ReadyPlanet.com


สุริยะปฏิทิน สิ่งที่คนสกลนครควรรู้


3 สุริยะปฏิทินคืออะไร

 

            บรรพชนชาวสุเมเรี่ยนที่เมืองนิปปูร์ (Nippur) ใช้ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์สร้างปฏิทินขึ้นมาเป็นครั้งแรกเมื่อห้าพันปีที่แล้ว (Nippurian calendar) นับเป็นต้นแบบของปฏิทินในปัจจุบัน พวกเขาใช้ปรากฎการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์เป็นตัวกำหนดช่วงเวลาต่างๆในรอบปี ดังนี้

1.วันเริ่มต้นของปีหรือปีใหม่ได้แก่วันที่กลางวันและกลางคืนเท่ากันพอดีในช่วงฤดูใบไม้ผลิ วันนี้ดวงอาทิตย์ขึ้นในทิศตะวันออกแท้(Due east) และตกในทิศตะวันตกแท้(Due west) เพราะทำมุมตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก ปัจจุบันเรียกว่า วสันตวิษุวัต (Vernal equinox หรือ Spring equinox) ตรงกับวันที่      21 มีนาคม (หลังจากวันนี้ไปดวงอาทิตย์จะค่อยๆคล้อยไปทางทิศเหนือ และช่วงเวลากลางวันจะเริ่มยาวขึ้นเรื่อยๆ) ณ วันนี้ดวงอาทิตย์อยู่ในจักรราศีเมษ หรือแกะทองคำ (Aries) ทางดาราศาสตร์ถือว่าเป็นวันปีใหม่ โหราศาสตร์สากลก็เรียกว่าจุดเริ่มต้นของราศีเมษ หรือ ปีใหม่เช่นกัน (First point of Aries) 

2.เมื่อดวงอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือจนถึงจุดที่ไกลที่สุดแล้ว ณ วันนั้นเรียกว่า ครีษมายัน (Summer solstice) กลางวันจะยาวที่สุดในรอบปี ที่จังหวัดสกลนคร เส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ กลางวันยาวถึง 13 ชั่วโมง กลางคืนเหลือเพียง 11 ชั่วโมง ถ้าเป็นที่ทวีปยุโรปและอเมริกา เส้นรุ้ง 30 องศาเหนือขึ้นไปกลางวันจะยิ่งยาวมากขึ้น ขนาดสามทุ่มยังสว่างอยู่เลยและยิ่งใกล้ขั้วโลกจะมองเห็นพระอาทิตย์ลอยอยู่ตอนเที่ยงคืน (Midnight Sun) ปัจจุบันตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน ในวันนี้ดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับโลกที่เส้นรุ้ง 23.5 องศาเหนือ และดวงอาทิตย์ก็อยู่ในจักรราศีของกลุ่มดาวฤกษ์ปู (Cancer) จึงเรียกเส้นรุ้งนี้ว่า Tropic of Cancer 

3.จากนั้นดวงอาทิตย์จะเคลื่อนกลับมาทางเก่าและถึงจุดที่กลางวันเท่ากับกลางคืนอีกครั้งหนึ่ง แต่เป็นฤดูใบไม้ร่วง เรียกว่าศารทวิษุวัต (Autumnal equinox หรือ Fall equinox) หลังจากวันนี้กลางวันจะเริ่มหดสั้นเข้าเรื่อยๆ คราวนี้ดวงอาทิตย์ค่อยๆคล้อยกลับไปทางทิศใต้

4.เมื่อดวงอาทิตย์คล้อยไปถึงจุดไกลสุดในทิศใต้ กลางวันจะหดสั้นที่สุดในรอบปี ที่จังหวัดสกลนครเหลือเพียง 11 ชั่วโมง ตอนเลิกงานห้าโมงเย็นก็เกือบมืดแล้ว เรียกว่าเหมายัน (Winter solstice) วันนี้ดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับโลกที่เส้นรุ้ง 23.5 องศาใต้ และดวงอาทิตย์ก็อยู่ในกลุ่มดาวฤกษ์จักรราศีแพะทะเล (Capricornus)  จึงเรียกเส้นรุ้งนี้ว่า Tropic of Capricorn หลังจากวันนี้ไปแล้วกลางวันจะเริ่มยาวขึ้นอีกและดวงอาทิตย์ค่อยๆคล้อยกลับไปทางทิศเหนือจนถึงจุดเดิมที่ปีใหม่ หรือวสันตวิษุวัต           

ทั้งหมดนี้กินเวลาทั้งสิ้นประมาณ 365.25 วัน ดังนั้นจึงปัดเศษให้ไปรวมกันเป็น 1 วัน ใน

ปีที่สี่ เดือนกุมภาพันธ์จึงมี 29 วันทุกๆ 4 ปี บรรพชนในสมัยก่อนไม่มีปฏิทินติดข้างฝาเหมือนพวกเราในปัจจุบัน จึงใช้ตำแหน่งการขึ้นของดวงอาทิตย์เป็นตัวบ่งชี้ว่าขณะนี้เราอยู่ในช่วงฤดูอะไร และเพื่อให้ง่ายต่อการสังเกตจึงทำเครื่องชี้ในรูปแบบของสิ่งก่อสร้าง เช่น

หน้า 35

ปราสาท เสาหิน หน้าต่าง ฯลฯ โดยให้ผู้สังเกตยืนอยู่ในจุดใดจุดหนึ่งที่มองเห็นดวงอาทิตย์ในยามเช้าได้ง่าย สำหรับปราสาทภูเพ็กน่าจะเป็นช่องประตูและหน้าต่างโดยดูจากแบบแปลนฐานราก แต่เสียดายที่สร้างไม่เสร็จเพราะมีการผละงานเสียก่อน    

          บรรพชนในอาณาจักรทั่วโลกได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้จากจุดเริ่มต้นที่เมโสโปเตเมีย ไม่ว่าจะเป็นชาวอียิปส์ที่ลุ่มน้ำไนล์ ชาวพื้นเมืองดั่งเดิมในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ชาวภารตะในชมพูทวีป และชาวขอมในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับอารยะธรรมมาจากอินเดีย ในสมัยนั้นกิจของมนุษย์ที่จำเป็นต้องใช้สุริยะปฏิทินมี 2 ประการหลักๆ กล่าวคือ

1.วันสำคัญทางศาสนาและวันเฉลิมฉลอง เช่นวันบูชาพระศิวะต้องให้ตรงกับวสันตวิษุวัตเพราะถือว่าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ หรือวันบูชาพระวิษณุตรงกับครีษมายันเพราะเป็นวันที่พระอาทิตย์ร้อนแรงที่สุด เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2545 ที่ผ่านมาชาวอังกฤษจำนวนหนึ่งถึงกับลงทุนเปลือยกายเต้นรำถวายที่หน้ากองหินปริศนา (Stonehenge) เป็นข่าวดังไปทั่วโลก ชาวเมโสโปเตเมียถือว่าวันวสันตวิษุวัตเป็นวันปีใหม่ ปัจจุบันปีใหม่เปลี่ยนไปอยู่ที่ 1 มกราคม เพราะการออกพระราชกฤษฏีกาของโป๊ปเกกอร์รี่ ที่ 13 แห่งกรุงโรม (Pope Gregory XIII) เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ..2125 ประกาศใช้ปฏิทินที่ชื่อว่า Gregorian calendar ซึ่งใช้เป็นปฏิทินสากลในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทยเรากำหนดวันปีใหม่ตรงกับมหาสงกรานต์ คือวันที่ 13 เมษายน มหาสงกรานต์ก็แปลว่าการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนจักรราศีใหม่ที่ยิ่งใหญ่ คือเปลี่ยนจากจักรราศีมีน (Pisces) ไปยังจักรราศีแกะทองคำ (Aries) ซึ่งตามหลักดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ถือเป็นจักรราศีแรกของปีจึงยิ่งใหญ่(มหา) แต่จริงๆแล้วเรามีสงกรานต์ทุกเดือนเพราะดวงอาทิตย์เปลี่ยนจากจักรราศีหนึ่งไปยังอีกจักรราศีหนึ่ง ตามหลักดาราศาสตร์และโหราศาสตร์สากล วันมหาสงกรานต์น่าจะตรงกับวสันตวิษุวัต 21 มีนาคม แต่โหราศาสตร์ของไทยเราช้ากว่าโหราศาสตร์สากลเกือบเดือนจึงทำให้จักรราศีแกะทองคำ (Aries) ของเรากลายเป็นวันที่ 13 เมษายน แทนที่จะเป็น 21 มีนาคม อย่างไรก็ตามโดยหลักการถือว่ายึดหลักดาราศาสตร์เดียวกันเพียงแต่นับวันที่ต่างกันเท่านั้น ประเทศไทยเริ่มใช้ปฏิทินเกเกอร์เรี่ยนเมื่อ พ..2431 ในรัชการที่ 5 ต่อมาจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ออกกฎหมายเปลี่ยนวันปีใหม่เป็น 1 มกราคม ตามชาติตะวันตก จากเอกสาร http://kaladarshan.arts.ohio-state.edu/seasia/angkor.html มีเหตุผลเชื่อได้ว่าพระเจ้าสุริยะวรมัน ที่ 2  ผู้สร้างนครวัด พ..1656 – 1693 ขึ้นครองราชในวันวสันตวิษุวัต ขณะเดียวกันศาสนาบาไฮ (Bahai) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไฮฟ่า (Haifa) ประเทศอิสราเอลก็ถือว่าวันนี้เป็นวันปีใหม่ ศาสนาพุทธมหายานในประเทศญี่ปุ่นมีพิธีเรียกว่า ฮิงัน ปีละ 2 ครั้ง ในช่วงวันวสันตวิษุวัต และศารทวิษุวัต ศาสนาพุทธก็ต้องใช้สุริยะปฏิทินเป็นตัวกำกับช่วงฤดูกาลของวันสำคัญ เช่น วันมาฆะบูชาต้องอยู่ในฤดูแล้งก่อนวันวสันตวิษุวัต เพราะคงไม่ดีแน่ถ้าพระสงฆ์พันกว่ารูปไปชุมนุมกันกลางฤดูฝน วันเข้าพรรษาต้องอยู่ในช่วงต้นฤดูฝนกึ่งกลางระหว่างครีษมายันกับศารทวิษุวัต  และวันลอยกระทงน่าจะอยู่ในช่วงก่อน เหมายัน ประมาณ 1 เดือน แต่วันสำคัญเหล่านี้ต้องอาศัย

 

หน้า 36

ปฏิทินจันทรคติ (Lunar calendar) โดยใช้วันพระจันทร์เต็มดวง (ขึ้น 15 ค่ำ) หรือ แรม 1 ค่ำ เมื่อปี พ..2544 วันลอยกระทงตรงกับ 31 ตุลาคมซึ่งเฉียดเข้ามาใกล้ฤดูฝน จึงต้องมีการปรับให้ถอยกลับไปอยู่ในเดือนพฤศจิกายน โดยวิธีชดเชยให้มีเดือน 8 สองครั้ง ทุกๆ 2 – 3 ปี เพราะปฏิทินจันทรคติสั้นกว่าสุริยะคติ  ปีละ 11 วัน หากไม่มีการปรับ 8-8 วันลอยกระทงจะร่นขึ้นไปเรื่อยๆจนไปอยู่กลางกลางฤดูฝนในปี 2550 ขณะเดียวกันก็ต้องให้พระเข้าพรรษากลางฤดูแล้ง และ

หน้า 6

ออกพรรษากลางฤดูฝน เมื่อถึงปี พ.. 2553 อย่างไรก็ตามปฏิทินของศาสนาอิสลามใช้จันทรคติอย่างเดียวโดยไม่สนใจสุริยะคติ ดังนั้นเทศกาลถือศีลอด (รามาดาน) และออกจากศีลอด (ฮารีรายอ) จึงเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆทุกฤดูกาล ในช่วงปี 2517 – 2519 ผมเป็นพัฒนากรตรี อยู่ที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล คุ้นเคยกับประเพณีของชาวมุสลิมเป็นอย่างดี ในช่วงเดือน “รามาดาน”ผมต้องกินข้าวถึงวันละ 5 มื้อ คือกลางวันกินตามปกติ 3 มื้อ แต่พอตกกลางคืนและดึกๆบรรดาโต๊ะอีหม่ามซึ่งรู้จักกันดีจะมาชวนผมกินร่วมกับพวกเขาอีก 2 มื้อ ตอน 3 ทุ่ม กับหลังเที่ยงคืน 

2.กำหนดช่วงเพาะปลูกที่ถูกต้องตามฤดูกาล ในสมัยก่อนข้าวที่ใช้ปลูกทั่วไปเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ ไวต่อช่วงแสง (Photo sensitive) หากปลูกไม่ถูกต้องตามฤดูกาลจะได้ผลผลิตน้อยเพราะต้องใช้ช่วงแสงของวันสั้นในระยะศารทวิษุวัต (Autumnal equinox) 23 กันยายน กระตุ้นให้ออกดอก เช่นข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ ข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6 ซึ่งมักเรียกว่าข้าวนาปี ชาวขอมน่าจะใช้สุริยะปฏิทินเป็นตัวชี้ฤดูทำนาที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรใช้เทคโนโลยีปรับปรุงพันธุ์ใหม่ๆให้ปลูกเมื่อไหร่ก็ได้เรียกว่าข้าวนาปรัง เช่น กข.7 กข.23 ปทุมธานี –1 ชัยนาท – 1 แต่คุณภาพการหุงต้มและความอร่อยสู้พวกพันธุ์นาปียังไม่ได้ สำหรับเมืองหนองหานหลวงควรปักดำในช่วงจักรราศีปูและจักรราศีสิงห์ (กลางเดือนกรกฏาคม – กลางเดือนสิงหาคม) เพื่อให้ข้าวตั้งท้องในราววันศารทวิษุวัต 23 กันยายน และไปเก็บเกี่ยวประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน

 อาจารย์เสถียร พรหมชัยนันท์ ผู้เชี่ยวชาญการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เจ้าของเทคโนโลยีหว่านวันแม่ เกี่ยววันพ่อ ยืนยันว่าข้าวหอมพันธุ์นี้มีความเกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์อย่างแน่นอนเพราะจะตั้งท้องจากการถูกกระตุ้นด้วยช่วงแสงอาทิตย์ซึ่งเริ่มหดสั้น ตั้งแต่จักรราศีหญิงสาว (Virgo)วันที่ 24 สิงหาคม หรือเท่ากับ 1 เดือนก่อนวันศารทวิษุวัต จนถึงสิ้นสุดจักรราศีแพะทะเล(Capricornus) วันที่ 20 มกราคม หรือเท่ากับ 1 เดือนหลังวันเหมายัน แต่ช่วงที่ดีที่สุดคือให้ตั้งท้องในราววันที่ 17 -24 กันยายน ซึ่งเป็นช่วงวันศารทวิษุวัต เทียบได้กับสุภาพสตรีอายุประมาณ       18 - 21 ปี โดยปลูกให้อยู่ในช่วง วันที่ 25 กรกฎาคม – 12 สิงหาคม อย่างไรก็ตามยังสามารถปลูกในช่วงเวลาหลังจากนี้ไปจนถึง 31 ธันวาคม แต่ผลผลิตอาจจะลดลงไปตามส่วนเพราะอายุการเจริญเติบโตสั้นลง   

 ชาวยุโรปในสมัยโบราณก็อาศัยสุริยะปฏิทินในการกำหนดช่วงผสมพันธุ์สัตว์เลี้ยงให้ตกลูกในฤดูที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์หรือหว่านข้าวสาลีให้ตรงตามฤดูกาล ชาวเผ่ามายาในทวีปอเมริกากลางก็กำหนดวันเก็บเกี่ยวผลโกโก้ตามฤดูกาล

สุริยะปฏิทินทั่วโลก

            สุริยะปฏิทินเป็นอุปกรณ์ดาราศาสตร์ที่มนุษย์ทั่วโลกรู้จักและใช้งานมาหลายพันปี หลายแห่งสูญสลายไปกับกาลเวลา แต่หลายแห่งยังคงยืนอยู่อย่างท้าทาย เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นภาพชัดขึ้น ผมขอเลือกเอาสุริยะปฏิทินอันที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลกมาให้ท่านได้สัมผัส ดังนี้

            1.สโตนศ์เฮ็จน์ (Stonehenge) เป็นกองหินขนาดมหึมาเรียงตัวเป็นรูปทรงกลม ตั้งอยู่บนที่ราบของเมือง Salisbury ประเทศอังกฤษ เข้าใจว่าสร้างขึ้นเมื่อ 3000 ปี ก่อน ค.. หรือประมาณ 5000 ปีที่แล้ว มีช่องให้แสงอาทิตย์ในยามเช้าของวันครีษมายัน (Summer Solstice) ส่องตรงไปที่ก้อนหินจุดเล็ง (Heel stone)   

            2.นิวเกรน (Newgrange) เป็นกองหินทรงกลมขนาดใหญ่ สูง 10 เมตร กว้าง 87 เมตร ก่อเหมือนเนินเขาขนาดย่อม อายุประมาณ 5300 ปี มีช่องทางแคบๆให้แสงอาทิตย์ในยามเช้าของวันเหมายัน(Winter Solstice) ส่องเข้าไปใจกลางซึ่งปกติจะมืดสนิท

3.มหาปีรามิด และสฟิ๊ง แห่งอียิปส์ (The Great pyramids and sphinx)  ตามตำราที่เราเคยเรียนบอกว่าสร้างในสมัยฟาร์โรคูฟู แต่นักดาราศาสตร์แห่งบรรพกาลบอกว่าสิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์แห่งนี้มีอายุเป็นหมื่นปี และเก่าแก่กว่าสมัยฟาร์โร   คูฟูหลายพันปี

            4.ปีรามิดและสิ่งก่อสร้างของชาวมายา (The Mayan pyramids) ในทวีปอเมริกากลาง ชาวมายาเป็นชนเผ่าลึกลับที่ไม่มีใครรู้ว่าพวกเขามาจากไหนและหายไปไหน แต่หลักฐานทางโบราณคดีที่บรรพชนเหล่านั้นทิ้งไว้ล้วนเป็นสุดยอดแห่งวิชาดาราศาสตร์ที่น่าทึ่ง   

            5.มาชูปิกชู (Machu Picchu)เมืองลึกลับบนยอดเขาสูงที่ประเทศเปรู นักโบราณคดียังไม่รู้ว่าใครเป็นผู้สร้าง และไม่ใช่ชาวอินคา แต่ที่แน่ๆผู้สร้างต้องมีความรู้ด้านดาราศาสตร์อย่างดี

            6.เมดิซีนวีล (Medicine wheel) ที่ยอดเขาเมดิซีน เมืองเชริดาน รัฐไวโอมิ่ง สหรัฐอเมริกา เป็นกองหินที่เรียงเป็นวงกลม ชี้ตำแหน่งครีษมายัน (Summer Solstice) และเหมายัน (Winter Solstice) 

            7.นครวัด (Angkor Wat) ปราสาทหินขนาดใหญ่อลังการ เป็นหนึ่งในเจ็ดมหัศจรรย์ของโลก สร้างในสมัยพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2 ราว พ..1656 – 1693 ตั้งอยู่ที่เมืองเสียมเรียบ หรือคนไทยเรียก เสียมราช ปราสาทหลังนี้เต็มไปด้วยข้อมูลทางดาราศาสตร์และเรื่องราวของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู

สรุป

1.      การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ พร้อมกับหมุนรอบตัวเองในลักษณะเอียง 23.5 องศา จากแนวดิ่ง ทำให้ผู้ที่อยู่บนพื้นโลกมองเห็นภาพการเคลื่อนที่เสมือน (Appearance movement) ของดวงอาทิตย์ โผล่ขึ้นขอบฟ้าด้านหนึ่งและข้ามศรีษะไปตกอีกด้านหนึ่ง ตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในแต่ละวันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆโดยเคลื่อนกลับไปกลับมาในแนวทิศเหนือ – ใต้ ฤดูร้อนดวงอาทิตย์ขึ้นคล้อยไปทางทิศเหนือ ส่วนฤดูหนาวก็ขึ้นคล้อยไปทางทิศใต้

2.      บรรพชนในอดีตได้เฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้อย่างต่อเนื่อง จนสรุปได้ว่าการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ เท่ากับ 1 ปี ชาวสุเมเรี่ยนในดินแดนที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย หรืออู่อารยธรรมของโลกเมื่อ 6,000 ปี ที่แล้ว ใช้การเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เป็นตัวสร้างปฏิทิน โดยกำหนดให้เริ่มต้นที่จุด Vernal Equinox หรือ Spring Equinox ซึ่งเป็นวันที่กลางวันและกลางคืนเท่ากันพอดี เป็นจุดเปลี่ยนจากฤดูหนาวไปเป็นฤดู ใบไม้ผลิ ดังนั้นวันนี้จึงเป็นปีใหม่ขนานแท้ดั่งเดิมของมนุษยชาติ ปัจจุบันตรงกับวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น สุริยะปฏิทินจึงหมายถึง การใช้วัตถุหรือสิ่งก่อสร้างอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเครื่องหมายชี้ตำแหน่งขึ้นของดวงอาทิตย์ในวันสำคัญต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อพิธีกรรมทางศาสนา การเฉลิมฉลอง การเกษตรกรรม และวันสำคัญต่างๆ

3.      วันปีใหม่ 1 มกราคม ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้ครั้งแรกโดยจอมจักรพรรดิ์โรมันผู้ยิ่งใหญ่ Julius Caesar เมื่อ 46 B.C. (46 ปี ก่อน ค..) หรือ 2,049 ปี มาแล้ว              (ณ พ..2546) โดยกำหนดให้เดือนแรกของปีมีชื่อว่า January ตามชื่อของเทพเจ้า Janus ซึ่งมีหน้าที่เฝ้าประตู ต่อมาในสมัยกลางของยุโรป วันปีใหม่ถูกเปลี่ยนเป็น 25 ธันวาคม ตรงกับวันเกิดของพระเยซู (Christmas) และถูกเปลี่ยนไปเป็น วันที่ 25 มีนาคม ตรงกับวันสำคัญทางศาสนาเรียกว่า Annunciation ที่สุดของที่สุด Pope Gregorian ที่ 13 แห่งกรุงโรมได้ออกกฎหมายปรับปรุงปฏิทินเสียใหม่เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.. 2125 กำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่ โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ..2125 เป็นต้นไป และในคราวเดียวกันนี้ท่านสันตะปาปายังได้สั่งให้เปลี่ยนวันที่ 5 ตุลาคม ไปเป็นวันที่ 15 ตุลาคม เพื่อปรับให้ปฏิทินฉบับใหม่นี้ตรงกับฤดูกาลในรอบปี และยังให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ทุกๆ 4 ปี ทั้งนี้เพราะปฏิทินของจักรพรรดิ์ซีซ่าร์ชักไม่ค่อยตรงกับฤดูที่เป็นจริงเสียแล้ว เนื่องจากได้สะสมเศษ(ติดลบ)ที่ไม่ลงตัวของปีเอาไว้มากถึง 10 วัน อย่างไรก็ตามปฏิทิน Gregorian ก็ต้องปรับใหม่ ในอีก 3 พันปีข้างหน้า เพราะ 1 ปี ไม่ได้ลงตัวแบบ 100% ที่ 365.25 วัน            

จาก บทความเรื่องปฏิทินสุริยะ โดยท่านสรรค์สนธิ บุณโยทยาน



ผู้ตั้งกระทู้ akekitty :: วันที่ลงประกาศ 2006-05-21 00:11:42


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (394612)
akekitty  คือใคร  บอกได้ไหม
ผู้แสดงความคิดเห็น อยากรู้จัง วันที่ตอบ 2006-05-21 16:43:47


ความคิดเห็นที่ 2 (394629)

 akekitty  คือใคร  บอกได้ไหม

ผู้แสดงความคิดเห็นอยากรู้จัง ( ) วันที่ลงประกาศ 21-05-2006 16:43:47

รู้แล้วหมวยจะหนาว

ฮิฮิๆๆๆๆๆๆ

รู้แล้วเปลี่ยน

ผู้แสดงความคิดเห็น รู้แล้วเปลี่ยน วันที่ตอบ 2006-05-21 20:34:02


ความคิดเห็นที่ 3 (394665)

คุณผู้รู้

akekitty  เป็นใคร    ใครก็ได้บอกหน่อย

ผู้แสดงความคิดเห็น อยากรู้จริง ๆ วันที่ตอบ 2006-05-22 10:46:41


ความคิดเห็นที่ 4 (395040)

คนไม่รู้

แต่อยาก สอด ใส่เกือก

อีตาคนนี้ เหรอ มีลูก๓ เมีย ๑ (เท่าที่รู้ นอกนั้น ไม่เห็น ไม่ได้ยิน)

รูปหล่อ พ่อก็ไม่รวยมาก อารมณ์ดี ตาหยี แต่หวานกริบ(พร้อมบาดใจ ใครๆก็ได้ ที่หลงไปสบตา)

มีโรคประจำตัวรักษาไม่หาย มาตั้งแต่เป็นหนุ่มน้อยๆ คือ โรคหัวใจ ที่เรียกตามภาษาการเพศ ว่า"โรคใจง่าย"

เอาแค่นี้ก่อน ละกัน ..........อิ อิ อิ  หนาว ว  ว   ว  ยัง ?

ผู้แสดงความคิดเห็น คนไข้ ที่ไกล้ตัว วันที่ตอบ 2006-05-25 06:58:37


ความคิดเห็นที่ 5 (395294)

อย่าอยากรู้เลยโยม  จะเกิดอัตตา  และกิเลสเปล่า ๆ 

ช่วยกันคิดเพื่อบ้านเพื่อเมือง  สนใจเรื่องทำดี ดีกว่าตัวบุคคลนะ

ผู้แสดงความคิดเห็น คนเคยป่วย วันที่ตอบ 2006-05-26 13:34:14


ความคิดเห็นที่ 6 (1434269)

ขอบคูณสำหรับข้อมูลครับ พวกผมลองปลูกมะลิใส่นาปรังล้ว ได้ผลผลิตเกือบเท่านาปี

 

ผู้แสดงความคิดเห็น อำนาจ ขอนแก่น วันที่ตอบ 2009-04-27 10:44:07


ความคิดเห็นที่ 7 (2087059)

ยังมีสุริยปฎิทินที่ปราสาทหินพระธาตุภูเพ็ก อำเภอพรรณานิคม สกลนคร ไม่ลองไปดูกันบ้างหรือครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สลิด วันที่ตอบ 2011-11-07 16:35:35



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.