ปลูกมะเขือเทศเพื่อส่งโรงงานแปรรูปให้ได้ผลผลิตมากกว่า 10 ตัน / ไร่ Mission Impossible?

โครงการชลประทานน้ำอูน สกลนคร เริ่มส่งเสริมการปลูกมะเขือเทศเพื่อส่งโรงงานแปรรูป ที่โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป อ.เต่างอย ตั้งแต่ปี 2528 โดยตั้งเป้าหมายให้ได้ผลผลิตประมาณ 6 ตัน / ไร่
แปลงปลูกมะเขือเทศเชิงพาณิชย์ครั้งแรกที่เขตโครงการจัดรูปที่ดิน บ.แร่ ต.แร่ อ.พังโคน สกลนคร ฤดูแล้ง พ.ศ.2528 / 29 โดยรับน้ำชลประทานจากเขื่อนน้ำอูน เริ่มย้ายกล้าลงปลูกในเดือนตุลาคม 2528 เพื่อให้เจริญเติบโตในฤดูหนาวช่วงเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม และเริ่มเก็บเกี่ยวเดือนมกราคม 2529

การให้น้ำชลประทานใช้วิธีปล่อยน้ำตามร่อง (surface irrigation หรือ furrow irrigation)

แปลงมะเขือเทศที่ บ.แร่ ต.แร่ อ.พังโคน สกลนคร

ได้ผลผลิตประมาณ 4 - 6 ตัน / ไร่ ในภาพเป็นการขนส่งไปยังโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ อ.เต่างอย

หนึ่งในปัญหาของมะเขือเทศคือ "บ่าเหลือง" (yellow shoulder) ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการเข้าสายพานแปรรูปเพราะจะทำให้เกิดสภาพ "สีแดงไม่ถึงมาตรฐาน" เกิดจากการรับสารอาหารที่ไม่สมดุลย์
เดือนธันวาคม 2528 สมเด็จพระเทพฯเสด็จส่วนพระองค์ ที่บริเวณแปลงปลูกมะเขือเทศของโครงการชลประทานน้ำอูน ที่ บ.แร่ ต.แร่ อ.พังโคน สกลนครเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของการปลูกมะเขือเทศเพื่อส่งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป อ.เต่างอย สกลนคร

ผู้ตามเสด็จประกอบด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงเกษตรฯ กรมชลประทานและกรมส่งเสริมการเกษตร ในการนี้ได้มีคำถามเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพการผลิตที่ยังคงอยู่ที่ไร่ละ 4 - 6 ตัน ทั้งๆที่ใช้สายพันธ์ุลูกผสม F1 Hybrid และมีน้ำชลประทานสมบูรณ์
จึงนำไปสู่การวิจัยเพิ่มผลผลิตด้วยระบบน้ำหยดโดยให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำ (fertigation) เพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTECH) และดำเนินงานร่วมกับโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป อ.เต่างอย
รูปแบบของการวิจัย แบ่งแปลงทดลองออกเป็น 2 ส่วน โดยใช้สายพันธ์ุเดียวกัน
1. ปลูกแบบดั้งเดิมเหมือนเกษตรทั่วไป ให้น้ำปล่อยตามร่อง (furrow irrigation) แต่มีการคลุมแปลงด้วยฟางข้าวและแผ่นพาสติกเพื่อควบคุมวัชพืช
2. แปลงให้น้ำระบบท่อแบบ "น้ำหยด" โดยให้ปุ๋ยร่วมกับน้ำ (fertigation) และมีการขึ้นไม้ค้างเพื่อช่วยให้แตกกิ่งก้านเต็มตามศักยภาพของสายพันธ์ุลูกผสม F1Hybrid
.jpeg)
แปลงทดลองให้น้ำแบบดั้งเดิมคือปล่อยตามร่อง (furrow irrigation)

แปลงทดลองให้น้ำหยดและปุ๋ยด้วยระบบท่อ (fertigation)
เอาแนวคิดระบบน้ำหยด + ปุ๋ย มาจากไหน?
ปี 2521 - 2522 และ 2539 ได้รับทุนไปอบรมที่ประเทศอิสราเอล หลักสูตร "การชลประทานระบบท่อ" (pressurized irrigation) หรือ คนไทยนิยมเรียกว่าชลประทานน้ำหยด (drip irrigation) แต่ความจริงความหมายของชลประทานระบบท่อครอบคลุมการให้น้ำทุกประเภทที่ใช้แรงดัน เช่น น้ำหยด ไมโครสปริงเกอร์ ไมโครเจ็ท เรนกัน ฯลฯ



นำความรู้การชลประทานแบบ fertigation มาใช้กับงานวิจัยการเพิ่มผลผลิตมะเขือเทศให้สอดคล้องกับศักยภาพของสายพันธ์ุ F1 Hybrid ซึ่งมีขีดความสามารถตอบสนองต่อน้ำและปุ๋ยอย่างดี สามารถให้ผลผลิตสูงกว่าไร่ละ 10 ตัน

มะเขือเทศเจริญเติบโตได้ดีมาก สมกับศักยภาพของสายพันธ์ุ

การใช้ไม้ค้างจะช่วยอำนวยความสะดวกในการดูแลรักษา และทำให้อากาศถ่ายเทอย่างปลอดโปร่งลดปัญหาโรคเชื้อรา อีกทั้งยังได้รับแสงแดดทั่วถึง

ระบบน้ำหยดสามารถควบคุมให้อัตราส่วนระหว่างอากาศกับน้ำมีความสมดุลย์ ราวๆ 50 - 50 ขณะเดียวกันก็ลดปัญหาวัชพืชไปในตัวเพราะมีการแบ่ง Wet Zone กับ Dry Zone ชัดเจน เวลาเดินเข้าแปลงก็สะดวกเพราะดินแห้ง

การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ทะยอยออกตามรุ่นก็สะดวกเพราะสามารถมองเห็นผลที่แก่พร้อมเก็บได้ชัดเจน
ผลการวิจัยพบว่าสามารถให้ผลผลิตถึงไร่ละ 12 ตัน เนื่องด้วยเหตุผล
1. การให้น้ำแบบระบบน้ำหยด + ปุ๋ย (fertigation) สามารถควบคุมการจ่ายปุ๋ยได้อย่างเหมาะสม ทำให้มะเขือเทศได้รับน้ำและสารอาหารตรงตามความต้องการของทุกระยะการเติบโต เช่น ช่วงเจริญเติบโตแตกกิ่งก้านและใบต้องการธาตุไนโตรเจน (N) เป็นหลัก เมื่อถึงระยะออกดอกและติดผลต้องการธาตุฟอสฟอรัสเป็นหลัก (P) ส่วนระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวต้องการธาตุโปตัสเซี่ยม (K)


ผลผลิตมีสีแดงเข้มไม่มีปัญหา "บ่าเหลือง" (yellow shoulder) เป็นไปตามมาตรฐานของโรงงานแปรรูป
ระบบน้ำหยดช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่ปัญหาดินเค็มสามารถปลูกมะเขือเทศได้ เพราะน้ำหยดจะช่วยชะล้างเกลือออกจาก root - zone และป้องกันไม่ให้เกลือเข้ามาข้างในอีก
.jpeg)
ปี 2540 ม.ราชภัฏสกลนคร จัดหลักสูตรอบรม "ระบบน้ำหยด" แก่เกษตรและผู้สนใจ


โครงการดอยตุง จ.เชียงราย ภายใต้การบริหารของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง จัดหลักสูตรฝึกอบรม "ชลประทานน้ำหยด" แก่เจ้าหน้าที่เกษตรของรัฐบาลอาฟกานิสถาน เมื่อปี 2548


ปี 2549 โครงการดอยตุงเดินทางไปลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอัฟกานิสถาน โดยการสนับสนุนของ UNDP

ท้ายบท
การปลูกมะเขือเทศยังมีอนาคตที่ดีกับเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่โรงงานแปรรูปเพราะผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศเป็นอาหารยอดนิยมหลายอย่าง ..... ทั้งเครื่องดื่มและเครื่องปรุง
ปัจจุบันเราๆท่านๆเข้าสู่ยุคดิจิตอลและอินเตอร์เนท สามารถปรับปรุงระบบ Fertigation ให้แม่นยำยิ่งขึ้นด้วยการใช้ Sensors and Platform ประกอบกับการ Solar Cells มีราคาถูกลงมากและหาซื้อได้ง่ายจะมีส่วนช่วยเกษตรกรที่อยู่นอกเขตบริการไฟฟ้า