ดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
นักดาราศาสตร์อาจจะพูดว่าปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตั้งฉากไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะเกิดขึ้นได้ทุกวัน แต่ถ้าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นกับ "พุทธสถานชื่อดัง" ตรงกับวันสำคัญของพุทธศาสนาระดับโลกอย่าง "วิสาขบูชา" นี่ไม่ใช่ธรรมดาเสียแล้ว

เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่าองค์การสหประชาชาติประกาศให้ "วิสาขบูชา" เป็นวันสำคัญของโลกโดยเริ่มต้นเฉลิมฉลองเมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ และปีถัดมา พ.ศ. 2549 ก็เป็นเจ้าภาพอีกครั้งหนึ่งเพื่อร่วมฉลองการครองราชย์ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะในวัน "วิสาขบูชาโลก" เมื่อปี พ.ศ. 2552 ที่พระธาตุเชิงชุม อ.เมือง จังหวัดสกลนคร
ตอนนั้นผมยังรับราชการเป็นเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสกลนคร แต่ด้วยความสนใจในเรื่องดาราศาสตร์เชิงบูรณาการ จึงพยายามค้นคว้าจุดเชื่อมโยงระหว่างปรากฏการณ์ดาราศาสตร์กับวันสำคัญของพุทธศาสนา และพบว่าพระธาตุเชิงชุม อ.เมือง จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นพุทธสถานสำคัญที่สุดของจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง 17 09 53.27 N เส้นแวง 104 09 10.99 E จะมีปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตั้งฉากวันที่ 8 พฤษภาคม และ 5 สิงหาคม ทุกๆปี และเผอิญในปี 2552 ตรงกับวัน "วิสาขบูชาโลก" 8 พฤษภาคม 2552 ดวงอาทิตย์จะทำมุมฉากชนิดตรงศรีษะเป๊ะเวลา 12:00 น. เข้าทางปืนสมการแห่งเวลาระหว่างเที่ยงวันของนาฬิกาข้อมือ (Clock noon) กับเที่ยงสุริยะของนาฬิกาแดด (Solar noon) อย่างพอดี โดยปกติทั่วไปนาฬิกาแดดกับนาฬิกาข้อมือจะมีส่วนเหลื่อมของเวลาทั้งช้าและเร็วระหว่างกัน สามารถทำเป็นกร้าฟเรียกว่า "สมการแห่งเวลา" (equation of time) ภาพข่างล่างจะเห็นเส้นตรงแนวนอน หรือแกน X เป็นตัวแทนของ "เที่ยงตรงของนาฬิกาข้อมือ" (clock noon) และตัวที่เป็นเส้น curve โค้งขึ้นโค้งลงเป็นตัวแทนของ "เที่ยงตรงของนาฬิกาแดด" (solar noon) หากท่านสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถคลิกเข้าไปที่บทความเรื่อง "นาฬิกาแดดมิติเวลาแห่งมนุษยชาติ" ในคอลั่มเปิดโลกวิทยาศาสตร์เว้ปไซด์เดียวกันนี้
สมการแห่งเวลาของอำเภอเมืองสกลนคร (equation of time) แสดงการเท่ากันระหว่างเที่ยงสุริยะ (solar noon) กับเที่ยงนาฬิกาข้อมือ (clock noon) ระหว่างวันที่ 2 - 25 พฤษภาคม
ภาพข้างล่างเป็นข่าวลงหนังสือพิมพ์และออกทีวีเกี่ยวกับปรากฏการณ์อาทิตย์ตั้งฉากกับพระธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร ตรงกับวันวิสาขบูชาโลก 8 พฤษภาคม 2552 เวลา 12:00 น. ซึ่งหากจะให้เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้อีกครั้งก็ต้องรอไปถึงปี พ.ศ. 2571 ขณะเดียวกันก็เกิด "อาทิตย์ทรงกลด" เหนือพระธาตุเชิงชุมอย่างอัศจรรย์ นักดาราศาสตร์เรียกปรากฏกาณณ์นี้ว่า Luminous Ring Sundog เกิดจากการสะท้อนของแสงอาทิตย์กับเกร็ดน้ำแข็งในชั้นบรรยากาศ
ผมใช้โปรแกรมดาราศาสตร์คำนวณปรากฏการณ์นี้ล่วงหน้าไว้แล้วและได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้สื่อข่าวและผู้สนใจทั่วไปทราบเพื่อมาร่วมกันพิสูจน์ โดยให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด นายสมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ์ และคุณนาย มาร่วมเป็นสักขีพยาน และเมื่อถึงเวลา 12:00 น. ผมและท่านผู้ว่าก็ออกไปยืนกลางแดดเพื่อพิสูจน์ว่า "อาทิตย์ตรงศรีษะพอดี"





ปรากฏการณ์ "อาทิตย์ตั้งฉาก" เกิดขึ้นได้ทั่วไปกับทุกประเทศทั่วโลกหรือไม่ ?
คำตอบคือ "เกิดได้เฉพาะประเทศที่อยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 23.5 องศาเหนือ และ 23.5 องสาใต้ เท่านั้น" ประเทศอื่นๆนอกจากนี้หมดสิทธิ์ครับ เรื่องนี้สามารถอธิบายได้ด้วยหลักดาราศาสตร์ ดังนี้
ปรากฏการณ์ "อาทิตย์ตั้งฉาก" หมายถึงการที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่มาตรงกับตำแหน่งที่ทำมุมฉากกับพื้นโลกในบริเวณนั้นพอดี ภาษาดาราศาสตร์เรียกว่า "มุมเงย 90 องศา หรือ Altitude 90 degree (จริงๆแล้วการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เกิดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองและทำให้ดูเหมือนว่าดวงอาทิตย์เคลื่อนที่)

ประเทศที่อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่มีชื่อว่า Tropic of Cancer และ Tropic of Capricorn จะได้เห็นปรากฏการณ์ "อาทิตย์ตั้งฉาก" ปีละ 2 ครั้ง
.jpg)
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะเอียงจากแนวดิ่ง 23.5 องศา ทำให้เกิดปรากฏการณ์อาทิตย์ตั้งฉากกับตำแหน่งเส้นรุ้งสำคัญ 4 แห่ง เรียกว่าปรากฏการณ์ 1. วสันตวิษุวัต (vernal equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืน ดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับเส้นศูนย์สูตรในฤดูใบไม้ผลิ 2. ครีษมายัน (summer solstic) ดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับเส้นรุ้ง 23.5 องศาเหนือ กลางวันยาวที่สุดในรอบปี 3. ศารทวิษุวัต (autumnal equinox) ดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับเส้นรุ้ง 23.5 องศาใต้ ในฤดูไบไม้ร่วง กลางวันเท่ากับกลางคืนอีกครั้ง 4. เหมายัน (winter solstice) ดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับเส้นรุ้ง 23.5 องศาใต้ กลางคืนยาวที่สุดในรอบปี อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศที่อยู่ในซีกโลกด้านใต้ปรากฏการณ์เหล่านี้จะตรงกันข้ามกันทั้งหมด เช่น ประเทศไทยเป็น "วสันตวิษุวัต" ประเทศออสเตเรียจะเป็น "ศารทวิษุวัต"
ภาพทั้งสี่ข้างล่างนี้แสดงให้เห็นการทำมุมฉากของดวงอาทิตย์ที่มีต่อตำแหน่งเส้นรุ้งสำคัญ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สำคัญ 4 อย่าง




ภาพ graphic แสดง "อาทิตย์ตั้งฉาก" กับประเทศที่อยู่ภายในขอบเขตระหว่างเส้นรุ้ง Tropic of Cancer 23.5 N และ Tropic of Capricorn 23.5 S เท่านั้น

ประเทศที่อยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 23.5 N และ 23.5 S เช่น ประเทศไทย ที่จังหวัดสกลนคร ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนตัวข้ามหัวไปมาระหว่างเหนือกับใต้ปีละ 2 ครั้ง จึงมีโอกาสที่จะตรงศรีษะปีละ 2 ครั้ง

ประเทศที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของเส้นรุ้ง 23.5 N และ 23.5 S ดวงอาทิตย์มีแต่คล้อยไปทางทิศใต้เท่านั้น ไม่มีโอกาสตั้งฉากให้ตรงกับศรีษะ แม้่กระทั้งในฤดูร้อนตรงกับปรากฏการณ์ครีษะมายัน (summer solstice) ดวงอาทิตย์ก็ยังคล้อยไปทางทิศใต้เล็กน้อย
อาแปะไต้หวันเซ้งลี้ฮ้อกับท่านสุริยะเทพมานานหลายปีแล้ว
ประเทศที่ตั้งอยู่ตรงขอบเส้นรุ้ง 23.5 พอดี เช่นประเทศไต้หวันอยู่ที่ 23.5 N เป็นประเทศสุดท้ายที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากเป๊ะๆ 2 วัน ติดๆกันและยังมีแถมอีกเกือบอาทิตย์โดยไม่เว้นช่วงวัน เขาจึงสามารถจัดเทศกาลแห่ง summer solstice เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาชม พร้อมกับโปรโมทเรื่องของความเชื่อในการรับพลังสุริยะ เรียกว่างานนี้อาแปะไต้หวันสามารถรับทรัพย์ไปอย่างสบายๆโดยลงทุนก่อสร้างอาคารรูปร่างประหลาดๆเพื่อรับแสงอาทิตย์เพียงครั้งเดียว นอกนั้นเป็นหน้าที่ของท่าน "สุริยะเทพ" ที่เสด็จมาตามนัดอย่างสม่ำเสมอและไม่เคยวางบิลแม้แต่ดอลล่าห์เดียว ไม่เรียกว่าเซ็งลี้ฮ้อและจะเรียกว่าอะไรละคราบ



ปรากฏการณ์อาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังตรงกับวัน "วิสาขบูชาโลก"
เพื่อให้ชาวพุทธอย่างเราๆท่านๆได้มีอะไรที่เป็นเสน่ห์และมหามงคลกับปรากฏการณ์อาทิตย์ตั้งฉาก ผมจึงทำปฏิทิน 5 ปี ให้ทราบว่าท่านจะไปทำบุญที่ไหนในแต่ละปี ส่วนเมื่อท่านไปทำบุญทำทานแล้วจะได้ผลบุณมากน้อยขนาดไหน จะได้ลาภยศทันตาเห็นหรือไม่ ท่านจะได้เลื่อนตำแหน่งจากเกษตรและสหกรณ์จังหวัดไปเป็นผู้ช่วยปลัดกระทรวงอย่างรวดเร็วภายในปีเดียว หรือว่าท่านจะปลิดกรรมเก่าทิ้งไปได้อย่างหมดจด อันนี้ผมไม่สามารถรับประกันได้ครับ ผมประกันได้เพียงแต่ท่านไปยังสถานที่ดังกล่าวตามวันเวลาที่ผมแจ้ง ท่านจะได้เห็นปรากฏการณ์นี้อย่างแน่นอน (ถ้าฝนไม่ตก)

ปฏิทิน 5 ปี แสดงสถานที่ วันที่ เวลา ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังตรงกับวัน "วิสาขบูชาโลก" ในสามประเทศ เริ่มต้นปีปัจจุบัน 2558 ที่เมืองมันฑะเลย์ สหภาพเมียนม่าร์ ปี 2559 ที่พระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย ปี 2560 ที่พระมหาเจดีย์ศรีเวียงชัย จังหวัดลำพูน ปี 2561 ที่เจดีย์เดชะภูมิ เมืองนาคปุระ รัฐมหารัชตะ อินเดีย ปี 2562 กลับมาที่วัดต่างๆในเขตเทศบาลอำเภอเมืองเชียงราย







.jpg)
ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ วิสาขบูชา 18 พฤษภาคม 2562 วัดร่องขุน อ.เมือง เชียงราย
สรุป
เห็นบ้านอื่นเมืองอื่นเขา "สร้างมูลค่าเพิ่ม" กับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยลงทุนก่อสร้างอาคารรูปร่างประหลาดที่เข้าตานักท่องเที่ยว หรือปรับปรุงโบราณสถานต่างๆที่มีอยู่แล้วโดยเพิ่มเติม Attractive Story เข้าไปให้ดูแล้วรับได้ทั้งความเชื่อและแง่มุมวิทยาศาสตร์