ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อ "วิสาขะ"
"วิสาขบูชา" 22 พฤษภาคม 2567 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวียนมาอีกครั้งหนึ่ง เชื่อว่าเรื่องราวสาระสำคัญแห่งพุทธประวัติที่เกี่ยวข้องกับการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าต้องเป็นที่ประจักษ์แก่ชาวพุทธทั้งมวลอยู่แล้ว คงไม่ต้องฉายหนังซ้ำเหมือนเอามะพร้าวมาขายชาวสวน ในที่นี้ขอเสนอเรื่องราวที่มาของชื่อ "วิสาขะ" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้ ?
"วิสาขบูชา" ทำให้เราๆท่านๆที่เป็นชาวพุทธรำลึกถึงการประสูติที่ลุมพินีสถาน (ปัจจุบันประเทศเนปาล) ตรัสรู้ที่พุทธคยา และปรินิพพานที่เมืองกุสินารา (ประเทศอินเดีย) ผมได้ไปสถานที่เหล่านั้นตรงกับช่วงวันปีใหม่ 2552
องค์การสหประชาชาติมีมติให้วัน "วิสาขะ" เป็นวันสำคัญแห่งศาสนาของโลก
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542 ที่ประชุมใหญ่องค์การสหประชาชาติลงมติให้วัน "พระจันทร์เต็มดวง" ของเดือนพฤษภาคม เป็นวัน "วิสาขะแห่งโลก" (International Recognition of the Day of Vesak) และประกาศให้เริ่มการเฉลิมฉลองตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป โดยจัดขึ้นครั้งแรก ณ สำนักงานใหญ่ที่กรุงนิวยอกส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2543 ต่อมากิจกรรมนี้เข้าสู่การประชุมใหญ่ของคณะกรรมการพุทธแห่งโลก (Joint Communique World Buddhist Leaders Conference on the International Recognition of the Day of Vesak) วันที่ 25 พฤษภาคม 2547 ณ พุทธมณฑล นครปฐม ประเทศไทย ที่ประชุมมีมติให้ประเทศสมาชิกผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดวันวิสาขะโลก โดยประเทศไทยเป็นผู้เริ่มต้นก่อน และปี 2557 วันที่ 13 พฤษภาคม ประเทศเวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมที่วัดไบดิ่น (Bai Dinh Temple) จังหวัดนิน บิ่น (Ninh Binh Province) ........ ปี 2567 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพอีกครั้งหนึ่ง
องค์การสหประชาชาติ มีมติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542 ให้เริ่มจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป และมีการจัดงานขึ้นครั้งแรกที่สำนักงานใหญ่ ณ กรุงนิวยอกส์ มีผู้แทนชาวพุทธจากประเทศต่างๆเข้าร่วม 34 ประเทศ

แผนที่แสดงเมืองนิน บิ่น ประเทศเวียดนาม และโลโก้ของงาน "วันวิสาขะโลก ครั้งที่ 11"

สถานที่จัดงาน ณ วัดไบดิ่น

การประชุมเตรียมจัดงานที่กรุงฮานอย

การประชุมระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคม 2014 มีผู้แทนจากประเทศสมาชิกเข้าร่วมอย่างคับคั่ง



ปี 2017 ประเทศศรีลังกาเป็นเจ้าภาพ และปี 2018 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ (อนึ่งการนับปี พ.ศ.ของศรีลังกาและไทยใช้คนละหลักการ ทำให้ พ.ศ.ของศรัลังกาเร็วกว่าไทย 1 ปี ดังนั้นจึงต้องใช้ ค.ศ.เป็นตัวเชื่อมระหว่างทั้งสองประเทศ)
ทำไมต้องใช้ชื่อวันนี้ว่า "วิสาขะ" หรือ "วิสาขบูชา"
เป็นที่ทราบดีว่าศาสนาพุทธมีต้นกำเนิดจากดินแดนภารตะหรืออินเดียโบราณ ดังนั้นรากฐานของความเชื่อและวิธีการปฏิบัติต่างๆก็ย่อมอยู่ใต้อิทธิพลของอินเดียโบราณ สังคมของอินเดียในยุคนั้นได้รับมรดกเรื่องราวของดาราศาสตร์และโหราศาสตร์มาจากดินแดนลุ่มน้ำไตกรีสและยูเฟรตีสที่มีชื่อว่า "อาณาจักรบาบิโลน" ทำให้นักปราชญ์ของอินเดียจัดทำปฏิทิน "จันทรคติ" (Lunar Calendar) โดยใช้ดาวฤกษ์จำนวน 27 ดวง เรียกว่า "นักษัตร" (Nakshatra) กำหนดให้ดวงจันทร์โคจรผ่านดาวฤกษ์เหล่านี้ในอัตราเฉลี่ยเดือนละ 27.3 วัน และแต่ละนักษัตรก็แบ่งออกเป็นพื้นที่บนท้องฟ้า 13.33 องศา เมื่อดวงจันทร์ ขึ้น15 ค่ำ (Full Moon) โคจรเข้ามาอยู่ในเรือนของนักษัตร "วิสาขะ" (Vishaka) จึงตั้งชื่อปรากฏการณ์นี้ว่าเดือนแห่งวิสาขะ
และก็เป็นที่ทราบอีกเช่นเดียวกันว่าวันสำคัญแห่งศาสนาพุทธอันได้แก่ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน เกิดขึ้นตรงกับวันเพ็ญแห่งเดือน "วิสาขะ" จึงเรียกวันนี้ว่า "วิสาขะ" ตามชื่อเดือน ปัจจุบันทางการประเทศอินเดียกำหนดให้วันวิสาขะเป็นวันหยุดราชการ โดยกำหนดอยู่ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา (Gazetted holiday) ของทุกปี อย่างไรก็ตามวันวิสาขะมีชื่อเรียกต่างกันในประเทศอินเดีย เช่น Buddha Jayanti, Buddha Purnima, Vaishaka Purnima, Vesak, Vesakha, Baisakha เป็นต้น ส่วนประเทศที่นับถือพุทธก็มีชื่อเรียกวันนี้ของตนเอง

ดาวฤกษ์ 27 นักษัตร เกาะตัวอยู่กับจักรราศี 12 ราศี ที่ดวงจันทร์โคจรผ่านในแต่ละเดือน
วันวิสาขะ 13 พฤษภาคม 2557 ดวงจันทร์เข้ามาอยู่ในเรือนของนักษัตร "วิสาขะ" (ราศรีคันชั่ง Zodiac Libra) แถมมีดาวเสาร์ปรากฏกายอยู่ใกล้กัน
.jpg)
วันวิสาขะ 1 มิถุนายน 2558 ดวงจันทร์อยู่ในนักษัตร "วิสาขะ" หรือ ราศีคันช่าง และมีดาวเสาร์ปรากฏที่ฐานของคันช่าง
.jpg)
ปี 2561 วันวิสาขะตรงกับ 29 พฤษภาคม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ดวงจันทร์อยู่ในนักษัตร "วิสาขะ" (Nakshatra Vishakha) หรือ ราศีคันช่าง (Libra) มีดาวพฤหัสปรากฏอยู่ที่ด้านบน
ระดับนานาชาติรู้จักวันนี้ว่า Lord Buddha's Birthday โดยที่ประชุม World Fellowship of Buddhists เมื่อ ปี พ.ศ. 2493 ตกลงที่จะเฉลิมฉลองวันนี้อย่างเป็นทางการ อนึ่งสถานที่ประสูติมีจารึกอยู่ในเสาหินของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล

คำจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชที่เสาหิน มีใจความว่า หลังจากที่ขึ้นครองราชได้ยี่สิบปี ข้าพเจ้านามว่ากษัตริย์ปิยะดาซิ (อโศก) ผู้เป็นที่รักแห่งพระองค์ ได้มาสักการะสถานที่แห่งนี้เพราะที่นี่คือที่ประสูติของพุทธองค์แห่งเชื้อสายสากยะนี

นอกจากเสาหินแล้วพระเจ้าอโศกมหาราชยังได้ก่อสร้างอาคารและมีรูปสลัก "ประสูติ" ที่ใต้ต้นสาละ พร้อมกับวางก้อนหิน (Stone-mark) ไว้ที่บริเวณประสูติ ปัจจุบันสถานที่นี้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกและทางการเนปาลได้ใช้ครอบแก้วกันกระสุนปิดทับก้อนหินดังกล่าวไว้ นักท่องเที่ยวที่ต้องการชมก็ต้องยืนต่อแถวเข้าชมทีละคน
ผมก็ไปที่นั่นเช่นกันเพื่อสักการะสถานที่ประสูติ

ก่อนข้ามพรมแดนจากอินเดียไปประเทศเนปาลนักท่องเที่ยวชาวไทยต้องแวะที่วัดไทยที่ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนของทั้งสองประเทศ

พุทธคยา ริมฝั่งแม่น้ำเนรันชลา ใกล้ๆกับเมืองกาย่า (Gaya) เป็นสถานที่ตรัสรู้
สถานที่ปรินิพพานเมืองกุสินารา เป็นอีกแห่งที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขะ

วันนี้ 1 มิถุนายน 2558 ดวงจันทร์เต็มดวงจะขึ้นที่ทิศตะวันออกเฉียงใต้เล็กน้อย ชาวสกลนครที่อยู่ในตัวเมืองก็สามารถไปชมได้ที่ริมหนองหาร โดยใช้ "สุริยะปฏิทินจักรราศี" ที่ริมสระพังทองด้านทิศตะวันออกเป็นเครื่องนำสายตา (viewing point)

วิสาขบูชา 1 มิถุนายน 2558
.jpeg)

วิสาขบูชา 22 พฤษภาคม 2567 ดวงจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 อยู่ใน "นักษัตร Visak" (Libra)
หวังว่าบทความนี้คงให้ความกระจ่างที่มาของชื่อ "วิสาขะ" แก่เราๆท่านๆที่เป็นแฟนคลับของ www.yclsakhon.com