มหัศจรรย์ "วสันตวิษุวัต" สกลนคร
Amazing "Spring Equinox" Sakon Nakhon


มหัศจรรย์ “วสันตวิษุวัต” สกลนคร
โดย ชมรมอารยธรรมสกลนคร
กลางเดือนมีนาคมเป็นต้นไปโลกของเราจะโคจรเข้าสู่ตำแหน่งที่แสงอาทิตย์เริ่มตั้งฉากกับผิวโลก ณ เส้นศูนย์สูตร (equator) มีผลให้สิ้นสุดฤดูหนาวและย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ เมื่อถึงช่วงวันที่ 20 – 22 มีนาคม กลางวันจะเท่ากับกลางคืน ดวงอาทิตย์ขึ้น ที่ทิศตะวันออกแท้ และตกที่ทิศตะวันตกแท้ ศัพท์วิชาการทางดาราศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “วสันตวิษุวัต” ตรงกับภาษาอังกฤษ Spring Equinox
จังหวัดสกลนครเป็นแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีโครงสร้างทางธรรมชาติและโบราณสถานยุคขอมเรืองอำนาจ ตลอดจนสิ่งก่อสร้างยุคปัจจุบันที่เชื่อมโยงกับปรากฏการณ์นี้ ....... ชมรมอารยธรรมสกลนคร จึงใคร่ขอนำเสนอ ......
มหัศจรรย์ “วสันตวิษุวัต”
ปรากฏการณ์ “วสันตวิษุวัต” ที่จังหวัดสกลนคร ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ยุคขอมเรืองอำนาจ และยุคปัจจุบัน
กลางเดือนมีนาคมเป็นต้นไปโลกจะโคจรเข้าสู่ตำแหน่งที่แสงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตร

ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับโลก ณ เส้นศูนย์สูตร
ทำให้กลางวันเท่ากับกลางคืน

ดวงอาทิตย์ขึ้นที่ทิศตะวันออกแท้และตกที่ทิศตะวันตกแท้

บรรพชนเมื่อหลายพันปีที่แล้วต้องเห็นภาพแบบนี้เมื่อย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิ
วสันตวิษุวัต ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ชมรมอารยธรรมสกลนครได้ทราบจากชาวบ้านว่ามีภาพเขียนโบราณอยู่ใต้โขดหินที่เชิงเขา บ้านห้วยยาง ต.เหล่าโพนค้อ อ.โคกศรีสุพรรณ จึงรีบรุดไปยังสถานที่ดังกล่าวในตอนสายวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566
พวกเขาวาดภาพไว้ที่ใต้โขดหิน ที่บริเวณเชิงภูเขาบ้านห้วยยาง ต.เหล่าโพนค้อ
เป็นที่ประหลาดใจทำไมต้องวาดภาพไว้ใต้โขดหิน หรือหินก้อนนี้อาจอยู่ในลักษณะตั้งฉากกับพื้นและล้มลงมาภายหลังจากเหตุผลทางธรณีวิทยา

นักโบราณคดีจากสำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น ให้ข้อมูลว่าภาพวาดยุคก่อน
ประวัติศาสตร์เหล่านี้น่าจะมีอายุราวๆ 3,000 ปี

พิจารณาอย่างละเอียดพบว่า 2 ภาพ มีลักษณะคล้ายประตู ซึ่งชาวบ้านให้ข้อมูลว่ามีประตูหินขนาดใหญ่อยู่บริเวณหน้าผาของภูผาขาม
เมื่อเดินขึ้นไปบนภูเขาที่ความสูง 360 เมตร จากระดับน้ำทะเล ได้พบประตูหินทรายขนาดใหญ่ มีขนาดกว้างของช่อประตู 3 เมตร สูง 6 เมตร ยาว 10 เมตร
ตรวจสอบข้อมูลพิกัดทางดาราศาตร์ พบว่าประตูหินแห่งนี้วางตัวในแนว E – W ที่มุม
กวาด 90 องศา (Az 90) และ 270 องศา (Az 270)
แสดงว่าเมื่อถึงวันที่ 21 มีนาคม ปรากฏการณ์ “วสันตวิษุวัต” ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกตรง
กับกึ่งกลางประตูพอดี
เปรียบเทียบภาพวาดโบราณกับประตูจริงๆ มุมมองไปทางทิศตะวันออก
เปรียบเทียบภาพวาดโบราณกับประตูจริงๆ มุมมองไปทางทิศตะวันตก
เมี่อถึงวันที่ 21 มีนาคม 2567 ปรากฏการณ์วสันตวิษุวัต ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกตรงกับ
กลางประตูตามที่คำนวณไว้แต่แรก
ประตูนี้ตั้งอยู่ที่หน้าผาด้านทิศใต้ของภูผาขาม ที่ระดับ +360 ม.
วางตัวในแนว E – W ตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ “วิษุวัต”
วางตัวในแนว E – W ตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ “วิษุวัต”
นักโบราณคดีจากสำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น ลงพื้นที่พบหลักฐาน
ชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์
ชิ้นส่วนหม้อดินเผา “ลายคาดเชือก” และ “รอยขีด” บนผนังหิน
ชมรมอารยธรรมสกลนคร พิสูจน์ด้วยหลักดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ พบว่าเท่ากับจำนวนวันที่มองเห็นดวงอาทิตย์ในกรอบประตู
“ประตูมิติแห่งกาลเวลา”
จุดนัดพบที่ลงตัวระหว่าง ..... วิทยาศาสตร์ และศาสตร์แห่งความเชื่อ


วสันตวิษุวัต ..... ยุคขอมเรืองอำนาจ
ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 – 19 ดินแดนแถบนี้อยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรขอม มีหลักฐานที่เป็นสิ่งก่อสร้างมากมาย ได้แก่ ปราสาทดุม ปราสาทเชิงชุม (พระธาตุเชิงชุม) บาราย (สระพังทอง) ปราสาทนารายณ์เจงเวง สะพานขอม อำเภอเมืองสกลนคร ปราสาทภูเพ็ก บนยอดภูเขา +520 ม. ฝายหินบนภูเขา +256 ม. และเนินดินเจ็ดลูกบนภูเขา +389 ม. อำเภอพรรณนานิคม ปราสาทบ้านพันนา (อโรคยาศาล) อำเภอสว่างแดนดิน จารึกภูถ้ำพระ อำเภอกุดบาก แหล่งตัดหินและร่องรอยการก่อสร้างโบราณสถานอีกหลายแห่งกระจายอยู่ทั่วจังหวัด
โบราณสถานที่สัมพันธ์กับปรากฏการณ์ “วสันตวิษุวัต” ได้แก่ปราสาทภูเพ็ก ปราสาทนารายณ์เจงเวง และปราสาทบ้านพันนา
ฮวงจุ้ยแห่งเมืองสกล
ปี พ.ศ.2540 หอการค้าจังหวัดสกลนคร เชิญซินแสชื่อดังของประเทศไทยมาบรรยายพิเศษ “แก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง” ท่านซินแสพบว่าโบราณสถานสำคัญคือ ปราสาทภูเพ็ก และปราสาทนารายณ์เจงเวง เรียงตัวเป็นเส้นตรงชี้ไปยังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ชื่อทะเลสาบหนองหาร เข้าตำรา “ฮวงจุ้ย” ตัวเมืองสกลนครหันหน้าทิศตะวันออกเข้าหาทะเลสาบขนาดใหญ่และด้านหลังพิงกับภูเขารูปร่างเหมือน “เขาพระสุเมร”
ชมรมอารยธรรมสกลนคร เอาข้อมูลของท่านซินแสมาพิสูจน์เชิงดาราศาสตร์ พบว่าแนวฮวงจุ้ยดังกล่าวตรงกับเส้นตรงปรากฏการณ์ “วสันตวิษุวัต” (Spring Equinox 21 March) ระหว่างปราสาทภูเพ็ก ปราสาทนารายณ์เจงเวง และเกาะดอนสวรรค์ในทะเลสาบหนองหาร
ปราสาทภูเพ็ก ปราสาทนารายณ์เจงเวง และเกาะดอนสวรรค์ ตั้งอยู่ในแนว
เส้นตรงของปรากฏการณ์ “วสันตวิษุวัต”
ปราสาทภูเพ็ก อยู่บนยอดภูเขารูปร่างเหมือนเขาพระสุเมร +520 ม จาก
ระดับน้ำทะเล อำเภอพรรณานิคม
ปราสาทนารายณ์เจงเวง ตั้งอยู่บนเนิน +177 ม. จากระดับน้ำทะเล อำเภอเมือง สกลนคร
ดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์วสันตวิษุวัต ขึ้นและตกเป็นเส้นตรง
ระหว่างสถานที่ทั้งสามแห่ง
ดวงอาทิตย์ขึ้นที่กึ่งกลางปราสาทภูเพ็กในปรากฏการณ์ “วสันตวิษุวัต”
มองตรงจากปราสาทภูเพ็กไปยังเกาะดอนสวรรค์ในหนองหาร
จะปรากฏสีแดงจากการสะท้อนของแสงอาทิตย์ยามเช้า
เกาะดอนสวรรค์เรืองแสงสีแดงท่ามกลางความมืด
นั่งเรือไปลอยลำที่เกาะดอนสวรรค์ในทะเลสาบหนองหารช่วงตอนเย็น
จะเห็นดวงอาทิตย์อัสดงบนยอดเขาภูเพ็ก
ดวงอาทิตย์เริ่มหย่อนตัวลงที่ยอดภูเขาที่มีปราสาทภูเพ็กตั้งอยู่
ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าที่ปราสาทภูเพ็ก
ปราสาทบ้านพันนา อโรคยาศาลยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ที่บ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน ก่อสร้างด้วยศิลาแลง ทำหน้าที่เป็นศาสนสถานประจำโรงพยาบาลที่เรียกว่า “อโรคยาศาล” ในยุคสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1723 – 1763 ตัวปราสาทหันหน้าตรงกับทิศตะวันออกแท้ ณ มุมกวาด 90 องศา (azimuth 90) ตรงกับปรากฏการณ์วสันตวิษุวัต 21 มีนาคม ซึ่งตามปฏิทินมหาศักราชในยุคขอมหมายถึงวันที่ 1 เดือนไจตระ
อนึ่ง ศิลาจารึกอโรคยาศาลมีข้อความระบุฤกษ์ของการเบิกยาจากท้องพระคลัง “วันเพ็ญเดือนไจตระ กาลที่ดวงอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ”
ปราสาทหลังนี้วางตัวโดยหันหน้าไปที่ทิศตะวันออกแท้ ณ มุมกวาด 90 องศา (Az 90)
การวางตัวของปราสาทตรงกับทิศทั้งสี่ N - S - E - W
ปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" 21 มีนาคม ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับประตูปราสาท
วิถีการเคลื่อนตัวของดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต"
ฤกษ์การเบิกยาและสิ่งของจากท้องพระคลังประจำปี 2568 ตรงกับวันที่ 13 เมษายน
ศิลาจารึกอโรคยาศาลระบุฤกษ์การเบิกยาจากท้องพระคลัง
วันเพ็ญเดือนไจตระ กาลที่ดวงอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ
ปฏิทินมหาศักราช (Saka Calendar) มาจากอินเดียโบราณ ถ่ายทอดมายังอาณาจักรขอม และกรุงสุโขทัยต่อเนื่องมายังอาณาจักรอยุธยาตอนต้น วันปีใหม่ของปฏิทินฉบับนี้ คือ วันที่ 1 แห่งเดือนไจตระ
ปัจจุบันทางการของอินเดียก็ยังคงใช้ปฏิทินมหาศักราช (Saka Calendar) คู่กับปฏิทินสากล ดังตัวอย่างสมุดไดอารี่ของ Punjab Agricultural University Handbook 1974 อนึ่ง การเทียบระหว่างปฏิทินมหาศักราชกับปฏิทินสากล ใช้สูตร Saka Year + 78 เช่น Saka 1896 + 78 = 1974
วสันตวิษุวัต ...... ยุคปัจจุบัน
จังหวัดสกลนครมีสุริยะปฏิทินสร้างในยุคปัจจุบัน 2 แห่ง อยู่ที่สระพังทอง ในตัวเมืองสกลนคร สร้างโดยชมรมส่งเสริมคนดีเมืองสกล และที่สวนสาธารณะดอนลังกา บ้านดอนเสาธง ริมหนองหาร สร้างโดยสโมสรโรตารีสกลนคร
สุริยะปฏิทินอันนี้ใช้แท่งศิวะลึงค์จำลองจากปราสาทภูเพ็กเป็นจุดเล็งตำแหน่งดวงอาทิตย์ในราศีต่างๆ โดยผู้สังเกตการณ์ต้องเลือกที่นั่งให้ตรงกับเครื่องหมาย (วันที่) ซึ่งเขียนไว้ที่ด้านหน้า
วัน "วสันตวิษุวัต" ตรงกับ 21 มีนาคม
เช้าตรู่ "วสันตวิษุวัต" 21 มีนาคม ดวงอาทิตย์จะตรงกับแท่งศิวะลึงค์
ผู้สังเกตการณ์ที่นั่งตรงกับสัญลักษณ์ 21 มีนาคม จะมองเห็นดวงอาทิตย์ตรงกับแท่งศิวะลึงค์
สุริยะปฏิทินที่สวนสาธารณะดอนลังการิมหนองหาร มองจาก Viewing Point จะตรงกับแท่ง Obelisk ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต"
ผู้ส้งเกตการณ์ยืนอยู่ ณ Viewing Point จะเห็นดวงอาทิตย์ตรงกับแท่ง Obelisk
มหัศจรรย์ "วสันตวิษุวัต" สกลนคร