารหลวง ฝ่ายพระยาสุระอุทกทราบข่าวว่ามีเก้งเผือกมากินหญ้าอยู่นอกเมืองจึงสั่งให้นายพรานไปล่าเอาเนื้อมาแบ่งกันกิน พอตกดึกผู้คนหลับหมดเก้งเผือกคืนร่างเป็นเหล่าพญานาคบุกเข้าโจมตีเมืองจนจมลงเป็นส่วนหนึ่งของบึงหนองหาร และใช้บ่วงนาคราชรัดคอพระยาสุระอุทกจนเสียชีวิตและลากศพไปทิ้งแม่น้ำโขง

 

 

       4.อย่างไรก็ตามบุตรชายทั้งสองคือเจ้าภิงคารและเจ้าคำแดงพร้อมด้วยชาวเมืองจำนวนหนึ่งไหวตัวทันและว่ายน้ำหนีเอาชีวิตรอดไปอยู่ที่เกาะดอนสวรรค์ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่กลางบึงหนองหาร

        5.ชาวเมืองจึงทูลเกล้าให้เจ้าภิงคารขึ้นเป็นเจ้าครองเมืองมีนามตามท้องเรื่องว่า "พระยาสุวรรณภิงคาร" และย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่บริเวณ "ภูน้ำลอด" ฝั่งตรงกันข้ามกับเมืองหนองหารหลวงเก่า และสร้างปราสาทที่กลางเมืองชื่อว่า "ธาตุเชิงชุม" มีความหมายว่าเป็นที่ประทับรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าสี่พระองค์ ปัจจุบันมีชื่อว่า "พระธาตุเชิงชุม" 

      6.ตำนานของบ้านน้ำพุมีคำกล่าวว่า......ในวันสงกรานต์ของทุกปีเจ้าเมืองหนองหารหลวงจะมาสรงน้ำพุที่เคยเป็นที่ตั้งของเมืองหนองหารหลวงเก่า 

 

ป้ายแสดงตำนานบ้านน้ำพุ มีข้อความระบุว่าทุกปีในวันสงกรานต์เจ้าเมืองหนองหารหลวงจะมาสรงน้ำพุ ณ สถานที่แห่งนี่

 

        ตำนาน ....... มีเค้าจากเรื่องจริง

           หลายท่านที่เป็นคนรุ่นใหม่อาจมองว่า "ตำนาน" เป็นเรื่องนิทานลมๆแล้งๆ แต่ในประสบการณ์ส่วนตัวของผมเชื่อว่าตำนานน่าจะมีเค้าจากเรื่องจริงบางส่วนและนำมาใส่ใข่ให้ดูน่าอัศจรรย์เหมือนกับตำนานของหลายประเทศ จะยกตัวอย่างให้ดูเป็นน้ำจิ้มสัก 3 แห่ง

          1.ตำนานการสร้างกรุงโรมตามชื่อของเด็กสองคนคือโรมุสและโรมิรุสที่แม่เอาไปทิ้งในป่าและมีหมาป่าแม่ลูกอ่อนมาพบจึงเกิดความสงสาร นำเด็กน้อยทั้งคู่ไปเลี้ยงเป็นลูกจนเติบใหญ่เป็นชายหนุ่มที่แข็งแรงและเป็นผู้สร้างกรุงโรม ดังนั้นถ้าท่านไปเที่ยวที่ประเทศอิตารี่จะเห็นอนุเสาวรีย์เป็นรูปหมาป่ากำลังให้นมเด็กสองคน

 

 

ตามแหล่งโบราณสถานของประเทศอิตารีจะมีอนุเสาวรีย์เป็นรูปหมาป่ากำลังให้เด็กสองคนกินนม

นั่นคือโรมุสและโรมิรุสผู้สร้างกรุงโรม

 

          2.ตำนานกรุงทรอย (Troy) รู้จักกันดีในเรื่องราวของ "ม้ากรุงทรอย" (The horse of Troy) ใครๆก็ฟันธงว่าเป็นเพียงนิทานสนุกๆแต่เศรษฐีชาวอเมริกันเชื้อสายเยรมันชื่อเฮนริช ชลีมัน (Heinrich Schliemann) เชื่อว่ากรุงทรอยต้องมีตัวจนจริงจึงลงทุนขออนุญาตรัฐบาลตุรกีทำการขุดค้นเมื่อปี ค.ศ.1868 จนพบว่ากรุงทรอยมีตัวตนจริงๆ ปัจจุบันซากโบราณสถานแห่งนี้กลายเป็นแหล่งสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการท่องเที่ยวแก่ประเทศตุรกี

 

 

ตำนาน "ม้าแห่งกรุงทรอย" เป็นเสมือนนิยายโด่งดังไปทั่วโลก

จนกลายเป็นสำนวนภาษาอังกฤษว่า The Horse of Troy มีความหมายว่า "กลลวง" 

 

ตำนานกรุงทรอยที่ใครก็คิดว่าเป็นเรื่องนิยายสนุกๆ

แต่นักสำรวจที่ชื่อ Heirich Schliemann ปักใจว่าเป็นเรื่องจริงและลงมือขุดค้นจนในที่สุดกรุงทรอยก็ปรากฏแก่สายตามหาชน

 

          3.ตำนานเทพเจ้ากูลกูข่านของชาวมายาโบราณ (ปัจจุบันเป็นจังหวัดยูคาตัน ประเทศเม็กซิโก) พวกเขาเชื่อว่าในวันที่โลกตั้งฉากกับดวงอาทิตย์กลางวันเท่ากับกลางคืน เทพเจ้ากูลกูข่านในร่างพญางูยักษ์จะเลื้อยลงมาจากท้องฟ้า พวกเขาจึงสร้างปีรามิดชื่อว่า Pyramid Kukulkan ให้มีเรื่องราวสอดคล้อง ปัจจุบันเป็นแหล่งทำเงินทำทองจากการการท่องเที่ยวของรัฐบาลเม็กซิกันที่ผู้คนแห่ไปชมปรากฏการณ์พญางูยักษ์เลื้อยลงมาจากยอดปีรามิดในวัน "วิษุวัต" (equinox) ระหว่าง 19 - 22 มีนาคม และ 21 - 24 กันยายน

 

 

ปีรามิดกูกูลข่าน (Pyramid Kukulkan) ที่ประเทศเมกซิโก

มีปรากฏการณ์เงาของดวงอาทิตย์เป็นภาพพญางูยักษ์เลื้อยลงมาจากท้องฟ้าในวัน Equinox 

 

 

 ผมไปดูด้วยตนเองเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2559 ตรงกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่เรียกว่า "วสันตวิษุวัต" (Vernal Equinox)
พระยาสุระอุทก ..... ตำนานที่จับต้องได้
เพื่อให้เรื่องราวของพระยาสุระอุทกมีความเป็นวิทยาศาสตร์จึงได้ค้นคว้าหลักฐานทางโบราณคดีตามข้อความต่างๆที่ปรากฏในตำนาน พบว่ามีความน่าสนใจหลายประการ ดังนี้
1.น้ำพุธรรมชาติเกิดขึ้นที่บริเวณบ้านน้ำพุ ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของหนองหาร พิสูจน์ตามหลักธรณีวิทยาทราบว่าที่ตั้งของหมู่บ้านนี้เป็นพื้นที่ตำ่กว่าหมู่บ้านใกล้เคียง เช่น บ้านนาแก้ว ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำที่สะสมใต้ดินไหลมาโผล่เป็นน้ำพุธรรมชาติ สามารถอธิบายตามหลักอุทกวิทยาว่าเกิดจากความต่างระดับของน้ำใต้ดิน (hydraulic head)
 
ภาพแสดงการเกิดน้ำพุพุ่งขึ้นมาจากใต้ดินโดยธรรมชาติตามหลักวิขาอุทกวิทยา
 
น้ำพุธรรมชาติเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนและหยุดไหลในฤดูแล้งเมื่อน้ำที่สะสมใต้ดินแห้งลง
 
2.พบกองขี้ตะกรันโลหะในบริเวณบ้านน้ำพุ แสดงว่าต้องมีการหลอมโลหะเพื่อผลิตเป็นเครื่องมือและอาวุธ ดังนั้นก็น่าจะเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดใหญ่ที่มีความเจริญทางโลหะวิทยา
กองขีตะกรันโลหะพบบริเวณใกล้ๆกับน้ำพุธรรมชาติ
 
3.พิจารณาจากภาพถ่าย Google Earth จะเห็นได้ชัดเจนว่าบริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า "ท่านางอาบ" มีคันดินคล้ายกับขอบเขตการตั้งเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง ปัจจุบันคันดินดังกล่าวก็ยังคงปรากฏชัดแต่เป็นที่ดินของส่วนบุคคลจึงไม่สามารถเข้าไปขุดค้น
 
 
4.ตามข้อความในตำนานที่กล่าวถึงบุตรชายทั้งสองของพระยาสุระอุทกคือ "เจ้าภิงคาร" และ "เจ้าคำแดง" รอดชีวิตด้วยการว่ายน้ำไปอยู่ที่เกาะดอนสวรรค์ และย้านเมืองมาตั้งอยู่บริเวณ "ภูน้ำลอด" ฝั่งตรงกันข้ามกับเมืองหนองหารเดิม และชาวเมืองได้ทูลเกล้าให้เจ้าภิงคารขึ้นเป็นเจ้าเมืองในชื่อว่า "พระยาสุวรรณภิงคาร" มีมเหสีชื่อว่า "พระนางนารายณ์เจงเวง" และมีการสร้างปราสาทชื่อว่า "ธาตุเชิงชุม" เป็นศูนย์กลางของเมืองหนองหารหลวงใหม่เพื่อรำลึกถึงการที่พระพุทธเจ้า 4 พระองค์มาประทับรอยพระบาทไว้ ณ สถานที่นี้ ปัจจุบันเป็นตัวเมืองสกลนครซึ่งสร้างทับผังเมืองขอมโบราณ ประเด็นที่น่าสนใจของการสร้างเมืองใหม่คือ
ทำไมต้องเลือกตรงนี้ .... ที่เหมาะสมของการสร้างเมืองริมหนองหารมีตั้งเยอะแยะ เช่น บริเวณพระธาตุดุม หรือบ้านดอนเหล่าทัพ ฯลฯ และยิ่งกว่านั้นเมืองหนองหารหลวงใหม่มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมหันหน้าตรงไปยังบริเวณเมืองหนองหารหลวงเก่าที่ฝั่งทิศตะวันออกของหนองหาร โดยกำหนดให้ center-line ทำมุมกวาดจากทิศเหนือ 80 องศา (azimuth 80)
 
สถานที่เหมาะสมของการสร้างเมืองหนองหารหลวงแห่งใหม่มีตั้งเยอะแยะแต่ทำไมต้องเลือก ณ สถานที่นี้ แสดงว่าต้องมีนัยสำคัญให้ทำมุมตรงกับเมืองหนองหารหลวงเก่าที่ฝั่งตรงข้ามในทิศตะวันออก ปัจจุบันคือบ้านน้ำพุ ต.บ้านแป้น อ.โพนนาแก้ว
 
ภาพถ่าย Google Earth ยืนยันว่าผังเมืองสี่เหลี่ยมของสกลนครทำมุมกวาด 80 องศา (Azimuth 80)
 
 
ภาพถ่ายปี 2497 แสดงว่าเมืองหนองหารหลวงแห่งใหม่มีรูปร่างสี่เหลี่ยม และทำมุมกวาด 80 องศา
 
 
บาราย (สระน้ำศักดิ์สิทธิ์) และพระธาตุเชิงชุม (ปราสาทขอม) ทำมุมเท่ากับ 80 องศาเพื่อสอดคล้องกับผังของตัวเมืองรูปสี่เหลี่ยม การวางผังเมืองแบบนี้เป็นสไตล์ที่เรียกว่า "ไฟต์บังคับ" ของอาณาจักรขอม 
 
พระธาตุเชิงชุมที่เห็นในปัจจุบันเป็นศิลปะล้านช้างสร้างครอบปราสาทขอมไว้ข้างใน
 
ภาพถ่าย Google Earth แสดงค่ามุมกวาดของพระธาตุเชิงชุมที่ 80 องศา
 
 
คนรุ่นใหม่ที่เป็นสาวก IPhone สามารถพิสูจน์มุมของพระธาตุเชิงชุมด้วยตนเองว่าเท่ากับ 80 องศา
 
 
ตรวจสอบด้วยอุปกรณ์ GPS ยี่ห้อดัง Garmin ก็ confirm มุมกวาดของพระธาตุเชิงชุมที่ 80 องศา 
 
ถ่ายภาพทางอากาศจาก Nok Air ก็มองเห็นว่าเมืองสกลนครหันไปทางบ้านน้ำพุ  
 
5.ตามข้อความที่ปรากฏในป้ายการท่องเที่ยวบ้านน้ำพุกล่าวถึง "วันสงกรานต์ของทุกปีเจ้าเมืองหนองหารหลวงจะมาสรงน้ำพุ" ณ สถานที่แห่งนี้ ซึ่งสอดคล้องกับคำจารึกภาษาขอมโบราณที่ขอบประตูวัดพระธาตุเชิงชุมที่กล่าวถึง ........ ถวายแด่สงกรานต์ แสดงเมืองหนองหารหลวงต้องมีความเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางโหราศาสตร์และดาราศาสตร์ที่มีชื่อว่า "สงกรานต์" ในที่นี้น่าจะหมายถึง "มหาสงกรานต์" ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูแต่ครั้งโบราณที่อธิบายถึงช่วงเวลา ณ ดวงอาทิตย์เคลื่อนออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ดังนั้น เพื่อพิสูจน์เชิงประจักษ์จึงต้องรอให้ถึงวันสงกรานต์ 14 - 16 เมษายน ไปรอชมและถ่ายภาพดวงอาทิตย์ที่ประตูวัดพระธาตุเชิงชุม และสระพังทอง (บารายขอม)
 
คำจารึกภาษาขอมโบราณที่ประตูวัดพระธาตุเชิงชุมมีคำว่า ...... ถวายแด่สงกรานต์
 
 
ตามหลักโหราศาสตร์และดาราศาสตร์ "มหาสงกรานต์" คือปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์เคลื่อนออกจากราศีมีน (Pisces) เข้าสูราศีเมษ (Aries) ใช้โปรแกรมดาราศาสตร์คำนวณย้อนหลังไปราวพันปีที่แล้วจะเห็นปรากฏการณ์มหาสงกรานต์และดวงอาทิตย์อยู่ที่ตำแหน่งมุมกวาด 80 องศา
 
ผู้สร้างปราสาทขอมที่กลางเมืองหนองหารหลวงมีเจตนาให้หันตรงกับ 80 องศา เพื่อสอดรับกับปรากฏการณ์มหาสงกรานต์ตามคำจารึก
 
ครั้นเมื่ออาณาขอมล่มสลายและจักรล้านช้างเข้ามาแทนที่ราวพุทธศตวรรษที่ 19 ได้ดัดแปลงปราสาทขอมให้เป็นพระธาตุตามความเชื่อของสาสนาพุทธนิกายหินยาน แต่ก็ยังคง center-line ไว้ที่ 80 องศา
ดวงอาทิตย์ยามเช้าของวันสงกรานต์ขึ้นตรงพิกัด center ของวัดพระธาตุเชิงชุม ซึ่งสิ่งก่อสร้างดั้งเดิมเป็นปราสาทขอมโบราณอยู่ข้างในองค์พระธาตุ 
ดวงอาทิตย์ในวันมหาสงกรานต์ 14 - 16 เมษายน ตรงกับประตูกลางของอุโบสถวัดพระธาตุเชิงชุม ถ้าถ่ายภาพทางด้านทิศตะวันตกขององค์พระธาตุจะเห็นแสงออร่าฉายบนท้องฟ้า

 

ภาพถ่ายดวงอาทิตย์จากภายในพระอุโบสถของวัดพระธาตุเชิงชุมในวันมหาสงกรานต์ ช่วง 14 - 16 เมษายน

 

14 เมษายน ดวงอาทิตย์ในวันมหาสงกรานต์ขึ้นตรงกับ center-line ของสระพังทอง (บาราย) ที่มุม 80 องศา

 

วันที่ 15 เมษายน ดวงอาทิตย์ก็ขึ้นตรงกับ center-line ของสระพังทอง (บาราย) และทำมุม 80 องศา

 

          6.ปราสาทภูเพ็ก ปราสาทนารายณ์เจงเวง เกาะดอนสวรรค์ ทั้งหมดนี้อยู่ในเส้นตรงเดียวกันชี้ไปที่บริเวณบ้านน้ำพุ และเส้นตรงดังกล่าวยังขนานกับ "เส้นศูนย์สูตรโลก" ทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" จึงเป็นเส้นตรงเดียวกัน

 

 

 

ประมวลภาพดวงอาทิตย์ขึ้นที่เกาะดอนสวรรค์ในทะเลสาปหนองหารในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" กลางวันเท่ากับกลางคืน ตรงกับวันที่ 1 เดือนไจตระ ปีใหม่ของปฏิทินมหาศักราชที่ใช้ในอาณาจักรขอม

 

ปฏิทินมหาศักราช (Saka Calendar) ที่ใช้ในราชสำนักของอาณาจักรขอม กำหนดให้วันที่ 1 เดือนไจตระ (1st of Chaitra Month) เป็นปีใหม่ และตรงกับปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) เทียบกับปฏิทินสากลในปัจจุบันคือ วันที่ 21-22 มีนาคม (ขึ้นอยู่กับว่าปีใหนเป็น "Leap Year" เดือนกุมภาพันธ์ มี 29 วัน )

 

วันที่ 1 เดือนไจตระ ปีใหม่แห่งปฏิทินมหาศักราช ดวงอาทิตย์ขึ้น ณ center ของปราสาทภูเพ็ก สกลนคร

 

ยิงมุมกล้องจาก centerline ของปราสาทภูเพ็ก บนยอดภูเขา +520 เมตร จะเห็นเกาะดอนสวรรค์ (สังเกตจากปลายยอดแท่งศิวลึงค์)

 

ในปรากฏการณ์วิษุวัต (equinox) ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงกับเกาะดอนสวรรค์ทำให้เกิดภาพเรืองเป็นสีแดง

 

เปรียบเทียบภาพถ่ายเกาะดอนสวรรค์เช้าตรู่วันธรรมดากับปรากฏการณ์วิษุวัต

 

ภาพซูมให้เห็นเกาะดอนสวรรค์ในเช้าตรู่วันธรรมดากับเช้าตรู่ปรากฏการณ์วิษุวัต

 

ประมวลภาพดวงอาทิตย์ตกบนยอดเขาซึ่งเป็นที่ตั้งปราสาทภูเพ็ก ในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" 

 

ภูเขาที่มีรูปร่างเหมือน "เขาพระสุเมรุ" ถูกเลือกให้เป็นสถานที่ตั้งปราสาทภูเพ็ก มองจากทะเลสาปหนองหาร

 

ภาพซูมภูเขาที่ชื่อภูเพ็ก

 

ภูเขาลูกนี้มีรูปร่างเหมือนเขาพระสุเมรุจึงถูกเลือกให้เปผ็นที่ตั้งของปราสาทภูเพ็ก

 

ปราสาทภูเพ็กตั้งอยู่บนยอดภูเขาที่ชื่อ "ภูเพ็ก" สูงจากระดับน้ำทะเล +520 เมตร

 

ภาพถ่ายระยะไกลจากทะเลสาปหนองหารมองเห็นดวงอาทิตย์หย่อนตัวลงที่ยอดภูเขาที่ชื่อ "ภูเพ็ก" ในปรากฏการณ์วิษุวัต

 

ภาพซูมให้เห็นดวงอาทิตย์หย่อนตัวที่ยอดเขา "ภูเพ็ก" 

 

ดวงอาทิตย์หายไปด้านหลังภูเพ็ก

 

การหย่อนตัวของดวงอาทิตย์บนยอดเขาภูเพ็กในปรากฏการณ์วิษุวัต

 

  

         สรุป

             แม้ว่าเรื่องราวของพระยาสุระอุทกเป็นเพียงตำนานที่เล่าขาน แต่สิ่งที่ปรากฏเป็นวัตถุพยานสอดคล้องกับเรื่องราวนั้นมีตัวจริงเสียงจริง ได้แก่การเลือกสถานที่ตั้งเมืองหนองหารหลวงแห่งใหม่ถูกกำหนดให้หันหน้าตรงกับเมืองหนองหารหลวงเก่าด้วยมุมกวาด 80 องศา ท่านสามารถพิสูจน์ด้วยตนเองด้วยเทคโนโลยียุค Thailand 4.0  อีกทั้งคำจารึกภาษาขอมโบราณที่กล่าวถึง "สงกรานต์" ก็พิสูจน์เชิงประจักษ์ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตรงกับตำแหน่ง center-line ของเมืองหนองหารหลวงจริงๆ  อย่างไรก็ตามมีคำถามที่ต้องขบคิดกันต่อไป เช่น

            1. ชื่อบุคคลที่ปรากฏในตำนาน "พระยาสุระอุทก" และ "พระยาสุวรรณภิงคาร" มีตัวตนจริงหรือไม่ ....... ความเห็นส่วนตัวของผมถือว่าชื่อเหล่านี้เป็น "นามตามท้องเรื่อง" แต่ที่แน่ๆเจ้าเมืองหนองหารหลวงมีตัวตนเป็นชาวขอมจริงๆ เพียงแต่เราๆท่านๆไม่พบจารึกว่าท่านเหล่านั้นมีนามว่าอย่างไร อนึ่งเท่าที่อ่านคำแปลภาษาไทยจากจารึกภาษาขอมที่วัดพระธาตุเชิงชุม มีการระบุชื่อตำแหน่งของผู้ปกครอง เช่น โขลญพล กำเสตง โลญ ไม่มีชื่อของบุคคลเป็นการเฉพาะ มีแต่ชื่อหมู่บ้าน 2 แห่งคือ "นุรพิเนา" และ "ชะเลง"

           2.ตำนานเรื่องนี่แต่งขึ้นโดยผู้ใดและสมัยไหน ในความเห็นส่วนตัวเชื่อว่าแต่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตรงกับยุคของเมืองสกลทวาปีถูกตั้งชื่อใหม่เป็นสกลนคร เพราะคำว่า "หนองหารหารหลวง" มีที่มาจากจารึกภาษาไทน้อยซึ่งใช้ในสมัยล้านช้างระบุคำว่า "ศรีเชียงใหม่หนองหาน" จารึกนี้พบที่บ้านท่าวัด ริมหนองหาร ตำบลเหล่าปอแดง อำเภอเมืองสกลนคร ถ้าจะอ้างอิงถึงการบันทึกทางประวัติศาสตร์ก็พอจะเทียบเคียงกับ ...... บันทึกของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อคราวเสด็จมาตรวจราชการที่เมืองสกลนครเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2449 ท่านกล่าวถึงชื่อปราสาทนารายณ์เจงเวงว่า "อรดีมายา" ซึ่งสะท้อนถึงอุรังนิทานที่ฝ่ายหญิงกับฝ่ายชายสร้างปราสาทแข่งกันเพื่อชิงความเป็นเจ้าของ "อุรังคธาตุ" สอดคล้องกับบันทึกของนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสชื่อ เอนเตี้ยน อะมอนีเยร์ เดินทางมาที่สกลนครก่อนหน้ากรมพระยาดำรงราชนุภาพราวๆ 2-3 ปี ก็ได้บันทึกเรื่องราวการแข่งขันสร้างปราสาทระหว่าฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง

          3.ทำไมไม่กล่าวถึงตำนาน "ผาแดง นางไอ่" ความเห็นส่วนตัวคิดว่าเรื่องนี้มีปรากฏที่หนองหานจังหวัดอุดรธานี ถ้าเราชาวสกลนครยกเรื่องนี้ขึ้นมาก็จะขัดอกขัดใจกัน เหมือนกับการใช้ชื่อ "หนองหาร" สกลนคร กับ "หนองหาน" อุดรธานี แต่เรื่องราวของพระยาสุระอุทก ....... เป็น Sakon Only และมีความสอดคล้องกับวัตถุพยานมากกว่า      

 

    

 

 

 

 

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ