ปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิคศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
Operation Chaitra 1940: decoded the Ancient Khmer's mathematic Prasat Phupek Sakon Nakhon Thailand


"ปราสาทภูเพ็ก" มรดกที่ค้างคาจากยุคขอมพันปี
ปัจจุบันเราๆท่านๆรู้จักโบราณสถานแห่งนี้ในชื่อ "ปราสาทภูเพ็ก" ตั้งอยู่บนยอดภูเขาที่ชื่อภูเพ็กสูงจากระดับน้ำทะเล +520 เมตร ณ หมู่บ้านภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร นักโบราณคดีจากกรมศิลปากรสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 เป็นปราสาทที่สร้างไม่เสร็จจึงไม่มีคำจารึกและรูปสลักดังเช่นปราสาทหลังอื่นๆ ไม่มีใครรู้ว่าปราสาทหลังนี้มีความเป็นมาอย่างใด มีเพียงเรื่องเล่าจากนิทานอุรังธาตุว่าผู้ชายกับผู้หญิงสร้างปราสาทแข่งกันเพื่อแย่งยิง "อุรังคธาตุ" ที่พระมหากัสสะปะนำมาจากอินเดียไปประดิษฐานในสถานที่ของฝ่ายตน ฝ่ายชายสร้างปราสาทบนยอดภูเขา (ภูเพ็ก) ฝ่ายหญิงสร้างปราสาทนารายณ์เจงเวงบริเวณทิศตะวันตกนอกตัวเมืองหนองหารหลวง ทั้งสองฝ่ายเริ่มสร้างตอนพลบค่ำและสัญญากันว่าถ้าเห็น "ดาวเพ็ก" (ดาวพระศุกร์) ขึ้นเมื่อใดให้หยุดและเอาผลงานมาตัดสิน ฝ่ายหญิงใช้อุบายยั่วยวนจนฝ่ายชายไม่มีสมาธิทำงาน และพอรุ่งสางฝ่ายหญิงสร้างปราสาทของตนเสร็จก็จุดโคมลอยขึ้นบนฟ้าหลอกว่า "ดาวเพ็ก" ขึ้นแล้ว ฝ่ายชายจึงหยุดก่อสร้างและเป็นฝ่ายแพ้ มารู้ตอนหลังว่าถูกหลอกและพูดอย่างประชดประชันว่า "ดาวเพ็กมุสา" เป็นที่มาของชื่อ "ปราสาทภูเพ็ก" ในความเป็นจริงไม่มีข้อมูลทำไมจึงสร้างไม่เสร็จ

ปราสาทภูเพ็ก สร้างด้วยหินทรายทั้งหลังแต่สร้างได้เพียงที่เห็น พูดกันแบบติดตลกว่า "ผู้รับเหมาทิ้งงานในงวดที่ 2" และ สตง.ได้ขึ้นบัญชีดำผู้รับเหมารายนี้ไว้แล้ว
"รอยขีดเส้นตรง" ที่พื้นประตูทิศตะวันออก ..... รหัสคณิตศาสตร์?
อย่างไรก็ตามพวกเขาทิ้งร่องรอยที่เห็นได้ชัดเพียงอันเดียวคือ "รอยขีดเส้นตรง" ที่พื้นประตูทิศตะวันออก ในสายนักพิภพวิทยาอย่างผมมองว่า "นี่คือรหัสคณิศาสตร์" มีความหมายในเชิงดาราศาสตร์เพราะเป็นแนวแกนกลาง (centerline) ที่กำหนดให้ตัวปราสาทหันหน้าเข้าหา "ทิศตะวันออกแท้" (due east at azimuth 90) ที่ทราบเช่นนี้เพราะใช้อุปกรณ์ GPS และเข็มทิศ ......... แต่คำถามที่น่าคิด เมื่อครั้งยุคขอมเรืองอำนาจพวกเขาไม่มีอุปกรณ์วิทยาศาสตร์แต่ทำไมจึงสามารถวางแนวปราสาทให้ตรงทิศตะวันออกแท้ได้อย่างแม่นยำ ........ ใช้องค์ความรู้อะไร? นี่คือที่มาของ "ปฏิบัติการไจตระ" (Operastion Chaitra 1940)
ปราสาทภูเพ็กหันหน้าตรงกับทิศตะวันออกแท้ (due east) ทำมุม 90 องศา จากทิศเหนือแท้ (true north)

เครื่อง GPS แสดงตัวเลขมุมกวาด 90 องศา (azimuth 90) แสดงถึงทิศตะวันออกแท้ (due east)

Application Compass ของ Iphone ก็แสดงมุมกวาด 90 องศา

เข็มทิศก็ยืนยันว่าปราสาทหลังนี้หันหน้าที่ทิศตะวันออกแท้

ปราสาทหลังนี้ไม่มีคำจารึกและรูปสลัก มีเพียง "รอยขีดเส้นตรง" ที่พื้นประตูทิศตะวันออก
พิสูจน์ด้วยเทคโนโลยีร่วมสมัยกับขอมพันปี
เพื่อเป็นการเล่นในรูปแบบ "แฟร์ๆ" ระหว่างคนในยุค Thailand 4.0 อย่างผมกับท่านพญาขอมพันปี จึงขอโยนทิ้ง GPS Iphone เข็มทิศ และนั่ง Time Machine ย้อนเวลาพันปีไปปรากฏตัวในยุคนั้นแต่ในสมองยังคงมีองค์ความรู้ดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ ส่วนอุปกรณ์ไปหาเอาดาบหน้า
1.ปฏิทินมหาศักราชที่ระบุ "เดือนไจตระ" ตามจารึกอโรคยาศาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และจารึกปราสาทสระกำแพงใหญ่จังหวัดศรีสะเกษที่กล่าวถึง "วัษุวัตสงกรานต์" ในฐานะนักเรียนเก่าจากประเทศอินเดียมีความคุ้นเคยกับ "ปฏิทินมหาศักราช" (Saka Calendar) เป็นอย่างดีเพราะไดอารี่ของมหาวิทยาลัยเกษตรแห่งรัฐปันจาบมีวันเดือนปีของปฏิทินนี้
2.องค์ความรู้ดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่ว่าด้วยแสงอาทิตย์และเงาในแต่ละฤดูกาล
3.ไม้หนึ่งแท่งเพื่อบันทึกเงาดวงอาทิตย์ในวัน "วิษุวัติ" เดือน "ไจตระ" ปัจจุบันตรงกับวันที่ 21 หรือ 22 มีนาคม
ปฏิบัติการไจตระ เริ่มตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยง วันที่ 22 มีนาคม 2561 ตรงกับวันที่ 1 เดือนไจตระ ปี 1940 แห่งปฏิทินมหาศักราช (1st Chaitra Saka 1940)
อุปกรณ์ที่ใช้มีเพืยงแท่งจับเงาดวงอาทิตย์

เริ่มต้นจับเงาดวงอาทิตย์ตั้งแต่เช้าโดยล๊อกให้ปลายเงาตรงกับแนว "รอยขีด" ที่พื้นประตูทิศตะวันออก

เงาดวงอาทิตย์เคลื่อนที่เป็นเส้นตรงเกาะติดกับ "รอยขีด" ตั้งแต่เช้าจนเที่ยงวัน

แสดงว่าเงาดวงอาทิตย์ในวันที่ 1 เดือนไจตระ หรือวิษุวัติสงกรานต์ เป็นเส้นตรงทั้งวันในแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก
ไดอารี่ของ Punjab Agricultural University India 1974 ระบุว่าวันที่ 22 March 1974 ตรงกับ Chaitra 1 Saka 1896
รูปร่างหน้าตาของปฏิทินมหาศักราช (Saka Calendar) ที่รัฐบาลอินเดียยังคงใช้เป็นทางการในปัจจุบัน อาณาจักรขอมได้รับอิทธิพลจากอินเดีย (Indianization) จึงรับปฏิทินมหาศักราชไปใช้ในราชสำนัก อนึ่งรัฐบาลอินเดียได้นำปฏิทินมหาศักราชมาปรับปรุงโดยเทียบเคียงกับปฏิทินสากลยุคปัจจุบัน อนึ่งวันแรกของเดือน Chautri เป็นวันขึ้นปีใหม่และตรงกับปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) 21 or 22 March โดยกำหนดให้ปีที่มี 366 วัน (leap year) เดือนไจตระมี 31 วัน และเริ่มต้นตรงกับ 21 มีนาคม ส่วนปีปกติ 365 วัน เดือนไจตระเริ่มตรงกับ 22 มีนาคม

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 ได้บันทึกเงาดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) พบว่าเงาเป็นเส้นตรงในแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก
ใช้ก้อนหินวางตามพิกัดที่เงาดวงอาทิตย์เคลื่อนตัวไป
เงาดวงอาทิตย์เป็นเส้นตรง

เงาดวงอาทิตย์ในวันที่ 1 ไจตระ (vernal equinox) เป็นเส้นตรงในแนวตะวันออก - ตะวันตก

เงาดวงอาทิตย์ (Path of the sun's shadow) ในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" จะเป็นเส้นตรงตามแนว ตะวันออก - ตะวันตก
สามารถที่จะทำพิกัดทิศทั้งสี่ได้อย่างแม่นยำจากการบันทึกเงาดวงอาทิตย์ในวันที่ 1 แห่งเดือนไจตระ
อุปกรณ์ง่ายๆในการวางแนว centerline ให้ปราสาทภูเพ็กตรงกับทิศ N - S และ E - W โดยใช้เงาดวงอาทิตย์ในวันที่ 1 ไจตระ หรือ ปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (21 - 22 มีนาคม)
การตรวจสอบแนวประตูให้ตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวันที่ 1 ไจตระ
เพื่อให้แน่ใจก่อนวางกรอบประตูจริงที่ทำด้วยหินแท่งใหญ่ น่าจะใช้กรอบไม้เป็นการชั่วคราวเพื่อทดสอบพิกัดให้แน่ชัดว่าตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวันที่ 1 ไจตระ โดยทิ้งเชือกและลูกดิ่งให้ตรงกับตรงกลางประตู และสังเกตดวงอาทิตย์ในวันดังกล่าว
.jpg)
ทิ้งลูกดิ่งให้ตรงกับ centerline ที่กลางประตู
.jpg)
ดวงอาทิตย์ในวันที่ "1 ไจตระ" จะตรงกับแนวเชือกของลูกดิ่งแสดงว่าการวางแนวถูกต้อง
สรุป
กรรมวิธีและอุปกรณ์ง่ายๆร่วมสมัยกับขอมพันปีโดยบันทึกเงาดวงอาทิตย์ (shadow plot) ทำให้สามารถวางแนว centerline ปราสาทภูเพ็กได้อย่างแม่นยำ ไม่แพ้การใช้อุปกรณ์ไฮเทค เช่น GPS และ Iphone ของยุค Thailand 4.0
อาจกล่าวได้ว่า "รอยขีด" บนพื้นประตูทิศตะวันออกเป็นเสมือน "รหัสคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์" จากยุคขอมพันปี