ปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
14 พฤศจิกายน 2559 ประกบคู่ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ครั้งเดียวในรอบศตวรรษ ณ ปราสาทพิมาย ที่เดียวแห่งเดียวในประเทศไทย ........ สุริยะเทพทอแสง 76 ช่องประตู ตามด้วยซุปเปอร์มูน และวันลอยกระทง พลาดโอกาสนี้ต้องรอชาติหน้า


ปราสาทพิมายมีอะไรที่พิเศษกว่าปราสาทขอมอื่นๆ
จากการสำรวจด้วยอุปกรณ์ GPS พบว่าผังแปลนของปราสาทพิมายถูกกำหนดให้หันหน้าไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่มุมกวาด 160 องศาจากทิศเหนือ (azimuth 160) ขณะที่ปราสาทขอมอื่นๆหันหน้าไปทิศตะวันออกแท้ (Azimuth 90) หรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (Azimuth 80 - 85) คำถามจึงอยู่ที่ทำไมปราสาทพิมายจึงต้องหันหน้าไม่เหมือนปราสาทขอมทั่วไป เป็นโจทย์ให้นักโบราณคดีหลายค่ายออกความเห็นแตกต่างกันและยังไม่มีข้อสรุป อย่างไรก็ตามข้อมูลที่สาธารณชนยอมรับและใช้โปรโมทการท่องเที่ยวก็คือ "หันหน้าไปที่เมืองหลวงตามเส้นทางราชมรรคา" จะผิดถูกอย่างไรก็ให้เป็นหน้าที่ของนักโบราณคดีค้นคว้าจนถึงที่สุด
คำถามต่อไป ...... มีปราสาทขอมหรือโบราณสถานที่รับอิทธิพลขอมแห่งอื่นๆหันหน้าในลักษณะคล้ายปราสาทพิมายหรือไม่ คำตอบคือ ...... มีครับเท่าที่สำรวจพบ ได้แก่
1.ปราสาท Banteay Top หันหน้าทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่มุมกวาด 99 องศา (Azimuth 99) ปราสาทหลังนี้อยู่ใกล้ๆกับปราสาท Banteay Chmar ในประเทศกัมพูชาแถวๆชายแดนไทย ห่างจากเมือง Siem Reap 102 กม.
2.ปราสาทตาเมือนทม อยู่บนภูเขาที่จังหวัดสุรินทร์ติดชายแดนกัมพูชา หันหน้าทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่มุมกวาด 172 องศา (Azimuth 172)
3.วัดศรีสวายในเมืองเก่าสุโขทัย หันหน้าทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่มุมกวาด 170 องศา (Azimuth 170)
4.วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้ว และวัดนางพญา ที่เมืองเก่าศรีสัชนาลัย หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่มุมกวาด 135 องศา (Azimuth 135)
ขณะที่นักโบราณคดีทุกค่ายยังไม่มีบทสรุปที่ลงตัวเกี่ยวกับประเด็นการหันหน้าของปราสาทพิมาย ...... ผมจึงขอเสนอมุมมองทางวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ที่พิสูจน์ได้ว่าปราสาทหลังนี้มีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปีละ 4 ครั้ง ได้แก่ดวงอาทิตย์ยามเช้าส่องประกายที่ประตูทิศตะวันออก 76 ช่อง วันที่ 22 พฤษภาคม และ 23 กรกฏาคม ดวงอาทิตย์ยามเย็นเรืองแสงที่ประตูทิศตะวันตก 76 ช่อง วันที่ 29 มกราคม และ 14 พฤศจิกายน

แผนผังแสดงการวางตัวของปราสาทพิมายในแง่มุมดาราศาสตร์ โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่มุมกวาดจากทิศเหนือ 160 องศา (Azimuth 160)
การที่ปราสาทพิมายหันหน้าไปที่มุมกวาด 160 องศา ทำให้ด้านข้างทิศตะวันออกทำมุม 70 องศา และด้านข้างทิศตะวันตกทำมุม 250 องศา เมื่อพิจารณาตามหลักดาราศาสตร์จะเห็นว่าด้านทิศตะวันออกอยู่ในกรอบวิถีดวงอาทิตย์ยามเช้าระหว่าง 65 - 115 องศา และด้านทิศตะวันตกก็อยู่ในกรอบวิถีดวงอาทิตย์ยามเย็นระหว่าง 244 - 293 องศา จึงทำให้มีปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ลอดประตูด้านข้างปีละ 4 ครั้ง
.jpg)
แสดงวิถีการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ในรอบปีเปรียบเทียบกับการวางผังแปลนของปราสาทพิมาย

การจับมุมดาราศาสตร์ที่ธรณีประตู Main Chamber ด้านทิศตะวันออก

GPS ยืนยันการหันหน้าของปราสาทพิมายที่มุมกวาด 160 องศา

GPS แสดงด้านทิศตะวันออกของปราสาทพิมายหันไปที่มุมกวาด 70 องศา

Sunrise ที่ตำแหน่งมุมกวาด 70 องศา 2 ครั้ง คือ 22 May 23 Jul และ sunset ที่ตำแหน่งมุมกวาด 250 องศา 2 ครั้ง 29 Jan 14 Nov (+ - 2 days)
Sunrise 20 May 2016

Sunrise 23 Jul 2016

Sunset 29 Jan 2015

Sunset 14 Nov 1994 and 2016
ประกบคู่ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ชาตินี้มีครั้งเดียว" สุริยะเทพเรืองแสง 76 ช่องประตูทิศตะวันตก ตามติดด้วยซุปเปอร์มูนในรอบ 86 ปี
การโคจรมาตรงกันระหว่างปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์อัสดง 76 ช่องประตูและหน้าต่าง กับซุปเปอร์มูนในรอบ 86 ปี เป็นคณิตศาสตร์ที่เกิดขึ้นยากมากถึงมากที่สุด และเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในศตวรรษที่ 21 หากพลาดวันนี้ก็ต้องรอไปอีกชาติหน้า ดังนั้นจึงต้องมีการบันทึกภาพและเรื่องราวอย่างละเอียดเพื่อให้ท่านที่ไม่มีโอกาสได้มาปราสาทพิมายในวันนั้นได้ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้น ....... งานนี้ได้รับการอนุเคราะห์เป็นอย่างดีจากท่าน ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง ผู้ทรงคุณวุฒิแห่งอำเภอพิมาย ทำหน้าที่เป็นตากล้องกิตติมศักดิ์บันทึกภาพอาทิตย์อัสดงและซุปเปอร์มูนหลากหลายแง่มุมได้ภาพสวยงามน่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง ท่าน ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง ได้ให้การช่วยส่งข้อมูลให้ผมทุกครั้งที่ได้รับการร้องขอ อนึ่งตัวเลข 76 ช่องประตูและหน้าต่างเป็นข้อมูลจากคุณ Phetrada Sornchaipaisal มัคคุเทศก์อาชีพชาวโคราชเดินสำรวจนับจำนวนช่องประตูและหน้าต่างด้วยตนเอง
ไกด์มืออาชีพคุณ Phetrada Sornchaipaisal นำลูกทัวร์ชาวต่างประเทศมาปักหลักชมปรากฏการณ์ระหว่างวันที่ 13 - 14 พฤศจิกายน 2559 ทำให้บรรยากาศวันนั้นมีความคึกคัก รวมทั้งไกด์ Phakarat Hanchana ที่เดินทางมาชมด้วยตนเอง และคุณสายชล ศรีสันเทียะ เจ้าหน้าที่ประจำอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ทุกท่านที่ผมเอ่ยนามได้ส่งภาพสวยๆมาให้ชมทาง facebook ..... ขอบคุณเป็นอย่างยิ่งครับ อนึ่งผมทราบภายหลังจาก facebook ของคุณ Phetrada ว่าท่านประธานหอการค้าโคราช คุณ Hasadin Suwatanapongched ได้เดินทางมาร่วมชมซุปเปอร์มูนที่พิมายด้วย
ท่าน ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง ตากล้องกิตติมศักดิ์ กำลังยิงภาพอาทิตย์อัสดง จากมุมกล้องของคุณสายชล ศรีสันเทียะ เจ้าหน้าที่ประจำอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

อีกมุมหนึ่งของอาทิตย์อัสดง

ภาพถ่ายด้วยเลนส์เทคนิคพิเศษทำให้แสงอาทิตย์เปล่งประกายน่าอัศจรรย์

เปรียบเทียบอาทิตย์อัสดงที่ปราสาทพิมาย กับที่เมือง Ankeny Iowa USA

อีกหนึ่งมุมกล้องสวยๆ

งานนี้หลวงพ่อท่านก็มาชมด้วย ภาพฝีมือไกด์ Phetrada Sornchaipaisal

ภาพนี้เป็นฝีมือของไกด์ Phakarat Hanchana

อาทิตย์อัสดงส่องประกายผ่านช่องประตูและหน้าต่างด้านทิศตะวันตกทุกบาน

มาดการเก็บภาพ supermoon โดยท่าน ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง

ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง และคุณ Phetrada Sornchaipaisal

ปรากฏการณ์อาทิตย์อัสดงประกบกับซุปเปอร์มูน 14 พฤศจิกายน 2559

เปรียบเทียบตำแหน่ง supermoon ที่ผมทำ computer graphic ไว้ล่วงหน้า กับภาพถ่ายจริงๆในคืนวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559
ซุปเปอร์มูน (supermoon) คืออะไร
คำนี้เป็นภาษาดาราศาสตร์หมายถึง "การมองเห็นภาพดวงจันทร์ใหญ่ที่สุด" เพราะโคจรเข้ามาใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 86 ปี ครั้งที่แล้วปี 26 Jan 1948 ครั้งนี้ 14 Nov 2016 ครั้งต่อไป 25 Nov 2034

เปรียบเทียบระหว่างภาพดวงจันทร์เล็กที่สุด (micromoon) ดวงจันทร์โดยทั่วไป (average moon) และซุปเปอร์มูน (supermoon)
ดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้โลกมากที่สุดด้วยระยะทาง 356,509 กม.

Supermoon ครั้งที่แล้วเกิดเมื่อ 26 Jan 1948 คราวนี้ 14 Nov 2016 ครั้งต่อไป 25 Nov 2034

ทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ อัฟริกา ยุโรป และตะวันออกกลาง ไม่เห็น supermoon ตัวจริงเพราะเป็นเวลากลางวัน ถ้าพูดตามหลักดาราศาสตร์ที่เวลา 13:52 GMT

วิถีการเคลื่อนตัวของ supermoon ณ ปราสาทพิมาย และเวลาที่เหมาะสมต่อการถ่ายภาพมากที่สุดคือ 18:00 น. ตำแหน่งดวงจันทร์จะอยู่ในกรอบประตูปราสาทพิมาย
.jpg)
Supermoon ในกรอบประตูปราสาทพิมาย


Supermoon ในมุมกล้องของ ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง

Supermoon ที่ Ankeny City Iowa USA

ซูมภาพ supermoon มองเห็นหลุมอุกาบาตชื่อ Copernicus และ Tycho รวมทั้งบริเวณที่ดูเหมือนเป็นทะเลมีชื่อว่า Sea of Serenity and Sea of Tranquility
สรุป
ยังไม่ทราบว่าการประกบคู่ระหว่างปรากฏการณ์อาทิตย์อัสดง 76 ช่องประตูปราสาทพิมาย กับ supermoon ครั้งต่อไปจะเกิดอีกเมื่อไหร่ เพราะ supermoon คราวหน้าจะเกิดวันที่ 25 พฤศจิกายน 2034 ก็ไม่ตรงกับปรากฏการณ์อาทิตย์อัสดงที่พิมาย ...... ระหว่างเขียนบทความผมอยู่ที่ Ankeny City รัฐ Iowa USA จึงไม่มีโอกาสได้เห็นปรากฏการณ์นี้ด้วยตนเองต้องอาศัยภาพและข้อมูลรายละเอียดจากท่าน ผอ.จำนงค์ แพงเพ็ง และเพื่อนๆใน facebook
ดังนั้น ที่ผมพาดหัวว่า "ปฏิบัติการพิมาย" ชาตินี้มีครั้งเดียว ...... เป็นความจริงแน่แท้ครับ ....... Operation Phimai Once or Never ..... see you again next life