เหตุผลทางดาราศาสตร์ ....... ปลูกข้าวหอมมะลิปีละ 2 ครั้ง และใช้น้ำน้อย ได้หรือไม่ ?
เป็นที่กล่าวโดยทั่วไปในวงการเกษตรว่า "ข้าวหอมมะลิ" เป็นข้าวนาปีปลูกได้ครั้งเดียวเพราะมีคุณสมบัติ "ไวต่อช่วงแสงอาทิตย์" (Photosensitive) แต่ในมุมมองเชิงพาณิชย์ตลาดมีความต้องการสูง คำถามจึงอยู่ที่ ........ ปลูกปีละ 2 ครั้งได้หรือไม่

ถ้าวิเคราะห์เจาะลึกคุณสมบัติทางดาราศาสตร์ในประเด็นที่ระบุว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 "ไวต่อช่วงแสงอาทิตย์" (Photosensitive) ก็แสดงว่าข้าวชนิดนี้สามารถตั้งท้องและออกดอกได้ในช่วง "กลางวันสั้น" (Short Day) ดังนั้นถ้าจัดช่วงการปลูกให้ดีก็ย่อมทำได้ปีละ 2 ครั้ง เนื่องจากภาคอีสานมีช่วงกลางวันสั้นตั้งแต่ 23 กันยายน (Autumnal Equinox) จนถึง 21 มีนาคม (Vernal Equinox)
ต้องยกเครดิตให้นักวิชาการเกษตรผู้มากด้วยประสบการณ์ชื่อ "อาจารย์เสถียร พรหมชัยนันท์" แห่งกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้ริเริ่มปลูกข้าวหอมมะลินาปรังเชิงพาณิชย์ในภาคอิสานที่โคราชเมื่อปี 2547
ปลูกข้าวหอมมะลิฤดูนาปรังที่โคราช ปี 2547
ข้าวหอมมะลินาปรังเชิงพาณิชย์ ปลูกโดยวิธีหว่านวันที่ 8 มกราคม 2547 เก็บเกี่ยววันที่ 22 เมษายน 2547 ที่บ้านมะเกลือใหม่ ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน นครราชสีมา อาจารย์เสถียร พรหมชัยนันท์ (เสื้อสีแดง) และอาจารย์มนตรี คงตระกูลเทียน ประธานกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจรเครือเจริญโภคภัณฑ์ (เสื้อสีขาว)

ผมกับอาจารย์เสถียร พรหมชัยนันท์ ร่วมงานกันตั้งแต่ปี 2541
ในโครงการผลิตข้าวหอมมะลิเชิงพาณิชย์กับกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร
เครือเจริญโภคภัณฑ์
.jpeg)
พี่แอ้ด สมบัติ เมทินี สรรค์สนธิ บุณโยทยาน และอาจารย์เสถียร พรหมชัยนันท์
นั่งประชุมด้วยกันที่สำนักงานกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจรเครือเจริญโภคภัณฑ์
พี่แอ้ดรับผิดชอบการประชาสัมพันธ์ ผมรับผิดชอบเรื่องการจัดการน้ำ
อาจารย์เสถียร รับในเรื่องการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิ
ดาราศาสตร์กับข้าวหอมมะลิ
ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจศัพท์คำว่า "นาปี และนาปรัง" ว่าหมายถึงอะไร โดยทั่วไปนาปีหมายถึง "ฤดูฝน" ส่วนนาปรังหมายถึง "ฤดูแล้ง" แต่คำนี้เป็นเชิงวาทะกรรมที่กว้างๆให้มองภาพแบบรวมๆของฤดูกาล แต่ในทางดาราศาสตร์เราใช้ศัพท์คำว่า "วันที่มีช่วงแสงอาทิตย์สั้น" (short day) เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน จนถึงวันที่ 20 มีนาคม และ "วันที่มีช่วงแสงอาทิตย์ยาวยาว" (long day) เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม จนถึงวันที่ 22 กันยายน ส่วนวันที่ 21 มีนาคม และวันที่ 23 กันยายน เป็นปรากฏการณ์ "กลางวันเท่ากับกลางคืน" ภาษาดาราศาสตร์เรียกว่า "วิษุวัต" (equinox) ดังนั้นในบทความนี้ถ้าใช้คำว่า "นาปรัง" จึงหมายถึง "ช่วงวันสั้น" ครับ
ผมทำงานร่วมกับท่านอาจารย์เสถียร พรหมชัยนันท์ ตั้งแต่ปี 2541 และรับหน้าที่อธิบายในด้านดาราศาสตร์ว่าทำไมข้าวหอมมะลิจึงสามารถเป็นข้าวนาปรังหรือปลูกรอบที่สองได้ เพราะปลูกในช่วงวันสั้น (Short Day) สามารถกระตุ้นให้ข้าวออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ท่านอาจารย์เสถียรฯให้วาทะกรรมเด็ดว่า ........ หว่านวันพ่อเก็บเกี่ยววันมาฆบูชา
กำหนดการปลูกข้าวหอมมะลิในช่วง "กลางวันยาวและกลางวันสั้น"
ภาคอีสาน (เส้นรุ้ง 15 - 17 องศาเหนือ) ข้าวหอมมะลิสามารถตั้งท้องได้
ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน (23 Sep Autumnal Equinox) จนถึงเดือนปลายเดือนกุมภาพันธ์
การจัดช่วงเวลาปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ช่วงนาปี และนาปรัง
จะเห็นว่าข้าวเริ่มตั้งท้อง (Booting) ในช่วงวันสั้น (Short Day)
.jpg)
การกำหนดช่วงเวลาปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ครั้งที่สอง (นาปรัง)
ต้องเริ่มเพาะกล้าวันที่ 20 พฤศจิกายน และตกกล้าวันที่ 2 มกราคม
(อายุกล้าประมาณ 40 วัน เพราะเป็นฤดูหนาวกล้าโตช้ามาก)
.jpg)
การปลูกข้าวหอมมะลิกับช่วงวันยาวและวันสั้นตามฤดูกาลของปฏิทินมหาศักราช (Saka Calendar)
.jpg)
้องกับ
สุริยะปฏิทินขอมพันปีแสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์ตามปฏิทินมหาศักราชและสอดกับการปลูกข้าวหอมมะลิ
.jpg)
สุริยะปฏิทินขอมพันปีปราสาทภูเพ็กแสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์
ในปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์
.jpg)
เปรียบเทียบช่วงแสงอาทิตย์ด้วยสุริยะปฏิทินกับการออกดอกของข้าวหอมมะลิปลูกช่วงวันสั้น

สุริยะปฏิทิน (เงานาฬิกาแดดชี้เข้าไปในโซนกลางวันสั้น)
แสดงให้เห็นชัดเจนว่าข้าวหอมมะลิตั้งท้องในช่วงวันสั้น (Short Day)
เดือนกุมภาพันธ์และออกดอกต้นเดือนมีนาคม
ตัวอย่างการปลูกข้าวหอมมะลิครั้งที่สองในภาคอีสาน
กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจรเครือเจริญโภคพันธ์ุทำแปลงสาธิตข้าวหอมมะลินาปรังร่วมกับจังหวัดยโสธรและจังหวัดนครพนม โดยใช้ยุทธการ "หว่านวันพ่อ เก็บเกี่ยววันมาฆะบูชา"


อาจารย์เสถียร พรหมชัยนันท์เจ้าของยุทธการ "หว่านวันพ่อ เก็บเกี่ยววันมาฆบูชา"
ที่บ้านท่าค้อ ต.ขุมเงิน อ.เมือง จ.ยโสธร ปี 2547

ใช้ยุทธการหว่านวันพ่อเก็บเกี่ยววันมาฆบูชา อ.เมือง จ.นครพนม ปี 2547
เมื่อครั้งที่ผมเป็นเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
ให้ความรู้แก่นักศึกษาวิชาพืชศาสตร์ ม.ราชภัฏสกลนคร ..... พิสูจน์เชิงประจักษ์
พอบอกนักศึกษาว่าจะสาธิตการปลูก "ข้าวหอมมะลินาปรัง ปี 2560 / 2561 หรือ 2017 / 2018" ....... เด็กๆต่างทำท่าแปลกใจเพราะเขาเรียนหนังสือตามตำราว่า "ข้าวหอมมะลิ" เป็นข้าวพันธ์ุไวต่อช่วงแสงปลูกได้เฉพาะนาปีเท่านั้น เลยต้องอธิบายกันยกใหญ่ว่าความเป็นจริงโดยหลักวิชาการไม่มีคำว่า "นาปี หรือนาปรัง" มีแต่คำว่าปลูกข้าวในช่วงกลางวันยาว (long day) หรือกลางวันสั้น (short day) ข้าวพันธ์ุไวต่อช่วงแสงก็สามารถออกดอกได้ตลอดเวลาถ้าเป็นช่วงวันสั้น ....... อธิบายยังไงน้องเหล่านี้ก็ยังไม่เชื่อก็ต้องใช้วิธี "สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น"
.jpeg)
เพาะกล้าในถาดหลุม 22 พฤศจิกายน 2560 (22 Nov 2017)

ปักดำในแปลงสาธิตที่สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ม.ราชภัฏสกลนคร วันที่ 25 ธันวาคม 2560 (25 Dec 2017)
.jpeg)
แตกกอจากกล้าเพียงต้นเดียว

การเจริญเติบโตของข้าวหอมมะลิตั้งแต่ 9 มกราคม ถึง 2 มีนาคม 2561
(9 Jan - 2 Mar 2018)

ภาพถ่ายวันที่ 2 มีนาคม 2561 ข้าวหอมมะลิกำลังออกดอก

ออกดอกปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2561 แต่แปลงนี้ถูกนกกินหมดไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้
แต่ก็ได้ผลในด้านการให้ความรู้แก่นักศึกษาวิชาพืชศาสตร์
ฤดูแล้งปี 2561 / 2562 (2018 / 2019) ทดลองใหม่อีก
.jpg)
เพาะกล้า 12 พฤศจิกายน 2561 (12 Nov 2018)
.jpg)
ปักดำตรงกับวันดินโลก 5 ธันวาคม 2561 (5 Dec 2018)
.jpg)
ออกดอก 1 กุมภาพันธ์ 2562 (1 Feb 2019)
.jpg)
แปลงทดลองข้าวหอมมะลิฤดูแล้ง 2561 / 2562 (2018 / 2019)
แม้ว่าจะทำตาข่ายกันนก แต่ก็เกิดอุบัติเหตุลมพายุพัดตาข่ายพัง
นกเข้ามากินผลผลิตจนเกลี้ยง
ไฟต์ล้างตา ปลูกข้าวหอมมะลิฤดูแล้ง 2562 / 2563 + ทดลองการใช้น้ำน้อย
จากผลการทดลองในฤดูแล้ง 2560 / 2561 และ 2561 / 2562 พบว่าข้าวหอมมะลิสามารถตั้งท้อง ออกดอก และติดเมล็ดได้แต่มีปัญหาถูกบรรดา "นกรุมกินจนหมดเกลี้ยง"
คราวนี้ฤดูแล้ง 2562 / 2563 เอาใหม่อีก วางแผนกำหนดให้มีอายุ 120 วัน (20 พฤศจิกายน 2562 - 21 มีนาคม 2563) ณ แปลงของสาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยให้นักศึกษาเอกพืชศาสตร์ 2 คน คือ น้องปาเกียว และน้องวิทย์ เป็นผู้รับผิดชอบ มีตาข่ายคลุมแปลงป้องกันนกที่แข็งแรงมั่นคง
ข้าวหอมมะลินาปรัง 2562 / 2563 เป็นการปลูกต่อเนื่องกับข้าวหอมมะลิฤดูนาปี 2562 ดังรายละเอียดใน website เดียวกันนี้
.jpeg)
ลำดับขั้นตอนการปลูกข้าวหอมมะลิฤดูนาปี 2562 (2019)
.jpeg)
อิทธิพลของแสงอาทิตย์ต่อการปลูกข้าวหอมมะลินาปี 2562 (2019)
เริ่มเพาะกล้า 1 สิงหาคม ปักดำ 29 สิงหาคม ตั้งท้อง 23 กันยายน
ออกดอก 23 ตุลาคม เก็บเกี่ยว 21 พฤศจิกายน

การประเมินผลผลิตข้าวหอมมะลิฤดูนาปี 2562 (2019)
ข้าวหอมมะลิฤดูแล้ง ปี 2562 / 2563 (2019 / 2020)
พิสูจน์เชิงประจักษ์ ........ ได้ผลหรือไม่?

นักศึกษาปี 3 เอกพืชศาสตร์ น้องวิทย์ และน้องปาเกียว ผู้รับผิดชอบทำแปลงทดลอง
.jpg)
เพาะกล้าข้าวหอมมะลิ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 เป็นช่วงฤดูหนาวกล้าจะโตช้า
(seedling 29 Nov 2019)
.jpg)
เตรียมดินวันที่ 2 มกราคม 2563 (2 Jan 2020)
.jpg)
ปักดำด้วยกล้าต้นเดียว วันที่ 2 มกราคม 2563 มีน้ำแช่ในแปลงเพื่อกดวัชพืชประมาณ 10 วัน
เป็นที่น่าสังเกตว่ากล้าอายุ 40 วัน เพราะเป็นฤดูหนาวทำให้กล้าโตช้า
.jpg)
เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้แล้วและวัชพืชหายไป ก็ลดระดับน้ำให้พอเปียกๆ ไม่ต้องมีน้ำขัง
.jpg)
ใช้ท่อ PVC เป็นตัวช่วยวัดระดับน้ำในแปลงไม่เกิน 5 ซม
.jpg)
ไม่จำเป็นต้องให้มีน้ำขังในแปลง แต่ต้องรักษาความชื้นเพียงพอต่อความต้องการ

การให้น้ำแต่ละครั้งอยู่ที่ความลึกประมาณ 5 ซม

ทดลองระยะห่างการตกกล้า 35 ซม x 35 ซม กับ 25 ซม x 25 ซม
สังเกตชัดเจนว่าไม่มีน้ำขังในแปลง
.jpg)
.jpg)
เปรียบเทียบการให้มีน้ำขังในระยะแรกของการตั้งตัวและลดระดับน้ำเมื่อกล้าตั้งตัวได้แล้ว

ข้าวเริ่มระยะตั้งท้อง 20 มกราคม 2563 (20 Jan 2020)
ดวงอาทิตย์อยู่ที่ตำแหน่งทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทภูเพ็ก
ระยะออกดอก 20 กุมภาพันธ์ 2563 ดวงอาทิตย์อยู่ที่ตำแหน่งราศี Pices
.jpg)
.jpg)
ระยะติดเมล็ด 10 มีนาคม 2563 ใช้ตาข่ายคลุมแปลงป้องกันนก

เก็บเกี่ยว 21 มีนาคม 2563 ตรงกับปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox)
.jpg)
สังเกตว่าข้าวหอมมะลิมีความสูงไม่มากนักจึงไม่มีปัญหา "ข้าวล้ม"

ข้าวหอมมะลิมีผลผลิตตั้งแต่ 303 กก/ไร่ - 528 กก/ไร่

สูตรการคำนวณผลผลิต ณ 15% ความชื้น ( % of Standard moisture)

อายุข้าวหอมมะลิปลูกในช่วงวันสั้น (นาปรัง) มีอายุ 120 วัน

ตารางการปลูกข้าวหอมมะลิฤดูแล้ง 2562 / 2563 (2019 / 2020)
ให้สอดคล้องกับช่วงแสงอาทิตย์ตามหลักดาราศาสตร์

ประมวลผลการใช้น้ำชลประทานตลอดอายุ 120 วัน = 685 mm

สรุปผลการทดลองปลูกข้าวหอมมะลิครั้งที่สองในฤดูแล้ง 2562 / 2563 (2019 / 2020)
สรุป
พิสูจน์เชิงประจักษ์ สามารถปลูกข้าวหอมมะลิในฤดูแล้ง โดยจัดตารางให้สอดคล้องกับช่วงแสง อาทิตย์ ตามหลักดาราศาสตร์
1.ในเมื่อข้าวหอมมะลิเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก หากพื้นที่ในภาคอีสานที่มีน้ำชลประทานพร้อมและดินมีความเหมาะสมก็น่าจะปลูกข้าวหอมมะลิครั้งที่สอง ขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมการให้น้ำชลประทานแบบประหยัดโดยหลีกเลี่ยงน้ำขังในแปลงนา (ใช้น้ำน้อย) การที่ไม่มีน้ำขังในแปลงนายังมีผลดีในแง่มุมของสิ่งแวดล้อม คือ "ลดการปล่อยก๊าซมีเทน"
2.สามารถทำแปลงผลิต "เมล็ดพันธ์ุ" ได้อย่างดีเพราะไม่เสี่ยงต่อการผสมข้ามพันธ์ุกับข้าวชนิดอื่นๆเนื่องจากข้าวหอมมะลินาปรังมีอายุสั้นและออกดอกเร็วกว่าข้าวพันธ์ุอื่นๆ ประกอบกับสามารถจัดหาพื้นที่เฉพาะซึ่งไม่มีการทำนาในบริเวณนั้น และหากต้องการจะทำโครงการผลิตเมล็ดพันธ์ุในรูปแบบ "อินทรีย์" ก็สามารถทำได้ด้วยการบริหารจัดการดิน - น้ำ และพื้นที่ปลูกให้แยกอย่างเด็ดขาดจากการเพาะปลูกทั่วๆไป
3.ปัญหาของข้าวนาปรังที่ต้องระวังมากที่สุดคือ "บรรดาปักษี" ที่จะรุมกินจนอย่างเอร็ดอร่อยจึงต้องมีมาตรการที่เหมาะสม เช่น อุปกรณ์ไล่นกด้วยคลื่นเสียง
4. แปลงที่ใช้ในการทดลองไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์เนื่องจากไม่ใช่ที่นาโดยธรรมชาติแต่เป็นที่ดินใช้ก่อสร้างอาคาร เหตุผลที่เลือกสถานที่แห่งนี้เนื่องจากอยู่ใกล้อาคารสาขาพืชศาสตร์สามารถดูแลได้ง่าย