เผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
จากการพิจารณาอย่างละเอียดในเชิงวิศวกรรม สถาปัตย์ คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์พบว่าผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างปราสาทหลังนี้ต้องมีความรู้อย่างมาก ไม่งั้นรูปแปลนคงไม่สามารถออกมาอย่างที่เห็น
.jpg)
ภาพวาดการก่อสร้างทางขึ้นปราสาทภูเพ็ก (ภาพจากร้านอาหารในเมือง Siem Reap)

ภาพถ่ายทางอากาศของปราสาทภูเพ็ก จากมุมมองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อย


ปราสาทภูเพ็กตั้งอยู่บนยอดภูเขา ณ +520 เมตร จากระดับน้ำทะเล

GPS แสดงความสูงจากระดับน้ำทะเล +520 เมตร
ปราสาทภูเพ็ก เป็นศาสนสถานสร้างในยุคขอมเรืองอำนาจ ตั้งตระหง่านอยู่บนยอดภูเขาที่ชื่อภูเพ็ก สูงจากระดับน้ำทะเลกลาง 520 เมตรอยู่ในพื้นที่ของบ้านภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เชื่อว่าตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราว พ.ศ. 1724 - 1763 แม้ว่าปราสาทหลังนี้จะสร้างได้เพียงครึ่งเดียวแต่ก็แสดงถึงภูมิปัญญาที่ล้ำค่าในเชิงวิศวกรรม คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ น่าที่จะเป็นตัวอย่างในเชิงเทคนิคแก่สิ่งก่อสร้างในยุคปัจจุบัน ผมนำท่านผู้อ่านไปพิจารณาเป็นข้อๆ ดังนี้
การเลือกสถานที่ ...... สเป็ก "เขาพระสุเมรุ" มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่เป็นตัวประกอบ
ภูเขาที่ชื่อในปัจจุบันว่า "ภูเพ็ก" ถูกเลือกให้เป็นสถานที่ก่อสร้าง เนื่องจากมีความสูงกว่าภูเขาลูกอื่นๆในบริเวณเดียวกัน และยังมีรูปทรงคล้ายเขาพระสุเมร วิธีการเลือกจะต้องหามุมมองที่ใดที่หนึ่งเพื่อให้สามารถพิจารณาได้อย่างชัดเจน โดยขึ้นไปบนยอดภูเขาที่อยู่ห่างออกไปแล้วมองกลับเข้ามา (ในภาพนี้ผมถ่ายจากเฮลิคอปเตอร์ขณะที่บินสำรวจสภาพอ่างเก็บน้ำโครงการชลประทานขนาดเล็ก เดือนมีนาคม ปี 2545) ขณะเดียวกันก็มีมุมมองได้จากหลายสถานที่ เช่น จากหนองหาร และจากบริเวณใกล้เคียงอย่างบ้านดอนกกยาง ต.เหล่าปอแดง อ.เมืองสกลนคร อยู่ทางทิศใต้ของหนองหาร ภูเขาลูกนี้ไม่ว่าจะมองจากทิศทางไหนก็มีรูปร่างเหมือน "เขาพระสุเมร" ดังนั้น จึงถูกสเป็กและเข้าตากรรมการอย่างท่านพราหมณ์ผู้ออกแบบปราสาทภูเพ็กเป็นอย่างยิ่ง.....แน่นอนครับทุกอย่างลงตัวที่ภูเขาลูกนี้
อนึ่ง การเลือกสถานที่มีที่มาจากเมืองหลวงอังกอร์ ประเทศกัมพูชา คือปราสาท Phnom Krom ริมทะเลสาป มีภูเขารูปร่างคล้ายเขาพระสุเมรุเมื่อมองจากทะเลสาป อีกแห่งหนึ่งได้แก่ปราสาทวัดภู แขวงจัมปาสัก สปป.ลาว ก็เลือกภูเขาที่มีรูปร่างดุจเขาพระสุเมรุ เช่นกัน

มองจากทะเลสาปจะเห็นภูเขารูปร่างคล้ายเขาพระสุเมรุที่มีปราสาท Phnom Krom ตั้งอยู่บนยอด
ซูมมุมกล้องจะเห็นปราสาท Phnom Krom ตั้งอยู่บนยอดเขา

เปรียบเทียบภาพภูเขาระหว่างภูเพ็ก สกลนคร Phnom Krom Siem Reap Cambodia และ วัดภู จำปาสัก สปป.ลาว ทั้งสามแห่งมีรูปร่างคล้ายกัน

ภูเขา "ภูเพ็ก" มองจากทิศใต้โดยยิงมุมกล้องจากเฮลิคอปเตอร์

เปรียบเทียบรูปทรงภูเขาภูเพ็กกับเขาพระสุเมรุในจิตนาการของศาสนาฮินดูและพุทธมหายาน
.jpg)
พิจารณาจากภูมิประเทศในภาพรวมแล้วก็เชื่อได้ว่าพวกเขาน่าจะหาที่ยืนบนภูเขาบริเวณทิศใต้ของภูเพ็ก และมองเห็นภาพแบบนี้
.jpg)
หรือไม่ก็มองทางด้านทิศตะวันออกจากทะเลสาบหนองหาร
.jpg)

หรือพวกเขาเลือกมุมมองจากหนองหารซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของภูเพ็ก
.jpg)

เปรียบเทียบมุมมองภูเขาภูเพ็กจากทิศใต้โดยยืนอยู่บนภูเขาที่ภูพาน และจากทิศตะวันออกจากหนองหาร
.jpg)
ดวงอาทิตย์หย่อนตัวลงที่ยอดเขาภูเพ็กในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" (equinox) เป็นภาพที่มองแล้วขลังในสายตาของบรรพชนที่เราๆท่านๆเรียกเขาเหล่านั้นว่า "ขอม"
.jpg)
มุมมองจากบ้านดอนกกยาง ต.เหล่าปอแดง อ.เมืองสกลนคร อยู่ริมหนองหาร ทางด้านทิศใต้
.jpg)

.jpg)

การหาแหล่งวัสดุก่อสร้าง
เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้สนใจเรื่องราวของอาณาจักรขอมว่า วัสดุที่ใช้สร้างปราสาทน้อยใหญ่มาจากวัตถุสามชนิด ได้แก่ อิฐเผา หินทราย และศิลาแลง (แม่รัง) ในกรณีของปราสาทภูเพ็กใช้วัสดุเพียงชนิดเดียวคือ "หินทราย" เนื่องจากบนภูเขาลูกดังกล่าวเต็มไปด้วยหินทรายเนื้อละเอียดปริมาณมากมายในบริเวณด้านทิศตะวันตกของยอดเขา แต่ตามสะเป็กตัวปราสาทต้องอยู่ใกล้หน้าผาด้านทิศตะวันออกเพื่อให้สามารถรับแสงอาทิตย์ได้สะดวก พวกเขาก็ต้องยอมลำเลียงหินจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกด้วยระยะทางประมาณ 300 เมตร อย่างไรก็ตามการก่อสร้างปราสาทถูกทิ้งงานอย่างกระทันหัน (อ่านเรื่องราวใน....ภูเพ็กเมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ) ทำให้การตัดหินถูกระงับไปด้วย หินจำนวนมากตัดไปได้เพียงบางส่วน หินบางก้อนถูกตัดเรียบร้อยแล้วทิ้งไว้กลางป่า บางก้อนตัดเข้ารูปไว้ล่วงหน้าก็ถูกทิ้งเช่นกัน

.jpg)
แหล่งตัดหินอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของภูเขา ส่วนตัวปราสาทอยู่ทางทิศตะวันออก







.jpg)




ร่องรอยการสลักหินด้วยสิ่ว (ภาพจากปราสาทนารายณ์เจงเวง)
การวางผังรูปแปลนของปราสาท ให้หันหน้าตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวันปีใหม่ของ "ปฏิทินมหาศักราช"
ตามที่ได้เขียนเรื่องราวไว้ในบทก่อนๆว่าปราสาทภูเพ็กถูกออกแบบให้ให้เป็นศาสนาสถานและสุริยะปฏิทิน จึงต้องหันหน้าเข้าทิศตะวันออกแท้เพื่อให้แสงอาทิตย์ในวัน "วสันตวิษุวัต" (Vernal equinox) ส่องตรงเข้ายังประตูปราสาท คำถามจึงอยู่ที่ "พวกเขาหาทิศตะวันออกแท้ได้อย่างไร จากการวิจัยด้วยหลักวิชาดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ ผมเห็นวิธีการสองอย่าง กล่าวคือ
วิธีที่หนึ่ง ใช้การเล็งตำแหน่งดาวเหนือให้ได้ทิศ "เหนือแท้" และทำมุมกวาดไปทางขวามือ 90 องศาจะได้ทิศตะวันออกแท้ แต่วิธีนี้จะยากต่อการหาทิศตะวันออกแท้เพราะตำแหน่งของดาวเหนือในยุคนั้นเฉียงไปทางทิศตะวันออกเล็กน้อย

ภาพ graphic จากโปรแกรมดาราศาสตร์ The Starry Night แสดงตำแหน่งดาวเหนือเอียงไปทางทิศตะวันออก เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เพราะแกนโลกแกว่ง ภาษาวิชาการทางดาราศาสตร์เรียกว่า precession of equinox

ตำแหน่งดาวเหนือในปัจจุบันค่อนข้างตรงกับทิศเหนือแท้
วิธีที่สอง ใช้วิธีพร้อตเงาดวงอาทิตย์ (Shadow plot) แบบอียิปส์โบราณ ได้ทดลองไปทำวิธีดังกล่าวที่ปราสาทภูเพ็กโดยใช้เวลาเกือบทั้งวันตั้งแต่เช้าจนบ่ายแก่ๆ ก็ได้ผลครับ สามารถหาทิศตะวันออกแท้ ทิศเหนือแท้ได้โดยไม่ยากเพราะดวงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์การหาทิศที่ชัวร์ที่สุด (ดังในรูป) การทำ shadow plot ใช้อุปกรณ์ง่ายๆคือกระดาษหนึ่งแผ่น กับตะปู หรือวัสดุที่สามารถวางให้ตั้งฉากกับแผ่นกระดาษ ใช้วงเวียนสร้างวงกลมสักสามวงหรือมากกว่านั้นโดยให้ศูนย์กลางอยู่ที่ center ของฐานตะปู เริ่มพล้อตเงาของยอดตะปูตั้งแต่เก้าโมงเช้าและพล้อตทุกๆห้านาทีเพื่อให้ได้เส้น curve พล้อตไปเรื่อยๆจนถึงบ่ายสามโมงจะได้เส้นของเงาดวงอาทิตย์ ให้ลากเส้นตรงเชื่อมระหว่างจุดที่ curve ของช่วงเช้าและช่วงบ่ายแตะกับวงกลม เราจะได้เส้นแสดงทิศตะวันออกแท้กับทิศตะวันตกแท้

วางแผ่นกระดาษบนพื้นราบเรียบ

Step 1 เริ่ม plot เงาดวงอาทิตย์ตั้งแต่เก้าโมงเช้า และ plot ไปเรื่อยๆทุกๆห้านาทีเพื่อให้ได้เส้น curve

พอถึงบ่ายสามโมงจะได้เส้น curve ให้ลากเส้นตรงเชื่อมระหว่างจุดตัดของ curve กับวงกลม จะได้เส้นตรงหลายเส้นที่ขนานกัน (ดังภาพ) เส้นตรงเหล่านี้คือทิศตะวันออกแท้ (Due East) ตะวันตกแท้ (Due West)

ส่วนทิศเหนือก็หาได้โดยทำเส้นตรงตั้งฉากกับเส้นตะวันออก - ตะวันตก การหาทิศตะวันออกแท้ด้วยวิธีนี้มีความแม่นยำสูงและง่าย ชาวอียิปส์ก็ใช้วิธีนี้ในการวางแปลนสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น ปีรามิดและสฟิงส์

ภาพขยายให้เห็นขั้นตอนการทำ shadow plot เพื่อหาทิศทั้งสี่ Step 1 เริ่ม plot ตั้งแต่เช้าเงาดวงอาทิตย์ชี้ไปทางทิศตะวันตก (ตรงกันข้ามกับตำแหน่งดวงอาทิตย์)

Step 2 พอเข้าช่วงบ่ายเงาดวงอาทิตย์เริ่มคล้อยไปทางทิศตะวันออก


Step 3 บ่ายแก่ๆเงาดวงอาทิตย์คล้อยไปทางทิศตะวันออกจนเกือบสุดทาง ให้ลากเส้นตรงระหว่างจุดตัดของเงาดวงอาทิตย์กับวงกลมแต่ละวง ( A and B) นี่คือแนวทิศ Geographic East - Geographic West สังเกตว่าทุกเส้นจะต้องขนานกันเพื่อยืนยันว่าเราทำได้ถูกต้องแล้ว

Step 4 จับฉากจากแนว E - W จะได้แนวเส้น N - S เป็นรูปกากบาท
แสดงขั้นตอน shadow plot เพื่อวาง floorplan ของปราสาทภูเพ็ก


.jpeg)


.jpeg)
พิสูจน์การกำหนดแนว East - West โดยใช้เงาดวงอาทิตย์ในวัน "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) 21 March 2012 ....... วันนี้ เงาดวงอาทิตย์เป็นเส้นตรงจะยิ่งง่ายต่อการทำ shadow plot
.jpg)
การทำ shadow plot ในวัน vernal equinox 21 Mar 2012 ที่ปราสาทภูเพ็ก เพื่อตรวจสอบทิศตะวันออกแท้
.jpg)

เงาของดวงอาทิตย์ในวัน equinox เป็นเส้นตรงในแนว East - West ขนานกับแปลนของปราสาทภูเพ็ก
.jpg)
การเคลื่อนของเงาดวงอาทิตย์ขนานกับตัวปราสาทภูเพ็ก ในแนว East - West
.jpg)
การวางแนวทิศทั้งสี่จาก shadow plot
.jpeg)
.jpg)
การทำ shadow plot ทั้งสองครั้งที่ปราสาทภูเพ็กได้ผลตรงกัน

เชื่อว่าการวางแนวตัวปราสาทให้ตรงกับ alignment East - West น่าจะมาจากการทำ shadow plot

แนวกำแพงของปราสาทภูเพ็กซึ่งได้จากผลของการทำ Shadow Plot

แนวกำแพงด้านทิศตะวันตกเรียงตัวในพิกัด North - South

แนวกำแพงด้าทิศตะวันตกที่เพิ่งก่อได้นิดเดียวแต่ผู้รับเหมาทิ้งงานไปเสียก่อน

ได้ใช้วิธีเดียวกันนี้กับการออกแบบก่อสร้างอาคารที่วัดคำประมงซึ่งเป็นอโรคยาศาลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง อำเภอพรรณานิคม สกลนคร

ดึงเชือกตามแนว East - West ให้ได้เส้นตรง

เมื่อถึงวัน "วิษุวัต" (equinox) ลองทดสอบเล็งตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้นและตกเพื่อยืนยันความถูกต้องของแนว East - West

เชื่อว่าการก่อสร้างแนวกำแพงและคูน้ำของปราสาทขอมอื่นๆก็ใช้วิธีเดียวกันนี้
.jpg)
วิธีนี้ช่วยให้การวางแปลนตัวปราสาทตรงกับทิศทั้งสี่อย่างแม่นยำ โดยประตูปราสาทด้านทิศตะวันออกจะตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" กลางวันเท่ากับกลางคืน ดวงอาทิตย์ขึ้นที่ทิศตะวันออกแท้ และตกที่ทิศตะวันตกแท้ (Vernal equinox 21 มีนาคม และ Autumnal equinox 23 กันยายน)
.jpg)

.jpg)
ภาพบนดวงอาทิตย์ขึ้นที่ทิศตะวันออกแท้ตรงกับกึ่งกลางประตูปราสาท และภาพล่างดวงอาทิตย์ตกที่ทิศตะวันตกแท้กึ่งกลางผนังของห้องปรางค์ (ห้องครรภคฤหะ) ทั้งสองภาพถ่ายในวัน "วสันตวิษุวัต" ปี 2554



ใช้เชือกโยงระหว่ารอยขีดกลางธรณีประตูด้านทิศตะวันออกไปยังรอยขีดที่กำแพงด้านทิศตะวันตก เป็นเส้นตรง E - W
.jpg)
รอยขีดที่ธรณีประตู ตรงกับรอยขีดที่ผนังด้านทิศตะวันตก เป็นตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในวัน "วิษุวัต"
.jpg)

.jpg)

ถ้าปราสาทภูเพ็กสร้างเสร็จตามโครงการ ดวงอาทิตย์ยามเช้าของปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (21 มีนาคม) จะตรงกับกึ่งกลางประตูพอดี
GPS แสดงทิศตะวันออกแท้ (due east) หรือ วิษุวัต (equinox) มุมกวาด Azimuth 90 องศา ที่ธรณีประตูทิศตะวันออก
.jpg)
GPS ยืนยันว่ารอยขีดที่พื้นและผนังประตูทิศเหนือ รวมทั้งท่อโสมสูตร ชี้ไปที่ "ทิศเหนือแท้" (True North) หรือ Azimuth 0.00 องศา
.jpg)
รอยขีดที่พื้นหินหน้าประตูหลอกด้านทิศใต้ แสดง GPS 180 องศา
.jpg)
เงาดวงอาทิตย์อัสดง (sunset) ในปรากฏการณ์ vernal equinox ชี้ตรงกับรอยขีดที่ผนังประตูทิศตะวันตก
.jpg)
ใช้เงาของไม้เป็นตัวชี้ว่า sunset ตรงกับรอยขีดแสดงทิศตะวันตกแท้ (due west) ที่ผนังประตู

.jpg)

ดูจากฐานแปลนของตัวปราสาทจะเห็นว่ามีช่องหน้าต่างให้แสงอาทิตย์ส่องเข้ามาในราศีต่างๆตามปฎิทินมหาศักราช


ปฏิทินมหาศักราชต้นแบบของการก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก ให้ตรงกับดวงอาทิตย์ในช่วงเวลาของราศีที่เป็นเดือนต่างๆ
การขยายผลเทคโนโลยีขอมพันปีไปยังการวางแปลนก่อสร้างอโรคยาศาล วัดคำประมง สกลนคร
วิธีเดียวกันนี้ได้ทำ shadow plot เพื่อกำหนดแนวทิศตะวันออกแท้ให้แก่แปลนก่อสร้างสถาบันญาณสิทธิธรรมโอสถบำบัด ในบริเวณอโรคยาศาล วัดคำประมง อ.พรรณานิคม สกลนคร ซึ่งเป็นสถานที่รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งดำเนินการโดยท่านหลวงตาวัลลภ ในการนี้หลวงตามีความประสงค์จะให้ตัวอาคารดังกล่าวจำลองปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" ของปราสาทภูเพ็ก โดยให้แสงอาทิตย์ยามเช้าของวันดังกล่าวส่องตรงเข้ามายังองค์พระนาครัตนโพธิสักกมหาธาตุ



.jpg)

เริ่มทำ shadow plot ตั้งแต่เช้าวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 โดยให้คุณประสาท ตงศิริ ที่ปรึกษาอาวุโสของหอการค้าจังหวัดสกลนครเป็นผู้บันทึกข้อมูล และหลวงตาวัลลภนั่งกางร่มให้กำลังใจอยู่ข้างหลัง ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณหมอศิริโรจน์ กิตติสารพงศ์ ซึ่งเป็นแพทย์อาสาสมัครดูแลผู้ป่วยในอโรคยาศาล
.jpg)
ได้ curve เงาดวงอาทิตย์สวยงามพร้อมกับแนวทิศตะวันออกแท้
.jpg)

วันที่ 23 กันยายน 2549 ตรงกับปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" (Autumnal equinox) ดวงอาทิตย์ขึ้นที่ทิศตะวันออกแท้ และตกที่ทิศตะวันตก แท้ หลวงตาวัลลภท่านขอตรวจสอบความถูกต้องโดยใช้วิธี "เชิงประจักษ์"

หลวงตาวัลลภยืนถ่ายภาพการยืนยันความถูกต้องของแนวทิศตะวันออกแท้ของแปลนก่อสร้าง เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2549


เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2550 ได้ไปร่วมพิธีตอกเสาเข็มอาคารดังกล่าว (ขณะนั้นเป็นเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสกลนคร)

ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ในการอบรมครูคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หลักสูตร "ปฏิบัติการอีราโต้สทีเนส" วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว ก็ใช้วิธี Shadow Plot เป็นส่วนหนึ่งของการอบรม
.jpg)
ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติจริงในการทำ Shadow Plot

อุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรมฝึกปฏิบัติ Shadow Plot ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ผู้เข้าอบรมฝึกทำนาฬิกาแดดซึ่งจะวางให้ตรงกับตำแหน่ง Geographic North ที่หาได้จากการทำ Shadow Plot
การวางฐานรากตัวปราสาท
เป็นที่ทราบดีว่าปราสาทหลังนี้สร้างด้วยหินทรายล้วนๆมีน้ำหนักมากจึงจำเป็นต้องวางฐานรากให้มั่นคง จากการสังเกตบริเวณขอบที่พื้นดินผมเห็นหินวางยื่นออกมาเหมือนฐานแผ่ (ดูภาพ) ทำให้เชื่อได้ว่าสิ่งนี้คือฐานรากที่อยู่ใต้ดินเพื่อรองรับน้ำหนักลักษณะเดียวกับการเทคอนกรีตเป็นฐานแผ่รองรับเสาของบ้านในปัจจุบัน พวกเขาน่าจะเริ่มต้นด้วยการเคลียร์พื้นที่และขุดลงไปในดินจนถึงระดับที่เป็นดินแน่นหรือเจอชั้นหิน ทำการปรับหน้าดินให้ราบเรียบด้วยสายตา และใช้อุปกรณ์ท่อไม้บรรจุน้ำ (ดังภาพ) ทำหน้าที่เหมือนสายยางตรวจสอบแนวระดับ
การตรวจสอบแนวระนาบ
สามารถทำได้ 2 วิธี
วิธีที่ 1
สมัยนั้นยังไม่มีสายยางจับระดับน้ำ แต่ก็สามารถผลิตอุปกรณ์ง่ายๆเป็นกระบอกบรรจุน้ำใช้งานได้อย่างดีโดยดูจากระดับน้ำที่ปลายท่อสองข้างต้องเท่ากัน

.jpeg)
.jpeg)
อุปกรณ์ทำด้วยกระบอกไม้บรรจุน้ำใช้จับระดับ

ขุดหน้าดินลงไปจนถึงชั้นดินดานที่แข็ง

ใช้อุปกรณ์จับระดับ

.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
วางก้อนหินชั้นแรกและจับระดับ

วางก้อนหินซ้อนขึ้นไปเรื่อยๆตามที่ต้องการพร้อมกับการจับระดับ


ได้ฐานรากที่แข็งแรงและได้ระดับ
.jpeg)
สร้างตัวปราสาทบนฐานรากพร้อมกับการจับระดับน้ำเพื่อให้มั่นใจว่าถูกต้องกับแนวระนาบ
วิธีที่ 2 ใช้ลูกดิ่งและจับฉาก ตามทฤษฎีเรขาคณิตบทที่หนึ่ง ...... เส้นตรงเส้นหนึ่งตั้งอยู่บนเส้นตรงอีกเส้นหนึ่ง มุมประชิดรวมกันเท่ากับสองมุมฉาก
Step 1 ขุดเปิดหน้าดินลงไปจนถึงดินแข็งและปรับแต่งให้ราบเรียบด้วยสายตา
Step 2 ใช้ลูกดิ่ง และเชือกขึงระหว่างเสาสองต้น เอาไม้ฉากตรวจสอบว่าได้ระดับ "มุมฉากหรือไม่" ถ้ายังไม่ใช่ก็ต้องขยับเชือกข้างใดข้างหนึ่ง

เมื่อขยับเชือกจน "ได้ฉาก" ทั้งสองข้างแล้วแสดงว่าได้ระดับถูกต้อง

การทดสอบจับระดับแนวระนาบโดยใช้เชือกและวัตถุถ่วงน้ำหนัก

ทดสอบกับปราสาทขอมที่บ้านปรางค์ ตำบลบ้านปรางค์ อำเภอคง นครราชสีมา

วางก้อนหินให้ตรงกับแนวระดับ

วิธีนี้สามารถทำได้ระยะทางยาวตามต้องการแต่ต้องตรวจสอบทุกจุดให้แน่ใจว่า "ตั้งฉาก"
.jpg)
.jpg)
แสดงฐานแผ่ส่วนที่โผล่เหนือดิน ขนาดกาลเวลาผ่านไปนานเกือบพันปีตัวปราสาทยังตั้งอยู่อย่างมั่นคงไม่มีวี่แววว่าจะทรุดตัว เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าฐานรากต้องมั่นคงชนิดชัวร์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าพูดตามภาษาราชการปัจจุบัน สตง. หรือ ปปช. ชิดซ้ายไปเลยโครงการนี้ไม่มีนอกไม่มีในทุกอย่างแข็งแรงมั่นคง



กาลเวลาผ่านนับพันปีปราสาทหลังนี้ก็ยังมีรูปทรงมั่นคง ไม่มีร่องรอยของการทรุดตัวให้เห็นแม้แต่น้อยแสดงว่าฐานรากมีความแข็งแรงอย่างยิ่ง
การตรวจสอบแนวดิ่ง
วิธีนี้ทำได้ง่ายด้วยเชือกกับลูกดิ่ง




.jpg)
ระดับน้ำยืนยันว่าฐานรากของปราสาทยังคงได้ระนาบกับพื้นโลก
.jpg)
ลูกดิ่งแสดงว่าตัวปราสาทยังคงตั้งฉากกับพื้นโลก
.jpg)
ลูกดิ่งยืนยัน Vertical Line แสดงว่าตัวปราสาทยังคงเสถียรเหมือนพันปีที่แล้ว
วิธีการทำให้ผนังตัวปราสาทมีความแข็งแรง
นี่ถ้าผู้ออกแบบชาวขอมโบราณผู้สร้างปราสาทภูเพ็กฟื้นขึ้นมาได้จะทำเรื่องขออนุมัติให้สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเสนอปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาฟิสิกส์ เพราะดูแล้วพวกเขาใช้ความรู้วิชาฟิสิกส์ขั้นเทพ ลองมาดูกันชัดๆครับว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง
การยึดหินในส่วนที่อยู่ด้านนอกของผนัง
ใช้วิธีเข้าเดือยโดยบากที่ขอบก้อนหินเป็นรูปตัวที และใช้โลหะทำเป็นสลักยึดหินสองก้อนเข้าหากันเพื่อให้เกิดความแข็งแรงและป้องกันการหลุดหล่น
.jpg)

เห็นก้อนหินที่ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจำนวนมากวางระเกะระกะอยู่ข้างตัวปราสาท แต่ยังไม่ได้ยกขึ้นไปประกอบ เมื่อพิจารณาจะเห็นวิธการเข้าเดือยเป็นรูปตัวทีเพื่อยึดให้หินสองก้อนติดกันอย่างแน่นหนา
.jpg)
.jpg)
จากหลักฐานที่พบทำให้ทราบว่าการเข้าเดือยเพื่อยึดหินจะทำในส่วนที่เป็นโครงสร้างที่อยู่ตามรอยขอบ ดังตัวอย่างในภาพนี้
.jpg)
หินสองก้อนนี้อยู่ตรงขอบข้างบน ตอนก่อสร้างคงวางติดกันแต่ด้วยกาลเวลาจึงแยกออกดังที่เห็น
.jpg)
การเข้าเดือยระหว่างหินสองก้อนโดยใช้แผ่นโลหะเป็นรูปตัวที แต่แผ่นโลหะสูญหายไปแล้ว หรือว่ายังไม่ทันได้ใส่ก็ต้องทิ้งงานเสียก่อน
.jpg)
แท่งโลหะสำหรับยึดหินให้ติดกัน
.jpg)
แท่งโลหะรูปตัว I-shape พบที่ปราสาทเมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี ภาพและข้อมูลจากจาก ดร.ตุ้ม Chatchawas Ktipipatphon ขอบคุณมากครับ
.jpg)

ตัวอย่างที่ปราสาทตาพรม เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา (แต่แผ่นโลหะที่ใช้ยึดหลุดหายไปแล้ว)
.jpg)
.jpg)
เทคโนโลยีวิธีการยึดหินแบบนี้เกิดขึ้นนับพันปีแล้ว ไม่ทราบว่าพวกเขาถ่ายทอดความรู้กันอย่างไร ดังตัวอย่างที่โบราณสถานชื่อ Puma Punku ที่ประเทศโบลิเวีย
การตอกลิ่มเพื่อให้เกิดแรงดันด้านข้าง (Side stress) และการเข้ารูปที่จุดเชื่อมต่อตามหลักวิชาฟิสิกส์ วิธีตอกลิ่มเป็นการเพิ่มแรงดันตามสูตรของท่าน "อาร์คีมิดีส" ทำให้เกิดการเบียดตัวออกด้านข้างภาษาวิศวกรรมเรียกว่า Side stress ทำให้ผนังส่วนนี้มีความแน่น
.jpg)

.jpg)
.jpg)

.jpg)

.jpg)

.jpg)
.jpg)

เป็นการตอกสลักเพื่อให้เกิดแรงดันบนและล่างในแนวตั้ง (vertical stress)
.jpg)
การเข้ารูปหินก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้มีการจับตัวกันอย่างแข็งแรง
.jpg)

.jpg)

การวางเสาประตูใช้วิธีสลักหินให้เป็นรูปสามเหลี่ยมประกบกันเพื่อให้เกิดหน้าสัมผัสที่มากขึ้นและเป็นการกระจายแรงออกไปด้านข้าง
การแกะสลักลวดรายต่างๆบนผนังปราสาท
การที่ปราสาทภูเพ็กสร้างไม่เสร็จและถูกทิ้งร้างโดยไม่มีการแกะสลักลวดลายแม้แต่ชิ้นเดียว เป็นหลักฐานที่ทำให้เห็นชัดว่าปราสาทขอมสร้างโดยใช้หินทรายมาก่อเรียงตัวเป็นรูปปราสาทให้เรียบร้อยก่อน และค่อยแกะสลักลวดลายต่างๆภายหลังโดยมีการออกแบบขนาดและรูปร่างของก้อนหินให้สอดคล้องกับรูปที่จะแกะสลัก
ปราสาทภูเพ็กสร้างไม่เสร็จและถูกทิ้งร้างจึงไม่มีลวดลายอะไรให้เห็นแม้แต่ชิ้นเดียว
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)

.jpg)

แสดงวิธีการแกะสลักลวดลายบนผนังปราสาทขอม
.jpg)
เปรียบเทียบระหว่างประตูหลอกของปราสาทนารายณ์เจงเวงที่มีการสลักลวดลาย กับประตูหลอกของปราสาทภูเพ็กที่ยังไม่ได้สลักอะไร
.jpg)
ก่อกำแพงรอบตัวปราสาท
พบว่าได้มีการเริ่มก่อกำแพงด้านทิศตะวันตก แต่ทำได้เพียงฐานรากและทิ้งงานไปเสียก่อน
.jpg)
.jpg)
ซุ้มประตูทางขึ้นตัวปราสาท
พบว่าตรงบันไดขั้นสุดท้ายมีร่องรอยการสลักหินเหมือนกับเตรียมที่จะติดตั้งซุ้มประตู ผมจึงจินตาการโดยใช้ซุ้มประตูของปราสาทพระวิหารเป็นต้นแบบ คาดว่าน่าจะเป็นรูปพญานาค (ดูภาพประกอบ) ผิดถูกอย่างไรคงต้องกลับชาติไปพิสูจน์หรือให้ผู้ที่มีพลังทางจิตเข้าทรงดูว่าคิดถูกหรือไม่
.jpg)
พบว่าที่แท่นหินตรงบันไดขั้นสุดท้ายมีรอยสลักเป็นมุมฉาก เหมือนจะต้องมีอะไรมาตั้งใส่ตรงนี้
.jpg)

จินตนาการว่าน่าจะเป็นเศียรพญานาค โดยเอาตัวอย่างจากปราสาทพระวิหาร
.jpg)

ทางขึ้นด้านล่างก็มีกองหินเป็นบริเวณกว้าง อาจจะเป็นอีกจุดหนึ่งที่มีเศียรพญานาคเป็นซุ้มประตู
.jpg)
ซุ้มประตูของปราสาทพระวิหาร
บันไดทางเดินขึ้นตัวปราสาท
เป็นสไตล์ของปราสาทขอมที่ต้องมีทางเดินขึ้นในทิศที่ตรงกับหน้าปราสาท ในกรณีของปราสาทภูเพ็กถูกออกแบบให้หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้ บันไดทางขึ้นจึงต้องอยู่ทางทิศตะวันออกเช่นกัน โดยมีความยาวประมาณ 500 เมตร เริ่มต้นที่ระดับความสูง +383 เมตร จากระดับน้ำทะเล และสิ้นสุดที่ระดับความสูง +520 เมตร จากระดับน้ำทะเล จากสภาพที่เห็นในปัจจุบันยืนยันชัดเจนว่า "ยังก่อสร้างไม่เสร็จ"
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)

.jpg)
เทคนิคการสร้างขั้นบันไดมีทั้งวิธีตัดก้อนหินเป็นชิ้นๆแล้วนำมาวางเรียงกัน และสลักขั้นบันไดลงบนหินก้อนใหญ่
.jpg)
หินก้อนใหญ่บางก้อนก็เพิ่งสลักได้นิดเดียว
.jpg)
บันไดขั้นสุดท้ายเป็นหินก้อนขนาดใหญ่ ก็มีร่องรอยสกัดได้นิดเดียว
.jpg)

เปรียบเทียบระหว่างบันไดขอม (ซ้ายมือ) กับบันไดปัจจุบัน (ขวามือ)
เทคนิคการวางก้อนหินเป็นขั้นบันไดในพื้นที่ลาดชัน
.jpeg)

เทคนิคการวางก้อนหินเพื่อสร้างขั้นบันไดขึ้นสู่ที่ลาดชั้น ต้องวางก้อนหินให้มีมุมเงยจากแนวระนาบ

กาลเวลาผ่านไปนับพันปีขั้นบันไดก็ยังอยู่ในสภาพดี
.jpeg)
การวางก้อนหินเป็นขั้นบันไดโดยเอียงเป็นมุมเงยเล็กน้อยจากแนวระนาบทำให้ง่ายต่อการปีนขึ้นพื้นที่พื้นที่ลาดเท
.jpeg)
ทฤษฏีการแตกแรงออกไปด้านข้างตามหลักการของท่านอาร์คีมีดีสเพื่อให้ขั้นบันไดมีความมั่นคงไม่จมลงในดิน
ถ้าก่อสร้างได้เสร็จตามโครงการ ....... ปราสาทหลังนี้จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ?
ประเด็นนี้ยังคงเป็นปริศนาที่ไม่มีใครฟันธง จึงต้องใช้จินตนาการเอาเองผิดถูกอย่างไรก็ต้องกลับชาติไปพิสูจน์กันเอาเองละคราบ แต่ดูจากฐานรากของ Main Chamber พบว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้างและยาว 552 ซม หรือ 5.52 เมตร ใหญ่กว่าปราสาทพิมายซึ่งมีขนาดของห้อง 437 ซม (552 - 437 = 115 ซม) ดังนั้นถ้าสร้างเสร็จจริงๆยอดปราสาทภูเพ็กก็ต้องสูงกว่าของปราสาทพิมาย
.jpg)
ปราสาทภูเพ็กถูกทิ้งงานไว้เพียงครึ่งเดียวและไม่มีใครสานต่อให้แล้วเสร็จ .... เป็นที่มาของตำนาน "อรดีมายา" ผู้หญิงชนะผู้ชายในการแข่งขันสร้างปราสาทเพื่อให้ได้พระอุรังธาตุไปประดิษฐาน
.jpg)
จินตนาการเอาเองว่าถ้าสร้างเสร็จจะสวยงามแบบนี้ ..... ผิดถูกอย่างไรขอให้ท่านผู้ชมตัดสินเอาเองนะคราบ
.jpg)
หรือว่าเป็นแบบนี้ ?


โปรโมทการท่องเที่ยวด้วย Selfie
.jpg)
จินตนาการโคปุระและตัวปราสาทอาจจะเป็นแบบนี้ก็ได้
.jpg)
ทางเดินขึ้นและซุ้มประตูอาจจะมีหน้าตาแบบนี้
.jpeg)
.jpeg)
ทางเดินขึ้นปราสาทภูเพ็กยาวทั้งสิ้นประมาณ 500 เมตร
.jpg)
การวัดระยะทางของทางเดินขึ้นปราสาทภูเพ็ก
.jpg)
ขนาดของห้อง Main Chamber ปราสาทภูเพ็ก 552 Cm x 552 Cm

ขนาดของห้อง Main Chamber ปราสาทพิมาย 437 Cm x 437 Cm ยืนยันโดย อจ.จำนงค์ แพงเพ็ง ผู้ทรงคุณวุฒิของ อ.พิมาย
.jpg)
การวัดขนาดห้อง main chamber ของปราสาทพิมายโดยคณะเจ้าหน้าที่อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
.jpg)
ข้อมูลขนาดของปราสาทพนมรุ้งจัดให้โดยหัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง คุณพิมพ์นารา กิจโชติประเสริฐ เมื่อคราวที่ไปร่วมบรรยายพิเศษเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2561
นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามกำลังวัดขนาดห้อง main chamber ปราสาทภูเพ็ก ได้ตัวเลข 5.52 m x 5.52 m
.jpg)
.jpg)
การวัดขนาดห้อง main chamber ของปราสาทภูเพ็ก โดยคณะนักศึกษาปริญาโทมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
.jpeg)
ภาพถ่ายทางอากาศปราสาทภูเพ็กกับขนาดกว้าง 22 เมตร ยาว 40 เมตร
.jpg)
เปรียบเทียบขนาดระหว่างปราสาทภูเพ็ก ปราสาทพิมาย และปราสาทพนมรุ้ง
.jpg)
ถ้าปราสาทภูเพ็กสร้างเสร็จอาจจะมีรูปร่างแบบนี้ (จากจิตนาการ) และเป็นปราสาทยุคขอมเรืองอำนาจใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
.jpeg)
เปรียบเทียบปราสาทภูเพ็ก ยาว 40 เมตร กับ ปราสาทพระวิหาร กัมพูชา ยาว 26 เมตร

เปรียบเทียบขนาดความสูงของประตูห้องครรภคฤหะ ปราสาทพระวิหาร 2.20 เมตร กับปราสาทภูเพ็ก 3.65 เมตร
สรุป
เชื่ออย่างจริงๆว่าผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก "ไม่ธรรมดา" พวกเขาใช้ความรู้ทางวิศวกรรมในระดับ "ชั้นเทพ" ทำให้ปราสาทหลังนี้ยืนตากแดดตากฝนร่วมพันปีอย่างไม่สะทกสะท้าน และยังไม่มีวี่แววว่าจะล้มลงมา ผิดกับสิ่งก่อสร้างของเราๆท่านๆในยุคปัจจุบันที่มีข่าวเนืองๆว่าทรุดที่นั่นทรุดที่นี่ จึงมีคำกล่าวที่ค่อนข้างเสียดแทงใจว่า ..........เทคโนโลยีปัจจุบัน ฤา จะเทียบชั้นกับวันวาน

.jpg)
.jpg)