โลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
จริงๆแล้วทุกตารางนิ้วของแผ่นดินเป็นโลกล้านปีทั้งหมด ไดโนเสาร์ก็เดินเพ่นพ่านไปทั่วโลกไม่จำกัดบริเวณแห่งใดแห่งหนึ่ง แต่ที่มีการค้นพบมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศนั้นๆ เช่น รัฐเทคซัส และรัฐโอคลาโฮม่า สหรัฐอเมริกา มีซากฟอสซิลอยู่ใต้พื้นดินตื้นๆ หลายแห่งเกลื่อนกลาดตามผิวดินจนลานตาไปหมดจนแทบจะเอามาขว้างหัวเล่น ที่เกาะทัสมาเนีย ตอนใต้ของประเทศออสเตเรียก็เช่นเดียวกัน มีซากฟอสซิลสัตว์และพืชในทะเลจากยุค “เปอร์เมี่ยน” ซึ่งเคยเป็นทะเลตื้นๆ เมื่อ 300 ล้านปี กระจัดกระจายตามข้างถนนใครอยากได้ก็ไปเก็บเอาตามใจชอบ แอ่งสกลนครก็เช่นกันมีซากฟอสซิลกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ฟอสซิลไดโนเสาร์ และไม้กลายเป็นหิน ........ ภาษาอีสานเรียกว่า "หลายโพด บ่อึ้ด"
.jpg)


เดือนเมษายน 2554 ไปสำรวจแหล่งฟอสซิลที่เมือง Avant รัฐ Oklahoma สหรัฐอเมริกา ก็พบซากฟอสซิลหอยและสัตว์ทะเลอื่นๆจำนวนมาก
.jpg)
ผมไปเดินหาซากฟอสซิลตามข้างถนนที่รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา และที่เกาะทัสมาเนีย ประเทศออสเตเรีย ดูแล้วทั้งสองแห่งน่าจะเป็นฟอสซิสในยุคเปอร์เมี่ยน ราวๆ 250 - 300 ล้านปี เพราะสิ่งที่พบเหล่านั้นล้วนเป็นสัตว์และพืชทะเล
หินที่เกิดจากการตกตะกอนของน้ำที่เกาะทัสมาเนีย ออสเตเรีย
ฟอสซิลที่เกาะทัสมาเนีย ออสเตเรีย หาง่ายมากเพราะหล่นเกลื่อนกลาดอยู่ตามข้างถนน
ฟอสซิลที่เกาะทัสมาเนีย ออสเตเรีย เป็นหอย ปลา และพืชทะเล จากยุคเปอร์เมี่ยน ในมหายุคพาเลโอโซอิก
ฟอสซิลที่เมือง Fort Worth รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ที่พบตามข้างถนนเป็นหอยทะเล เข้าใจว่าเป็นยุคเปอร์เมี่ยน เช่นเดียวกันกับที่เกาะทัสมาเนีย ออสเตเรีย
ฟอสซิลหอยบางชิ้นซ่อนตัวอยู่ในก้อนหิน ต้องเปิดออกมาจึงจะเห็นข้างในเป็นรูปร่างชัดเจน
แอ่งสกลนคร คืออะไร
แอ่งสกลนคร เป็นชื่อทางวิชาการทางธรณีวิทยา หมายถึงแผ่นดินที่อยู่ระหว่างแม่น้ำโขง กับเทือกเขาภูพาน ประกอบด้วยจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร อุดรธานี และหนองคาย แต่ถ้ามองภาพรวมทั้งภาคอีสานเราเรียกพื้นที่นี้ว่า “ที่ราบสูงโคราช” ประกอบด้วยแอ่งสกลนคร และแอ่งโคราช แผ่นดินทั้งหมดนี้เคยเป็นทะเลมาก่อนใน “มหายุคพาเลโอโซอิก” ราว 300 ล้านปี และถูกดันขึ้นมาเป็นแผ่นดิน “มหายุคมีโซโซอิก” ราว 245 – 65 ล้านปี ไดโนเสาร์ชนิดต่างๆล้วนเกิดขึ้นในมหายุคนี้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ยุคไทรแอสซิก ยุคจูแรสซิก และยุคครีเทเซียส จากการศึกษาทางธรณีวิทยาพบว่าพื้นที่แอ่งสกลนครน่าจะเกิดขึ้นในยุค “ครีเทเซียส” ราว 120 ล้านปีที่แล้ว






รอยเท้าไดโนเสาร์บนพื้นหินทรายตามภาพนี้ พบที่ริมถนน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ไม่ห่างจากแม่น้ำโขงเท่าไหร่ การเกิดรอยเท้าแบบนี้มีโอกาสน้อยกว่าหนึ่งในล้านเพราะต้อง บังเอิญจริงๆ จำลองเหตุการณ์ได้ดังนี้ ไดโนเสาร์ลงไปเดินในพื้นดินนุ่มๆที่ริมแม่น้ำ ทำให้เกิดรอยเท้าในพื้นดินและทันใดนั้นก็มีตะกอนของแม่น้ำมาทับถมรอยเท้า นานๆเข้าตะกอนดินก็ทับถมหนาขึ้นจนรอยเท้าจมอยู่ใต้ดินลึก ร้อยล้านปีต่อมาทั้งหมดกลายเป็นหินและถูกดันขึ้นมาบนพื้นดินในยุค "เทอเชียรี่" (ตอนต้นของมหายุคซีโนซีอิก) ประมาณ 50 ล้านปีที่แล้ว ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ได้รับงบประมาณยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ฟอสซิลไดโนเสาร์เกิดขึ้นได้อย่างไร
ฟอสซิลไม่ใช่กระดูกแต่เป็นแร่ธาตุที่ซึมเข้าไปแทนที่กระดูกทำให้กลายเป็นหิน การเกิดฟอสซิลนั้นยากมากโอกาศเพียงหนึ่งในล้าน เพราะทันทีที่ไดโนเสาร์ตายร่างของมันต้องตกลงไปในน้ำ ส่วนที่เป็นเนื้อถูกกัดแทะโดยสัตว์ต่างๆหรือเน่าเปื่อยตามธรรมชาติ ขณะที่ตะกอนของน้ำก็ทยอยทับถมร่างนั้นให้จมลึกลงไป นานๆเข้าแร่ธาตุที่อยู่ในตะกอนดินจะค่อยๆซึมเข้าไปในกระดูกจนทำให้กลายเป็นหิน ดังนั้น หากเอาฟอสซิลมาเปรียบเทียบกับกระดูกจะเห็นความต่างชัดเจน กระดูกมีรูพรุนมากมาย แต่ฟอสซิลเป็นเนื้อแน่นไม่มีรูพรุน มีน้ำหนักเหมือนหิน ถ้าพูดกันตรงๆก็เป็นหินดีๆนี่แหละ ฟอสซิลเหล่านี้ถูกฝังลึกอยู่ใต้ดิน นานนันร้อยล้านปี ต่อมาใน “มหายุคซีโนเซอิก” ราว 60 – 50 ล้านปีที่แล้ว แผ่นดินถูกดันขึ้นมาเป็นภูเขาทำให้ฟอสซิลบางส่วนขึ้นมาอยู่ตื้นๆตามเนินเขา และถูกน้ำกัดเซาะจนโผล่ให้เห็นตามผิวดิน สังเกตได้ว่าจุดที่พบฟอสซิลมักจะเป็นบริเวณเนินเขา

ฟอสซิลแต่งต่างจากกระดูก (ดังตัวอย่างในภาพ) เพราะฟอสซิลเป็นหินที่เกิดจากการสะสมของแร่ธาตุที่เข้าไปแทนที่กระดูกจึงมีเนื้อแน่น (ไม่มีรูพรุนเหมือนกระดูก)
.jpg)
ผมไปชมฟอสซิลที่ Natural Museum เมือง Norman รัฐ Oklahoma USA ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะครับ
Natural Museum แห่งนี้ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอคลาโฮม่า
ตามหา “ฟอสซิล” ที่จังหวัดสกลนคร 4 กรกฏาคม 2553
เมื่อพูดถึงฟอสซิลใครๆก็นึกถึงพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ที่กาฬสินธุ์ และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ในความเป็นจริงจังหวัดสกลนครก็เต็มไปด้วยสิ่งเหล่านี้เพียงแต่ยังไม่ได้มีการค้นหาอย่างจริงๆจังๆ ดังนั้น ทีมงาน “พยัคฆ์ภูเพ็ก” ซึ่งประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น วิศวกรในร่างของฤาษีเอก อมตะ นายแพทย์ นักพิภพวิทยา และศิลปินเพื่อชีวิต จึงต้องรับอาสาทำหน้าที่นี้ไปพลางๆก่อน จนกว่าจะได้ผู้เชี่ยวชาญด้าน “บรรพชีวินวิทยา” ตัวจริงเสียงจริงเข้ามาเทกโอเว่อร์ภารกิจนี้อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามแม้ว่าสมาชิกทีมงานจะไม่ได้ร่ำเรียนวิชาบรรพชีวินวิทยาโดยตรง แต่หลายคนก็จบการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ มีข้อมูลด้านชีววิทยา ฟิซิกส์ เคมี และธรณีวิทยา อยู่พอสมควร จึงพอที่จะนำข้อมูลมาให้แฟนๆของคอลั่มนี้ได้สัมผัสแบบถ่ายทอดสด
ทีมงานได้รับทราบจากผู้นำท้องถิ่นว่าบริเวณเชิงเขาใกล้ๆปราสาทภูเพ็กมีฟอสซิลไดโนเสาร์อยู่หลายแห่ง มีคนเคยมาเก็บไปขายเพื่อทำมวลสาร “จาตุคาม” เมื่อทราบเช่นนี้จึงได้รีบรุดไปดูสถานที่ดังกล่าวทันที เมื่อไปถึงพบว่าภูมิประเทศเหมาะแก่การค้นหาฟอสซิลอย่างมากเพราะเป็นเชิงเขาพื้นที่ลาดชัน มีร่องรอยการกัดเซาะของน้ำอย่างชัดเจน และที่น่าสนใจหินที่พบเป็นหินตะกอนจากยุค “เมโซโซอิก” เข้าสะเป็กของการเกิดฟอสซิล ใช้เวลาไม่นานก็พบฟอสซิลจำนวนหนึ่งกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นดิน และฝังตัวอยู่ตื้นๆ แต่เนื่องจากทีมงานไม่ใช่เจ้าหน้าที่ธรณีวิทยา ประกอบกับบริเวณนี้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน จึงไม่สามารถที่จะขุดค้นอย่างจริงๆจังๆ ได้แต่ขุดแคะเล็กๆน้อยๆตามซอกหิน และพื้นดินที่สงสัยว่าจะมี แม้ว่าจะยังไม่พบฟอสซิลที่มีรูปร่างทั้งตัวอย่างครบถ้วน แต่ก็ได้หลักฐานยืนยันว่าที่นี่เป็นแหล่งไดโนเสาร์เมื่อร้อยกว่าล้านปีที่แล้วอย่างแน่นอน
.jpg)



ฟอสซิลที่พบจะเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยซึ่งเกิดจากการกัดเซาะและเคลื่อนไหลตามกระแสน้ำทำให้แตกเป็นชิ้นๆ

เป็นที่น่าสังเกตว่า ฟอสซิลอันขวามือสุดมีลักษณะเหมือนซี่โครงมีส่วนที่ป่องออกมาตรงกลาง ตามหลักการแพทย์แล้วนี่คือกระดูกที่เคยหักมาก่อนแล้วเชื่อมต่อภายหลังจึงป่องออกมาตรงรอยต่อ แสดงว่าไดโนเสาร์ตัวนี้อาจจะต่อสู้กันหรือตกลงมาจากที่สูง ทำให้บาดเจ็บกระดูกซี่โครงหัก
.jpg)
ภาพขยายให้เห็นชิ้นส่วนฟอสซิล แท่งขวามือสุดน่าจะเป็นส่วนซี่โครงที่เคยหักและสมานกลับคืนทำให้เป็นรอยโป่ง

.jpg)
ทีมงานได้พบเขี้ยวไดโนเสาร์พันธุ์กินเนื้อติดอยู่ในก้อนหิน จึงพูดกันเล่นๆว่าไอ้ตัวนี้แหละที่ไปไล่กัดเขาจนกระดูกซี่โครงหัก และในที่สุดมันเองก็พบจุดจบกลายเป็นฟอสซิลเช่นกัน



ฟอสซิลชิ้นนี้น่าจะเป็นกระดูกขาหลังท่อนบนที่เรียกว่า "ฟีเม่อร์" ของไดโนเสาร์ชนิดกินเนื้อตัวขนาดกลางๆ






ไม้กลายเป็นหิน (Petrified Woods)
ภูเขาที่บ้านภูตะคาม ตำบลท่าศิลา อำเภอส่องดาว สกลนคร มีซากไม้กลายเป็นหินเกือบทั้งภูเขา วันที่ 3 - 4 มีนาคม 2561 ดร.สพสันติ์ เพชรคำ และ ดร.หมู ปูริดา และคณะนำนักศึกษาเอกวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา ม.ราชภัฏสกลนคร ไปฝึกงานภาคสนามที่หมู่บ้านดังกล่าว ผมในฐานะที่ปรึกษาก็ร่วมเดินทางไปด้วยเพราะทราบดีว่าที่นั่นมีแหล่ง "ไม้กลายเป็นหิน" สามารถมองเห็นได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณลำธารที่น้ำไหลลงมาจากยอดภูเขาเนื่องจากซากเหล่านั้นถูกน้ำกัดเซาะให้ไหลมารวมกัน จากการใช้ GPS จับระดับความสูงพบว่าตีนภูเขาอยู่ที่ +261 เมตร และยอดภูเขาอยู่ที่ระดับ +314 เมตร จากระดับน้ำทะเล จิตนาการตามหลักธรณีวิทยาว่าเมื่อครั้งดึกดำบรรพ์อาจจะเป็นยุค Paleozoic 300 ล้านปี หรือยุค Mesozoic 250 - 65 ล้านปี บริเวณนี้เป็นป่าดงดิบในพื้นที่ราบมีแม่น้ำขนาดใหญ่ไหลผ่านเมื่อต้นไม้ตายลงจะถูกตะกอนจากแม่น้ำทับถมอย่างต่อเนื่องตามหลักการเกิดฟอสซิล (fossilization) กาลเวลาผ่านไปหลายร้อยล้านปีพื้นโลกถูกดันขึ้นมาเป็นภูเขาในยุค Cenozoic ราว 50 ล้านปีที่แล้วทำให้ซากฟอสซิลที่ฝังอยู่ใต้ดินเริ่มโผล่ขึ้นมาในลักษณะชิ้นใหญ่ๆเมื่อถูกน้ำฝนกัดเซาะเป็นเวลานานนับล้านปีทำให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆกระจัดกระจายตามลำธารและบริเวณใกล้เคียง ถ้ามีการขุดค้นอย่างจริงจังน่าจะพบซากไม้กลายเป็นหินขนาดใหญ่ฝังอยู่ใต้ดินอีกจำนวนมาก
.jpg)
เศษที่แตกหักของไม้กลายเป็นหินกระจัดกระจายทั่วไปบนภูเขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณลำธาร
.jpg)
เส้นทางจากหมู่บ้านภูตะคามไปยังภูเขาที่มีซากไม้กลายเป็นหิน
.jpg)
ปีนขึ้นตามเส้นทางจากตีนเขา +261 m ไปสู่ยอดเขา +314 m โดยเกาะติดกับแนวลำธาร
.jpg)
ใช้รถอีแต๊กของชาวบ้านเป็นพาหนะเดินทาง
.jpg)
อาจารย์และนักศึกษารวมพลก่อนปีขึ้นภูเขา
.jpg)
ดร.สพสันติ์ เพชรคำ หัวหน้าทีม เริ่มเก็บภาพซากไม้กลายเป็นหินตามแนวลำธาร
ตัวอย่างชิ้นส่วนไม้กลายเป็นหินที่แตกกระจายเป็นชิ้นเล็กๆมากมายนับไม่ถ้วน
.jpg)
ลำธารที่น้ำไหลลงมาจากยอดภูเขา
.jpg)
บางชิ้นก็ใหญ่ บางชิ้นก็เล็ก
.jpg)
สรรค์สนธิ บุณโยทยาน กับไม้กลายเป็นหินชิ้นใหญ่
.jpg)
ดร.หมู ปูริดา กำลังพิจารณาซากไม้กลายเป็นหิน
.jpg)
กระจัดกระจายทั่วบริเวณ
.jpg)
มีหลายขนาดปะปนกัน
.jpg)
ใช้ GPS จับพิกัดซากไม้กลายเป็นหินก้อนใหญ่ที่ระดับความสูง +280 เมตร
ความเสี่ยงของการถูกทำลาย
ทราบจากชาวบ้านว่ามีนายทุนมากว้านซื้อซากไม้กลายเป็นหินที่มีขนาดใหญ่เอาไปขายเป็นเคื่องประดับสวนของคนมีสะตางค์ จึงน่าจะมีมาตรการป้องกันและสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านว่า "นี่คือสมบัติของแผ่นดิน" ที่ประเมินมูลค่าไม่ได้ และน่าจะอนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงผจญภัยและเป็นองค์ความรู้ของลูกหลาน
ทำไมไดโนเสาร์จึงสูญพันธ์ุ
ถือว่าการสำรวจครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะได้ข้อมูลที่เป็นเนื้อเป็นหนังและยืนยันได้ว่าจังหวัดสกลนคร รวมทั้งแอ่งสกลนครทั้งหมดเป็นแผ่นดินที่เคยมีไดโนเสาร์เดินเพ่นพ่าน หาอยู่หากิน ไล่กัดกัน ออกลูกออกหลานสืบเชื้อสายอย่างต่อเนื่อง จนถึงวาระสุดท้ายเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว ทุกอย่างก็ถึงกาลอวสานและสิ้นสุดมหายุคเมโซโซอิกอย่างเป็นทางการ เปิดศักราชใหม่แก่มหายุคซีโนโซอิกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งเป็นบรรพบุรุษของเราๆท่านๆในปัจจุบัน
หลายท่านอาจตั้งคำถามว่า "ทำไมไดโนเสาร์จึงสูญพันธ์ุ" นักธรณีวิทยาได้ทำการค้นคว้าอย่างต่อเนื่องเจาะลึกทุกแง่มุม ตั้งแต่เรื่องโรคระบาด แผ่นดินไหว ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ฯลฯ ในที่สุดมาลงตัวที่ "ภัยจากอวกาศ" นั่นคือเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้วโลกถูกแอสตีรอยหรือดาวเคราะห์น้อยพุ่งเข้าชนที่บริเวณ "คาบสมุทรยูคาตัน" ประเทศเม็กซิโก ทำให้เกิดฝุ่นพิษกระจายไปทั่วโลกและขณะเดียวกันโลกก็ถูกปกคลุมด้วยฝุ่นจนแสงอาทิตย์ส่องไม่ถึงพื้นทำให้พืชสังเคราะห์แสงไม่ได้ ไดโนเสาร์ก็เลยพลอยสูญพันธ์ุเพราะขาดอาหารที่เกิดจากห่วงโซ่ที่เริ่มต้นจากพืช แต่สัตว์เล็กๆที่เป็นบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถรอดชีวิตเพราะหลบภัยอยู่ตามถ้ำและกินอาหารที่เหลืออยู่ตามพื้นดิน และวิวัฒนาการตามกาลเวลาจนกลายมาเป็นเราๆท่านในปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 4 - 7 สิงหาคม 2558 ผมไปที่เมือง Chichen Itza ประเทศเม็กซิโก ได้เห็นหลักฐานทางธรณีวิทยาซึ่งเป็นผลพวงของแอสตีรอยพุ่งชนโลกที่คามสมุทร Yucatan (ปัจจุบัน Yucatan เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเม็กซิโก) หลักฐานดังกล่าวคือ "หลุมยุบ" (Sinkhole) ที่คนท้องถิ่นเรียกชื่อในภาษาสเปนว่า Cenotes หลุมยุบเหล่านี้มีจำนวนมากมายจนแทบนับไม่ถ้วนกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในดินแดนแถบนี้
.jpg)
ผมไปที่เมือง Chichen Itza ในต้นเดือนสิงหาคมเพื่อปฏิบัติการทางดาราศาสตร์ แต่ก็เก็บข้อมูลเรื่องอื่นๆรวมทั้งเรื่องของ "หลุมยุบ"
.jpg)

.jpg)
คาบสมุทรยูคาตัน ประเทศเม็กซิโก เป็นจุดที่แอสตีรอยพุ่งเข้าชนโลก ภาพถ่ายดาวเทียมด้วยกล้องชนิดพิเศษทำให้เห็นร่องรอยอย่างชัดเจน

หลุมยุบ (Cenotes) กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณคาบสมุทรยูคาตัน
.jpg)
หลุมยุบบางแห่งมีน้ำใสสะอาดกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของท้องถิ่น
.jpg)
หลุมยุบเหล่านี้เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของชาวมายาเพราะที่นี้ไม่มีแม่น้ำและลำธารบนผิวดินเนื่องจากเป็นแหล่งหินปูนขนาดใหญ่ หลุมยุบจึงเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำที่อยู่ใต้ดิน
.jpg)
ชาวมายันได้ใช้หลุมยุบบางแห่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในการประกอบพิธีกรรม เช่น การโยนสิ่งของมีค่าต่างๆได้แก่ทอง หยก สิ่งทอ หม้อ ลงไปในบ่อน้ำ รวมทั้งการสังเวยชีวิตมนุษย์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการบูชาเทพเจ้าแห่งฟ้าฝนที่ชื่อว่า God Chaac
.jpg)
ผมไปดู cenote แห่งนี้ใกล้ๆกับที่ตั้งปีรามิดกูกูลข่าน ที่แหล่งโบราณสถานชิเช่นอีสซ่า
แผนที่แสดงตำแหน่ง Cenotes ในบริเวณโบราณสถาน Chichen Itza
.jpg)
หลุมยุบบางแห่งอยู่ในป่ามีน้ำสีดำๆที่เกิดจากการหมักหมมของอินทรีย์วัตถุ
.jpg)
การเผยแพร่ผลงาน
ผลงานการค้นคว้าครั้งนี้ได้เผยแพร่ให้นักเรียนชั้นมัธยมปลายโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล นำไปจัดนิทรรศการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร ปี 2554 และจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร ตึก 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ตั้งแต่ปี 2560

นักเรียนมัธยมปลายได้รับความรู้เรื่องดึกดำบรรพ์วิทยา
.jpg)
นิทรรศการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เฉลิมพระเกียรติสกลนคร จัดทำโดยนักเรียนมัธยมปลายโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล
.jpg)
พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร ตึก 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
.jpg)
เสนอเรื่องราวยุคดึกดำบรรพ์ของแอ่งสกลนคร
.jpg)
มีการค้นพบซาก Fossil Dinosaur จำนวนมากในบริเวณเชิงภูเขาด้านทิศใต้ของโบราณสถานยุคขอมเรืองอำนาจ (ปราสาทภูเพ็ก)
.jpg)
มีตัวอย่าง Fossil ของจริงที่พบในบริเวณเทือกเขาภูพาน
สรุป
ฟอสซิลไดโนเสาร์มีทั่วโลก เพียงแต่อยู่ลึกอยู่ตื้น บางแห่งก็หาง่ายเพราะอยู่ระดับผิวดิน เช่น แถบทวีปอเมริกาเหนือ และในทะเลทรายมองโกเลีย คนจีนเห็นซากฟอสซิลขนาดใหญ่ในทะเลทรายดังกล่าวเลยจินตนาการว่านี่แหละคือมังกร ภาษาจีนกลางใช้คำว่า "คงหลง" แต่หลายแห่งอยู่ลึกมากจนหาไม่พบ หากทีมงานพบอะไรใหม่ๆจะมารายงานให้ทราบต่อไป ครับผม