Tourism Gimmick การสร้างสิ่งเร้าใจแก่แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมประชุม "บทบาทหน้าที่ร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน สู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2557" ผมมาในภารกิจของที่ปรึกษาหอการค้าสกลนคร และหอการค้าภาคอีสาน นำโดยท่านประธานประพันธ์ เตชะสกลกิจกูล ผมเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมอภิปรายและใช้คำพูดว่า.........เราสามารถเพิ่มมูลค่าแก่โบราณสถานในประเทศไทยด้วยการใช้ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เป็นตัวสร้าง Gimmick ....... "ท่านสุริยะเทพมาตามนัด และไม่เคยส่งบิลมาเก็บเงินแม้แต่บาทเดียว"

การประชุมครั้งนี้มีท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูล เป็นประธาน

ผมได้รับการแนะนำจากท่านประธานบอร์ดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คุณกลินท์ สารสิน ให้ลุกขึ้น comment ก็เลยได้โอกาสอภิปรายสนับสนุนให้มีการใช้ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "sunrise and sunset" เป็น Tourism Gimmick ซึ่งหลายท่านที่นั่งฟังอยู่ก็เห็นด้วย (ภาพนี้ถ่ายจาก I-Phone ของคุณกลินท์ สารสิน)
ผมยกตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม ASEAN เช่น อินโดนีเซีย และกัมพูชา เขาขายบรรยากาศ Sunset เป็น Tourism Gimmick

ร้านอาหารที่เกาะบาหลีมีป้ายเชิญชวนให้นั่งกินดื่มเพื่อชม nice sunset ทำให้สามารถเพิ่มรายได้แก่ผู้ประกอบการ
.jpg)
บรรยากาศ sunset ที่เกาะบาหลี ก็งามสมชื่อ

นั่กท่องเที่ยวจำนวนมากแห่ขึ้นไปชม sunset ที่ปราสาทพนมบาเค็ง Siem Reap กัมพูชา

ผมอยู่ในบรรยากาศ sunset at Prasat Phnom Bakeng ด้วยตนเอง จึงแน่ใจว่าท่านสุริยะเทพมีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวจริงๆ
สร้าง Gimmick ให้กับโบราณสถานสำคัญของประเทศไทย ด้วยคอนเซ็พ "สุริยะเทพมาตามนัด" โดยใช้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในยามเย็นทำหน้าที่เป็น "สุริยะปฏิทินจักรราศี" (Solar Zodiacal Calendar)
หลายท่านอาจะถามว่าทำไมจึงคิดเช่นนี้ แล้วจะได้อะไรขึ้นมาละ ผมมีคำอธิบายครับ
เป็นที่ยอมรับกันในระดับสากลว่า "ธุรกิจการท่องเที่ยวคือการตอบสนอง ความอยากรู้ อยากเห็น อยากสัมผัส" ถ้าไม่ใช่สิ่งเหล่านี้ก็นอนเล่นอยู่บ้านเฉยๆไม่ดีกว่าหรือ ดังนั้นการสร้างสิ่งเร้าใจแก่นักท่องเที่ยวจึงเป็นอะไรที่ต้องสร้างขึ้นมา ดวงอาทิตย์ยามเย็นเป็นจุดขายอย่างหนึ่งที่มนุษย์มีความสุขที่ได้เห็น แม้ว่าจะเป็นดวงอาทิตย์ดวงเดียวกันทั้งโลก แต่เมื่อองค์ประกอบ Background ของสถานที่เปลี่ยนไปก็สามารถสร้างความตื่นตาตื่นใจได้ ไม่งั้นเราๆท่านๆนั่งดูดวงอาทิตย์ตกที่หลังบ้านก็ได้ไม่จำเป็นต้องถ่อสังขารไปถึงชายทะเลที่เกาะภูเก็ต หรือปีนขึ้นไปบนภูเขาที่ดอยสุเทพเหนื่อยแทบแย่
เรื่องดวงอาทิตย์กับจักรราศีก็เป็น Gimmick อีกอย่างหนึ่งที่มนุษย์ให้การยอมรับทั่วโลก และถ้ายิ่งเอามาประกบคู่กับโบราณสถานที่มีชื่อเสียงก็ยิ่งเพิ่มความเร้าใจ หลายท่านอาจพูดว่าสิ่งนี้เป็นความ "งมงาย" แต่ทุกวันนี้คนทั้งโลกตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันก็ยังให้ความสำคัญกับราศี ในสายตาของผมจักรราศีเป็นเรื่องของ "คณิตศาสตร์และดาราศาสตร์" เพราะต้องใช้วิธีการคำนวณตำแหน่งดวงอาทิตย์ออกมาเป็นตัวเลของศา ถ้าท่านไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็ไม่มีทางที่จะคำนวณได้เลย
ที่ผมชักแม่น้ำทั้งห้ามาให้ท่านทราบก็เพื่อยืนยันว่า "ดาราศาสตร์ เป็น Tourism Gimmick" ได้อย่างดี และที่สำคัญ ........ ท่านสุริยะเทพไม่เคยส่งบิลมาเก็บเงินแม้แต่บาทเดียว
.jpg)
ทำไมจึงอยากผมนั่งเรือสำราญ Silja Line แบบค้างคืนจากเมือง Turkur Findland ไปเมือง Stockhome Sweden
.jpg)
นั่นก็เพราะความอยากกินไวน์ที่มองเห็น sunset ตอนสี่ทุ่มกว่าๆท่ามกลางทะเล Baltic มันต้องดีกว่านั่งกินอยู่ริมถนนหน้าบ้านเป็นแน่แท้ ถ้าจะว่าไปแล้วไวนส์ยี่ห้อนี้ซื้อที่ไหนก็มี แต่บรรยากาศ sunset in Baltic Sea มันต้องมาที่นี่ที่เดียว
ผมใคร่ขอเสนอ Tourism Gimmick ในโบราณสถานดังๆของประเทศไทยตามลำดับ ดังนี้
1. วัดไชยวัฒนาราม พระนครศรีอยุธยา
ตั้งอยู่ที่ริมฝั่งด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่คณะทัวร์ไม่เคยพลาด เคยมีคำชมจากนักท่องเที่ยวจำนวนมากว่า sunset ที่วัดแห่งนี้มีเสน่ห์อย่างลึกซึ้ง ผมเองก็เคยไปบรรยายให้แก่คณะมัคคุเทศก์อาชีพที่เข้าอบรมหลักสูตร "การสร้างปราสาทขอมตามหลักดาราศาสตร์" เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2557 และ 19 มีนาคม 2558 โดยใช้วัดแห่งนี้เป็นสถานที่สาธิตในด้านดาราศาสตร์ในเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ "การหันหน้าตามทิศ" (astronomical orientation) ที่เรียกว่า "มุมกวาดจากทิศเหนือ" (Azimuth) วัดนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่มุกกวาด 70 องศา (Azimuth 70)

นักดาราศาสตร์เรียกตำแหน่งดวงอาทิตย์โดยใช้ค่าทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า "มุมกวาด" (Azimuth) และ "มุมเงย" (Altitude) ในที่นี้ใช้ทิศเหนือเป็นจุดเริ่มต้นของการนับองศาโดยหมุนไปทางขวามือเรียกว่า "มุมกวาด"
อีกตัวอย่างของ "มุมกวาด" (Azimuth) และ "มุมเงย" (Altitude)

การแสดงค่ามุมกวาดจากเข็มทิศ ในที่นี้จะเห็นว่าทิศเหนือมีค่ามุมกวาด 0.0 องศา เมื่อกวาดไปทางขวามมือตรงกับตำแหน่งทิศตะวันออกมีค่าเท่ากับ Azimuth 90 องศา หมุนไปอีกที่ทิศใต้ได้ค่ามุมกวาด 180 องศา ต่อไปที่ทิศตะวันตกได้ค่ามุมกวาด 270 องศา ในที่สุดก็กลับมาที่เดิมตรงทิศเหนือได้ค่ามุมกวาด 360 องศา แต่นักดาราศาสตร์เรียก 360 องศา ว่า 0.0 องศา

วัดไชยวัฒนาราม วัดพุทไธศวรรย์ และวัดอรุณ ต่างก็หันหน้าไปที่มุมกวาด 70 องศา (Azimuth 70) เหมือนกันทั้งสามแห่ง และก็ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเหมือนกัน
.jpg)
ผมเป็นวิทยากรบรรยายแบบสดที่วัดไชยวัฒนาราม เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2557 และ 19 มีนาคม 2558
.jpg)
มัคคุเทศก์กำลังฝึกการจับมุมกวาดของวัดไชยวัฒนาราม
.jpg)
การจับมุมกวาดทำได้โดยใช้เข็มทิศแม่เหล็ก และ smart phone ที่มี application compass
.jpg)
เข็มทิศแม่เหล็กแสดงมุมกวาดของวัดไชยวัฒนารามที่ Azimuth 70 องศา ก็หมายความว่าวัดนี้หันหน้าไปที่มุมกวาด 70 องศา เป็นทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และหันหลังไปที่มุมกวาด 250 องศา (70 องศา + 180 องศา = 250 องศา)
.jpg)
ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ sunset วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 เกือบตรงกับปรางค์ประธาน แต่ผู้ถ่ายภาพคือไกด์ Nig Damn Right ไม่ได้ระบุเวลา ผมจึงใช้วิธี simulate ว่าดวงอาทิตย์น่าจะอยู่ในตำแหน่งที่มุมเงย 20 องศา และมุมกวาด 249 องศา (Al 20 Az 249)
.jpg)
sunset 6 พฤษภาคม 2558 ดวงอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือเกือบสุด
.jpg)
เชื่อว่าไกด์ Nig Damn Right ผู้ถ่ายภาพเมื่อวันที่ 12 Feb 15 และ 6 May 15 น่าจะยืนที่จุด viewing point ซึ่งตรงกับ center-line ของปรางค์ประธาน
.jpg)
Graphic แสดงตำแหน่ง sunset ที่มุมเงย 16 องศา และหย่อนตัวลงด้วยมุมเอียงเท่ากับองศาของเส้นรุ้งที่ 14 องศา
วิธีคำนวณตำแหน่งดวงอาทิตย์เพื่อสร้าง "ปฏิทินจักรราศีในยามเย็น" Graphic of Zodiacal Sunset Calendar
เนื่องจากการชมดวงอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าที่วัดชัยวัฒนาราม อาจจะไม่เหมาะกับความสะดวกของนักท่องเที่ยวและท่านผู้ชมทั่วไปอย่างเราๆท่านๆ แต่การชมดวงอาทิตย์ตกในตอนเย็นน่าจะสะดวกกว่าและก็เป็นภาพที่สวยงามไปอีกแบบหนึ่ง
การสร้าง Graphic of sunset มีเพียง 2 วิธี คือ
1. ไปยืนรอถ่ายรูปที่นั่นด้วยตนเองตามวันและเวลาของปฏิทินจักรราศี และเอากล้อง Survey แบบเดียวกับที่นายช่างกรมโยธาใช้คุมก่อสร้างไปจับมุมเงย (altitude) และมุมกวาด (azimuth) ของดวงอาทิตย์ ซึ่งดูแล้วต้องใช้เวลานานเป็นปีและคงไม่มีใครอาสาสมัครขนาดนั้น
2. ใช้วิธีการคำนวณทางคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ ผมเลือกวิธีนี้ครับโดยใช้ภาพถ่ายของไกด์ Nig Damn Right เป็นตัวเริ่มต้นในการคำนวณหามุมเงยของดวงอาทิตย์ และคำนวณหาความสูงของปรางค์ประธาน เพื่อที่จะกำหนดจุดที่สวยงามของ sunset ในแต่ละราศี ให้ได้สัดส่วนกับความสูงของปรางค์ประธาน ในที่นี้กำหนดให้ดวงอาทิตย์อยู่ในระดับความสูงที่มุมเงย 16 องศา จะได้ภาพดวงอาทิตย์ลอยอยู่เหนือยอดปรางค์ประธาน 1 เมตร
.jpg)
จากภาพถ่ายผมคำนวณว่าดวงอาทิตย์อยู่ที่มุมเงย 20 องศา และมุมกวาด 249.4 องศา (ตำแหน่งปรางค์ประธาน อยู่ที่มุมกวาด Az 250)
.jpg)
จากคำบอกเล่าและหลักฐานจากภาพถ่ายของไกด์ Nig Damn Right ผมเชื่อว่าจุด Viewing Point อยู่ตรงจุดสีเหลืองตามภาพ
.jpg)
การคำนวณความสูงของปรางค์ประธานได้ผลใกล้เคียงกับตัวเลขจริงตามที่นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามทำไว้ ผลจากการคำนวณได้ตัวเลขความสูง 35 เมตร แต่จากข้อมูลที่อ้างอิงได้ตัวเลขความสูง 33 เมตร

ใช้โปรแกรมดาราศาสตร์คำนวณหาตำแหน่ง sunset ณ ราศีต่างๆที่มุมเงย 16 องศา และทำเครื่องหมายลงใน Google Earth
Plot ตำแหน่ง sunset ลงในภาพ vertical front-profile ของวัดไชยวัฒนารามให้ใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด อนึ่งเนื่องจากวัดไชยวัฒนาราม หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่มุมกวาด 70 องศา (Azimuth 70) ตำแหน่ง sunset จึงคล้อยไปทางทิศเหนือ
อย่างไรก็ตาม Graphic นี้มาจากผลการคำนวณอาจจะมีความคลาดเคลื่อนจาก real situation จึงต้องใคร่ขอความร่วมมือจากท่านมัคคุเทศก์อาชีพให้ช่วยถ่ายภาพตามวันและเวลาดังกล่าว โดยไปยืนอยู่ที่จุด viewing point (ถ้าเผอิญท่านกำลังทำทัวร์อยูที่นั่นพอดี) และส่งภาพมาให้ผมทาง facebook พร้อมกับระบุวันและเวลามาด้วยครับ ผมจะนำมาทำการปรับปรุงให้เป็น real situation และจัดทำ Guide book for tourist ต่อไป
.......กำลังเขียนอยู่ครับ...... มีต่อครับ