อพวช.ชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
 |
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “อีราโตสทีเนส” ที่เป็นการผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ในการคำนวณหาความยาวเส้นรอบวงของโลก ด้วยไม้เพียงแท่งเดียว พร้อมกันนั้น ยังมีการสอนทำนาฬิกาแดดรูปแบบต่างๆ และจัดกิจกรรม “สำรวจฟากฟ้าค่ำคืนวันวิษุวัต” วันที่ 20-21 มีนาคม นี้ ณ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อพวช.) คลองห้า ปทุมธานี ดร.พิชัย สนแจ้ง ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เปิดเผยว่า อพวช. ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “อีราโตสทีเนส” เป็นปีที่สอง เพื่อเปิดโอกาสให้ครูอาจารย์ที่สนใจจากทั่วประเทศได้ร่วมเสริมสร้างการเรียน รู้นอกห้องเรียนผ่านกิจกรรมการทดลองวัดเส้นรอบวงของโลก ด้วยไม้เพียงแท่งเดียว จากการสังเกตเงาของดวงอาทิตย์ ที่มีการค้นพบมากว่า 2,000 ปีเศษ โดยนักคณิตศาสตร์ชื่อก้องโลก “อีราโตสทีเนส” วิธีการนี้ เป็นวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ในสมัยก่อนนำมาใช้ในการวัดขนาดของเส้นผ่านศูนย์ กลางโลก ซึ่งเป็นวิธีวัดที่ง่ายไม่ต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัยมากนัก จึงเป็นการสะดวกที่ครูอาจารย์ที่เข้าอบรมจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการ เรียนการสอนให้เด็กเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการดูเวลาผ่านนาฬิกาแดดและสอนประดิษฐ์นาฬิกาแดดในรูปแบบต่างๆ ไปพร้อมกันด้วย ทั้งนี้ วิทยากรที่เราเชิญมาให้ความรู้ในการอบรมคือ คุณสรรค์สนธิ บุณโยทยาน ผู้ทรงคุณวุฒิ ในกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้าน ดาราศาสตร์ และยังเป็นเจ้าของผลงานเขียน Pocket BooK ในชื่อ “สุริยะปฏิทินพันปี” ขณะเดียวกัน ยังมีนักสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ดีเด่น อาจารย์สิทธิชัย จันทรศิลปิน นักวิชาการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ มาร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากการสังเกตดวงดาวกับกิจกรรม “การสำรวจฟากฟ้าค่ำคืนวันวิษุวัต” อีกด้วย กิจกรรมวัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว เป็นกิจกรรมที่ใช้ข้อมูลจาก อีราโตสทีเนส (Eratosthenes)นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่มีชีวิตระหว่าง 276-194 ปีก่อนคริสตกาล รวมถึงเรื่องราวของอาณาจักรกรีก และอียิปต์โบราณ เป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรม โดยอ้างอิงข้อมูลด้านโบราณคดี ดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นการปรับใช้ความรู้ในวิชาต่างๆ ที่เรียนในหลักสูตร ขณะเดียวกันก็เป็นการท้าทายในเชิงวิชาการระหว่างภูมิปัญญาเมื่อ 2,000 กว่าปีที่แล้วกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ว่าบรรพชนโบราณที่มีอุปกรณ์ง่ายๆ เพียง “เสาหินแท่งเดียวกับบ่อน้ำธรรมดา” รวมกับข้อมูลการเดินทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถคำนวณหาเส้น รอบวงของโลกได้อย่างค่อนข้างแม่นยำถึง 84% เลยทีเดียว แล้วปัจจุบันที่เรามีทั้งดาวเทียม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ทันสมัยมากมาย จะสามารถคำนวณได้แม่นยำหรือไม่