คำสอนของพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ชาวพุทธทั่วโลกว่าองค์ศาสดาของเรากำเนิดที่ดินแดนภารตะ และมอบมรดก "ธรรมะ" แก่เราๆท่านๆทั้งหลายให้ยึดถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมานานกว่าสองพันห้าร้อยปี ศาสนาพุทธได้เจริญอย่างสุดขีดในยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์มูรยะ (304 - 232 ปี ก่อนคริสตกาล) และก็เจริญต่อเนื่องมาเรื่อยๆจนขยายออกไปยังดินแดนต่างๆที่เป็นประเทศปากีสถาน และอัฟกานีสถานในปัจจุบัน แต่เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ศานาพุทธในดินแดนภารตะก็ถึงกาลอวสาน เมื่อถูกกองทัพจากตุรกีรุกรานและเผาทำลายมหาวิทยาลัยพุทธแห่งแรกของโลกที่ "นาลันทา" อย่างย่อยยับ เป็นการปิดฉากอาณาจักรแห่งพุทธศาสนาในดินแดนแม่ อย่างไรก็ตามเราก็ยังโชคดีที่คำสอนของพุทธองค์ได้แผ่ขยายไปยังดินแดนอื่นๆในเอเซียใต้ที่เกาะศรีลังกา เอเซียตะวันออก จีน ญี่ปุ่น และเอเซียอาคเนย์อย่างอินโดนีเซีย พม่า ไทย และกัมพูชา ทำให้ศาสนาพุทธยืนอยู่ในสังคมโลกอย่างต่อเนื่อง
ก่อกำเนิด และรุ่งโรจน์ของศาสนาพุทธ
เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักประวัติศาสตร์ว่า ถ้าไม่ได้จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่อย่างพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์มูรยัน ครองราชระหว่าง ปีที่ 269 - 232 ก่อนคริสตกาล หรือระหว่าง พ.ศ.274 - 311 ศาสนาพุทธคงไปไม่ไกลขนาดที่เห็นในปัจจุบัน พระองค์เริ่มคิดที่จะเปลี่ยนจากศาสนาพราหมณ์มาเป็นศาสนาพุทธตามคำเกลี้ยกล่อมของพระมเหสีประจวบกับการที่ได้เห็นคนบาดเจ็บล้มตายมากกว่า 250,000 ชีวิต ในคราวทำสงครามครั้งยิ่งใหญ่กับแคว้นคาลิงกะ ราวปีที่ 8 ของการครองราช พระองค์ตัดสินใจเด็ดขาดต่อการเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและหันมาเอาดีทางเผยแพร่คำสอนพุทธองค์ โดยส่งธรรมฑูต (Dutus)ไปทั่วแคว้นแดนไกล (ศัพท์คำว่าฑูตในภาษาไทย มาจากรากภาษาสันสกฤตว่า Dutus ภาษาอังกฤษแปลตรงตัวว่า emissaries) ในการนี้ธรรมฑูตชื่อ "พระโสณะ และพระอตตระ" ถูกส่งมาที่ดินแดนสุวรรณภูมิทางทิศตะวันออก แต่น่าเสียดายว่าไม่มีรายละเอียดอธิบายเพิ่มเติมว่าสุวรรณภูมิจริงๆอยู่ตรงไหน นักประวัติศาสตร์บางท่านให้ความเห็นว่าน่าจะอยู่แถวๆพม่าในปัจจุบัน เพราะดินแดนนี้อยู่ใกล้กับเขตแดนของอาณาจักรมูรยัน (ดูแผนที่ประกอบ) หลังจากสิ้นสุดราชวงศ์มูรยันอาณาจักรถูกแบ่งออกเป็นอาณาจักรใหม่ๆภายใต้การปกครองของกษัตริย์ที่นับถือพุทธหลายพระองค์ เช่น อาณาจักรของกษัตริย์เชื้อสายกรีก ทำให้มีการสร้าง "พระพุทธรูป"
543
ลุมพินีสถาน ปัจจุบันอยู่ในประเทสเนปาลติดกับชายแดนของอินเดีย เป็นที่ประสูติของเจ้่าชายสิทธัตถะราว 563 - 624 BCE (Before Common Era: BCE ก่อนคริสตกาล) ทุกวันนี้นักประวิติศาสตร์ยังคงถกเถียงกันอย่างไม่มีข้อยุติว่าเจ้า ชายสิทธัตถะประสูติในปีไหน ทำให้การนับพุทธศักราช (พ.ศ.) ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเลือกเอาปีไหน ระหว่าง 544 - 483 BCE ในกรณีนี้ประเทศไทยเลือกเอา 543 BCE ส่วนประเทศพม่าเลือกเอา 544 BCE ประเทศไทยเริ่มใช้พุทธศักราชในหมู่พระสงฆ์ ก่อนที่รัชกาล 6 จะโปรดเกล้าให้นำมาใช้แทน ร.ศ. ปีพุทธศักราชของไทย ถือกำเนิดโดยให้วันปรินิพพานเป็นปี พ.ศ. 0 แต่ ศรีลังกา พม่า ลาว และเขมร นับมากกว่าเรา 1 ปี คือนับเอาวันปรินิพพานเป็นปีที่ 1 ในปัจจุบันมีค้นพบว่าพุทธศักราช มีความคลาดเคลื่อนไปจากความเข้าใจข้างต้น 60 ปี นั่นคือ เขาเชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานปี พ.ศ. 60 มิใช่ พ.ศ. 0
ภายในตัวอาคารที่วิหารลุมพินี มีหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบหินแกะสลักแสดงการประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะโดยคลอดออกมาทางซี่โครงด้านขวาของพระนางมหาเทวีพระมารดา และแผ่นหินวางไว้ที่พื้นแสดงตำแหน่งของเหตุการณ์ดังกล่าว เข้าใจว่าสร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช นักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าชมต้องเข้าแถวยาวเยียดเพื่อทะยอยเดินเข้าไปในบริเวณที่จัดแสดง
พระเจ้าอโศกมหาราชมีอายุอยู่ระหว่าง ปี 304 - 232 BCE และเป็นกษัตริย์ระหว่าง ปี 269 - 232 BCE (ก่อนคริสตกาล) เดิมพระองค์นับถือศาสนาพราหมณ์ แต่หลังจากสิ้นสุดมหาสงครามกับ "แคว้นคาลิงกะ" ในปีที่ 8 แห่งการครองราช ราว 261 BCE ทำให้มีคนตายและบาดเจ็บมากกว่า 250,000 คน พระองค์จึงหาทางละทิ้งการใช้อำนาจบาทใหญ่และฆ่าสัตว์ตัดชีวิตด้วยการเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และกลายเป็นจักรพรรดิ์ชาวพุทธที่ยิ่งใหญ่สัญลักษณ์ประจำพระองค์ซึ่งมีรูป "พระธรรมจักร" อยู่ใต้ฐานสิงห์สี่หน้าหมายถึงคำสอนของพุทธองค์จะแพร่ไปทุกทิศของโลก ปัจจุบันปรากฏเป็นสัญลักษณ์ในธงชาติอินเดีย
.jpg)
อาณาจักรมูรยัน (Mauryan Empire) ของพระเจ้าอโศกมหาราช กว้างใหญ่ไพศาลกินอาณาเขตประเทศอินเดียปัจจุบัีนเกือบทั้งหมด และขยายไปถึงพื้นที่ปัจจุบันของประเทศปากีสถานและอัฟกานีสถาน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าหลังจากสิ้นรัชสมัยของพระองค์เพียง 50 ปี พระราชอาณาจักรมูรยันก็แตกออกเป็นเสี่ยงๆและสิ้นสลายกลายเป็นอาณาจักรของราชวงศ์อื่นๆ หรือว่านี่แหละคือสัจจธรรมที่พุทธองค์กล่าวว่า "ทุกอย่างล้วนอนิจจัง"
พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระธรรมฑูตไปเผยแผ่ศาสนาพุทธในดินแดนต่างๆ และเป็นที่มาของเรื่องราวของพระธรรมฑูตที่ชื่อ "พระโสณะ และพระอตตระ" ที่ชาวพุทธเชื่อว่าได้เดินทางมาที่ดินแดนสุวรรณภูมิ

จารึกสองภาษาคือภาษากรีกและภาษาอรามิก ที่พระเจ้าอโศกมหาราชกล่าวถึงการละเว้นฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การให้ความรักและความเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ต่างๆ พบที่เมืองกันดาฮาล ประเทศอัฟกานีสถาน ต่อมาเอาไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์กรุงกาบูล ปัจจุบันหายไปอย่างไร้ร่องรอยอาจจะไปตั้งโชว์อยู่ในพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของเศรษฐีที่ไหนสักแห่ง
.jpg)
ในยุคของพระเจ้าอโศกมหาราชยังไม่มีการประดิษฐ์พระพุทธรูป แต่พอกาลเวลาล่วงเลยมาถึงยุคของพระเจ้ากานีสกะมหาราชกษัตริย์ชาวกรีกที่นับถือพุทธ (Kaniska the Great) แห่งอาณาจักรคุชชั่น (Kushan Empire) ครองราชระหว่างคริตศักราช 127 - 151 หรือ พ.ศ. 670 - 694 มีการสร้างพระพุทธรูปสไตล์กรีกขึ้นเป็นครั้งแรก
พระพุทธรูปศิลปะกรีกที่อัฟกานีสถานกำลังอยู่ระหว่างการขุดค้นหาเพิ่มเติมหลังจากที่รัฐบาลตาลีบันถูกขับไล่ออกไปแล้ว
.jpg)
พระพุทธรูปนอนที่ประเทศ Tajikistan
.jpg)
พระพุทธรูปนอนที่ Tajikistan ได้รับการบูรณะและเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เมือง Ourgonteppa
การถดถอยและล่มสลายของศาสนาพุทธในอินเดีย
ศาสนาพุทธในอินเดียเจริญรุ่งเรื่องมาเรื่อยๆจนถึงยุคแห่งอาณาจักรคุปตะ (Gupta Empire) ราวปี ค.ศ.320 - 550 หรือ พ.ศ.670 - 1093 เริ่มมีเค้ารางแห่งการถดถอยเนื่องจากกษัตริย์ของราชวงศ์นี้นิยมศาสนาฮินดู มีการสร้างความเชื่อว่าพระพุทธเจ้าเป็น "อวตาร" ของพระวิศนุ กษัตริย์บางองค์ก็แสดงตนเป็นศัตรูต่อศาสนาพุทธอย่างชัดเจน เช่น ในยุคของกษัตริย์มิฮิรากูละ (Mihirakula) ค.ศ.515 หรือ พ.ศ.1058 มีการทำลายศาสนสถานของพุทธ ในช่วงสมัยนี้พระธุดงชาวจีนที่เดินทางมายังอินเดีย เช่น ฟาเซี่ยน และพระถังซำจั๋ง ได้บันทึกเหตุการณ์ว่าเห็นการถดถอยของศาสนาพุทธ อย่างไรก็ตามศาสนาพุทธได้เผยแผ่ออกไปยังดินแดนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เกาะชวา และทำให้เกิดอารยธรรมทวาราวดีในประเทศไทยราวพุทธศตวรรษที่ 11หลังสิ้นยุคสมัยของอาณาจักรปาละ (Pala Empire) พ.ศ.1443 - 1643 ศาสนาพุทธก็เริ่มถดถอยอย่างชัดเจนด้วยแรงเบียดจากศาสนาฮินดู ประกอบกับเรื่องราวที่ว่าพระพุทธเจ้าเป็นอวตารหนึ่งของพระวิศนุสะสมความเชื่อแรงขึ้นมากทำให้ชาวพุทธเปลี่ยนไปนับถือฮินดู
.jpg)

บทสรุปแห่งการล่มสลายของศาสนาพุทธในอินเดียเห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนในปี ค.ศ.1193 หรือ พ.ศ.1736 เมื่อกองทัพมหึมาของชาวเติกร์นำโดยแม่ทัพชื่อ บักตียาร์ คีจิ บุกเข้าทำลายและเผามหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา พระสงฆ์มากกว่า 10,000 รูปถูกฆ่าตาย ส่วนที่รอดชีวิตก็กระสานซ่านเซ็นไปยังดินแดนห่างไกลเช่น ทิเบต หรืออินเดียตอนใต้
.jpg)
มหาวิทยาลัยนาลันทาศูนย์กลางแห่งศาสนาพุทธในคริตศวรรษที่ 12 อยู่ในแคว้นมคธ ปัจจุบันคือรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ถูกทำลายจนหมดสิ้นโดยกองทัพจากตุรกี
.jpg)
มหาวิทยาลัยนาลันทา มีเนื้อที่กว้างประมาณ 88 ไร่ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศาสนาพุทธที่ยิ่งใหญ่ที่สุดระหว่าง คริสต์ศวรรษที่ 5 - ค.ศ. 1197 มีนักศึกษาอาศัยอยู่ตามหอพักต่างๆมากถึง 10,000 คน มาจากดินแดนห่างไกล เช่น ธิเบต จีน และเปอร์เซีย พระถังซำจั๋งเคยธุดงผ่านมาที่นี้ใน คิตศวรรษ์ที่ 7 และบันทึกอธิบายความยิ่งใหญ่อลังการของสถานที่แห่งนี้

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนาลันทาเหลือเพียงซากฐานรากของสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ กลายเป็นสถานที่เรียนรู้ทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของรัฐพิหาร นาลันทาถูกทำลายอย่างสิ้นเชิงด้วยการเผาและรื้อทิ้งโดยกองทัพจากดินแดนตุรกีนำโดยแม่ทัพ บักติยาร์ คีจิ (Baktiyar Khiji) ในปี ค.ศ.1193 พระภิกษุจำนวนนับหมื่นรูปถูกสังหาร ส่วนที่เหลือรอดชีวิตก็หนีไปยังแดนไกล เช่น ธิเบต และอินเดียตอนใต้

ดวงตราของมหาวิทยาลัยนาลันทา
.jpg)
เปรียบเทียบภาพถ่ายดาวเทียมกับแผนผังของมหาวิทยาลัยนาลันทา ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดียตอนเหนือ อยู่ห่างจากเมืองหลวงของรัฐชื่อว่าปัทน่า (Patna) 88 กิโลเมตร
คำสอนแห่งพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
ชาวพุทธทั่วโลกต้องขอบคุณบุรุษที่ชื่อ ดร.บิมราว รามจิ แอมเบดก้าร์ (Dr.Bhimrao Ramji Ambedkar) หรือชาวพุทธในอินเดียนิยมเรียกท่านอย่างเคารพนบนอบว่า ดร.บาบาซาเฮบ แอมเบดการ์ (Dr.Babasaheb Ambedkar) ท่านเกิด 14 เมษายน ค.ศ.1891 และเสียชีวิต 6 ธันวาคม ค.ศ.1956 ท่านผู้นี้ทำให้ประวัติศาสตร์ประเทศอินเดียต้องบันทึกไว้ว่า "เป็นผู้ทำให้คำสอนของพุทธองค์กลับคืนมาสู่แผ่นดินแม่อีกคำรบหนึ่ง หลังจากเหินห่างไปนานนับพันปี" ดร.แอมเบดก้าร์เกิดในครอบครัววรรณะต่ำสุดของสังคมอินเดีย แต่ด้วยการที่มีบรรพบุรุษเป็นทหารในกองทัพบกอังกฤษและพ่อก็รับราชการในกองทัพบกอินเดีย จึงอาศัยใบบุญของพ่อที่เป็นข้าราชการทหารสามารถฝากฝังลูกชายให้เข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาล แต่ด้วยวรรณะต่ำสุดก็ถูกเหยียดหยามด้วยการให้นั่งเรียนนอกห้องและห้ามกินน้ำในภาชนะเดียวกับเพื่อนๆ ต้องให้ภารโรงเทน้ำให้กินแบบยืนห่างๆ ท่านเขียนบันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ว่า "วันไหนภารโรงไม่มาทำงาน วันนั้นอดกินน้ำ" แต่ด้วยความมุมานะอดทนไม่ย่อท้อต่อโชคชะตาราศีที่เลือกเกิดไม่ได้ ประกอบกับเป็นเด็กหัวดีเรียนเก่งจึงสามารถสอบผ่านได้อย่างง่ายดาย ต่อมาในปี ค.ศ.1897 ครอบครัวย้ายไปทำงานที่เมืองบอมเบย์ท่านจึงย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยม Elphinstone High School และเป็นนักเรียนจากวรรณต่ำสุดเพียงคนเดียวที่ได้เข้าเรียนที่นี่ ท่านสอบได้คะแนนดีมากจึงสามารถเข้าเรียนต่อระดับปริญญาตรีที่ Elphinstone College ภายใต้สังกัด Bombay University ในปี ค.ศ.1907
อนึ่ง ในฐานะที่เป็นนักเรียนเก่าจากประเทศอินเดียผมก็เคยเป็นนักศึกษาแผนกวิชา Intermediate Science สังกัด Bombay University แต่เรียนที่ Wilson College ในปี ค.ศ.1969 - 1970 เป็นรุ่นน้องท่าน ดร.แอมเบดก้า ราว 63 ปี
จากนั้นท่านได้รับทุนไปเรียนต่อปริญญาโทและปริญญาเอกที่สหรัฐอเมริกา วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของท่านคือ "เงินรูปีอินเดีย"

ดร.แอมเบดก้าร์ในวัยหนุ่มที่เพิ่งจบการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา
ด้วยดีกรีระดับปริญญาเอกจากสหรัฐอเมริกาประกอบกับการใฝ่รู้ใฝ่เรียนเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ทำให้ท่านได้ผันตัวเองเข้าสู่การเป็นอาจารย์ใหญ่ในสถาบันกฏหมายชื่อดังอย่าง Government Law College Bombay ในปี ค.ศ.1935 จากผลงานโดดเด่นด้านกฏหมายรัฐบาลอินเดียจึงเชิญให้ไปเป็นประธานคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อประเทศอินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1947 ท่าน ดร.แอมเบการ์ ได้พยายามทำกฏหมายให้ชาวอินเดียทุกคนมีสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียม แต่ด้วยความเชื่อและประเพณีที่ยึดถือกันมานับพันปีทำให้สังคมอินเดียยังคงวนเวียนอยู่ในกฏแห่งชั้นวรรณะ สิ่งเหล่านี้ทำให้ ดร.แอมเบการ์ ต้องตัดสินใจครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตด้วยการประกาศ "เปลี่ยนศาสนาจากฮินดู ไปเป็นศาสนาพุทธ" ที่เมืองนาคปูร์ รัฐมหารัชตะ (Nagpur Maharashtra) เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 1956 ในวันเดียวกันนั้นมีชาวฮินดูวรรณะสูตปฏิบัติตามท่านผู้นำมากมายกว่า 380,000 คน และทะยอยตามมาอีกหลายล้านคนในเวลาต่อมา ประวัติศาสตร์ได้บันทึกเหตุการณ์นี้ด้วยคำว่า "คลื่นแห่งพุทธศาสนาตามแบบอย่างแอมเบการ์" (Ambedkarite Buddhism) เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ท่าน ดร.แอมเบก้าร์ เสียชีวิตลงที่บ้านในกรุงนิวเดลลีด้วยโรคเบาหวานหลังจากเหตุการณ์สำคัญนี้เพียง 6 อาทิตย์ ปัจจุบันคลื่นแห่งพุทธรรมในแผ่นดินแม่ยังคงเจริญเติมโตขึ้นตามลำดับจนมีคำเรียกขานว่า "ศาสนาพุทธเกิดใหม่" (Neobuddhism หรือ Buddhist Movement) ดร.แอมเบดก้าร์ เชื่ออย่างแน่วแน่ว่าศาสนาพุทธสามารถแก้ปัญหาการไม่เท่าเทียมของชาวอินเดีย และทำให้ระบอบชั้นวรรณะหายไปจากสังคม

ดร.แอมเบการ์ และภรรยา ในพิธีประกาศเปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปนับถือพุทธ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 1956 ที่เมืองนาคปูร์ โดยถือฤกษ์วันเดียวกันกับพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรมูรยะประกาศเปลี่ยนจากศาสนาพราหมณ์ไปเป็นพุทธเมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว



ผู้คนนับแสนมาร่วมพิธีประกาศเปลี่ยนจากศาสนาฮินดูไปเป็นพุทธ เรียกว่า "พิธีเดชะภูมิ" (Deeksha Bhoomi) หรืออาจเรียกแบบสำนวนไทยๆว่า "ประกาศคำมั่นต่อแผ่นดิน"



ในวันนั้น ดร.แอมเบดก้าร์ ได้ประกาศคำมั่น 22 ประการ ที่ท่านและผู้ที่ศัทธาจะปฏิบัติในชีวิตประจำวันตามคำสอนของพุทธองค์
ผมได้คัดลอกต้นฉบับภาษาอังกฤษมาให้ท่านได้อ่านอย่างจุใจพระเดชพระคุณ เนื้อหาสาระสำคัญกล่าวถึงการเลิกเชื่อถือคำสอนของศานาฮินดู เช่น การนับถือเทพเจ้าต่างอันได้แก่ พระพรหมณ์ พระวิศนุ พระศิวะ และไม่เชื่อว่าพระราม พระกฤษณะเป็นอวตารของเทพเจ้า ที่สำคัญ "ไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าเป็นอวตารของพระวิศนุ" รวมทั้งจะปฏิบัติตามคำสอนแห่งพุทธองค์อย่างแน่วแน่ในการดำรงชีวิต
He prescribed 22 vows to his followers:
- I shall have no faith in Brahma, Vishnu and Maheshwara nor shall I worship them.
- I shall have no faith in Rama and Krishna, who are believed to be incarnation of God, nor shall I worship them.
- I shall have no faith in Gauri, Ganapati and other gods and goddesses of Hindus nor shall I worship them.
- I do not believe in the incarnation of God.
- I do not and shall not believe that Lord Buddha was the incarnation of Vishnu. I believe this to be sheer madness and false propaganda.
- I shall not perform Shraddha nor shall I give pind.
- I shall not act in a manner violating the principles and teachings of the Buddha.
- I shall not allow any ceremonies to be performed by Brahmins.
- I shall believe in the equality of man.
- I shall endeavour to establish equality.
- I shall follow the noble eightfold path of the Buddha.
- I shall follow the ten paramitas prescribed by the Buddha.
- I shall have compassion and loving-kindness for all living beings and protect them.
- I shall not steal.
- I shall not tell lies.
- I shall not commit carnal sins.
- I shall not take intoxicants like liquor, drugs, etc.
- (The previous four proscriptive vows [#14–17] are from the Five Precepts.)
- I shall endeavour to follow the noble eightfold path and practice compassion and loving-kindness in every day life.
- I renounce Hinduism, which disfavors humanity and impedes the advancement and development of humanity because it is based on inequality, and adopt Buddhism as my religion.
- I firmly believe the Dhamma of the Buddha is the only true religion.
- I consider that I have taken a new birth.
- I solemnly declare and affirm that I shall hereafter lead my life according to the teachings of Buddha's Dhamma


ทุกๆปีในเดือนตุลาคมพุทธศาสนิกชนจากอินเดียและทั่วโลกจะมารวมตัวกันที่เมืองนาคปูร์ บริเวณหน้าสถูปเดชะภูมิ เพื่อรำลึกถึงการเกิดใหม่แห่งคำสอนพุทธองค์ในแผ่นดินแม่
.jpg)

สถูปเดชะภูมิ (Deekshabhoomi) สร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อ 18 ธันวาคม ค.ศ.2001โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบสถูปของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่เมืองสาถจี
.jpg)

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงตำแหน่งที่ตั้งของสถูปเดชะภูมิ ที่เมืองนาคปูร์ รัฐมหารัชตะ อินเดีย


ชาวเมืองนาคปูร์ได้สร้างอนุเสาวรีย์ให้แก่ ดร.แอมเบดการ์ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงคุณงามความดีและความกล้าหาญในการประกาศเปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปเป็นพุทธอย่างเป็นทางการ


สนามบินนานาชาติแห่งเมืองนาคปูร์ ก็ใช้ชื่อว่า Dr.Ambedkar International Airport

และที่ขาดไม่ได้คือมหาวิทยาลัยเปิดที่ชื่อว่า Dr.Babasaheb Ambedkar Open University ที่เมือง Ahmedabad รัฐ Gujarat
เสียงเรียกร้องความเท่าเทียมในสังคม
ลูกคลื่นแห่งศาสนาพุทธส่งผลให้ชาวอินเดียที่อยู่ในวรรณะสูตรวมตัวกันผลักดันให้ทางการอินเดียหันมาแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยเรียกตัวเองว่า Dalit Movement การเรียกร้องของมหาชนกลุ่มนี้สร้างความกระอักกระอ่วนใจแก่ทางการอินเดียเป็นอย่างมากเพราะอินเดียมีรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียม แต่ในภาพแห่งความเป็นจริงระบอบชั้นวรรณะยังคงหลอนอยู่ในสังคมอย่างเหนียวแน่น
ผมเป็นนักเรียนอยู่ที่ประเทศอินเดีย 5 ปี ระหว่าง พ.ศ.2512 - 2517 โดยเรียนอยู่ที่ Wilson College Bombay Univesity รัฐ Maharashtra และที่ Punjab Agricultural University เมือง Ludhiana รัฐ Punjab ได้พบเห็นการแบ่งชั้นวรรณะจนชินตา แต่ในฐานะที่ผมนับถือพุทธจึงไม่รังเกียจผู้คนที่ต่างวรรณะทำให้บรรดานักการภารโรงและคนงานในมหาวิทยามีความรู้สึกที่ดีต่อผมเป็นอย่างมาก
.jpg)
ภาพถ่ายร่วมกับนักเรียนชาวอินเดียของ Punjab Agricultural University ปี ค.ศ.1971
.jpg)

ผมกลับไปเที่ยวอินเดียในปี ค.ศ.2009 ก็ยังพบเห็นการแบ่งชั้นวรรณะ อย่างภาพนี้เป็นสถานที่อาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ไหลลงมาจากภูเขาที่เมืองราชคฤธ รัฐพิหาร วรรณะสูตต้องอาบข้างล่าง ส่วนวรรณะพราหมณ์อาบอยู่ข้างบนเป็นต้นน้ำ








สัญญลักษณ์ของขบวนการ Dalit Movement ใช้เครื่องธรรมจักร์ของพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นโลโก้
.jpg)
ปัจจุบันมีผู้นับถือศาสนาพุทธที่นับอย่างเป็นทางการเกือบแปดล้านคน แต่ที่ยังไม่สามารถตรวจสอบได้ยังมีอีกหลายล้านคน ที่เป็นเช่นนี้เพราะประชาชนไม่กล้าบอกว่าตัวเองนับถือพุทธเพราะกลัวอะไรบางอย่างจากสังคมส่วนใหญ่

ดร.แอมเบการ์ได้รับเกียรติอย่างมากจากชาวอินเดียที่มีใจเป็นธรรมแห่งสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
.jpg)

รัฐบาลไทยก็มีความพยายามที่จะฟื้นฟูศาสนาพุทธในอินเดียโดยการส่งพระธรรมฑูตไปปฏิบัติงานที่นั่นโดยถือหนังสือเดินทางราชการสีน้ำเงิน แต่ในความเห็นส่วนตัวของผมพระธรรมฑูตจากประเทศไทยยังไม่เข้าตาชาวอินเดียที่ต้องการนับถือพุทธเพราะเราเอาวิธีการปฏิบัติตนของพระจากประเทศไทยไปใช้ที่อินเดีย หลายอย่างก็ขัดกับหลักการและคำสอนของพุทธองค์ เช่น การยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเงินๆทองๆจำนวนมาก การคลุกคลีอยู่กับวัตถุมงคลและเรื่องโชคชะตาราศี ขณะเดียวกันผู้ที่ไปทำบุญที่เรียกว่า "ธรรมะทัวร์" ก็เป็นชาวไทยที่คุ้นเคยกับเรื่องวัตถุมงคลและโชคลาภ ผมเคยถูกสานุศิษย์ของ ดร.แอมเบก้าร์ ต่อว่าให้ฟังเรื่องของพระไทยในอินเดียทำให้ผมหน้าแตกและไม่สามารถแก้ตัวแทนกันได้ ดังนั้นนโยบายพระธรรมฑูตของไทยจึงกลายเป็น "อัฐยายซื้อขนมยาย" เพราะมีแต่คณะทัวร์แสวงบุญจากประเทศไทยไปให้การสนับสนุน และในสภาพความเป็นจริงที่เมืองพุทธคยา (Bodhi Gaya) ก็มีวัดและพระสงฆ์จากชาติต่างๆไปประจำอยู่ที่นั่นเปรียบเสมือน "สถานฑูตพุทธ" เช่น วัดพม่า วัดญี่ปุ่น วัดจีน วัดทิเบต วัดศรีลังกา เรียกว่าใครมาจากประเทศไหนก็ไปทำบุญที่วัดของตนเอง
ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติควรสังคายนาบทบาทของพระธรรมฑูตเสียใหม่ให้มีความเคร่งวินัยและยึดคำสอนของพุทธองค์อย่างเคร่งครัด อย่างน้อยก็ให้เท่าเทียมกับพระของอินเดียที่เมืองนาคปูร์......อยากให้ย้ำว่า.....หลักการของศาสนาพุทธคือ "คำสอนของพุทธองค์"........ ไม่ใช่วัตถุมงคลไม่ใช่โชคลาภ ไม่ใช่การเสริมบารมี และพิธีกรรมต่างๆที่เป็นพุทธพาณิชย์ ....... สาธุ