ปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสอง ปราสาทภูเพ็ก พระธาตุเชิงชุม VS ปีรามิดเผ่ามายา
ตรวจสอบแกนโลกด้วยปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีประหว่างสกลนคร ประเทศไทย กับเมืองชิเช่น อีสซ่า ประเทศเม็กซิโก ภายใต้รหัส "Operacion Dia Del Juicio Final 2015" เพื่อยืนยันโลกยังคงอยู่ที่มุมเอียง 23.5 องศา

โลโก้เป็นภาษาสเปนส์เพราะเป็นปฏิบัติการร่วมแบบข้ามทวีประหว่างประเทศเม็กซิโกกับประเทศไทย

โลโก้เป็นภาษาไทยเพราะปฏิบัติการร่วมระหว่างประเทศไทยกับประเทศเม็กซิโก
ทำไมต้องมี "ปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสอง"
จากข่าวลือระดับสากลเรื่อง "วันสิ้นโลก 2012" ที่อ้างถึงปฏิทินเผ่ามายาในประเทศเม็กซิโกซึ่งเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 3114 BC (3114 ปี ก่อนคริสตกาล) จะสิ้นสุดลงวันที่ 21 ธันวาคม 2012 ทำให้เกิดข่าวลือว่าโลกจะถึงกาลอวสานเพราะ "แกนโลกพลิกตัว" และเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ของมนุษยชาติ ข่าวลือนี้ถูกตอกย้ำด้วยภาพยนต์ฮอลีวูด พ๊อกเก็ตบุ๊กและคำทำนายของโหราจารย์บางท่าน เล่นเอาผู้คนจำนวนมากที่หลงเชื่อเกิดอาการอกสั่นขวัญแขวน เพื่อพิสูจน์ให้ทุกท่านทราบว่าเรื่องนี้ "เป็นเพียงข่าวลือ" ทีมงานพยัคฆ์ภูเพ็ก ประกอบด้วยแกนนำ 4 ท่าน ได้แก่ นายแพทย์ศิริโรจน์ กิติสารพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญคณิตศาสตร์ อาจารย์วรวิทย์ ตงศิริ หรือ ฤาษีเอก อมตะ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิญญาณ ลุงบุปผา ดวงมาลย์ ผู้นำท้องถิ่นบ้านภูเพ็ก และตัวผมสรรค์สนธิ บุณโยทยาน นักพิภพวิทยา ได้วางแผนพิสูจน์โดยใช้วิธีการเชิงคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ที่ปราสาทภูเพ็ก บนยอดเขาสูง 520 เมตร ที่บ้านภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม เพื่อยืนยันว่า "แกนโลกยังคงปกติ" ดังรายละเอียดในบทความที่อยู่ในเว้ปไซด์เดียวกันนี้ อย่างไรก็ตามขอสรุปเรื่องราว "ปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012" พอสังเขป ดังนี้
โลโก้ประชาสัมพันธ์ และสรุปผลปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร

วิธีที่ 1 จับพิกัดดาวเหนือว่ายังคงอยู่ที่เดิม

วิธีที่ 2 สัญลักษณ์บนแท่งหิน Deposit Stone ที่ปราสาทภูเพ็ก ซึ่งทำหน้าที่เสมือน "สุริยะปฏิทิน" ยังคงยืนยันตำแหน่งดวงอาทิตย์ในราศีสำคัญ

วิธีที่ 3 นาฬิกาแดด และสมการแห่งเวลายืนยัน "อัตราความเร็วการหมุนรอบตัวเองของโลก" อยู่ในพิกัด 15 องศา ต่อ 1 ชั่วโมง

วิธีที่ 4 มุมตกกระทบ (angle of incidence) ของนาฬิกาแดดในปรากฏการณ์ศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) วันที่ 23 กันยายน 2012 และปรากฏการณ์เหมายัน (Winter Solstice) วันที่ 21 ธันวามค 2012 ยืนยันว่า "มุมเอียงของแกนโลก" ยังคงอยู่ที่ประมาณ 23.5 องศา ซึ่งเป็นความปกติ
นั่นคือปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ซึ่งได้อ้างอิงเรื่องราวของปฏิทินเผ่ามายาในประเทศเม็กซิโก และมีภาพปีรามิด "กูกูลค่าน" ที่เมืองชิเช่น อีสซ่า เป็นตัวประกอบเรื่อง แต่ตอนนั้นเป็นปฏิบัติการเพียงฝ่ายเดียวที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร ประเทศไทย เพื่อให้เป็นการสมบูรณ์สมคำอ้างผมจึงต้องลงทุนเดินทางไปที่เมืองชิเช่น อีสซ่า ประเทศเม็กซิโก ด้วยตนเอง และเปิดฉาก "ปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสอง" ในวันที่ 5 - 6 สิงหาคม ค.ศ.2015 ภายใต้ชื่อรหัส "Operacion Dia Del Juicio 2015" เป็นภาษาสเปนส์แปลว่า "ปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2015" โดยแบ่งทีมปฏิบัติการเป็น 2 คณะ
Team A นำโดยท่านอาจารย์ ดร.สพสันต์ เพชรคำ ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรม ปฏิบัติการที่ปราสาทภูเพ็ก และพระธาตุเชิงชุม สกลนคร ประเทศไทย
Team B ผมอยู่คนเดียวแบบ The Lone Rancher ที่โบราณสถานเผ่ามายา ปีรามิด Kukulkan เมือง Chichen Itza ประเทศเม็กซิโก
ปฏิบัติการนี้เหมือนภาพยนต์แนวอินเดียน่าโจนส์ที่ต้องมีภาคสอง โดยทิ้งท้ายเรื่องราวของเผ่ามายาเอาไว้ในภาคหนึ่ง
พิสูจน์แกนโลกว่ายังคงปกติด้วยปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ข้ามทวีประหว่างประเทศไทยกับเม็กซิโก
ผมออกแบบปฏิบัติการครั้งนี้ภายใต้หลักการ "เรขาคณิตระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์" (Earth - Sun Geometry) เพื่อยืนยัน "แกนโลก" ยังคงเอียงตามปกติที่ประมาณ 23.5 องศา โดยอาศัยข้อมูล "มุมเงยของดวงอาทิตย์" (Altitude) ที่เมืองสกลนครสอบเทียบกับเมืองชิเช่น อีสซ่า ประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่คนละซีกโลกเป็นตัวชี้วัด
โลกและดวงอาทิตย์อยู่ภายใต้หลักการเรขาคณิตซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ด้วยข้อมูลดาราศาสตร์

คำถามที่ตั้งไว้ "แกนโลกยังคงปกติหรือไม่"

แกนโลกปกติอยู่ที่มุมเอียงประมาณ 23.5 องศา จากแนวดิ่ง
ก่อนที่จะเข้าสู่รายละเอียดขออุ่นเครื่องดาราศาสตร์ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์สักเล็กน้อย
ความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่เรียกว่า "ฤดูกาล" อันเนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยมุมเอียงประมาณ 23.5 องศา

โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยแกนที่เอียงประมาณ 23.5 องศา ขณะเดียวกันก็หมุนรอบตัวเองในอัตราความเร็ว 24 ชั่วโมง หรือ 15 องศาต่อหนึ่งชั่วโมง ตลอดระยะทางที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ มุมตกกระทบในแต่ละวันจะเปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเรียกว่า "ฤดูกาล" ซึ่งมีทั้งสิ้น 4 ช่วง ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ (Vernal Equinox 21 Mar ) ฤดูร้อน (Summer Solstice 21 Jun ) ฤดูใบไม้ร่วง (Autumnal Equinox 23 Sep ) ฤดูหนาว (Winter Solstice 21 Dec )

ดวงอาทิตย์ทำมุมตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกปีละ 2 ครั้ง วันที่ 21 March และ 23 September เรียกชื่อว่า "วสันตวิษุวัต" (Vernal Equinox) และ "ศารทวิษุวัต" (Autumnal Equinox) ตามลำดับ วันนี้กลางวันและกลางคืนเท่ากัน ดวงอาทิตย์ขึ้นที่ทิศตะวันออกแท้และตกที่ทิศตะวันตกแท้

ดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับโลก ณ เส้นรุ้ง 23.5 องศาเหนือ (Tropic of Cancer) ทำให้กลางวันยาวที่สุดในรอบปี เรียกชื่อว่า "ครีษมายัน" (Summer Solstice) ตรงกับวันที่ 21-22 June เหตุผลที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากที่เส้นรุ้ง 23.5 องศาเหนือ เพราะโลกเอียง 23.5 องศา ถ้าแกนโลกเอียงมากหรือน้อยกว่านี้ตัวเลขก็จะเปลี่ยนไป

ดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับโลก ณ เส้นรุ้ง 23.5 องศาใต้ (Tropic of Capricorn) ทำให้กลางคืนยาวที่สุด เรียกว่า "เหมายัน" (Winter Solstice) ตรงกับวันที่ 21-22 Dec
ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เหล่านี้มีผลต่อมุมตกกระทบของดวงอาทิตย์ ณ จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย และเมืองชิเช่น อีสซ่า ประเทศเม็กซิโก ใน "ตัวเลของศา" ที่แตกต่างกันเพราะทั้งคู่ตั้งอยู่คนละตำแหน่งเส้นรุ้ง (Latitude) และเส้นแวง (Longitude) อย่างไรก็ตาม "ความแตกต่าง" ต้องอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์แห่งความสัมพันธ์เชิงเรขาคณิต (Earth - Sun Geometry)
แสดงตำแหน่งที่ตั้งของจังหวัดสกลนคร ประเทศไทย และเมืองชิเช่น อีสซ่า ประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่คนละซีกโลก และคนละองศาของเส้นรุ้ง

แสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์ในรอบปี ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร ประเทศไทย จะเห็นว่ามีปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะปีละ 2 ครั้ง คือ 8 May และ 5 August

ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในรอบปีที่พระธาตุเชิงชุม สกลนคร ประเทศไทย ก็เหมือนกับที่ปราสาทภูเพ็ก มีปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะปีละ 2 ครั้ง วันที่ 8 May และ 5 August เพราะตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน
ตำแหน่งดวงอาทิตย์ที่ปีรามิด Kukulkan เมือง Chichen Itza ก็มีปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะปีละ 2 ครั้ง วันที่ 23 May และ 20 July ซึ่งเป็นคนละวันกับจังหวัดสกลนครเพราะตั้งอยู่คนละเส้นรุ้ง
ทำไมต้องกำหนดวันที่ 5 - 6 สิงหาคม และเลือกสถานที่ปฏิบัติการ ณ ปราสาทภูเพ็ก และพระธาตุเชิงชุม สกลนคร ประเทศไทย กับ ปีรามิดกูกูลข่าน เมืองชิเช่น อีสซ่า ประเทศเม้กซิโก
เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ในการกำหนดวันที่ 5 - 6 สิงหาคม 2015
ใช้ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในวัน เวลา และสถานที่ทั้งสองประเทศมาเป็น "ตัวชี้วัด" เมื่อถึงวันและเวลานั้นก็พิสูจน์เชิงประจักษ์ว่า "ถูกต้องหรือไม่" หากผลการพิสูจน์ตำแหน่งดวงอาทิตย์ออกมาตรงกับ "ตัวชี้วัด" ก็แสดงว่าแกนโลกยังคงเอียงตามปกติที่ 23.5 องศา การตรวจสอบแบบนี้เป็นหลักการเหมือนแพทย์ตรวจสุขภาพโดยใช้ค่ามาตรฐานของเกณฑ์สุขภาพปกติ เช่น ...... อุณหภูมิร่างกาย 37.5 องศาเซลเซียส ........หัวใจเต้นอยู่ในเกณฑ์ 70 - 80 ครั้งต่อนาที ........ ความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 130 - 80 เป็นต้น
วันที่ 5 - 6 สิงหาคม ค.ศ. 2015 สกลนคร ประเทศไทย ดวงอาทิตย์จะตรงศรีษะ ณ เวลาเที่ยงสุริยะ (Solar Noon) ที่ปราสาทภูเพ็ก และพระธาตุเชิงชุม ทีมงานของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร (ILAC) นำโดย ดร.สพสันต์ เพชรคำ กับ ดร.หมู และว่าที่ ดร.จิ๊บ แห่ง ม.เกษตรศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จะบันทึกภาพเงาของวัตถุและภาพดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (Altitude 90 องศา) ส่งภาพผ่าน Facebook มาให้ผม (อยู่ที่เม็กซิโก เป็นเวลาประมาณเที่ยงคืน)
วันที่ 5 - 6 สิงหาคม ค.ศ. 2015 เมืองชิเช่น อีสซ่า เม็กซิโก คล้อยหลังประเทศไทย 12 ชั่วโมง ผมผลิตนาฬิกาแดดชนิดพิเศษใช้กับสถานที่นี้โดยเฉพาะเพื่อตรวจสอบว่า "เงาดวงอาทิตย์" เกาะติดกับเส้น Rule Curve ตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยง และเมื่อถึงเวลา "เที่ยงสุริยะ" (Solat Noon) เงาดวงอาทิตย์ยังคงอยู่ใน Rule Curve ทำมุมเงย (Altitude) ประมาณ 86 องศา ภาษาหมัดมวยเรียกว่า "ชกตามใบสั่ง" ที่สำคัญวันนี้นาฬิกาแดด (Solar Time) ชี้เวลาตรงกับเวลานาฬิกาข้อมือ (Clock Time) อย่างพอดี ตาม Curve ในสมการแห่งเวลา
นาฬิกาแดดชนิด Horizontal อันนี้ถูกออกแบบให้ใช้เฉพาะกิจ ณ ตำแหน่งของเมืองชิเช่น อีสซ่า ประเทศเม็กซิโก ที่เส้นรุ้ง 20.68 และเส้นแวง 88.56

บนหน้าปัดของนาฬิกาแดดมี Rule Curve (คำอธิบายแถบสีเหลือง Shadow curve of 5 - 6 Aug) เงาดวงอาทิตย์ในวันที่ 5 - 6 สิงหาคม ต้อง Follow ตามเส้นนี้ตั้งแต่เช้าจนเที่ยง พูดง่ายๆว่า "ไม่แตกแถว"

ตามกฏของ Earth - Sun Geometry วันที่ 5 - 6 สิงหาคม ดวงอาทิตย์ ณ เที่ยงสุริยะ (Solar Noon) จะตรงศรีษะที่สกลนคร ประเทศไทย แต่ที่เมืองชิเช่น อีสซ่า ประเทศเม็กซิโก ดวงอาทิตย์จะทำมุมเงย (Altitude) ประมาณ 86 องศา

สมการแห่งเวลา (Equation of Time) ที่เมืองชิเช่น อีสซ่า ประเทศเม็กซิโก เป็นเครื่องมืออีกตัวหนึ่งที่ใช้ ยืนยันว่านาฬิกาแดด (Solar Time) กับนาฬิกาข้อมือ (Clock Time) ชี้เวลาตรงกันพอดี ในช่วงวันที่ 5 - 6 สิงหาคม อนึ่ง สมการนี้เป็น Curve of Solar Time (สีแดง) เปรียบเทียบกับ Clock Time เส้นตรงในแนวนอน (ดินสอดำ) ให้เห็นว่า Solar Time มีทั้งช้ากว่าและเร็วกว่า Clock Time แต่บางช่วงก็ตรงกันพอดีในปลายเดือน March กับช่วงเดือน July ถึงต้นเดือน August

Worksheet การคำนวณทางคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ เพื่อออกแบบ Rule Curve ของนาฬิกาแดดชนิด Horizontal และสมการแห่งเวลา (Equation of Time) เป็นการเฉพาะกิจสำหรับเมืองชิเช่น อีสซ่า ประเทศเม็กซิโก
อนึ่ง ท่านอาจจะถามว่าทำไมต้องเลือกปฏิบัติการ ณ โบราณสถานเหล่านี้ ไปเลือกเอาแถวๆศาลพระภูมิหน้าบ้านตัวเองที่จังหวัดสกลนคร กับแถวๆร้านอาหารเม็กซิกันสักแห่งนึงในเมืองชิเช่น อีสซ่า ไม่ได้หรือ? เพราะตามหลักดาราศาสตร์ก็จะให้ผลเหมือนกัน ......... ถูกต้องที่ซู้ดครับถ้าพูดแบบวิทยาศาสตร์..........แต่ว่ามันจะ "ไร้บรรยากาศอย่างสิ้นเชิง" เหมือนไปนั่งกินเบียร์เย็นๆอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมเพียงผู้เดียวมันคงจะเซ็งน่าดู ....... แต่ถ้าเอาเบียร์ขวดเดียวกันไปนั่งอยู่ริมทะเลมีหาดทรายและดวงอาทิตย์สวยงาม ........ ท่านตัดสินเอาเองว่าจะเลือกแบบไหน อีกประการหนึ่งผมคำนึงถึงการผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์กับ Historical Background ที่ลงตัวอย่างศาสตร์กับศิลป์ ผมและท่านทั้งหลายเป็นมนุษย์ครับเรามีจิตนาการและสุนทรียภาพ เราไม่ใช่หุ่นยนต์ที่ไร้อารมณ์ จึงเป็นที่มาของการเลือกปฏิบัติการ ณ โบราณสถานยุคขอมเรืองอำนาจคู่กับปีรามิดของชาวมายา
อย่างไรก็ตามเหตุผล "วิทยาศาสตร์" ในการเลือกเมืองชิเช่น อีสซ่า ประเทศเม็กซิโก เพราะที่นี่ตั้งอยู่ในคาบสมุทรยูคาตันตรงกับ Agonic Line ของแม่เหล็กโลก ทำให้เข็มทิศ (Magnetic Compass) ชี้ตรงกับทิศเหนือแท้ (True North) เป็นการง่ายต่อการวางตำแหน่ง "นาฬิกาแดด" ให้ตรงกับทิศเหนือแท้ โดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ GPS มากนัก เนื่องจากอุปกรณ์ชนิดนี้ต้องใช้สัญญานจากดาวเทียมเป็นตัวขับเคลื่อน หากขณะนั้นมีคลื่นพายุแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์ (Solar Storm) เข้ามารบกวน GPS ก็จะแสดงผลคลาดเคลื่อน
แผนที่แสดง Agonic Line (เส้นสีเขียว) ที่ระบุว่าเข็มทิศแม่เหล็กชี้ตรงกับ "ทิศเหนือแท้" (True North) อนึ่ง เส้นสีแดงแสดงว่าเข็มทิศแม่เหล็กเบี่ยงไปทาง + และเส้นสีน้ำเงินแสดงเข็มทิศแม่เหล็กเบี่ยงไปทาง - ทำให้ต้องมีการ + หรือ - เป็นการชดเชย หากนำเข็มทิศแม่เหล็กไปใช้ ณ สถานที่นั้นๆ ข้อมูลนี้ผมเอามาจากเว้ปไซด์ของหน่วยงานสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า NOAA หากท่านสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปที่เว้ปไซด์ดังกล่าว

เมือง ชิเช่น อีสซ่า คาบสมุทรยูคาตัน ประเทศเม็กซิโก ตั้งอยู่ตรงกับแนวเส้น Agonic Line พอดี ทำให้เข็มทิศแม่เหล็กชี้ตรงกับทิศเหนือแท้ จึงง่ายต่อการวาง "นาฬิกาแดด" ให้ตรงกับ "True North"
ผลปฏิบัติการทั้งสองประเทศยืนยัน "แกนโลกปกติ" ที่มุมเอียง 23.5 องศา ตรงกับหลักเกณฑ์ความสัมพันธ์เชิงเรขาคณิตระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ (Earth - Sun Geometry)
Team A สกลนคร ประเทศไทย วันที่ 5 สิงหาคม 2558 นำโดยท่านอาจารย์ ดร.สพสันต์ เพชรคำ และ ดร.หมู พร้อมคณะจากสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ประกบกับทีมงานพยัคฆ์ภูเพ็ก ปฏิบัติการที่ปราสาทภูเพ็ก และพระธาตุเชิงชุม ผมได้ประสานกับท่าน ดร.สพสันต์ เพชรคำ และ ว่าที่ ดร.จิ๊บ แห่ง ม.เกษตรศาสตร์เฉลิมพระเกียรติไว้ล่วงหน้าให้เตรียมกล้องถ่ายรูปไป Stand By ตั้งแต่ 10:30 น. เพื่อรอถ่ายภาพดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ ......... และนี่คือผลงานของท่านเหล่านั้น
ปราสาทภูเพ็ก .........ศาสนสถานยุคขอมเรืองอำนาจยืนเด่นเป็นสง่าอยู่บนยอดภูเขา ท้าทายแสงแดด สายลม และสายฝน มานานร่วมพันปี

ปราสาทภูเพ็กตั้งอยู่บนยอดเขาที่ชื่อ "ภูเพ็ก" สูง 520 เมตร จากระดับน้ำทะเล อยู่ในเขตหมู่บ้านภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

เป็นปราสาทขอมสร้างไม่เสร็จและถูกทิ้งร้างอยู่บนยอดภูเขา ในความเห็นส่วนตัวของผมเชื่อว่าสร้างในปลายรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ดังคำอธิบายในบทความของเว้ปไซด์เดียวกันนี้

ปราสาทภูเพ็ก หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้ เพื่อให้ตรงกับวันปีใหม่ของปฏิทินมหาศักราช (วันที่ 1 เดือนไจตระ) Vernal Equinox จึงเป็นเสมือน "สุริยะปฏิทิน" ที่ใช้กำหนดวันสำคัญในการทำพิธีศักดิ์สิทธิ์

ทีมงานกำลังเตรียมพร้อมที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร เพื่อรอให้ดวงอาทิตย์เข้าสู่ตำแหน่ง "ตรงศรีษะ" วันดังกล่าวอยู่ในช่วงฤดูฝนจึงต้องเสี่ยงดวงว่า "ฟ้าจะเปิดให้หรือไม่"

อาจารย์ ดร.สพสันต์ เพชรคำ ทำหน้าที่เป็นตากล้องด้วยตนเอง โดยมีน้องอวยชัยฯหนุ่มรูปหล่อจาก ม.ราชภัฏสกลนคร และทีมงานพยัคฆ์ภูเพ็กชื่อคุณนก เป็นพรีเซนเตอร์
พอได้เวลา "เที่ยงสุริยะ" (Solar Noon) ดวงอาทิตย์เข้าสู่ตำแหน่ง "ตรงศรีษะ" พอดีเป๊ะและเกิดปรากฏการณ์ "ทรงกลด" (ภาพซ้ายมือเป็น Computer graphic)
ภาพขยายให้เห็นดวงอาทิตย์ตรงศรีษะที่ปราสาทภูเพ็กและเกิดปรากฏการณ์ "ทรงกลด"

อีกภาพหนึ่งที่สวยงามของ Sun Overhead at Prasat Phupek

ดร.หมู รองผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร ให้เกียรติเป็นฟรีเซนเตอร์ เห็นชัดเจนว่า "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ" ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร โดยดูจากเงาที่ฐานองค์พระพุทธรูป และเงาของ ดร.หมู
น้องอวยชัยฯ จาก ม.ราชภัฏสกลนคร และทีมงานพยัคฆ์ภูเพ็กชื่อคุณนก ร่วมกันเป็นพรีเซนเตอร์ที่ปราสาทภูเพ็ก เพื่อให้เห็นปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ

แท่งหิน Deposit Stone ไร้เงาเพราะดวงอาทิตย์ทำมุม 90 องศา แต่ก้อนหินที่อยู่ด้านซ้ายมือปรากฏเงาให้เห็นเพราะตั้งด้วยมุมเอียง
พระธาตุเชิงชุม ............จากปราสาทขอมพันปี.........มาเป็นพระธาตุศิลปะล้านช้างในปัจจุบัน
.jpg)
พระธาตุเชิงชุมเป็นศาสนสถานอยู่ใจกลางเมืองสกลนครในยุคโบราณเมื่อครั้งอาณาจักรขอมเรืองอำนาจ ต่อมาเมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงและถูกแทนที่ด้วยอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้าง ปราสาทขอมจึงถูกดัดแปลงโดยการสร้างพระธาตุครอบลงไปที่ตัวปราสาทเดิม และองค์พระธาตุก็ได้รับการดัดแปลงอย่างต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ภาพซ้ายมือเป็นพระธาตุปัจจุบัน ภาพขวามือเป็นภาพเก่า (ไม่ทราบ พ.ศ.)

พระธาตุเชิงชุมหันหน้าไปที่มุมกวาด 80 องศา สอดคล้องกับผังเมืองโบราณ

พระธาตุเชิงชุมเป็นโบราณสถานกลางเมืองโบราณ

ลำดับการเปลี่ยนแปลงจากปราสาทขอมมาเป็นพระธาตุเชิงชุมปัจจุบัน

Team A อีกคณะหนึ่งปฏิบัติการอยู่ที่พระธาตุเชิงชุม ในตัวเมืองสกลนคร ก็ได้ภาพดวงอาทิตย์ตรงศรีษะอย่างสวยงาม สังเกตจากแสงสะท้อนสีทองเรืองอร่ามและเงาดำมืดที่ยอดองค์พระธาตุ ประกอบกับพระอาทิตย์ทรงกลด (ภาพซ้ายมือเป็น computer graphic)
.jpg)
ภาพขยายให้เห็นการสะท้อนแสงและเงาที่ยอดองค์พระธาตุเกิดจากปรากฏการณ์ "ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ" หรืออีกนัยหนึ่งดวงอาทิตย์ทำมุม 90 องศา กับองค์พระธาตุ
เปรียบเทียบปรากฏการณ์อาทิตย์ตรงศรีษะที่พระธาตุเชิงชุม เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 กับวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2015
.jpg)
อีกภาพหนึ่งของดวงอาทิตย์ตรงศรีษะที่พระธาตุเชิงชุม ในวันที่ 5 สิงหาคม 2015
Team B เมืองชิเช่น อีสซ่า ประเทศเม็กซิโก ผมจำเป็นต้องลุยเดี่ยวแบบ The Lone Rancher โดยพกอุปกรณ์ "นาฬิกาแดด" ชนิดพิเศษที่ออกแบบเฉพาะกิจสำหรับตรวจสอบตำแหน่งดวงอาทิตย์ที่เมืองนี้ จริงๆแล้วอยากจะปีนขึ้นไปนั่งเก็บข้อมูลเงาดวงอาทิตย์บนยอดปีรามิดชาวมายันที่ชื่อ Temple of Kukulkan แต่ทางการเขาไม่อนุญาต ก็เลยต้องใช้วิธีการเชิงคณิตศาสตร์โดยวางนาฬิกาแดดให้ชี้ไปที่ True North ใกล้ๆกับปีรามิด และถ่ายรูปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เช้าจนเที่ยง
.jpg)
มีรั้วกั้นและป้ายห้ามเข้าสำหรับบุคคลทั่วไปยกเว้นเจ้าหน้าที่ซึ่งมีภารกิจดูแลโบราณสถานเท่านั้น

เมือง Chichen Itza ตั้งอยู่บนคาบสมุทร Yacatan ประเทศเม็กซิโก เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรมายัน เมื่อพันปีที่แล้ว ปัจจุบันโบราณสถานของชาวมายันกระจายอยู่ในประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา ฮอนดูรัส และ เอล ซัลวาดอร์

ภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นโบราณสถานกระจายตัวอยู่ทั่วบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ Chichen Itza

ปีรามิด Kukulkan ถูกออกแบบให้เกิดภาพงูยักษ์เลื้อยลงมาจากยอดในปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "วิษุวัต" (Equinox) วันที่ 21 มีนาคม และ 23 กันยายน
ปีรามิดถูกออกแบบอย่างชาญฉลาดให้แสงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ Equinox สะท้อนเป็นแสงและเงาไปที่ราวบันไดเกิดเป็นภาพงูยักษ์เลื้อยลงมาจากข้างบน โดยมีก้อนหินสลักเป็นหัวงูอยู่ด้านล่าง อนึ่งแกน Center Line ของปีรามิดทำมุมเอียงจาก True North 18 องศา
.jpg)
Team B ผมลุยเดี่ยวโดยมี "นาฬิกาแดด" เป็นอุปกรณ์สำคัญในการบันทึกตำแหน่งดวงอาทิตย์
.jpg)
ระหว่างปฏิบัติการมีนักท่องเที่ยวบางคนให้ความสนใจและแวะมาพูดคุยพร้อมกับถ่ายรูป
.jpg)
น้องคนนี้เป็นนักศึกษาวิชา Art จากมหาวิทยาลัยศิลปากรเม็กซิโก ตอนนี้กลายเป็นเพื่อนทาง Facebook

นักท่องเที่ยวจากแคนาดาสองท่านนี้ให้ความสนใจสอบถาม What are you doing

พอฟังคำอธิบายเสร็จก็ขอถ่ายรูปนาฬิกาแดดเป็นที่ระลึก
วางนาฬิกาแดดบริเวณทิศตะวันตกของปีรามิด Kukulkan
วางนาฬิกาแดดให้ตรงกับเข็มทิศแม่เหล็กชี้ที่ True North

โทรศัพท์ I-Phone ของผมเปิดระบบ Roaming จึงสามารถใช้ Function GPS เพื่อตรวจสอบ True North และตำแหน่งพิกัดที่ผมปฏิบัติการ

GPS แสดงผลว่าจุดที่ผมปฏิบัติการตรงกับพิกัด N 20 40 58 W 88 34 10
.jpg)
จากพิกัดที่ตั้งนาฬิกาแดดจะมองเห็น Temple of Eagle อยู่ทางทิศเหนือ ตรงกับตำแหน่งที่แสดงใน Google Earth
เงาดวงอาทิตย์ที่เมืองชิเช่น อีสซ่า ประเทศเม็กซิโก Follow Rule Curve บนหน้าปัดนาฬิกาแดดตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยง
ผมถ่ายภาพเงาดวงอาทิตย์บนหน้าปัดนาฬิกาแดดเป็นระยะๆ เพื่อให้เห็นว่าตำแหน่งดวงอาทิตย์เคลื่อนตัวอยู่ใน Rule Curve (Shadow curve of 5 - 6 Aug) ตรงตามที่ออกแบบไว้ ตั้งแต่ 08:00 จนถึง 12:00 นับว่าโชคดีที่ช่วงเช้าถึงเที่ยงท้องฟ้าเปิดมีแดดจ้าเกือบตลอดเวลา แต่พอถึงช่วงบ่ายเสร็จภารกิจแล้วฝนเทลงมาอย่างหนัก ....... ขอบพระคุณท่าน Chaac เทพเจ้าแห่งฝนของชาวมายันที่ให้ผมมีโอกาศได้ทำงานจนเสร็จภารกิจ
.jpg)












.jpg)
ระหว่างปฏิบัติการก็มีเพื่อนมาร่วมให้กำลังใจอยู่ในพุ่มไม้ใกล้ๆ ....... คาบสมุทรยูคาตัน ประเทศเม็กซิโก เป็นถิ่นของ "อีกัวน่า" หลายชนิด พวกมันใช้ชีวิตอย่างอิสระในบริเวณโบราณสถานชาวมายัน ไม่มีใครไปทำร้ายมีแต่ขอถ่ายรูปอย่างเดียว
.jpg)
ช่วงบ่ายฝนของท่านเทพเจ้า Chaac เทลงมาอย่างหนัก
.jpg)
นักท่องเที่ยวต่างพากันถ่ายรูปฝนตกเป็นที่ระลึก
พอฝนซาก็มองเห็นยอดโดมของโบราณสถานชื่อว่า Caracol เป็นหอดูดาวของชาวมายัน
ตรวจสอบด้วยเครื่องมือ "สมการแห่งเวลา" โดยเปรียบเทียบนาฬิกาแดดกับนาฬิกาข้อมือ
เป็นที่ทราบกันในหมู่นักดาราศาสตร์และผู้ที่สนใจเรื่องดาราศาสตร์ว่า "นาฬิกาแดด" (Solar Time) กับ "นาฬิกาข้อมือ" (Clock Time) ไม่ตรงกันทีเดียวนักมีทั้งเร็วกว่า ช้ากว่า และตรงกันพอดี เหตุผลหลักๆก็คือนาฬิกาแดดใช้ตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์ซึ่งในรอบปีมีทั้งวันสั้นวันยาวและวันเท่ากันระหว่างกลางวันกับกลางคืน ประกอบกับโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะวงรีเล็กน้อยทำให้เกิดการตีโค้งด้วยอัตราความเร็วมากกว่าตำแหน่งปกติ ดังนั้น เวลาเที่ยงสุริยะ (Solar Noon) ของนาฬิกาแดดจึงมีการเหลื่อมกับเที่ยง (Clock Noon) ของนาฬิกาข้อมือ ดังนั้นจึงต้องสร้าง Curve เรียกว่า Equation of Time สำหรับใช้สอบเทียบระหว่างกันและกัน
นี่คือเหตุผลอีกหนึ่งประการที่ผมเลือกมาปฏิบัติการวันที่ 5 - 6 สิงหาคม 2015 เพราะวันนี้นาฬิกาแดด กับ นาฬิกาข้อมือ ของเมือง Chichen Itza ตรงกันพอดี อย่างไรก็ตามประเทศเม็กซิโกมีพรมแดนติดกับสหรัฐอเมริกาจึงต้องใช้กฏเกณฑ์การปรับเวลาให้เร็วขึ้นกว่าปกติ 1 ชั่วโมง ในช่วง Summer เรียกว่า DaylightSaving Time (DST) แต่ก็เป็นที่รู้กันว่า "นี่คือประเด็นเศรษฐกิจ" ที่ต้องการให้คนไปทำงานเร็วขึ้น 1 ชั่วโมง เพราะดวงอาทิตย์ขึ้นเร็วกว่าปกติในฤดู Summer

สมการแห่งเวลา แสดง Curve การชี้เวลาเท่ากันพอดีในช่วงวันที่ 5 - 6 สิงหาคม ระหว่างนาฬิกาแดด (เส้นสีแดง) กับนาฬิกาข้อมือ (เส้นตรงในแนวนอน ลากด้วยดินสอดำ)

นาฬิกาข้อมือ (Clock Time) ชี้ที่ 09:00 น. แต่นาฬิกาแดด (Solar Time) ชี้ที่ 08:00 น.นี่คือผลของการปรับเวลาให้เร็วขึ้นตามกฏเกณฑ์ Daylight Saving Time (DST) ของประเทศเม็กซิโกเพื่อให้เหมือนกับเวลาในสหรัฐอเมริกาที่มีพรมแดนติดกัน
นาฬิกาข้อมือ (Clock Time) ชี้ 10:00น. แต่นาฬิกาแดด (Solar Time) ชี้ 09:00 น. ก็เป็นผลของ Daylight Saving Time เช่นกัน

Daylight Saving Time ของประเทศเม็กซิโกเริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ 5 เมษายน ถึง 25 ตุลาคม จากนั้นประเทศเม็กซิโกจะปรับเวลากลับไป 1 ชั่วโมง เพื่อรองรับฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว
สรุป
1. Team A ที่ปราสาทภูเพ็ก และพระธาตุเชิงชุม สกลนคร ประเทศไทย ยืนยันเชิงประจักษ์ว่าดวงอาทิตย์มาตามนัดตรงกับเวลาเที่ยงสุริยะ (Solar Noon) วันที่ 5 สิงหาคม 2558
2. Team B ที่ Chichen Itza Mexico ยืนยันเชิงประจักษ์ด้วย "นาฬิกาแดด" ว่าดวงอาทิตย์ทำมุมกับพื้นโลกตาม Rule Curve และ Equation of Time ทุกประการ อีกทั้งยังแสดงผลว่าโลกหมุนรอบตัวเองในอัตราความเร็วเชิงมุม 15 องศา ต่อ 1 ชั่วโมง (24 ชั่วโมง X 15 องศา = 360 องศา)
ในทางการแพทย์ถือว่าโลกใบนี้มีสุขภาพปกติตามเกณฑ์มาตรฐาน และในทางดาราศาสตร์ก็ถือว่าโลกกับดวงอาทิตย์ยังคงรักษา "ความสัมพันธ์เชิงเรขาคณิต" (Earth - Sun Geometry) ดังนั้นยืนยันได้อย่างเป็นทางการว่า "โลกใบนี้ยังคงอยู่ต่อไป" และ "วันสิ้นโลก" เป็นเพียงข่าวลือที่หยิบยกเอาปฏิทินเผ่ามายาขึ้นมาล้อเล่น ผมเคยออกทีวีช่องห้าในรายการข่าวเช้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมจำแม่นว่าได้พูดให้ท่านผู้ฟังที่เป็นหนี้เป็นสินก็โปรดไปจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นตามปกติ ........... โลกใบนี้ยังคงเหมือนเดิมครับ