St.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่.......สกลนคร
สกลนคร ..... เมืองแห่งทะเลสาบน้ำจืด "หนองหาร" ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทัศนียภาพเหมือนกับทะเลสาบ Sea of Galilee ที่ประเทศ Israel เพราะมีโบสถ์คาทอลิกตั้งอยู่ริมทะเลสาบเหมือนกันคือ St.Peter Church กับโบสถ์แม่พระแห่งสายประคำบ้านจอมแจ้ง ตำบลบ้านแป้น อ.โพนนาแก้ว ..... แถมวิวสวยๆตะวันรอนที่หนองหาร
.jpg)
.jpg)
โบสถ์คาทอลิก ริมทะเลสาบหนองหาร บ้านจอมแจ้ง ต.บ้านแป้น อ.โพนนาแก้ว สกลนคร

เดินทางด้วยเรือนำเที่ยวหนองหาร
.jpg)
ตะวันรอบที่หนองหาร มองจากศาลาริมน้ำโบสถ์คาทอลิก บ้านจอมแจ้ง
.jpg)
อีกมุมหนึ่งของตะวันรอนที่หนองหาร
เมนูเด็ดแห่งแรกของประเทศไทย ..... นั่นคือ "ปลานักบุญเปโตร" หรือ St.Peter's Fish สะท้อนเรื่องราวย้อนหลังไปสองพันกว่าปีที่ดินแดนพระคำภีร์ไบเบิ้ลประเทศอิสราเอลในยุคโรมันเรืองอำนาจ ...... โปรโมทการท่องเที่ยวด้วย Food with Story Behind (Gastronomy tourism) ...... สร้างอาชีพใหม่แบบครบวงจรแก่พี่น้องชาวสกลนครในรูปแบบฟาร์มปลาระบบปิดด้วยเทคโนโลยี Biofloc ตั้งแต่ผู้เพาะเลี้ยง ผู้ประกอบการแปรรูป และผู้ประกอบการร้านอาหาร ...... เริ่มต้นจากผลงานวิจัยของ ม.ราชภัฏสกลนคร ส่งไม้ต่อให้ผู้ประกอบการเอกชนไปพัฒนาเป็นธุรกิจของคนรุ่นใหม่ cในชื่อ "สวนป่าบ้านดิน และ Adeqnic Engineering Solution" ปัจจุบันจดทะเบียน "วิสาหกิจชุมชนในชื่อ FitFarm" จำหน่ายผลิตภัณฑ์ปลานิลหลากหลายหลายรูปแบบ ตั้งแต่ Fillets (ปลานิลแล่เอาแต่เนื้อ) ปลานิลแดดเดียวอบด้วยโดมพลังงานแสงอาทิตย์ และปลานิลที่เตรียมพร้อมสไตล์อาหารญี่ปุ่นในชื่อ Sashimi และ Fish Berger

St.Peter's Fish Burger เมนูใหม่ล่าสุดของ "สวนป่าบ้านดิน และ Adeqnic Engineering Solution" อ.เมืองสกลนคร เปิดตัวครั้งแรกในงาน Sakon Junction 10 - 12 ธันวาคม 2564

Shabu and hot pot

ราดพริก

ปลาเผายอดนิยมของอีสาน

แหนมปลา

แดดเดียวทอดกรอบ

.jpg)
St.Peter's Fish Fillet with Premium Mao Wine Chateau de Phupan

Sashimi
.jpeg)
St.Peter's Fish สไตล์อีสาน และสไตล์อาหารตะวันตก

ปลา St.Peter เลี้ยงในระบบปิดด้วยเทคโนโลยี Biofloc รับประกันความสะอาด (Food Safety)
ที่มาของ St.Peter's Fish
ย้อนหลังไปที่ดินแดนแห่งพระคำภีร์ไบเบิ้ลเมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว ชื่อนักของบุญเปโตร (St.Peter) ปรากฏอยู่ใน The New Testament บท Gospel Matthew 17 เป็นที่รู้จักดีของผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ทั่วโลกเพราะท่านเป็นสาวกคนแรกของพระเยซู อาชีพเดิมของท่านเปโตรเป็นชาวประมงอยู่ที่เมืองคาเปอร์นาอุม (Capernaum) ริมทะเลสาบแกลลิลี ประเทศอิสราเอล วันหนึ่งได้พบกับพระเยซูที่โบสถ์ของชาวยิวและฟังคำเทศนาจนเกิดความเลื่อมใส แต่ด้วยกฏหมายของโรมันพระเยซูจำต้องจ่ายค่าภาษีในการใช้สถานที่เทศนาแต่พระองค์ไม่มีเงิน จึงบอกให้เปโตรไปตกปลาในทะเลสาบแกลลิลีซึ่งอยู่ใกล้ๆ ...... เปโตรพบว่าปลาตัวแรกที่ตกได้มีเหรียญอยู่ในปาก ...... พระเยซูตรัสว่าให้เอาเหรียญดังกล่าวไปชำระค่าภาษี ปลาตัวนั้นจึงถูกตั้งชื่อว่า "ปลานักบุญเปโตร" (St.Peter's Fish) นักท่องเที่ยวที่ไปชมทะเลสาบแกลลิลี (Sea of Galilee) จะไม่พลาดอาหารจานเด็ดที่ชื่อว่า St.Peter's Fish Fellet

ทะเลสาบน้ำจืดแกลลิลี่ (Sea of Galilee) อยู่ตอนเหนือของประเทศอิสราเอล ในอดีตเป็นแหล่งประมงของชาวพื้นเมือง นักบุญเปโตร (St.Peter) ก็มีอาชีพเป็นชาวประมงอยู่ที่นั่น

พระคำภีร์ไบเบิ้ลบท Matthew 17:24 - 27 กล่าวถึงเรื่องราวของนักบุญเปโตรได้พบกับพระเยซู
พระเยซูบอกให้เปโตรไปตกปลาในทะเลสาบแกลลิลีที่อยู่ใกล้ๆและพบว่าปลาตัวแรกที่ตกได้ "มีเหรียญอยู่ในปาก" และนำเหรียญนั้นไปชำระค่าภาษีในการใช้สถานที่โบสถ์ของชาวยิวตามกฏหมายโรมัน

ปัจจุบันที่เมือง Capernaum ริมทะเลสาบ Galilee มีอนุเสาวรีย์นักบุญเปโตร

ผมไปทัศนศึกษาที่เมือง Capernaum ปี 2521 (1978) ขณะที่เป็นข้าราชการรับทุนไปฝึกอบรมด้านการพัฒนาชุมชน (Community Development) ที่ประเทศอิสราเอล ได้ยินได้เห็นได้ฟังเรื่องราวของ St.Peter's Fish และก็ได้กินด้วย

ได้เห็นภาพกระเบื้องโมเสสเป็นรูปปลา St.Peter สองตัวอยู่ที่โบราณสถานใกล้ๆกับเมือง Capernaum

ที่สำคัญได้กิน St.Peter's Fish ที่ร้านอาหารร่วมกับเพื่อนๆจากหลายประเทศที่เข้าหลักสูตรอบรมด้วยกัน
St.Peter's Fish เมนูเด็ดของร้านอาหารที่อิสราเอล ...... นักท่องเที่ยวต้องไม่พลาด
นักท่องเที่ยวที่ไปประเทศอิสราเอลจะต้องเข้าโปรแกรมไฟต์บังคับให้ไปที่ทะเลสาบแกลลิลีและชิมเมนู St.Peter's Fish ผมเองเป็นหนึ่งในลูกค้าของเมนูนี้ ตอนที่ได้ยินชื่อก็นึกถึงความอร่อยทันทีเพราะชื่อนี้เร้าใจยิ่งนัก มองไปยังโต๊ะอื่นๆก็เห็นมีแต่เมนูเดียวกันแสดงว่าทุกคนที่มาสถานที่แห่งนี้ต้องไม่พลาด

ป้ายชื่อร้านอาหารที่ขายเมนูเด็ด St.Peter's Fish ผมอ่านภาษาฮีบริวไม่ออกจึงไม่ทราบว่าชื่อร้านอะไร แต่รู้แน่ๆว่าต้องขายอาหารที่ทำจากปลาตัวนี้แหละเพราะมีรูปติดอยู่ชัดเจน

นี่ก็อีกร้านนึงที่ขายเมนูเด็ด
.jpg)
comment ส่วนหนึ่งของนักท่องเที่ยวที่อธิบายเมนู St.Peter's Fish ซึ่งแนะนำโดยกัปตันของร้านอาหาร
ภาพข้างล่างเหล่านี้คือโฉมหน้าของเมนู St.Peter's Fish ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของบรรดานักท่องเที่ยว พระเดชพระคุณท่านดูเอาเองก็แล้วกันว่าจะอร่อยหรือทีเด็ดขนาดไหน ......... สำหรับผมวิจารณ์ตรงๆว่ารดชาดคือปลานิลทอดกรอบ ...... แต่จุดขาย (Gimmick) ของเขาอยู่ที่ Story Behind ทำให้กินด้วยความดื่มด่ำในเรื่องราวที่ย้อนหลังไปสองพันกว่าปี อร่อยตรงนี้แหละครับ






กลับมาที่สกลนครเมืองแห่งทะเลสาบ "หนองหารหลวง" เราๆท่านๆจะขายการท่องเที่ยวอย่างไร
หลายท่านที่มาเยื่อนดินแดนแห่งหนองหารหลวงคงจะทราบดีว่าที่นี่มีเรื่องราวของ "เกจิอาจารย์" ศาสนาพุทธหลายท่าน อาธิ หลวงปู่มั่น และหลวงปู่ฝั่น อย่างไรก็ตามสกลนครยังมีเรื่องราวของชุมชนศาสนาคาทอลิกเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงในด้านกิจกรรมวันคริสต์มาส คือ "การแห่ดาวใหญ่ที่สุดในประเทศไทย" ผมเองก็เป็นนักเรียนเก่าจากโรงเรียนคาทอลิก "ดรุณาราชบุรี" คุ้นเคยกับเรื่องราวพระคำภีร์ไบเบิ้ล ประกอบกับเคยไปอบรมที่ประเทศอิสราเอล 2 ครั้ง ในปี 2521- 22 และ 2539 จึงมีประสบการณ์ตรงในเรื่อง "ปลานักบุญเปโตร"
ประกอบกับจังหวัดสกลนครมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนรอบทะเลสาบหนองหาร โดยเน้นเป้าหมาย 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านท่าวัด บ้านจอมแจ้ง บ้านท่าแร่ บ้านน้ำพุ และบ้านแป้น มองเห็น "ทัศนียภาพและเรื่องราวที่สะท้อนพระคำภีร์ไบเบิ้ล" ที่บ้านจอมแจ้ง ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว เพราะเป็นชุมชนคาทอลิกมีโบสถ์อยู่ริมทะเลสาบหนองหารเหมือนกับโบสถ์นักบุญเปโตรที่ทะเลสาบแกลลิลีประเทศอิสราเอล จึงมีแนวคิดสร้างเรื่องราวและเมนูเด็ด St.Peter's Fish แห่งแรกของประเทศไทย

เปรียบเทียบลักษณะภูมิประเทศระหว่าง St.Peter Church ริมทะเลสาบ Galilee ประเทศ Israel กับโบสถ์คาทอลิก บ้านจอมแจ้ง ริมทะเลสาบหนองหาร สกลนคร ประเทศไทย

5 หมู่บ้านเป้าหมายการท่องเที่ยวชุมชนรอบหนองหาร และหนึ่งในนั้นได้แก่บ้านจอมแจ้ง ต.บ้านแป้น อ.โพนนาแก้ว สกลนคร
.jpg)
ภาพถ่ายทางอากาศหนองหารและบ้านจอมแจ้งมองจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

บ้านจอมแจ้ง ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว เป็นชุมชนคาทอลิกมีโบสถ์อยู่ริมทะเลสาบหนองหาร

บ้านจอมแจ้ง ริมทะเลสาบหนองหาร สกลนคร มีทัศนียภาพของโบสถ์คาทอลิกเหมือนกับ St.Peter's Church ที่ริมทะเลสาป Galilee ประเทศอิสราเอล
.jpg)
วันที่ 16 ตุลาคม 2559 เจ้าของบริษัททัวร์ (คุณเกรซ) และมัคคุเทศก์อาชีพ (คุณหมี) มาเทียวชมทัศนียภาพโบสถ์คาทอลิกบ้านจอมแจ้ง ริมหนองหาร สกลนคร

ทะเลสาบหนองหารก็อุดมไปด้วยปลา St.Peter ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tilapia nilotica

คณะกรรมการบริษัทประชารัฐรักสามัคคีสกลนครจำกัด นำโดยคุณประพันธ์ เตชะสกลกิจกูร คุณหมอสมบูรณ์ จิระวัฒนาสมกุล คุณเศกสรร ชนาวิโชติ และคุณสุรชัย เดชศิริอุดม มีความเห็นตรงกันว่าเราต้องเดินหน้าโปรโมทเมนูเด็ด St.Peter's Fish เป็นแห่งแรกของประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในบรรยากาศนครแห่งทะเลสาบหนองหารหลวง
.jpg)
เมนูเด็ด St.Peter Fillet และ Fish and Chips ถูก Create โดย Chef Tan แห่งร้านอาหารฝรั่งสไตล์ไฮโซที่ชื่อว่า "ร้านทองดี"
ขณะเดียวกันก็มีเมนู St.Peter's Fish แบบไทยๆด้วยรดชาดที่เข้าทางนักบริโภคสไตล์อีสาน

Chef Tan และ Chef Tu สองคู่หูสุดยอดแห่งความอร่อยสไตล์ไฮโซ ทั้งคู่มีประสบการณ์เต็มอัตราศึกจากร้านอาหารกรุงปารีส และมหานครลอนดอน

เปรียบเทียบ St.Peter "Fish and Chip" ที่ประเทศอิสราเอล กับสกลนครโดยจัดให้คู่กับไวนส์หมากเม่า
.jpg)
สาขาวิชาประมงและสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.ราชภัฏสกลนคร จัดแสดงผลงาน Aquaponic เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2559 ให้กับคณะกรรมการประชารัฐส่วนกลาง
.jpg)
เมนูเด็ดของ St.Peter's Fish จากฝีมือของสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร ม.ราชภัฏสกลนคร
.jpg)
นักศึกษาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร ม.ราชภัฏสกลนคร
.jpg)
เมนูสวยงามจากฝีมือของอาจารย์และนักศึกษาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร ม.ราชภัฏสกลนคร
.jpg)
St.Peter's Fish สามารถปรุงเป็นอาหารหลากหลาย
.jpg)
ดร.ธนกร ราชพิลา ประธานสาขาเทคโนโลยีการอาหารกำลังอธิบาย Aquaponics แก่คณะประชารัฐส่วนกลาง
.jpg)
ดร.ธนกร ราชพิลา ประธานสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร และ นพ.สมบูรณ์ จิระวัฒนาสมกุล ผู้จัดการบริษัทประชารัฐรักสามัคคีสกลนคร กำลังอธิบายเรื่องราวของการเพาะเลี้ยงและแปรรูป St.Peter's Fish แก่คณะประชารัฐส่วนกลาง ที่หอประชุมมหาวชิราลงกรณ์ ม.ราชภัฏสกลนคร วันที่ 30 สิงหาคม 2559
ประวัติปลา St.Peter ในประเทศไทย
ปลาชนิดนี้มาจากทวีปอัฟริกาและลุ่มน้ำไนล์มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tilapia nilotica ตอนนี้ถูกเปลี่ยนชื่อวิทยาศาสตร์ไปเป็น Oreochromis nilotica
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2508 สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ แห่งญี่ปุ่น เมื่อครั้งทรงพระอริยยศมกุฎราชกุมารได้เสด็จมากรุงเทพและทูลเกล้าถวายปลา Tilapia nilotica จำนวน 50 ตัว แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้า พระองค์ทรงโปรดให้เพาะเลี้ยงในวังสวนจิตรลดาและพบว่าปลาชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดีจึงพระราชทานชื่อเป็นภาษาไทยว่า "ปลานิล" และพระราชทานให้กรมประมงนำไปขยายพันธ์ุแจกจ่ายแก่พสนิกรเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509 ปัจจุบันก็ยังคงเลี้ยงอยู่ที่วังสวนจิตลดาและมีชื่อว่า "ปลานิลจิตรลดา"

เจ้าชายอะกิฮิโตะ และเจ้าหญิงมิชิโกะ เมื่อคราวเสด็จมากรุงเทพเมื่อปี 2508 และทูลเกล้าถวายปลา Tilapia nilotica จำนวน 50 ตัว แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้า

พระเจ้าอยู่หัวทรงเพาะเลี้ยงปลา Tilapia nilotica ที่วังสวนจิตรลดา และพบว่าเจริญเติบโตได้ดี

ได้พระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า "ปลานิล" พระราชทานให้กรมประมงไปเพาะเลี้ยงเพื่อแจกจ่ายแก่พสนิกร

อธิบดีกรมประมงได้เข้าเฝ้าและรับพระราชทานพันธ์ุปลานิลไปขยายพันธ์ุ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509

โครงการสร้างต้นแบบฟาร์ม St.Peter's Fish ระบบปิดในโรงเรือน เพื่อส่งเสริมอาชีพการเกษตรมิติใหม่ที่เรียกว่า "เกษตรแบบประณีต" (Intensive Farming)
ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้เสนอโครงการนี้เมื่อคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยวันศุกร์ที่ 29 กรกฏาคม 2559 และประชุมกับผู้บริหารและอาจารย์สาขาวิชาประมงและสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2559 เพื่อเริ่มต้นโครงการ Pilot St.Peter's Fish Intensive Farming and Their Products โดยนำแนวคิดที่เคยเห็นจากประเทศอิสราเอลมาเป็นตัวอย่าง ดังภาพข้างล่างนี้
.jpg)
ผมอยู่ที่ประเทศอิสราเอลในช่วงปี 1978 - 1979
.jpg)
โฉมหน้าการเลี้ยงปลาในทะเลทรายที่ประเทศอิสราเอล ใช้น้ำที่ลำเลียงด้วยระบบท่อมาจากทะเลสาบ Galilee ที่อยู่ไกลร้อยกว่ากิโลเมตร
.jpg)
พวกเขาเล่าให้ผมฟังว่านี่คือการเลี้ยงปลาที่ประหยัดน้ำเพราะไม่ต้องถ่ายน้ำทิ้งเพราะใช้เทคโนโลยี Biofloc ใช้จุลินทรีย์ช่วยกำจัดของเสียในน้ำและแปรสภาพเป็นก๊าซไนโตรเจนระเหยไปในอากาศ
การเลี้ยงปลา St.Peter ในโรงเรือนด้วยระบบ Biofloc

อีกรูปแบบหนึ่งของการเลี้ยงปลาแบบ outdoor

สังเกตสีของน้ำออกโทนดำๆ นี่คือ Biofloc แต่เราๆท่านๆที่ไม่ได้อยู่ในวงการนี้อาจจะคิดว่าเป็นน้ำเสีย
.jpg)
วันที่ 13 ตุลาคม 2559 คุณประพันธ์ เตชะสกลกิจกูร รองประธานหอการค้าไทย และกรรมการบริษัทประชารัฐรักสามัคคีสกลนคร นำคณะไปดูงานการเลี้ยง St.Peter's Fish คู่กับกุ้งกุลาดำในระบบโรงเรือน ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธ์ุกุ้ง (Shrimp Genetic Improvement Center) อ.ไชยา จ.สุราฏธานี เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานไบโอเทค ม.สงขลานครินทร์ และ ม.มหิดล คณะได้รับเกียรติบรรยายสรุปโดย ศจ.นายแพทย์ บุญเสริม วิทยชำนาญกุล แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
.jpg)
การเลี้ยงปลาระบบโรงเรือนใช้เทคโนโลยีจัดการน้ำที่เรียกว่า Biofloc โดยใช้กากน้ำตาล (Molase) และ Oxygen ทำให้มีอาหารธรรมชาติและรักษาคุณภาพน้ำได้เป็นอย่างดีโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ

การเลี้ยงปลา St.Peter ควบคู่กับกุ้งกุลาดำ ในระบบโรงเรือน
.jpg)
การเลี้ยงปลาระบบโรงเรือนโดยใช้ภาชนะผ้าใบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เมตร ระดับน้ำ 0.8 เมตร
สาขาวิชาประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ...... ออกหมัดเร็ว
ทันทีที่ทราบนโยบายที่ผมนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย อาจารย์ทรงทรัพย์ อรุณกมล และทีมงานบอกกับผมว่า "พวกเราพร้อมมาตั้งนานแล้วครับคุณลุง" และนี่คือผลงานเบื้องต้น





.jpg)
การทดสอบ Biofloc ที่สาขาวิชาการประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.ราชภัฏสกลนคร โดยอาจารย์นพรัตน์ พัชณีย์ อนึ่งสีของน้ำในระบบ Biofloc อาจจะดูเหมือนน้ำเน่า .... แต่ในหลักวิทยาศาสตร์การประมง "เป็นของดีสุดๆเลยครับ"
Biofloc คือระบบการเพาะเลี้ยง bacteria ด้วยกากน้ำตาลและเติม Oxygen ลงไปในน้ำ เพื่อย่อยสลายแอมโมเนีย (Ammonia) และไนไตซ์ (Nitrites) ซึ่งเป็นสารพิษต่อปลา ให้กลายเป็นไนเตรต (Nitrates) ซึ่งจะสลายตัวเป็นแก้สไนโตรเจน (Nitrogen gaseous) ขึ้นไปในอากาศ ขณะเดียวกัน Biofloc ก็เป็นอาหารโปรตีนที่ดีของปลา St.Peter's Fish
.jpg)
โครงการทดลองของสาขาวิชการประมง ม.ราชภัฏสกลนคร เลี้ยงปลา St.Peter อายุ 1 เดือน ในระบบ Biofloc และมีอาหารเสริมเล็กน้อย
ผมมีความหวังว่าในอนาคตอันใกล้จะเห็น "ผู้จบการศึกษาด้านเกษตร" ทั้งอาชีวะศึกษาและปริญญาตรี สามารถตั้งตัวด้วยอาชีพ Intensive Aqua Culture ที่ไม่ต้องมีวาทะกรรมอันหดหู่ "หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน" อีกต่อไป ขณะเดียวกันจะมีนักท่องเที่ยวกระเป๋าหนัก "นั่งนกแอร์มากินเมนูเด็ด St.Peter Fillet and Mao Wine" พร้อมๆกับสัมผัสบรรยากาศท่องเที่ยวชุมชนรอบทะเลสาบหนองหารและดื่มด่ำกับ Story ของอารยธรรมแห่งดินแดนแอ่งสกลนคร
ความก้าวหน้าจากประชุมใหญ่บริษัทประชารัฐสามัคคีสกลนคร 6 ธันวาคม 2559
บริษัทประชารัฐสกลนครฯ และคณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.ราชภัฏสกลนคร นำเสนอนิทรรศการ St.Peter's Fish ตั้งแต่เพาะเลี้ยงจนถึงการแปรรูปเป็นอาหาร เพื่อให้เห็นความเป็นไปได้ของโครงการเชื่อมโยงระหว่าง "ธุรกิจการประมงกับธุรกิจการท่องเที่ยว"
คณะผู้จัดนิทรรศการประกอบด้วยกรรมการบริษัทประชารัฐสกลนคร และอาจารย์ นักศึกษา จากคณะเทคโนโลยีการเกษตร ม.ราชภัฏสกลนคร
.jpg)
ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร นายวิทยา จันทร์ฉลอง รับฟังบรรยายสรุปและหารือกับคณะกรรมการบริษัทประชารัฐสกลนคร และอาจารย์ ม.ราชภัฏสกลนคร (ที่เห็นในภาพได้แก่ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร นายวิทยา จันทร์ฉลอง คุณนฤทธิ์ คำธิศรี กรรมการภาคประชาชน คุณหมอสมบูรณ์ จิระวัฒนาสมกุล กรรมการภาคประชาสังคม คุณประพันธ์ เตชะสกลกิจกูร กรรมการภาคเอกชน อาจารย์ทรงทรัพย์ อรุณกมล ประธานสาขาวิชาการประมง อาจารย์นพรัตน์ พัชณีย์ ผู้เชี่ยวชาญ การเพาะเลี้ยงปลาในระบบ Biofloc)
.jpg)
ดร.ธนากร ราชพิลา ประธานสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร ม.ราชภัฏสกลนคร บรรยายการแปรรูปและประกอบอาหารจาก St.Peter's Fish แก่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร
.jpg)
คุณประพันธ์ เตชะสกลกิจกูร กรรมการบริษัทประชารัฐสกลนคร กำลังให้ข้อมูลแก่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ชิมอาหารจาก St.Peter's Fish
ม.ราชภัฏสกลนคร ส่งไม้ต่อให้ผู้ประกอบการเอกชน
ตุลาคม 2560 สาขาวิชาการประมง ม.ราชภัฏสกลนคร เริ่มต้นทดลองเลี้ยงปลานิลในระบบ Biofloc อย่างเป็นทางการ โดยใช้บ่อขนาด 100 ตัน และ 1 ตัน เพื่อดูผลการเจริญเติบโต ผลการทดลองพบว่าได้ผลดีจึงส่งไม้ต่อให้ผู้ประกอบการเอกชน บริษัท Adeqnic Engineering Solution รับต้นแบบไปขยายผลเชิงพาณิชย์เมื่อเดือนกรกฏาคม 2563


บ่อขนาด 100 ตัน ของสาขาวิชาการประมง ม.ราชภัฏสกลนคร มีการให้อาหารแบบอัตโนมัติด้วย Autofeed

สามารถเลี้ยงและขุนปลานิลให้มีน้ำหนักถึง 0.8 - 1.0 กก เพื่อใช้ทำ Fillet Steak
บริษัท Adeqnic Engineering Solution จำกัด (สวนป่าบ้านดิน) บ้านดอนเชียงบาน ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร สนใจในการลงทุนสร้างธุรกิจฟาร์มปลาระบบ Biofloc โดยเริ่มศึกษาและทดลอง Phase 1 เมื่อเดือนกรกฏาคม 2563 จนได้รูปแบบที่เหมาะสมทั้งด้านการเลี้ยงปลาและระบบควบคุมเชิงวิศวกรรมด้วยเทคโนโลยี Internet of Things (IoT)
Phase 1 เป็นบ่อขนาด 3 ตัน และ 10 ตัน พร้อมอุปกรณ์การให้อากาศแบบอัตโนมัติ

Phase 1 บ่อขนาด 3 ตัน ของบริษัท Adeqnic Engineering Solution ที่บ้านดอนเชียงบาน ต.เชียงเครือ อ.เมืองสกลนคร
Phase 1 บ่อขนาด 10 ตัน ของบริษัท Adeqnic Engineering Solution

รูปร่างหน้าตาของน้ำในระบบ Biofloc
Phase 2 เป็นโรงเรือนขนาดครึ่งไร่ สามารถเลี้ยงปลาได้อย่างน้อย 50,000 ตัว
แผนผังโรงเรือน เริ่มใช้งานได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564

ฟาร์มปลาระบบ Biofloc มาตรฐานสากล พร้อมระบบการควบคุมอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี IoT
เลี้ยงปลาได้อย่างน้อย 50,000 ตัว ในพื้นที่เพียงครึ่งไร่ ถ้าเป็นการเลี้ยงในบ่อดินจะต้องใช้พื้นที่ราวๆ 10 ไร่ (ไร่ละ 5,000 ตัว)
.jpeg)
ระบบการติดตามตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) ด้วย application ช่วยให้ลูกค้าทราบข้อมูลที่มาของผลผลิตในลักษณะ From Pond to Plate

แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์พร้องปรุง (ready to cook) ที่สะอาดและง่ายต่อการจัดการ
.jpeg)
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสกลนครเปิดการทดสอบตลาดที่หน้าห้าง Lotus
สรุป
หวังเป็นอย่างยิ่งว่านี่คือการเปิดมิติใหม่แห่งอาชีพการเลี้ยงปลาเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวที่มี Story Behind ของปลา St.Peter's Fish ในดินแดนทะเลสาบหนองหารหลวง และในอนาคตอันใกล้เราจะได้เห็นเรือนำเที่ยวขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าและควบคุมด้วยระบบนำร่องเทคโนโลยียุคดิจิตอล ในชื่อ Sura Utok Cruise and Cusine
.jpg)
