ปลายเดือนพฤศจิกายน 2556 ชาวโลกจะได้ชมดาวหาง ISON อย่างจะจะด้วยตาเปล่า
(......Update ข่าวล่าสุดเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2556 ดาวหางไอซ่อนโฉบเข้าไปใกล้ดวงอาทิตย์มากเกินไป ทำให้ถูกความร้อนจากสุริยะเทพเผาจนแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย อ่านข้อมูลตอนท้ายบทความ.......)
การค้นพบดาวหางดวงนี้ต้องยกเครดิตให้นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวรัสเซียสองคน ค้นพบเมื่อเดือนกันยายน 2555 มีชื่อเป็นทางการด้วยภาษาดาราศาสตร์ว่า Comet Nevski–Novichonok or C/2012 S1 (Nevski–Novichonok) การตั้งชื่อในระบบดาราศาสตร์ใช้อักษรย่อ C หมายถึงดาวหางที่มาแล้วไปลับไม่กลับมาอีก (non-periodic) ตัวเลข 2012 หมายถึง ปี คศ.ที่ค้นพบ เครื่องหมาย S1 หมายถึงการค้นพบเป็นดวงแรกของเดือน September ส่วนคำว่า Nevski-Novichonok เป็นชื่อนักดาราศาสตร์ชาวหมีขาวสองคน
.

ภาพจำลองดาวหางไอซ่อนจากมุมมองที่ "ปราสาทภูเพ็ก" จังหวัดสกลนคร ตอนเช้าตรู่ อยู่ในเรือน "ราศีคนยิงธนู"


ภาพจำลองดาวหางไอซ่อนจากมุมมองที่เมืองทัลซ่า รัฐโอคลาโฮม่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ตอนยามเย็นใกล้พลบค่ำ


ภาพจำลองจากมุมมองที่ปราสาทภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร ตอนเย็นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 มองไม่เห็นดาวหางไอซ่อน เพราะถูกแสงอาทิตย์กลบเนื่องจากในช่วงนี้ตำแหน่งของดาวหางอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก

ภาพจำลองจากมุมมองที่ปราสาทภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร โดยการใช้โปรแกรมตัดแสงอาทิตย์ออก (hide daylight) จะมองเห็นดาวหางไอซ่อนอยู่ใกล้ในระดับเดียวกับดวงอาทิตย์ที่ขอบท้องฟ้า (อย่างไรก็ตามเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าและแสงมืดลง ดาวหางก็จะตามดวงอาทิตย์ตกขอบฟ้าไปด้วยจึงทำให้มองไม่เห็น) ต่างจากมุมมองของสหรัฐอเมริกา วันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 (ภาพข้างบน) ดาวหางอยู่ตำแหน่งข้างบนดวงอาทิตย์ เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจึงสามารถมองเห็นดาวหาง
ขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ (วันที่ 19 สิงหาคม 2556) ดาวหางไอซ่อน (ISON : International Scientific Optical Network) กำลังโคจรด้วยความเร็ว 48,000 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 76,800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ป้วนเปี้ยนอยู่แถวๆดาวพฤหัสและเข็มขัดแอสติรอยเพื่อเตรียมมุ่งหน้าสู่วงโคจรของดาวอังคาร องค์การนาซ่าได้ออกคำสั่งให้ยานสำรวจดาวอังคารที่ชื่อ Curiosity ซึ่งกำลังคลานต้วมเตี้ยมอยู่ที่ดาวอังคารตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2555 เตรียมตัวถ่ายภาพดาวหางดวงนี้เมื่อมันโคจรเข้าสู่รัศมีของดาวอังคาร อย่างไรก็ตามกล้องอวกาศของนาซ่าที่ชื่อ "ฮับเบิ้ล" ได้เก็บภาพสวยงามจากระยะไกลเอาไว้เรียบร้อยแล้ว



ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2556 จากกล้องอวกาศฮับเบิ้ล แสดงให้เห็นภาพสวยงามของดาวหางไอซ่อนกำลังป้วนเปี้ยนอยู่แถวๆวงโคจรของดาวพฤหัสด้วยความเร็ว 76,800 กม.ต่อชั่วโมง

กล้องอวกาศฮับเบิ้ล (HST: Hubble Space Telescope) ของเล่นราคาแพงลิ่วขององค์การนาซ่า แต่คุณภาพสมราคา ทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาให้แก่นักดาราศาสตร์ทั่วโลก เพราะสามารถยิงภาพได้ไกลถึงแกแล้กซี่อื่นๆ

ภาพวาดวิถีโคจรของดาวหางไอซ่อนจากการคำนวณล่วงหน้า ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2555
องค์การนาซ่าได้คำนวณวิถีโคจรของดาวหางไอซ่อนไว้ล่วงหน้า โดยใช้สัญลักษณ์ "จุดสีแดง" เป็นตำแหน่งดาวหางในแต่ละช่วงเวลา "จุดสีน้ำเงิน" เป็นตำแหน่งของโลก ในแต่ละช่วงเวลาเช่นกัน โดยมีคำอธิบายตามหมายเลขว่าช่วงนี้เป็นวันและเดือนอะไร เช่น หมายเลข 1 Sep 19, 2013 หมายเลข 2 Oct 9,2013 ตามลำดับ
.jpg)

ผมได้ดูโปรแกรมภาพเคลื่อนไหว (Animation) ขององค์การนาซ่าแสดงวิถีโคจรดาวหางไอซ่อน แต่ไม่สามารถก้อบปี้มาลงในเว้ปนี้ได้ จึงต้องสร้างภาพขึ้นมาใหม่ดังที่เห็น อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้มาจากการคำนวณล่วงหน้าด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เมื่อถึงเวลาจริงๆวิถีโคจรอาจเปลี่ยนไป
.jpg)
นี่ก็เป็นอีกภาพนึงที่ผมสร้างขึ้นมาจากการดูโปรแกรมภาพเคลื่อนไหว


องค์การนาซ่าไม่ปล่อยให้นาทีทองผ่านไปโดยไร้ประโยชน์ พวกเขาได้เตรียมบอลลูนติดกล้องถ่ายภาพระยะไกลทั้งกล้องธรรมดา และกล้องอินฟาเรด เพื่อขึ้นไปถ่ายภาพดาวหางในพิกัดสูงจากพื้นโลกจะได้ไม่มีปัญหาเรื่อเมฆหมอกรบกวนให้รำคาญใจ
.jpg)
ต้นเดือนตุลาคม 2556 ดาวหางไอซ่อนขยับเข้ามาใกล้ระบบสุริยะชั้นในตอนนี้อยูแถวๆดาวอังคาร
.jpg)
ภาพจำลองแสดงตำแหน่งดาวหางไอซ่อนและดาวอังคารในราศีสิงห์
.jpg)
ภาพถ่ายดาวหางไอซ่อนจากยานอวกาศขององค์การนาซ่าที่โคจรอยู่รอบดาวอังคารชื่อว่า The Mars Reconnaissance Orbitor's (MRO)
อนึ่ง นักดาราศาสตร์เชื่อว่าดาวหางไอซ่อนจะมีขนาดใหญ่และสุกสว่างมากน้องๆพระจันทร์ เพราะในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2556 มันจะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่ระยะห่างเพียง 750,000 ไมล์ หรือ 1.2 ล้านกิโลเมตร ด้วยระยะที่ใกล้ดวงอาทิตย์ขนาดนี้จะทำให้ดาวหางมีทางเลือกได้สองอย่าง คือ
1. มีแสงสุกสว่างพอๆกับพระจันทร์ มองเห็นได้แม้กระทั่งกลางวันแสกๆ
2. ถูกความร้อนจากดวงอาทิตย์ละลายจนหมดสิ้นชนิดไม่เหลือซาก
ดาวหางดวงนี้มาให้เราๆท่านๆเห็นเพียงครั้งเดียว และจะลาแล้วลาลับไม่กลับมาอีกเลย อย่างไรก็ตามผมจะติดตามความข่าวเคลื่อนไหวทุกระยะเพื่อนำเสนอให้บรรดาแฟนคลับได้ทราบ
ล่าสุดเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2556 ดาวหางดวงนี้โฉบเข้าไปใกล้ดวงอาทิตย์ที่ระยะทางเพียง 730,000 ไมล์ ทำให้ถูกความร้อนของดวงอาทิตย์เผาผลาญกลายเป็นเศษชิ้นเล็กชิ้นน้อยเรียกว่าฝนดาวตก และสลายตัวไปจากสาระบบของสุริยะจักรวาล
.jpg)

.jpg)
