แกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
ปราสาทพนมบาเค็ง (Phnom Bakheng) ตั้งอยู่บนยอดภูเขา 75 เมตร จากระดับน้ำทะเล ใกล้ๆกับปราสาทนครวัด และเมืองนครธม จังหวัดเสียมราช ประเทศกัมพูชา สร้างในสมัยของพระเจ้ายะโสวรมันที่ 1 พ.ศ. 1432 - 1453 เป็นศาสนาสถานฮินดูถวายแด่พระศิวะ จากศิลาจารึกภาษาสันสกฤตพบที่ปราสาทสด๊อกก๊องธม จังหวัดสระแก้ว กล่าวว่าเมื่อ "ศรียโสวรธานา" ขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า "ยะโสวรมัน" พระองค์มีพราหมณ์ชื่อ "วามะศิวะ" ซึ่งได้ประดิษฐานศิวะลึงค์ไว้บนยอดภูเขา "ศรียะโสธาระคีรี" เปรียบเมือนเขาพระสุเมรอันศักดิ์สิทธิ์เป็นที่สถิตของเหล่าทวยเทพ ในที่นี้ศิวะลึงค์ (Royal Linga) เป็นสัญลักษณ์ของการปกครองโดยระบอบ "กษัตริย์สมมุติเทพ" ริเริ่มโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ปฐมกษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรขอม เมื่อปี พ.ศ. 1346
พระเจ้ายโสวรมันที่ 1 เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรขอมในลำดับที่ 4 นับจากการก่อตั้งโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ดังนี้
1345 ชัยวรมันที่ 2
1378 ชัยวรมันที่ 3
1420 อินทรวรมันที่ 1
1432 ยะโสวรมันที่ 1
ผลงานเด่นๆของพระเจ้ายะโสวรมันที่ 1 ได้แก่ การก่อสร้างเมืองหลวงใหม่คือ ยะโสธรปุระ, บารายตะวันออก (ปัจจุบันตื้นเขินจนแทบหมดสภาพกลายเป็นทุ่งนา แต่ก็ยังพอเห็นรูปร่างโดยดูจากภาพถ่ายทางอากาศ) และผลงานที่แน่ก็คือ "ปราสาทพนมบาเค็ง"


ภาพถ่ายดาวเทียมของปราสาทพนมบาเค็ง


ปราสาทพนมบาเค็งมีรูปทรงเป็นปีรามิดสี่เหลี่ยมขั้นบันได 5 ชั้น โดยชั้นล่างสุดมีขนาด 76 x 76 ตารางเมตร ลดหลั่นไปเรื่อยๆจนถึงชั้นบนสุด 47 x 47 ตารางเมตร มีบันไดขึ้นสี่ด้าน มีปรางขนาดเล็กรายล้อมอยู่ตามชั้นต่างๆรวมทั้งสิ้น 108 แท่ง


แผนที่แสดงที่ตั้งของปราสาทพนมบาเค็ง อยู่ใกล้ๆกับปราสาทนครวัดและเมืองนครธม จังหวัดเสียมราช ประเทศกัมพูชา
ปราสาทพนมบาเค็ง ลอกแบบมาจากปราสาท "บากอง" ที่เมืองหลวงเก่าของอาณาจักรขอมชื่อว่า "โรโล่ย" เป็นปราสาทรูปทรงปีรามิดขั้นบันไดสี่เหลี่ยม

ภาพเปรียบเทียบรูปทรงระหว่างปราสาทพนมบาเค็งกับปราสาทบากอง

แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งของปราสาทพนมบาเค็ง กับปราสาทบากอง ห่างกันประมาณ 16 กิโลเมตร


ผมไปเก็บข้อมูลที่ปราสาทบากองตอนเย็น พบว่าปราสาทหลังนี้มีการออกแบบให้หันหน้าเข้าหาทิศตะวันออกแท้ และมีขีดแสดงทิศอยู่ที่พื้นหิน


แกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
จากการที่ได้ไปสำรวจและเก็บข้อมูลที่ปราสาทหลังนี้ถึงสามครั้งก็พบหลักฐาน "ดาราศาสตร์" ที่เกี่ยวข้องกับ "ปฏิทินมหาศักราช" ซึ่งใช้ในประเทศอินเดียและเผยแพร่มายังอาณาจักรขอม ปฏิทินฉบับนี้มีความผูกพันกับศาสนาฮินดูอย่างลึกซึ้งเพราะวันสำคัญทางศาสนาถูกกำหนดไว้ชัดเจน อนึ่งปฏิทินมหาศักราชเริ่มต้นครั้งแรกโดยชาวอารยันในดินแดนอัฟกานีสถาน และเข้ามาครอบครองอินเดียตอนเหนือเมื่อสามพันกว่าปีที่แล้ว อิทธิพลของชาวอารยันทำให้อินเดียเกิดศาสนาพราหมณ์และฮินดู อีกทั้งทำให้ชาวอินเดียภาคเหนือมีรูปร่างสูงใหญ่ผิวขาวเหมือนชาวยุโรป




ผมขอให้ไก้ด์ทัวร์ชาวกัมพูชาเป็นพรีเซนเตอร์ชี้ที่สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ที่พื้นหินบนปราสาทพนมบาเค็ง



เมื่อซูมภาพจะเห็นขีดบนพื้นหินแสดง "ทิศทั้งสี่" (The 4 Cardinals) ตามหลักดาราศาสตร์ แต่ผู้คนและนักท่องเที่ยวทั่วไปไม่ได้สังเกตได้แต่เดินผ่านไปผ่านมา จริงๆแล้วทางการกัมพูชาน่าจะอนุรักษ์ร่องรอยนี้ไว้โดยกั้นคอกไม่ให้คนเดินเหยียบ หรือไม่ก็ใช้กระจกปิดไม่ให้เลือนหายจากการกัดเซาะของน้ำฝน

นี่ก็มีรอยขีดชัดเจน แต่ทำท่าจะเลือนลางเพราะการกัดเซาะของน้ำฝน


สัญลักษณ์ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในราศีสำคัญ (สุริยะปฏิทิน) เหมือนกับที่ปราสาทภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร




ใช้เข็มทิศจับตำแหน่งทางดาราศาสตร์ที่หน้าประตูปราสาท และที่ฐานโยนี


ขณะที่นักท่องเที่ยวคนอื่นๆกำลังสาละวนกับทัศนียภาพของปราสาท ผมกลับต้องวุ่นอยู่กับการใช้อุปกรณ์ จีพีเอส ในการหาตำแหน่งทางดาราศาสตร์








ฐานโยนีที่ "พุทธคยา" ประเทศอินเดียก็ชี้ที่ทิศเหนือเพราะนั่นคือตำแหน่งของเขา "พระสุเมร"
.jpg)

ฐานโยนีที่ปราสาทนารายณ์เจงเวง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ก็ชี้ที่ทิศเหนือเพราะดูจากรางน้ำศักดิ์สิทธิ์ของท่อ "โสมสูตร"


ฐานโยนีที่ปราสาทบันทายศรี เมืองเสียมราช ก็ชี้ไปที่ทิศเหนือ



ฐานโยนีที่ปราสาทบายน ก็ชี้ทิศเหนืออีกเช่นกัน



ชาวฮินดู และชาวพุทธนิกายมหายาน เชื่อว่าขั้วโลกเหนือเป็นที่ตั้งของเขาพระสุเมร ดังนั้นฐานโยนีต้องชี้ไปที่นั่น


ผมใช้เครื่องมือจับทิศดาราศาสตร์ทั้ง "เข็มทิศแม่เหล็ก" และอุปกรณ์ "จีพีเอส" เพื่อยืนยันความถูกต้องทำให้แน่ใจว่าปราสาทหลังนี้ถูกสร้างให้สอดคล้องกับหลักการดาราศาสตร์ และปฏิทินมหาศักราช ซึ่งวันปีใหม่ (วันแรกของเดือนไจตระ) ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงหน้าประตูพอดี ศิวะลึงค์จะเรืองอร่ามด้วยแสงอาทิตย์ยามเช้าเหมาะแก่การทำพิธีสำคัญของศาสนาฮินดู



ปราสาทพนมบาเค็ง จุดชมวิวยอดฮิต "อาทิตย์อัสดง" ของนักท่องเที่ยว



ถ้าจะขึ้นไปชมปราสาทพนมบาเค็ง ท่านต้องมีร่างกายแข็งแรงระดับหนึ่งนะคร้าบ


ทัศนียภาพอันสวยงามรอบปราสาทพนมบาเค็ง



จากยอดปราสาทพนมบาเค็งสามารถมองเห็นปราสาทนครวัดอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้





โคนันทิ พาหนะของพระศิวะแสดงให้เห็นว่าปราสาทหลังนี้สร้างเพื่อถวายแด่พระศิวะ
สรุป
จากหลักฐานทางดาราศาสตร์ที่พบบนปราสาทพนมบาเค็ง สอดคล้องกับปฏิทินมหาศักราช ซึ่งใช้ข้อมูลปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เป็นตัวกำหนดวัน แสดงให้เห็นชัดเจนว่าผู้สร้างมีเจตนาให้ตัวปราสาททำมุมกับดวงอาทิตย์ในวันสำคัญคือ "วสันตวิษุวัต" (Vernal equinox) ซึ่งหมายถึงวันแรกของเดือนไจตระ ปัจจุบันตรงกับวันที่ 21 มีนาคม เพื่อให้พราหมณ์ได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น พิธีราชาภิเษก