รับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ....... ที่สกลนคร
จากข้อมูลหนังสือ ศิลปะถ้ำสกลนคร จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร เป็นเอกสารกองโบราณคดีหมายเลข 18/2531 กล่าวถึงวันที่ 10 มกราคม 2531 คณะสำรวจจากฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร มาศึกษาและบันทึกรายละเอียดทางวิชาการของแหล่งศิลปะถ้ำที่เป็นภาพลงสี (pictograph) ที่ผาผักหวาน บ้านภูตะคาม ตำบลท่าศิลา อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ........ให้ความเห็นว่า "ภาพแห่งความรื่นรมย์" มีรายละเอียด ดังนี้
ภาพเขียนสีหรือการลงสีบนผนังหินที่ถ้ำผาผักหวานเป็นลักษณะการลงสีตามแบบที่เรียกว่าเขียนหรือระบายเป็นรูป (painting) โดยเขียนเป็นรูปคนที่จับเค้าได้มี 11 คน แต่มีเทคนิคการเขียนที่ไม่เหมือนกันคือเขียนแบบโครงนอก (outline) 8 คน และเขียนแบบเงาทึบ (sihouettes) 3 คน มีลักษณะเหมือนจริงและเน้นสัดส่วน เช่น น่องโต หัวกลม มีผม และอิริยาบถที่รู้สึกได้ถึงความเคลื่อนไหว ภาพ 8 คน ที่ใช้สีแดงเขียนโครงนอก อยู่ในท่าเรียงแถว 5 คน ตอนกลางหันด้านข้างไปทางเดียวกันอากัปกิริยาคล้ายต่อแถวเต้นรำคือย่อตัวลงก้นโด่งแล้วยกแขนไปข้างหน้าพร้อมๆกัน จังหวะเคลื่อนไหวคงฉับไวยิ่งจนทำให้เห็นภาพผมจุกหรือหางเปียด้าหลังของบางคนกระดกขึ้นลง และ (ผ้า) หูกระต่ายที่ก้นของบางคนก็ชูเด่นขณะกระดกก้น และมัคนหนึ่งแสดงอวัยวะเพศให้เห็นเป็นที่สังเกตได้ คนที่อยู่หน้าสุดกางแขนกางขาในท่าตรงแต่ก็ดูเหมือนกับก้าวเดินตรงเข้ามายังกลุ่มนักเต้นรำ อีก 2 คน ที่อยู่ตอนท้ายคนริมสุดลบเลือนไปมองเห็นแต่ส่วนขา อีกคนมองเห็นชัดว่ายืนหน้าตรงแต่กางขาและย่อตัวลงเล็กน้อย แขนสองข้างกางออกเป็นวงชูขึ้นเหนือศรีษะมือข้างหนึ่งคล้ายกับถือหรือสัมผัสกับวัตถุที่คล้ายเชือก ห่วง ชูอยู่เหนือศรีษะ หรือไม่ก็เป็นส่วนแขนของอีกคนหนึ่งที่ลบเลือนไปก็เป็นได้
เหนือกลุ่มนักเต้นรำขึ้นไปเป็นภาพคนเขียนด้วยสัแดงแบบเงาทึบคนหนึ่งยืนโดดเด่นเป็นสง่าไว้ผมบ๊อบกางขาและย่อตัวเล็กน้อยแขนชูขึ้นเป็นวงโค้งมองเห็นว่ามือกางออกด้วยคล้ายวาทยากรให้สัญญาณกำกับดนตรี ภาพคนเงาทึบอีก 2 คน อยู่เฉียงออกไปมองเห็นเฉพาะส่วนบนส่วนล่างลบเลือนไปหันหน้าเข้าหากันคล้ายคุยกัน คนหนึ่งยกแขนขึ้นจนจรดหน้าของอีกฝ่ายหนึ่ง .............. ภาพเริงระบำเคยปรากฏในแหล่งอื่นๆมาบ้างแล้ว เช่น คนในท่าฟ้อนรำที่เขาจันทร์งาม อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา และภูปลาร้า อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี แต่ก็ไม่ใช่การจับกลุ่มรำหลายๆคนเช่นที่นี่ ซึ่งดูเหมือนเป็นเจตนาแสดงภาพการเต้นรำอย่างแท้จริง (มีคนเต้นเป็นกลุ่ม คนกำกับให้จังหวะ) ไม่ว่าจะเพื่อความสนุกสนานเฉลิมฉลองหรือพิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เราสันนิษฐานไม่ได้ ภาพนั้นก็แสดงออกถึงอารมณ์บันเทิงที่ทำให้ที่ได้เห็นอย่างเรา ท่าน ได้รับความสบายใจเมื่อมาชมศิลปกรรมในบรรยากาศของสิ่งแวดล้อมที่เป็นป่าเขาห่างไกลจากความแออัดในสังคมเมือง

ภาพวาดก่อนประวัติศาสตร์ที่ภูผักหวานอยู่ที่ไหน
อยู่บนภูเขา +292 m ในเขตหมู่บ้านภูตะคาม ต.ท่าศิลา อ.ส่องดาว จังหวัดสกลนคร พิกัด GPS (N 17 14 44.53 E 103 26 29.29) ต้องเดินทางด้วยรถ 4 Wheels รถ "อีแต๊ก" หรือมอเตอร์ไซด์ เพราะเป็นเส้นทางในป่าเขา ชื่อ "ภูผักหวาน" มาจากความอุดมสมบูรณ์ของผักหวานป่าในบริเวณนี้

แผนที่แสดงจังหวัดสกลนครและตำแหน่งภาพวาดก่อนประวัติศาสตร์ที่ภูผักหวาน
.jpg)
ภาพ Google Earth แสดง Route จากหมู่บ้านภูตะคามไปยังผาผักหวาน

"รถอีแต๊ก" เป็นพาหนะที่เหมาะสมกับเส้นทางมากที่สุดและประหยัดที่สุดสำหรับคณะนักท่องเที่ยว
.jpg)
พิกัด GPS และความสูงจากระดับน้ำทะเลกลาง +292 m.
พิธีกรรมรับพลังสุริยะ?
ความเห็นส่วนตัวของผมมองว่าเป็นพิธีกรรมรับพลังสุริยะยามรุ่งอรุณที่ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับหน้าผาแห่งนี้ ถ้ามองในแง่วิชาดาราศาสตร์วันดังกล่าวคือปรากฏการณ์ "วิษุวัต" เป็นการเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิตสร้างความชื่นบานแก่มวลมนุษย์ และมีข้อสังเกตที่น่าสนใจ ดังนี้
1.ภาพเขียนถูกกำหนดให้อยู่ที่ด้าน "ทิศตะวันออก" เพียงด้านเดียว ทั้งๆที่เพิงหินมี 4 ด้าน และด้านทิศเหนือก็เป็นผนังหน้ากระดานราบเรียบง่ายต่อการวาดภาพแต่ก็ไม่ปรากฏอะไร

.jpeg)
ก้อนหินขนาดใหญ่ที่มีภาพเขียนยุคก่อนประวัติศาสตร์วางตัวสอดคล้องกับพิกัดทิศตามหลักดาราศาสตร์

ภาพวาดก่อนประวัติศาสตร์บนหน้าผาด้านตะวันออกของภูผักหวาน

ภาพเขียนถูกกำหนดให้อยู่เฉพาะด้านทิศตะวันออกเพียงที่เดียว
.jpeg)
หน้าผาหันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้

.jpeg)

ภาพวาดแสดงพิธีการเต้นรำเฉลิมฉลองบนหน้าผาทิศตะวันออก

ด้านทิศเหนือก็มีผนังหินที่ราบเรียบเหนือหน้ากระดานแต่ก็ไม่ปรากฏภาพอะไรแม้แต่ภาพเดียว
.jpg)
ซูมเข้าไปดูผนังด้านทิศเหนือเห็นชัดเจนว่า "ไม่ปรากฏภาพอะไรแม้แต่ชิ้นเดียว"

เปรียบเทียบผนังทั้งสี่ด้านพบว่าทิศตะวันตกและทิศใต้มีลักษณะขรุขระไม่เหมาะแก่การวาดภาพ ส่วนผนังด้านทิศเหนือมีลักษณะราบเรียบเหมาะแก่การวาดภาพแต่ก็ไม่มีอะไรตรงนี้
2.เลือกสถานที่ "ประกอบพิธีกรรมรับพลังสุริยะ" โดดเด่นอยูบนหน้าผาของภูเขาสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ยามเช้าทางทิศตะวันออกได้ชัดเจน คิดแบบง่ายๆตามสามัญสำนึกของมนุษย์ทั่วๆไป ถ้าพิธีกรรมไม่เกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์ยามเช้าก็ไปทำในพื้นที่ราบใกล้แหล่งที่อยู่อาศัยตรงไหนก็ได้ไม่จำเป็นต้องปีนขึ้นมาบนยอดเขาให้ยุ่งยาก

ทัศนียภาพด้านทิศตะวันออกมองจากลานประกอบพิธีกรรม


.jpeg)
โขดหินขนาดใหญ่ที่มีภาพวาดตั้งอยู่บนเชิงภูเขาและหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
.jpeg)

การพิสูจน์เชิงดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ ..... เช้าตรู่ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) แสงอาทิตย์จะส่องตรงไปยังภาพวาดบนหน้าผาแห่งนี้
3.ภาพการ "โพ้สท่ารับพลังสุริยะ" เป็นลักษณะยอดนิยมของมนุษยชาติทั่วโลก แม้กระทั้งปัจจุบันก็ยังคงโพ้สท่าเดิม

การโพ้สท่า "รับพลังสุริยะ" ยอดนิยมที่ถ่ายทอดมาถึงปัจจุบัน

มนุษยชาติทั่วโลก "โพ้สท่าเดียวกันหมด" เมื่อต้องรับพลังจากสุริยะ
ภัยคุกคามต่อการอนุรักษ์
1.ภัยจากมนุษย์ จุดอ่อนที่ยังแก้ไม่ตกของการอนุรักษ์โบราณสถานในสไตล์พี่ไทยอย่างเราๆท่านๆก็คือ "ไม่มีเจ้าภาพในพื้นที่" การดูแลจึงเป็นภาระเสมือนงานฝากของชุมชน อบต. เทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือพระ ซึ่งทั้งหมดนี้ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่อง "โบราณคดี" และในทางตรงข้ามก็มักจะใช้ประโยชน์สถานที่เหล่านี้ไปในเชิง "พุทธพาณิชย์" หรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เชิงเศรษฐกิจที่ปัจจุบันเรียกว่า "สายมู" จะนำมาซึ่งการขูดขีด ปะแป้ง ผูกผ้าแดง สร้างเสริมสิ่งแปลกปลอม เขียนข้อความเพิ่มเติม หรือก่อสร้างวัตถุเข้าไปรุกล้ำ สร้างความหนักใจแก่เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรเพราะจับมือใครดมก็ไม่ได้ ถ้ากระทำโดยพระภิกษุก็ไม่กล้าตำหนิท่านแบบตรงๆด้วยเกรงใจผ้าเหลือง
มีการสร้างโครงเหล็กเจาะเข้าไปในหน้าผาเพื่อทำร่มแก่พระพุทธรูป


เขียนข้อความเพิ่มเติมทับบริเวณภาพวาดก่อนประวัติศาสตร์
2.ภัยจากธรรมชาติ เนื่องจากสถานนี้อยู่ในแหล่งธรรมชาติตากแดด ตากฝน ตากลมพายุ และการผุกร่อนของหิน ตราบจนปัจจุบันเรายังไม่มีมาตรการใดๆที่จะปกป้อง ยังบุญที่บรรพชนเมื่อสามพันปีที่แล้วมีเทคโนโลยีการเลือกใช้ "วัสดุคงทน" ที่น่าจะเป็น "สนิมเหล็กผสมยางไม้" จึงทำให้คงอยู่มาถึงวันนี้ พูดกันตรงๆถ้าเป็นสีกระป๋องปัจจุบันไม่ว่ายี่ห้ออะไรก็ตาม "ให้อย่างดีไม่เกิน 100 ปี หายหมดแล้ว"
.jpg)
ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์อันนี้ตั้งตากแดด ตากฝน มานานนับพันปี

.jpeg)
.jpeg)

.jpeg)
แสงแดด สายลม และฝนกระหน่ำ ทำให้ภาพเลือนลางจนแทบมองไม่เห็น ภาพนี้ถ่ายเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ.2561
ทำไมภาพวาดยุคก่อนประวัติศาสตร์จึงมีสีแดงเหมือนกันทั้งโลก?
จากประสบการณ์ส่วนตัวที่เดินทางไปหลายประเทศ ยุโรป เอเซีย ออสเตเรีย และอเมริกา ชอบไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และสถานที่เกี่ยวข้องกับอารยธรรมโบราณ สิ่งหนึ่งที่เห็นบ่อยๆคือ ภาพวาดและเครื่องใช้จากยุคก่อนประวัติศาสตร์มักจะ "สีแดงเหมือนกันทุกแห่ง" จึงเกิดคำถาม ...........ทำไมต้องสีแดง?
คุยกับนักโบราณคดีที่ประจำพิพิธภัณฑ์ที่เมือง Tulsa รัฐ Oklahoma USA ได้ความว่า "สีแดง" มาจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ดินลูกรัง (laterite) มีคุณชื่อทางเคมี Feric oxide หรือ Iron oxide เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างธาตุเหล็กและอากาศ (oxigen) กลายเป็น "สนิม" เอามาละลายน้ำจะได้สารละลายสีแดง และเมื่อผสมกับยางไม้หรือไขมันสัตว์จะแปรสภาพเป็น "กาวเหนียวๆ" เหมาะแก่การนำไปทาสีให้เป็นรูปภาพต่างๆตามที่ต้องการ สารผสมชนิดนี้มีความคงทนไม่สลายตัวง่ายสามารถอยู่ได้นานเป็นพันๆปี เพราะ Iron oxide เป็นขั้นตอนที่ลงตัวของขบวนการทางเคมี ดีกว่าสีทาบ้านในปัจจุบันหลายเท่าเพียงไม่กี่ปีก็ลอกและจาง
คำถามต่อไปคือ ........ ทำไมเหมือนกันทั้งโลกทั้งๆที่มนุษยชาติในยุคนั้นยังไม่มีการสื่อสารระหว่างกัน แต่ทำไมจึงคิดเหมือนกัน คำอธิบายส่วนตัวของผม ....... มนุษยชาติมาจากวิวัฒนาการภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน มีรหัสพันธุกรรมเหมือนกันย่อมทำให้เกิด "จิตนาการที่เหมือนกัน" ประกอบกับสีแดงเป็นวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ดาดดื่นรอบตัว เช่น ดินลูกรัง หินแม่รัง ขณะเดียวกันยางไม้ก็เป็นวัสดุที่มนุษยชาติใช้ทำสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น เชื้อเพลิง เมื่อนำสองสิ่งมาผสมกันจะได้ "สีแดงเหมือนกาวเหนียวๆ"
อนึ่ง พฤติกรรมมนุษย์ทั้งโลกมีสิ่งที่เหมือนกันโดยไม่ต้องถ่ายทอดนั่นคือ รัก โลภ โกรธ หลง และดราม่า ท่านว่าจริงไม้ละ
.jpg)
ภาพวาดยุคก่อนประวัติศาสตร์มีสีแดงเหมือนกันทั้งโลก
สีทาภาชนะส่วนใหญ่ก็มีสีแดงเหมือนกันทุกมุมโลก
วัสดุธรรมชาติที่ให้สีแดงมีชื่อทางเคมีว่า Iron oxide
สรุป
1.การโพ้สท่า "รับพลังสุริยะ" ของมนุษยชาติตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ตราบจนปัจจุบันก็คงมีท่าเดียวตามที่เห็น
2.เราๆท่านๆต้องรีบไปดูและถ่ายภาพเป็นที่ระลึกเพราะอีกไม่นานคงจะลบเลือนไปหมด ถ้ายังไม่มีมาตรการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี