Operation Rahu Episode VII
Total Solar Eclipse 21 Aug 2017
How far and how big is the sun
ปฏิบัติการราหู ภาค 7 วัดระยะทาง โลก - ดวงอาทิตย์ และขนาดของดวงอาทิตย์ ในปรากฏการณ์ "สุริยุปราคาเต็มดวง" 21 สิงหาคม 2560

เป็นปฏิบัติการข้ามทวีประหว่างสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย ปรากฏการณ์ "สุริยุปราคาเต็มดวง" เกิดที่สหรัฐอเมริกา วันที่ 21 สิงหาคม 2560 แต่ตัวผมอยู่ที่จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย ต้องให้เครือข่ายที่สหรัฐส่งภาพมาให้ทาง Facebook

ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงแด่นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกโบราณทั้งสามท่าน ที่สร้างผลงานและทิ้งมรดกแห่งภูมิปัญญาอันล้ำค่าเมื่อสองพันกว่าปีที่แล้วเป็นแรงบันดาลใจให้ผมคิดค้นวิธีการคำนวณแบบใหม่โดยการต่อยอดจากสูตรดั้งเดิมของท่านเหล่านี้
แผนปฏิบัติการ
ทราบล่วงหน้าจากปฏิทินดาราศาสตร์ว่าจะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง (Total Solar Eclipse) ที่สหรัฐอเมริกา วันที่ 21 สิงหาคม 2560 จึงเตรียมแผน "ปฏิบัติการราหู ภาค 7" (Operation Rahu VII) วัดระยะทาง โลก - ดวงอาทิตย์ และวัดขนาดของดวงอาทิตย์ โดยใช้ภาพถ่ายปรากฏการณ์นี้เพียง 1 ใบ เนื่องจากผมอยู่ที่จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย ไม่สามารถเห็นด้วยตนเองต้องอาศัยเครือข่ายเพื่อนๆที่สหรัฐอเมริกาช่วยถ่ายภาพและส่งมาทาง Facebook อนึ่ง การใช้ชื่อรหัสว่า "ปฏิบัติการราหู" มีความเป็นมาดังรายละเอียดในบทความ Operation Rahu VI 8 Aug 2017 เว้ปไซด์เดียวกันนี้
เตรียมการล่วงหน้าตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 โดยมีลำดับปฏิบัติการ ดังนี้
1.วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของโลก ด้วย "ปฏิบัติการอีราโต้สทีเนส" (Operarion Eratosthenes) ระหว่างโรงเรียนมัธยม 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนศรีบัวบานวิทยาคม นครพนม โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา สกลนคร และโรงเรียนตาเบาวิทยา สุรินทร์ ได้ตัวเลข 12,323 กิโลเมตร
นำตัวเลขเส้นผ่าศูนย์กลางโลกมาใช้ในปฏิบัติการราหูภาค 6 เพื่อวัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ และวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของดวงจันทร์ (รายละเอียดในบทความ Operation Rahu VI) ได้ระยะทาง 395,672 กิโลเมตร และขนาดของดวงจันทร์ 3,664 กิโลเมตร
ตัวเลขทั้งสองจะเป็นพื้นฐานในการคำนวณระยะทาง โลก - ดวงอาทิตย์ และวัดขนาดดวงอาทิตย์ ในปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ 21 สิงหาคม 2560

ผลที่ได้จาก Operation Eratosthenes และ Operation Rahu VI
2.ปฏิบัติการราหูภาค 7 วันที่ 21 สิงหาคม 2560 โดยใช้ภาพถ่ายชัดๆจากสหรัฐอเมริกาเพียง 1 ใบ เป็นฝีมือของเพื่อนเก่าสมัยเรียนที่ Punjab Agricultural University 1970 - 1974 ชื่อ Navi Bhalla ตอนนี้เป็นนักธุรกิจสัญชาติอเมริกันอยู่ที่ San Francisco สหรัฐอเมริกา เพื่อนคนนี้เป็นมือกลองในวงดนตรีสไตล์ชาโด (Rock Band) ของมหาวิทยาลัยปันจาบชื่อวง PAU Extract โดยผมเป็นมือกีตาร์ เราทั้งคู่จบปริญญา BSc.Agriculture and Animal Husbandry เมื่อปี 1974 ปัจจุบันเราพบกันใน Facebook แทบทุกวัน

ผมและ Navi เล่นดนตรีด้วยกันระหว่างปี 1970 - 1974 ที่ Punjab Agricultural University India และมารวมวงกันอีกครั้งที่ San Francisco ปี 2011

ภาพเพื่อนร่วมชั้นเรียน Mojor Animal Husbandry

ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดที่สหรัฐอเมริกาเป็นระยะทางยาวข้ามประเทศตั้งแต่ฝั่งตะวันตกยันฝั่งตะวันออก

สถานที่ 10 แห่งในสหรัฐอเมริกาที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงแบบจะจะ

Navi ลงทุนบินจาก San Francisco ไป stand by อยู่ที่ Nashville รัฐ Tenessee เพื่อชมปรากฏการณ์แบบตัวจริงเสียงจริง

เพื่อนชาวกัมพูชาชื่อ Sokha Taylor ที่เมือง Nashville Tennessee รายงานด้วยภาพว่าบรรยากาศเหมือนกลางคืนไปชั่วขณะ
เพื่อนชาวอเมริกันครอบครัว Bickle ขับรถจากรัฐ Oklahoma ไปที่รัฐ Missouri เพื่อเก็บภาพแบบสดๆ
บรรยากาศการชม Solar Eclipse ที่รัฐ Oklahoma and Missouri อุปกรณ์เพียบ

ครอบครัวเพื่อนๆชาวไทยที่รัฐ Iowa ลงทุนขับรถลงใต้เพื่อไปชมปรากฏการณ์ด้วยตัวจริงเสียงจริง เป็นภาพฝีมือคุณหมอแอ้ (Airy Navaravong)
ภาพถ่ายโดยคุณหมอแอ้ (Airy Navaravong)

Photo By Wimara and Lee Bickle เป็นเพื่อนที่รัฐ Oklahoma
ที่เมือง Ankeny รัฐ Iowa มีเมฆหนาทึบและฝนตก ไม่เห็นปรากฏการณ์ solar Eclipse แต่ได้ภาพ Rainbow ที่สวยงามมาปลอบใจ
วัดระยะทาง โลก - ดวงอาทิตย์ และวัดขนาดดวงอาทิตย์ ด้วยภาพเพียง 1 ใบ

สร้างวงกลมเปรียบเทียบให้แนบสนิทกับรอยเว้าของดวงอาทิตย์ซึ่งเกิดจากดวงจันทร์

เลื่อนวงกลมไปครอบดวงอาทิตย์เพื่อพิสูจน์เชิงประจักษ์ว่า "เท่ากัน" พอดี
.jpg)
การทำภาพเชิงซ้อนของปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง (Total Solar Eclipse) แสดงว่าขนาดของดวงจันทร์สามารถบังดวงอาทิตย์ได้อย่างพอดี เข้าทางปืน "ทฤษฏีเส้นผมบังภูเขา" (Theory of Angular Diameter) ของนักดาราศาสตร์ชาวกรีก Aristarchus of Samon เมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว ผมใช้โปรแกรม PowerPoint เข้าช่วยเพื่อให้สามารถคำนวณได้ง่ายและเร็วขึ้น

ต้นแบบทฤษฏีการคำนวณระยะทาง โลก - ดวงอาทิตย์ โดยนักดาราศาสตร์ชาวกรีกโบราณ Aristarchus of Samon
ตามทฤษฏี "เส้นผมบังภูเขา" (Angular Diameter) ของท่าน Aristarchus of Samon ระบุว่าถ้าภาพของดวงจันทร์เท่ากับภาพของดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลก (ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ได้แนบสนิทพอดีในปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง) แสดงว่าระยะทาง โลก - ดวงอาทิตย์ = 400 x ระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ ขณะเดียวกันขนาดของดวงอาทิตย์ = 400 x ขนาดของดวงจันทร์
.jpg)
ผลของ Operation Rahu VII ได้ระยะทาง โลก - ดวงอาทิตย์ 158.26 ล้านกิโลเมตร (คาดเคลื่อน +5.78%) และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดวงอาทิตย์ 1.46 ล้านกิโลเมตร (คาดเคลื่อน +5.03%)
สรุป
ปฏิบัติการราหูภาค 7 (Operation Rahu Episode VII) ครั้งนี้ มาจากความร่วมมือของท่านผู้อำนวยการโรงเรียน คุณครูและนักเรียนมัธยม 3 แห่ง โรงเรียนศรีบัวบานวิทยาคม นครพนม โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา สกลนคร และโรงเรียนตาเบาวิทยา สุรินทร์ ที่ได้ช่วยกันวัดเส้นรอบวงโลกในปฏิบัติการอีราโต้สทีเนส (Operation Eratosthenes) ระหว่างวันที่ 21 - 26 มิถุนายน 2560 เป็นข้อมูลพื้นฐานที่นำไปสู่การคำนวณระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ และมาลงตัวที่การวัดระยะทาง โลก - ดวงอาทิตย์ และขนาดดวงอาทิตย์ ในปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงที่สหรัฐอเมริกา
ขณะเดียวกันต้องขอบคุณเครื่อข่ายเพื่อนๆครอบครัวชาวไทยและชาวกัมภูชาที่สหรัฐอเมริกา ส่งภาพผ่าน Facebook ข้ามทวีปมาให้อย่างรวดเร็ว และท้ายสุด Thanks a lot to my old friend "Navi Bhalla" for your quick and clear photo from Nashville Tennessee USA