“น่าจะนำไปสู่ประโยชน์ของประเทศได้มาก มากกว่าที่เราคิดแบบธรรมดาๆแบบยอมรับอยู่ในกรอบทั้งหลาย จะมากกว่าเมื่อเรากล้าที่จะออกนอกกรอบ รวมตัว
กันออกนอกกรอบ การที่มี BCL มาทำงานอย่างนี้คือการออกนอกกรอบ”
และน่าจะนำเอาแนวทาง “พัฒนามิติความเป็นมนุษย์” ไปใช้ในหลักสูตรอื่นๆด้วย
9. ร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ในระดับพื้นที่ (Area - Based Program for the Community Strength)
มูลนิธิฯได้ทำงานเชิงพื้นที่กับเครือข่าย เพื่อสร้างชุมชนให้น่าอยู่ มีความเจริญ
สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ในหลายพื้นที่ เช่น ตำบลวัดขวาง อำเภอโพทะเล
จังหวัดพิจิตร อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ด้วย
กระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ ร่วมกันแก้ปัญหาของคนในชุมชน
อย่างเป็นองค์รวม ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ในมิติด้านสาธารณสุข การ
ศึกษา และการเกษตร เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และยั่งยืน โดยมีพื้นที่
ต้นแบบที่บ้านหนองธง ตำบลในกอย อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ซึ่งลุงนัน ชูเอียด
เกษตรกรต้นแบบได้สละเวลาและทรัพยากร มาร่วมเป็นทั้งครูของนักศึกษาและ
ร่วมสร้างศูนย์เรียนรู้ เพื่อการทำเกษตรมูลค่าสูง ด้วยระบบน้ำแรงดันสูงและเลือก
พืชทีเหมาะสม
เกษตรกร ทั้งสามพื้นที่มีโจทย์ร่วมกันคือ ปัญหาหน้ีครัวเรือนและคนหนุ่มสาวไม่
กลับบ้าน เป็นสังคมผู้สูงอายุ มีปัญหาพฤติกรรมไม่เหมาะสมของเยาวชน และปัญหา
พัฒนาการล่าช้าในเด็กเล็ก มูลนิธิฯได้รับความอนุเคราะห์จากลุงนัน ชูเอียด ซึ่งเป็นผู้ที่
เคยผ่านการอบรมของมูลนิธิฯ และเป็นเกษตรกรต้นแบบในพื้นที่บ้านในกอย
อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ที่สามารถทำเกษตรประณีตด้วยการทำไม้ผลผสมผสานที่
สามารถสร้างรายได้ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยาว จากประสบการณ์ของลุงนัน ชูเอียด
ที่สามารถสร้างเครือข่ายในพื้นที่ จนบ้านในกอยเป็นชุมชนที่สามารถพึ่งตนเองได้
ปลอดจากโจร ขโมย ไม่มีเด็กแว๊น เด็กติดยา ชุมชนมีความสงบ น่าอยู่ ลูกหลานเรียน
จบแล้วกลับไปสานงานที่บ้านต่อ สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับทั้งสามชุมชน และ
หลังจากได้ไปเรียนรู้ที่บ้านในกอย โดยการสนับสนุนของมูลนิธิฯ จึงได้เริ่มนำแนวคิด
ของลุงนันมาปรับใช้ โดยเฉพาะที่อำเภอขุนหาญ ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างศูนย์เรียน
รู้ เพื่อให้เกษตรกรสามารถสร้างระบบน้ำ ปรับปรุงดิน และเลือกพืชที่เหมาะสม
เพื่อให้สามารถสร้างได้ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว อีกทั้งยังเป็นโอกาสให้
นักเรียนได้เข้ามาร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกับเกษตรกรที่สนใจ โดยมีแกนนำหลักคือแพทย์
หญิงรัชฎาพร รุญเจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขุนหาญ และคณะร่วมทำงานกับทีม
ของมูลนิธิ มาตั้งแต่ เดือนกันยายน พ.ศ.2567
งานต่างๆที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ตลอดระยะเวลากว่ายี่สิบปี มูลนิธิฯรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดอบรมสัมมนา โดยที่ผู้เข้าร่วมอบรมไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียน เป็นแต่เพียงรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนตัว นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการสร้างผู้ประกอบการเกษตรแนวใหม่ทุกคนจะได้รับทุนลงทะเบียนเรียนจากมูลนิธิฯ และมูลนิธิฯยังช่วยดูแลและรับผิดชอบเรื่องที่พัก ค่าอาหารและเบี้ยเลี้ยงค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้ขณะเป็นนักศึกษาของโครงการ เพื่อไม่ให้เป็นภาระของผู้ปกครองและไม่ต้องกู้เงินระหว่างเรียน ผู้ที่มาช่วยงานต่างๆของมูลนิธิฯส่วนใหญ่เป็นจิตอาสาที่ผ่านการอบรมของมูลนิธิฯ และมีอุดมการณ์ร่วมกันในงานสร้างคน และสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง
ด้วยความตระหนักในฐานะพลเมืองที่รับผิดชอบต่อสังคม(Responsible citizen) ทั้งในระดับชุมชน จังหวัด และประเทศ นับเป็นโจทย์ที่ท้าทาย และเป็นงานที่มูลนิธิฯจะยังคงดำเนินต่อไป คือ การสร้างคน และการสร้างชุมชนเข้มแข็งในสังคมไทยร่วมกัน
ท่านที่สนใจเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ
สามารถติดต่อโดยตรงที่ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน (BCL)
625,627,629 ถนนประชาราษฎร์ สาย 1
เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
089-449-9482 (คุณอัญชลี)
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน