"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
...... เชื่อว่าชาวพุทธทุกท่านคงทราบดีว่าวันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญอย่างไรในปฏิทินแห่งพุทธศาสนา.......เป็นเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญ 9 เดือนหลังจากพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ ราวๆ 2,500 กว่าปีที่แล้ว ณ ป่าไม้ไผ่ที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ (ปัจจุบันรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย) เป็นเมืองหลวงของพระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์แห่งอาณาจักรมคธอันยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของชมพูทวีป ภิกษุที่เป็นอรหันต์จำนวน 1,250 รูป เดินทางมาพบพุทธองค์โดยไม่ได้นัดหมาย พระเจ้าพิมพิสารจึงสร้าง "วิหารเวฬุวัน" (แปลว่าวิหารในป่าไผ่) ให้พุทธองค์และบรรดาภิกษุได้พักอาศัยปฏิบัติศาสนกิจ

ภิกษุอรหันต์ทั้ง 1,250 รูป ได้รับการบวชจากมือของพุทธองค์


พระเจ้าพิมพิสารเคยพบกับพุทธองค์เมื่องครั้งเดินทางมาที่เมืองราชคฤห์ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังแม่น้ำเนรันชลาเพื่อทรงตรัสรู้ ในครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารเห็นหน่วยก้านอันทรงสง่าดุจเจ้าชายและได้ทรงทราบมาก่อนว่าท่านคือเจ้าชายสิธทัตถะ จึงปรารภว่าจะยกเมืองให้ขึ้นครองราชแต่เจ้าชายได้ปฏิเสธและกล่าวว่าจะเดินทางไปแสวงหาความจริงแห่งชีวิตเพื่อให้บรรลุสู่ทางพ้นทุกข์ พระเจ้าพิมพิสารได้กล่าวอีกว่าถ้าเป็นเช่นนั้นหากได้บรรลุถึงสิ่งที่ว่าแล้วก็ให้กลับมาที่นี่อีกครั้ง และพุทธองค์ก็ได้กลับมาตามสัญญา


วิหารเวฬุวัน ตั้งอยู่ที่เมืองราชคฤห์ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

ทัศนียภาพมุมหนึ่งของบริเวณวิหารเวฬุวัน เต็มไปด้วยแมกไม้อันร่มรื่น

ป่าไม้ไผ่อันเป็นที่มาของชื่อวิหารเวฬุวัน ปัจจุบันเหลือเพียงเล็กน้อยพอให้เห็นเป็นเชิงสัญลักษณ์


ปัจจุบันเป็นสถานที่ที่ชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธจำนวนมากเดินทางไปจาริกบุญ

สระน้ำแห่งนี้เคยเป็นที่พุทธองค์ลงไปอาบน้ำเป็นประจำ

พระเจ้าพิมพิสารได้สร้างถนนขึ้นไปบนยอดเขาคิชกูดเพื่อเดินทางไปฟังธรรมจากพุทธองค์

ผู้แสวงบุญจำนวนมากขึ้นไปที่ยอดเขาคิชกูดเพื่อรำลึกถึงพุทธองค์

บนยอดเขาคิชกูดที่พุทธองค์ใช้ปฏิบัติธรรมเป็นประจำระหว่างที่พำนักอยู่ที่เมืองราชคฤห์

ผมเคยขึ้นไปที่ยอดเขาคิชกูดเมื่อต้นเดือนมกราคม 2552


พระเจ้าอชาดศัตรู บุตรชายของพระเจ้าพิมพิสารไม่พอใจที่บิดาคอยติดตามเฝ้าปฏิบัติธรรมกับพุทธองค์ จึงจับพระองค์มาขังไว้ในคุกทำด้วยกำแพงหินอย่างหนา มีขนาด 60 x 60 เมตร

.jpg)

ทิวทัศน์ของภูเขาคิชกูดมองจากที่คุมขังของพระเจ้าพิมพืสาร


ระหว่างที่พระเจ้าพิมพิสารถูกขังอยู่ที่คุกแห่งนี้ พระองค์ได้เฝ้าดูยอดเขาคิชกูด (ที่พุทธองค์ปฏิบัติธรรมอยู่บนนั้น) จนสิ้นพระชนม์
ทำไมจึงเรียกวันนี้ว่า "มาฆบูชา"
จากเหตุการณ์ที่ภิกษุอรหันต์ 1,250 รูป มาพบกับพุทธองค์โดยไม่ได้นัดหมาย ณ ป่าไม้ไผ่แห่งเมืองราชคฤห์ในวันนี้ ตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 หากเป็นปี "อธิกมาส" หรือ 8-8 ก็ให้เลื่อนเป็นวันเพ็ญเดือน 4 และวันนี้ตรงกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเรือนของราศีสิงห์ ซึ่งมีดาวเร็กกูรัส (Star Regurus)เป็นหัวใจสิงห์ ตำราโหราศาสตร์อินเดียเรียกชื่อดาวดวงนี้ว่า "ดาวมาฆะ" (Star Magha) จึงเป็นที่มาของชื่อวันมาฆบูชา (Magha Puja) ครั้นเมื่อศาสนาพุทธแพร่เข้ามาที่ประเทศไทยเรื่องนี้ก็ติดเข้ามาด้วยเป็นส่วนหนึ่งของวันสำคัญทางศาสนา
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557 ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดวงจันทร์ขึ้นในราศีสิงห์ใกล้กับดาวมาฆะ




ตามหลักโหราศาสตร์อินเดียเรียกดาว Regulus ว่า Star Magha
.jpg)
การที่ดวงจันทร์ในวันเพ็ญเข้าไปใกล้ดาว Magha เป็นที่มาของชื่อ "มาฆบูชา"
.jpeg)
มาฆะบูชา 16 กุมภาพันธ์ 2565
.jpeg)
เหตุใดวันมาฆบูชาปี 2557........ จึงโคจรมาตรงกับ14 กุมภาพันธ์ "วาเลนไทน์" และปี 2553 วันมาฆบูชาก็ตรงกับตรุษจีน + วาเลนไทน์
เนื่องจากศาสนาพุทธใช้ปฏิทินจันทรคติ ปีหนึ่งมี 354 วัน และกำหนดให้วันมาฆบูชาเป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ขณะที่วันวาเลนไทน์ใช้ปฏิทินสุริยคติ ปีหนึ่งมี 365 วัน เมื่อนำปฏิทินทั้งสองมาใช้ร่วมกันที่เรียกว่า Luni-solar Calendar จึงทำให้วันมาฆบูชาจำเป็นต้องกระโดดไปกระโดดมาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และต้นเดือนมีนาคม ตามหลักคณิตศาสตร์เมื่อปฏิทินสุริยคติเป็นตัวคงที่ ส่วนปฏิทินจันทรคติเลื่อนไปเลื่อนมาก็ต้องมีสักวันที่ "มาฆบูชา" มาจ๊ะเอ๋กับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ แต่โอกาสแบบนี้ไม่มีบ่อยนัก ในทำนองเดียวกันนี้เมื่อปี 2553 มาฆบูชาตรงกับตรุษจีน ตรุษเวียดนาม และวาเลนไทน์ ...... เป็นที่มาของการจัดกิจกรรม "ตรุษไทสกล คนจีน คนญวน" ในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร
.jpeg)
นานๆครั้งวันมาฆบูชาจะเผอิญมาตรงกับตรุษจีนและวาเลนไทน์

เมื่อปี 2553 มาฆบูชาตรงกับตรุษจีน ตรุษเวียดนาม และวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ ชาวสกลนครในเขตเทศบาลจึงเริ่มมีความคิดจัดงาน "ตรุษไทสกล คนจีน คนญวน" มีการแต่งตัวแฟชั่นสากล ไทย จีน และเวียดนาม สืบทอดมาจนปัจจุบัน

