ชื่อโครงการ ท่องเที่ยววิถีคาทอลิก
หลักการและเหตุผล
สกลนครเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีชุมชนคาทอลิกขนาดใหญ่ที่สุดคือบ้านท่าแร่ ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง ตั้งอยู่ริมทะเลสาปน้ำจืด "หนองหาร" มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะเดียวกันบ้านจอมแจ้ง ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว ก็มีโบสถ์คาทอลิกตั้งอยู่ริมหนองหารทำให้ทัศนียภาพเหมือนกับโบสถ์นักบุญเปรโต (St.Peter Church) ริมทะเลสาปแกลลิลี ประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นดินแดนกำเนิดของศาสนาคริตส์ ทุกๆปีมีการจัดเทศกาลขบวนแห่ดาวคริสตมาส (Star of Bethlehem) ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีชุมชนคาทอลิกกระจายอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงได้แก่อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอพรรณานิคม และอำเภอพังโคน สิ่งเหล่านี้เป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว "วิถีคาทอลิก" ที่เพียบพร้อมด้วยเรื่องราวและสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคอิทธิพลตะวันตกเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว หากได้รับการบริหารจัดการโดยจำลองรูปแบบทัศนีภาพและเรื่องราวจากดินแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งนครเยรูซาเลมประเทศอิสราเอล ชุมชนเหล่านี้จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวที่นับถือศาสนาคาทอลิกทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจากกรุงเทพและเมืองใหญ่ๆ รวมทั้งจากประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซี่ยน เช่น เวียตนาม สปป.ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์
วัตถุประสงค์
1.เปิดมิติการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ที่นับถือศาสนาคาทอลิกจากกรุงเทพ เมืองใหญ่ๆ และประเทศเพื่อนบ้าน
2.เพิ่มปฏิทินการท่องเที่ยวในรอบปีจากกิจกรรมเดิมๆของวัฒนธรรมและประเพณีชาวไทสกล
สถานที่ดำเนินการ
บ้านท่าแร่ ตำบลท่าแร่ อำเภอเมืองสกลนคร และบ้านจอมแจ้ง ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว ทั้งสองหมู่บ้านเป็นชุมชนคาทอลิกที่อยู่ริมทะเลสาปหนองหาร
ระยะเวลาดำเนินการ
เดือนธันวาคม 2560 - กันยายน 2561
วิธีดำเนินการ
(แบ่งงานให้ส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ ในรูปแบบบูรณาการให้บรรลุเป้าหมายหลักของโครงการ โดยทำเป็นโครงการย่อย Sub-Project ที่จะช่วยเสริมวัตถุประสงค์ของโครงการใหญ่)
แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน (มีส่วนราชการในท้องถิ่น และผู้นำชุมชน ร่วมด้วย)
Sub-Project 1
ปรับปรุงทัศนียภาพ
ตบแต่งบางส่วนของชุมชนให้สะท้อนประวัติศาสตร์และเรื่องราวของศาสนาคาทอลิก เช่น
1.1 ถนนหน้าโบสถ์มีคาแอล บ้านท่าแร่ และทางเข้าโบสถ์บ้านจอมแจ้ง ให้มีรูปลักษณ์เหมือนถนนโรมัน (Cobble Stone Roman Road)
1.2 ตบแต่งท่าเรือทั้งสองหมู่บ้านในสไตล์โรมัน (Roman Harbor)
1.3 ตบแต่งบ้านเรือนในจุดที่เหมาะสมให้มีรูปแบบย้อนยุค
1.4 สร้าง Landmark และป้ายริมถนน สื่อว่าที่นี่คือชุมชนคาทอลิกเก่าแก่ของประเทศไทย
1.5 สนับสนุนให้กิจการร้านอาหารและร้านกาแฟในชุมชนตบแต่งสไตล์ย้อนยุค และมีเมนูอาหารที่สอดคล้อง เช่น ไก่งวง สะเต็กโคขุน สะเต็กปลานักบุญเปรโต น้ำหมากเม่า ไวน์หมากเม่า ฯลฯ
Sub-Project 2
ด้านการเกษตร
ส่งเสริมการปลูกต้นไม้และปศุสัตว์ที่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ของศาสนาคาทอลิก เช่น อินทผาลัม (date palm) มะเดื่อ (fig) และไก่งวง (turkey)
Sub-Project 3
จัดอีเว้นส์
จัดกิจกรรมต่างๆในรูปแบบที่น่าสนใจตามปฏิทินศาสนาคาทอลิก เช่น เทศกาลคริสต์มาส ศุกร์ประเสริฐ (Good Friday) และอีสเตอร์ (ปัสกาล) การจัดกีฬาโบราณ (ancient sports) ฯลฯ
Sub-Project 4
Visitor Center ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
Sub-Project 5
ประชาสัมพันธ์
5.1 ออกแบบ Logo การท่องเที่ยววิถีคาทอลิก
5.2 ตัวแมสคอท (Mascot)
5.3 ทำ Youtube และ VTR สั้นๆ
5.4 ของที่ระลึกต่างๆ
Sub-Project 6 ...........................
งบประมาณ
ตั้งตามกิจกรรมใน sub-project ต่างๆ
1.ปรับปรุงทัศนียภาพของชุมชน .................
2.ส่งเสริมกิจกรรมปลูกต้นอินทผาลัม มะเดื่อ และเลี้ยงไก่งวง ..........
3.จัดกิจกรรมตามปฏิทินเทศกาลต่างๆ................
4.จัดทำ Visitor Center ......................
5.ฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมแก่ชุมชน ..................
6.งบประชาสัมพันธ์.....................
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มปฏิทินการท่องเที่ยว และสามารถมาเยี่ยมชมได้ตลอดปี
2.ชุมชนและส่วนราชการท้องถิ่นมีความเข็มแข็งในการบริหารจัดการโครงการด้วยตนเอง
3.กระจายรายได้สู่ชุมชน
ชื่อโครงการ ท่องเที่ยวเส้นทางราชมรรคา
หลักการและเหตุผล
จังหวัดสกลนครเมื่อพันกว่าปีที่แล้วเป็นเมืองหลักชายแดนเหนือสุดของอาณาจักรขอมในเขตลุ่มน้ำแม่น้ำโขง (เส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ ตำแหน่งเดียวกันกับสุโขทัย) จากภาพถ่ายทางอากาศปี พ.ศ.2497 แสดงหลักฐานคูเมืองและตัวเมืองรูปสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 1.7 x 1.7 กิโลเมตร ประกอบกับโบราณสถานหลายแห่ง เช่น พระธาตุเชิงชุม (ข้างในองค์พระธาตุเป็นปราสาทขอม) ปราสาทนารายณ์เจงเวง สะพานขอม ปราสาทดุม ปราสาทภูเพ็ก ตลอดจนพระพุทธรูปศิลปะขอมและฐานโยนีที่บ้านท่าวัด ริมหนองหาร นอกจากนั้นยังมีโรงพยาบาลชุมชน (อโรคยาศาลในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ด) ที่อำเภอสว่างแดนดิน และศิลาจารึกภาษาขอมที่ภูถ้ำพระอำเภอกุดบาก
อนึ่ง จากการศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานในยุคขอมเรืองอำนาจไล่เลียงจากปราสาทพิมายที่โคราชขึ้นมายังสกลนครทำให้เชื่อว่าต้องมีถนนเชื่อมโยงระหว่างสถานที่เหล่านั้น จึงอาจเรียกว่านี่คือ "เส้นทางราชมรรคา" ในเขตอีสานตอนบน ที่เชื่อมต่อกับเส้นทางราชมรรคาในเขตอีสานตอนล่างจากปราสาทพิมายไปยังราชธานีนครอังกอร์ (ปัจจุบันเป็นเมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา) ขณะเดียวกันจากบันทึกของกรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อครั้งเสด็จมาตรวจราชการที่จังหวัดสกลนครเมื่อปี พ.ศ.2449 มีข้อความกล่าวถึง "ถนนขอม" จากตัวเมืองโบราณสกลนครไปยังปราสาทนารายณ์เจงเวง
ดังนั้น หากนำข้อมูลและโบราณสถานเหล่านี้มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจก็สามารถสร้างมิติใหม่แห่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในแง่มุมที่ผสมผสานระหว่างสังคมศาสตร์ ศาสตร์แห่งความเชื่อ และวิทยาศาสตร์
วัตถุประสงค์
1.เปิดมิติการท่องเที่ยวที่ผสมผสานระหว่างความเชื่อ ตำนาน ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และดาราศาสตร์
2.เพิ่มปฏิทินการท่องเที่ยวในรอบปี
สถานที่ดำเนินการ
โบราณสถานยุคขอมเรืองอำนาจในเส้นทางราชมรรคาตั้งแต่เมืองหนองหาร อุดรธานี (หนองหารน้อย) ถึงเมืองโบราณสกลนคร และบริเวณใกล้เคียง
ระยะเวลาดำเนินการ
ธันวาคม 2560 - กันยายน 2561
วิธีดำเนินการ
แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน
Sub-Project 1.สำรวจเส้นทางและจัดทำข้อมูล
เพื่อนำมาร้อยเรียงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เริ่มตั้งแต่ปราสาทบ้านพันนา (อโรคยาศาล) ต.พันนา อ.สว่างแดนดิน ภูถ้ำพระ ต.นาม่อง อ.กุดบาก ปราสาทภูเพ็ก ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม ปราสาทนารายณ์เจงเวง ต.ธาตุนาเวง อ.เมืองสกลนคร พระธาตุเชิงชุม (ปราสาทเชิงชุม) ต.เขตเทศบาลนครสกลนคร ปราสาทดุม ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร บ้านท่าวัด ตำบลเหล่าปอแดง อ.เมืองสกลนคร
Sub-Project 2.
จัดกิจกรรมต่างๆ
เช่น อ้างอิงวันสำคัญตามปฏิทิน "มหาศักราช" (Saka Calendar) ที่ใช้ในยุคขอมเรืองอำนาจ เช่น ปรากฏการณ์วสันตวิษุวัตและศารทวิษุวัต กลางวันเท่ากับกลางคืน (vernal equinox 19 - 22 March and autumnal equinox 21 - 24 September) ปรากฏการณ์เหมายัน (winter solstice 20 - 23 December) กลางคืนยาวที่สุด ตลอดจนกิจกรรมอื่นๆในวันสำคัญตามจักรราศี
Sub-Project 3
ท่องเที่ยวเชิงผจญภัย(Adventure Tourism)
"ลุยป่าค้นหาขอมพันปี" ในบริเวณป่ารอบๆปราสาทภูเพ็กโดยใช้อุปกรณ์ระบบ GPS และ Smart Phone
Sub-Project 4
ท่องเที่ยวเชิงศาสตร์แห่งความเชื่อ
"เพิ่มพลังชีวิตด้วยศาสตร์แห่งฮวงจุ้ย" อ้างอิงตำแหน่งฮวงจุ้ยของเมืองสกลนครระหว่างปราสาทภูเพ็ก ปราสาทนารายณ์เจงเวง และเกาะดอนสวรรค์
Sub-Project 5
ประขาสัมพันธ์
5.1ป้ายแสดงเส้นทางราชมรรคา และ QR Code ในสถานที่สำคัญระหว่างเส้นทาง
5.2 Logo โครงการ
5.3 Mascot
5.4 ของที่ระลึก
Sub-Project 6
ฝึกอบรม
เตรียมความพร้อมแก่ส่วนราชการในท้องถิ่นและผู้นำชุมชน
งบประมาณ
จัดงบประมาณให้สอดคล้องกับ Sub-Project
1.สำรวจเส้นทางและจัดทำข้อมูล...................
2.ส่งเสริมจัดกิจกรรมต่างๆตามปฏิทินมหาศักราช............
3. ท่องเที่ยวเชิงผจญภัย.................
4.ท่องเที่ยวเชิงศาสตร์แห่งความเชื่อ .................
3.ฝึกอบรมส่วนราชการในท้องถิ่นและผู้นำชุมชน .......................
4.ประชาสัมพันธ์ ............................
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ใช้ถ้อยคำเหมือนกับโครงการท่องเที่ยววิถีคาทอลิก

