เปิดประเด็นใหม่ในความเห็นส่วนตัวถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมพบ "ฤกษ์อโรคยาศาล" โรงพยาบาลชุมชน
ถ้าจังหวัดสกลนครประกาศตัวเป็นเมืองแห่งสมุนไพร "พฤกษเวชนคร" ก็น่าจะถือฤกษ์ตามจารึกอโรคยาศาล โรงพยาบาลโบราณที่ใช้สมุนไพรบวกกับความเชื่อในการรักษาผู้ป่วย
อโรคยาศาลคืออะไร
เป็นโรงพยาบาลในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724 - 1761) ราวแปดร้อยกว่าปีที่แล้ว มีทั้งหมด 102 แห่ง กระจายทั่วอาณาจักรขอม และที่พบในภาคอีสานประเทศไทยมี 30 แห่ง อ้างอิงจากวารสารเมืองโบราณ ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฏาคม - กันยายน 2547

แผนที่ภาคอีสานแสดงตำแหน่งที่ตั้งอโรคยาศาลทั้ง 30 แห่ง
1.ปราสาทเมืองเก่า ตำยลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
2.ปราสาทบ้านปราสาท ตำบลเมืองปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนคราชสีมา
3.ปรางค์พลสงคราม ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
4.ปรางค์กู่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
5.ปรางค์กู่ ตำบลบ้านเต่า อำเภอบ้านแท่าน จังหวัดชัยภูมิ
6.กู่แก้ว ตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
7.กู่ประภาชัย ตำบลบังใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
8.กู่แก้วบ้านจีต ตำบลบ้านจีต กิ้งอำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี
9.กู่พันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
10.กู่บ้านเขวา ตำบลเขวา อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม
11.ปรางค์กู่ ตำบลมะอี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
12.กู่สัตรัตน์ ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
13.กู่โพนระฆัง ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
14.กู่คันธนาม ตำบลยางคำ อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด
15.ปราสาทจอมพระ ตำบลจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
16.ปราสาทสระกำแพงน้อย ตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
17.ปราสาทเฉนียง ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
18.ปราสาทบ้านช่างปี่ ตำบลช่างปี่ อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
19.ปราสาทบ้านสมอ ตำบลสมอ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
20.ปราสาทกังแอน ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
21.ปราสาทตาเมือนโต๊จ ตำบลตาเมียง กิ่งอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
22.กุฏิฤาษีบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
23.กุฎิฤาษีหนองบัวราย ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
24.ปราสาทบ้านโคกงิ้ว ตำบลประคำ อำเภอประคำ จังหวัดนครราชสีมา
25.ปรางค์ครบุรี ตำบลครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
26.ปรางค์สระเพลง ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
27.ปรางค์บ้านปรางค์ ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
28.กุฎิฤาษี ตำบลพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
29.กุฎิฤาษี ตำบลหนองเยือง อำเภอบ้านใหม่ชัยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์
30.ปราสาทนางรำ ตำบลนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
วิธีการรักษาโรคของอโรคยาศาล
เป็นที่ทราบดีว่ายุคนั้นยังไม่มียารักษาโรคแผนปัจจุบันมีเพียงยาที่ทำจากสมุนไพร ดังตัวอย่างจากจารึก "ปราสาทตาเมือนโต๊จ" จังหวัดสุรินทร์ (จากหนังสือ จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร พ.ศ.2528)
1.ผลตำลึง
2.กฤษณา
3.ขี้ผึ้ง
4.น้ำผึ้ง
5.ข้าวบาลีย์
6.ดีปลีผง
7.บุนนาค
8.จันทร์เทศ
9.การบูร
10.ผลกระวานเล็ก
11.กำยาน
12.เกลือ
13.มหาหิงค์
14.เหลือบ
15.ยางสนขัด
16.ผลกระวานใหญ่
17.ขิงแห้ง
18.พริกไทยขาว
19.ผักทอดยอด (เข้าใจว่าน่าจะเป็นสมุนไพรประเภทเถาวัลย์)
20.อบเชย
21.กระเทียม
22.มิตรเทวะ
23.พริกขี้หนู
24.พุทรา
25.น้ำดอกไม้ (น่าจะเป็นน้ำที่ได้จากการต้มดอกไม้ที่เป็นยา ........ ดอกกัญชา?)
ขณะเดียวกันก็ต้องผสมผสานกับเรื่องของความเชื่อและความศัทธาในพุทธศาสนาเพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจต่อสู้กับโรค โดยมีพระไภษัชยคุรุซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าแห่งการรักษาโรคเป็นสัญลักษณ์ในอโรคยาศาล
"กัญชา" คือหนึ่งในตัวยา
จากการเข้าอบรม "กัญชาทางการแพทย์" ระหว่าง 25 - 26 เมษายน 2561 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร ได้ฟังบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญการแพทย์คือ Dr.Gunther Hintz President Medicorp Canada และแพทย์หญิงอรพรรณ์ เมธาดิลกกุล จากสมาคมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการใช้ "กัญชา" เป็นยารักษาโรคในยุคสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เมื่อวิเคราะห์บัญชีตัวยาจากคำแปลจารึกอโรคยาศาลไม่พบคำว่า "กัญชา" แต่มีคำว่า "น้ำดอกไม้" ในส่วนตัวเชื่อว่านี่คือการเอา "ดอกกัญชา" ไปทำให้เป็นน้ำด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับดื่มรักษาโรค และเชื่อว่าองค์ความรู้นี้ได้มาจากชาวจีนที่เข้ามาค้าขายในอาณาจักรอังกอร์
ภาพสลักนูนต่ำเป็นรูป "ใบกัญชา" ที่ประตูปราสาทพระขันท์ (Prasat Phra Khan) สร้างในยุคสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 บริเวณโบราณสถานเมือง Siem Reap คนโบราณในยุคนั้นอาจเรียก "กัญชา" ด้วยคำศัพท์ที่สวยหรูว่า "ดอกไม้" (ขอบคุณภาพจากไกด์ Prapaporn Matda)
ภาพวาด "ดอกกัญชา" กับภาพสลัก "ดอกกัญชา" บนเสาหินที่ปราสาทพระขันท์ กัมพูชา
ภาพสลักที่ปราสาทพระขรรค์แสดงดอกกัญชาและพระฤาษี น่าจะหมายถึง "ตัวยาสมุนไพร" และ "แพทย์"
เข้าร่วมโครงการอบรมกัญชาศาสตร์ รุ่นที่ 1 ในโควต้าหอการค้าจังหวัดสกลนคร ถ่ายภาพร่วมกับท่านประธานหอการค้าสกลนคร คุณเศกสรร ชนาวิโชติ ที่บริเวณตึกอำนวยการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร
ป้ายแขวนคอ "อบรมหลักสูตรกัญชาศาสตร์" (Cannabis Science) 25 - 26 เมษายน 2561
การบรรยายประวัติการใช้กัญชาเป็นยารักษาโรคโดย Dr.Gunther Hintz President of Medicorp Canada ท่านยืนยันว่าในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีการใช้ "กัญชา" ในโรงพยาบาลที่เรียกว่า "อโรคยาศาล"
Dr.Gunther Hintz มีประสบการณ์ยาวนานจากการทำงานใน Cambodia จึงรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้กัญชาในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
พิธีเปิดการอบรมโดยผู้บริหารอวุโสจากสำนักงาน ปปส.
ตำราที่ใช้ในการอบรม
ประชุมกลุ่มย่อยในช่วงบ่ายวันที่ 26 เมษายน 2561 เพื่อจัดตั้งเครือข่ายการวิจัย "กัญชารักษาโรค" นำโดยแพทย์หญิงอรพรรณ์ เมธาดิลกกุล จากสมาคมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย
พระไภษัชยคุรุ พระพุทธเจ้าแห่งการรักษาโรค ให้ผลทางจิตใจของผู้ป่วย
.jpg)
อโรคยาศาลบ้านพันนา ต.พันนา อ.สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ณ ที่นี้ก็นี้ก็ต้องมีการใช้ "น้ำดอกไม้" ในการรักษาโรค
หลายท่านคงเคยอ่านเรื่องราวของ "อโรคยาศาล" หรือโรงพยาบาลชุมชนที่สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ในแง่มุมของวัตถุประสงค์การรักษาพยาบาลแก่ประชาชนผู้ทุกข์ยาก หรือแง่มุมของศิลปะในการก่อสร้าง ตลอดจนเรื่องของความเชื่อในเทพเจ้า คราวนี้จะขอเปิดประเด็นใหม่เกี่ยวกับข้อความปรากฏในจารึกหน้าที่ 3 บรรทัด 7- 8 กล่าวว่า
"ทุกปี สิ่งเหล่านี้ควรถือเอาจากคลังของพระราชาสามเวลา แต่ละอย่างควรให้ในวันเพ็ญ เดือนไจตระ และพิธีศารท ในกาลที่พระอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ" (จากคำแปลเป็นภาษาไทยโดยผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร)

ปกหน้าของหนังสือ "จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7"

ปกในหนังสือ "จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7" มีลายเซ็นของผมระบุว่าซื้อที่กรุงเทพเมื่อ 7 Dec 2001

ภาพถ่ายหลักศิลาจารึกพบที่ปราสาทตาเมียนโตจ ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เกี่ยวกับเรื่องราวอโรคยาศาล

คำแปลภาษาไทยในโศลกที่ 3 กล่าวว่า ...... สิ่งบูชานี้พึงรับได้จากคลังของพระราชาสามเวลา แต่ละอย่างควรให้ในวันเพ็ญเดือนไจตระ และในพิธีศารท ในกาลที่พระอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ
วิเคราะห์ได้ความหมายว่า การเบิกของเข้าโรงพยาบาลในแต่ละปีต้องกระทำใน "วันเพ็ญ เดือนไจตระ" ตามปฏิทินมหาศักราชที่ใช้อยู่ในอาณาจักรขอม เดือนไจตระเป็นเดือนเริ่มต้นของปี (เหมือนเดือนมกราคมของปฏิทินปัจจุบัน) เมื่อรวมความหมายของข้อความ "วันเพ็ญ" และ "พิธีศาทร" และ "ในกาลที่พระอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ" ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า การเบิกของจากท้องพระคลังจะต้องเริ่มต้นนับจากวัน "วสันตวิษุวัต" กลางวันเท่ากับกลางคืน และดวงอาทิตย์ขึ้นที่ทิศตะวันออกแท้ (Vernal equinox) ปัจจุบันตรงกับวันที่ 21 มีนาคม และรอคอยให้ถึงปรากฏการณ์ "วันเพ็ญ" (ขึ้น 15 ค่ำ) ซึ่งตอนนั้นดวงอาทิตย์จะเริ่มคล้อยไปทางทิศเหนือแล้ว เทียบกับปฏิทินปัจจุบันก็คงอยู่ในราวๆปลายเดือนมีนาคม และต้นหรือกลางเดือนเมษายน แสดงว่าอาณาจักรขอมใช้ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ดังกล่าวเป็นตัวชี้วันเริ่มต้นของ "ปีงบประมาณ" ให้มีการเบิกจ่ายสิ่งของจากท้องพระคลังไปใช้ในกิจการต่างๆ ด้วยเหตุผลนี้อโรคยาศาลจำนวนมากจึงหันหน้าเข้าทิศตะวันออกแท้ หรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้ตรงกับปรากฏการณ์ "วิษุวัต" และ "วันเพ็ญ" แห่งเดือน "ไจตระ และพิธีศารท"
อนึ่ง จารึกยังกล่าวถึง "พิธีสาทร" ตีความว่าหมายถึง "ศารทวิษุวัต" (autumnal equinox) กลางปีของปฏิทินมหาศักราช ปัจจุบันตรงกับวันที่ 23 กันยายน ดังนั้นเมื่อรวมกับประโยค "เมื่อกาลที่พระอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ" น่าจะหมายถึง ...... ขึ้น 15 ค่ำ ก่อนวันที่ 23 กันยายน
ดังนั้น เมื่อรวมความทั้งประโยคของจารึกที่กล่าวว่า "วันเพ็ญเดือนไจตระ และในพิธีศารท ในกาลที่พระอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ"
น่าจะหมายถึงการให้เบิกสิ่งของจากคลังหลวงปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
ครั้งที่ 1 ขึ้น 15 ค่ำ หลังวสันตวิษุวัต (21 มีนาคม)
ครั้งที่ 2 ขึ้น 15 ค่ำ ก่อนศารทวิษุวัต (23 กันยายน)
ผมเป็นนักเรียนเก่าจากประเทศอินเดียเรียนอยู่ที่ Wilson College Bombay University 1969 - 70 และ Punjab Agricultural University 1970 - 74 จึงคุ้นเคยกับปฏิทินมหาศักราช (Saka Calendar) เป็นอย่างดีเพราะเป็นปฏิทินของทางราชการอินเดีย

ปฏิทินมหาศักราช มีเดือนไจตระ (Chaitra) เป็นเดือนแรกของปี และวันที่ 1 ของเดือนนี้ตรงกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืน ปัจจุบันตรงกับวันที่ 21 มีนาคม ปฏิทินมหาศักราชก็ใช้ในยุคอาณาจักรสุโขทัย

ไดอารี่ของ Punjab Agricultural University India 1974 ที่ใช้ขณะเป็นนักศึกษาปี 4 (Final Year) ก็ระบุวันที่ 1 เดือน Chetra (Chaitra) ตรงกับ 22 March 1974 (normal year เดือน Chetra มี 30 วัน) เป็นวันขึ้นปีใหม่ของศักราช 1896 (Saka 1896)

ดวงอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ
ดวงอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือในวันเพ็ญเดือนไจตระ

วันเพ็ญแห่งเดือนไจตระ

ปฏิทินมหาศักราช ที่วันแรกของเดือนไจตระเป็นวันปีใหม่ ตรงกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "วสันตวิษุวัต" กลางวันเท่ากับกลางคืน เทียบกับปฏิทินปัจจุบันตรงกับวันที่ 21 หรือ 22 มีนาคม (ถ้าปีใดมี 366 วัน เดือนไจตระจะมี 31 วัน ก็ให้ตรงกับ 21มีนาคม)

แผนที่ Google Earth ที่ตั้งอโรคยาศาล บ้านพันนา ต.พันนา อ.สว่างแดนดิน สกลนคร
.jpg)
แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งของปราสาทอโรคยาศาลบ้านพันนา ที่บ้านพันนา ต.พันนา อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ทางทิศใต้ของถนนหลวงสกลนคร อุดรธานี (ทางหลวงหมายเลข 22)
.jpg)

ปราสาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นักโบราณคดีเรียกชื่อว่า อโรคยาศาล ทั่วราชอาณาจักรมีจำนวนทั้งสิ้น 102 แห่ง และหนึ่งในนั้นอยู่ที่ บ้านพันนา ต.พันนา อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
.jpg)
ปราสาทของอโรคยาศาลสร้างด้วยวัสดุศิลาแลงเป็นส่วนใหญ่และมีเพียงบางส่วนเป็นหินทราย ส่วนอาคารอื่นๆ เช่น ที่พักผู้ป่วย ที่พักพนักงาน อาคารเก็บยาและวัสดุ สร้างด้วยไม้จึงพุพังไปตามกาลเวลาไม่เหลือให้เห็นแม้แต่หลังเดียว
.jpg)
ตามสภาพที่เห็นในปัจจุบันไม่มีรูปสลักเหลืออยู่เพราะทำด้วยปูนฉาบ (Stucco) ซึ่งผุพังและหลุดไปตามกาลเวลา ตรงลูกศรชี้เป็นร่องรอยที่เหลืออยู่ของปูนฉาบ

สระน้ำด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอโรคยาศาลบ้านพันนา


โคปุระด้านทิศตะวันออกของปราสาทบ้านพันนา

สภาพภายในตัวปราสาทที่ปรากฏในปัจจุบัน
.jpg)
ฐานที่ตั้งของรูปเคารพอย่างใดอย่างหนึ่งภายในตัวปราสาทอยู่ในสภาพหักพัง
ปราสาทของอโรคยาศาลบ้านพันนา ต.พันนา อ.สว่างแดนดิน สกลนคร ....... ในมุมมองดาราศาสตร์
จากการสำรวจด้วยเข็มทิศแม่เหล็ก และอุปกรณ์ GPS พบว่าตัวปราสาทหันหน้าไปที่มุมกวาด 90 องศาจากทิศเหนือ (Azimuth 90) ตรงกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "วิษุวัต" (equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืน วันนี้ดวงอาทิตย์ขึ้นที่ตำแหน่งทิศตะวันออกแท้และตกที่ทิศตะวันตกแท้ ปัจจุบันตรงกับวันที่ 21 มีนาคม (วสันตวิษุวัต vernal or spring equinox) และ 23 กันยายน (ศารทวิษุวัต autumnal or fall equinox) ถ้าเป็นปฏิทินมหาศักราชก็ตรงกับวันแรกของเดือนไจตระและเดือนอัศวินะ ตามลำดับ
การวางตัวของปราสาทตามทิศทั้งสี่


อุปกรณ์ application Compass แสดงค่าการวางตัวของปราสาทที่มุมกวาด 90 องศาตรงกับดวงอาทิตย์ขึ้นเช้าตรูในปรากฏการณ์ "วิษุวัต"

สุริยะวิถีกับตัวปราสาทในปรากฏการณ์ "วิษุวัต"

วางเข็มทิศแม่เหล็กและเครื่อง GPS ณ รอยขีดที่พื้นหิน แสดงค่าตรงกันที่มุมกวาด 90 องศา หรือตะวันออกแท้
.jpg)
Application Compass วางที่องค์ปรางค์ แสดงค่ามุมกวาด 90 องศา หรือทิศตะวันออกแท้
.jpg)
Application compass ที่โคปุระ ก็แสดงค่ามุมกวาด 90 องศา หรือทิศตะวันออกแท้
เปรียบเทียบกับอโรคยาศาลปราสาทตาพรม เกล (Ta Prohm Kel) ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับปราสาทนครวัด ที่เมือง Siem Reap ประเทศกัมพูชา ก็พบว่าปราสาทตาพรม เกล ก็หันหน้าไปทางมุมกวาด 90 องศา เช่นกัน
.jpg)
เข็มทิศแสดงมุมกวาด 90 องศา ที่ปราสาทตาพรมเกล
.jpg)
เป็นที่น่าสังเกตว่ารูปสลักพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธในยุคของพระเจ้าชัยวรวันที่ 7 ถูกทำลาย (เชื่อว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 )
.jpg)
ไปสำรวจปราสาทหลังนี้เมื่อปลายปี 2014 พบว่าไม่ค่อยอยู่ในสายของนักท่องเที่ยวจึงไม่มีการดูแลรักษามากนัก
ปราสาทนางรำ เป็นอโรคยาศาล อีกหนึ่งแห่งที่ อ.ประทาย โคราช พบว่าปราสาทหลังนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นเดียวกับอโรคยาศาล กู่บ้านเขวา ที่ อ.เมือง จ.มหาสารคาม และปราสาทตาเมือนโต๊จ จังหวัดสุรินทร์



ปราสาทนางรำ อ.ประทาย โคราช




กู่บ้านเขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม
.jpg)
ปราสาทตาเมือนโต๊จ จังหวัดสุรินทร์
บทส่งท้าย
จากข้อมูลที่พบในปราสาทอโรคยาศาลบ้านพันนา สกลนคร ปราสาทตาพรม เกล เมือง Siem Reap ปราสาทนางรำ โคราช และกู้บ้านเขวา มหาสารคาม มีข้อมูลว่าสองแห่งแรกหันหน้าไปที่ทิศตะวันออกแท้ ส่วนอีกสองหลังหันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ก็แสดงว่าผังแปลนของอโรคยาศาลมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวันแรกของเดือนใจตระ หรือ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) ปัจจุบันตรงกับวันที่ 21 มีนาคม และ "ศารทวิษุวัต" (autumnal equinox) 23 กันยายน
ปราสาทอีกจำนวนหนึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เหมือนกับคำจารึกอโรคยาศาลที่กล่าวว่า "วันเพ็ญเดือนไจตระ และพิธีสารท ในกาลที่พระอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ" ดังนั้น เมื่อดวงอาทิตย์เข้าสู่ตำแหน่ง "วสันตวิษุวัติ" เจ้าหน้าที่ประจำอโรคยาศาลก็ต้องเตรียมตัวเพื่อรอให้ถึง "วันเพ็ญ" เพื่อจะได้ไปเบิกสิ่งของต่างๆจากท้องพระคลังหลวง ...... ถ้าเป็นยุคปัจจุบันเราๆท่านๆที่เป็นข้าราชการย่อมรู้ดีว่านี่คือ ....... การเริ่มต้นปีงบประมาณแผ่นดิน
อนึ่ง เป็นที่ทราบอย่างกว้างขวางในวงราชการและเอกชนของจังหวัดสกลนครว่าเป้าหมายการพัฒนาให้เป็น "เมืองแห่งสมุนไพร" กำลังมาแรงจนถึงกับมีคำพูดว่า เราจะเป็น "พฤกษเวชนคร" ดังนั้นจึงเสนอว่าวันสำคัญของกิจกรรมนี้น่าจะตรงกับ "วันเพ็ญเดือนใจตระ และวันเพ็ญในพิธีศาทร" ของทุกๆปี เช่น
.jpg)
ปฏิทินแสดงฤกษ์อโรคยาศาลตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2571
จำลองปรากฏการณ์ "วันเพ็ญเดือนไจตระ" ปี พ.ศ.2561 ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม
.jpg)
เริ่มนับจากปรากฏการ "วสันตวิษุวัต" (Vernal Equinox) 21 มีนาคม 2561 จนถึงวันเพ็ญ (ขึ้น 15 ค่ำ) เดือนไจตระ ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม 2561 หรือ 10 Chaitra Saka 1940

ภาพจำลองปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ตามจารึกอโรคยาศาลปี พ.ศ.2561 (ตรงกับปฏิทินมหาศักราช 1940) วันเพ็ญเดือนใจตระ ในกาลที่พระอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม 2561 หรือวันที่ 10 Chaitra Saka 1940

ภาพถ่าย ณ สุริยะปฏิทินจักรราศี หนองหาร สกลนคร ของปรากฏการณ์ "วัญเพ็ญ เดือนไจตระ ในกาลที่พระอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ" ตรงกับคืนวันที่ 31 มีนาคม 2561 (10 Chaitra Saka 1940) และเช้าวันที่ 1 เมษายน 2561 (11 Chaitra Saka 1940)
.jpg)
วันเพ็ญเดือนไจตระตรงกับปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" 20 - 21 มีนาคม 2551 ภาพถ่าย ณ ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร ปรากฏการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นทุกๆรอบ 11 ปี และครั้งต่อไปจะเกิดขึ้น 20 - 21 มีนาคม 2562
.jpg)
วันเพ็ญตรงกับเดือนไจตระที่ปราสาทภูเพ็กอีกคำรบหนึ่ง 21 มีนาคม 2562
ปี 2568 (2025) ฤกษ์อโรคยาศาลตรงกับวันมหาสงกรานต์พอดี

