
สรุปผลงานเด่น ....... ชมรมอารยธรรมสกลนคร ปี 2544 - 2567
ชมรมอารยธรรมสกลนคร เป็นการรวมตัวของภาคประชาชนชาวสกลนครที่อาสาสมัครทำงานเพื่อผลักดันให้เมืองสกล ...... เป็นนครแห่งอารยธรรมพันปี ด้วยผลงานค้นคว้า วิจัย และจัดทำเอกสารเผยแพร่ในรูปแบบ website, Facebook, Line, Youtube และสื่อต่างๆ
แกนนำของชมรมประกอบด้วยบุคคล 3 คน ในภาพ
การสรุปผลงานจะขอนำเสนอด้วยภาพและคำบรรยายพอสังเขป เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ.2544 ถึง พ.ศ.2566
ปี 2544 ค้นพบว่าปราสาทยุคขอมเรืองอำนาจ ชื่อปัจจุบัน "ปราสาทภูเพ็ก" เป็น "สุริยะปฏิทิน ตามหลักการของปฏิทินมหาศักราช" กล่าวคือตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์สำคัญตรงกับสัญลักษณ์บนแท่งหิน "ครรภบัตร" ปราสาทหลังนี้ตั้งอยู่บนยอดภูเขา +520 ม. จากระดับน้ำทะเล ที่บ้านภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม สกลนคร
ภาพถ่ายครั้งแรกที่ปราสาทภูเพ็ก เดือนกรกฏาคม 2544
ดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" (Autumnal Equinox) 23 กันยายน 2544

ดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" ตรงกับประตูปราสาท

ดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "เห มา ยัน" (Winter Solstice) 21 ธันวาคม 2544
ปี 2547 การสื่อสารแห่งประเทศไทยจัดทำแสตมป์ Unseen Thailand และปราสาทภูเพ็ก ได้รับเลือกให้เป็นสัญลักษ์แห่ง "สุริยะปฏิทิน"

ปี 2551 วารสารศิลปวัฒนธรรม ได้จัดทำคำชมแก่ Pocket Book สุริยะปฏิทินพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร


.jpeg)
ปี 2553 เปิดมิติแห่งโลกล้านปี "ดึกดำบรรพ์วิทยา" ที่เชิงภูเขาด้านทิศใต้ของปราสาทภูเพ็ก ด้วยการค้นพบฟอสซิสจำนวนมาก และส่วนหนึ่งนำไปตั้งแสดง ณ พิพิธภัณฑ์เมืองสกล ตึก 1 ม.ราชภัฏสกลนคร
.jpeg)
.jpeg)

ปี 2554 พบสิ่งก่อสร้างสำคัญยุคขอมเรืองอำนาจบนภูเขาใกล้ๆกับปราสาทภูเพ็ก ได้แก่ ฝายเก็บน้ำ และ ฐานปราสาทลูก


วันแรกที่ไปสำรวจพบบริเวณฝายเก็บน้ำเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2554


สำนักศิลปากรที่ 10 และอุทยานแห่งชาติภูพาน ร่วมกับขุดสำรวจฝายโบราณ
.jpeg)
ป้ายแสดงที่ตั้งฝายโบราณ
.jpeg)


ฐานปราสาทลูกพบที่บริเวณภูเขาใกล้ปราสาทภูเพ็ก
ปี 2555 เปิดปฏิบัติการดราศาสตร์ข้ามประเทศ ภายใต้รหัส Operation Eratosthenes 2012 เพื่อวัดขนาดเส้นรอบวงโลกโดยใช้เงาดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (Vernal equinox 21 March 2012) ระหว่างปราสาทภูเพ็ก สกลนคร กับ Prasat Bayon Siem Reap Cambodia

แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน 9 มีนาคม 2555 ณ ร้านกาแฟคำหอม อ.เมืองสกลนคร


ใช้นาฬิกาแดดวัดเงาดวงอาทิตย์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
.jpeg)
วัดเงาดวงอาทิตย์ ณ ปราสาท Bayon Siem Reap Cambodia


ผลการคำนวณเส้นรอบวงโลกได้ผลดีมาก มีความคลาดเคลื่อนเพียง 4% จากตัวเลขจริง
ปี 2556 รับเชิญจากชมรมดาราศาสตร์แห่งรัฐ Oklahoma USA ให้บรรยายพิเศษเรื่อง "ปราสาทภูเพ็ก สุริยะปฏิทินพันปี" ผู้ฟังส่วนหนึ่งเป็นนักดาราศาสตร์ และอีกส่วนเป็นผู้สนใจวิชาดาราศาสตร์



ปี 2557 พิสูจน์คำกล่าวของซินแสชื่อดังเรื่อง "ฮวงจุ้ยเมืองสกล" ที่ว่า ปราสาทภูเพ็ก ปราสาทนารายณ์เจงเวง และมีอีกแห่งในหนองหาร เป็นแนวเส้นตรงเดียวกัน ...... วันที่ 21 มีนาคม 2557 พบว่า "เกาะดอนสวรรค์ ในทะเลสาบหนองหาร" เรืองแสงอาทิตย์ท่ามกลางความมืด


.jpeg)
เปรียบเทียบภาพถ่ายเกาะดอนสวรรค์เรืองแสงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (Vernal Equinox 21 March 2014) กับภาพถ่ายยามปกติ
ปี 2557 วันที่ 8 ตุลาคม ปฏิบัติการข้ามทวีประหว่างสกลนคร ประเทศไทย กับ เกาะทัสมาเนีย ประเทศออสเตเรีย เพื่อวัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ ภายใต้รหัส Operation Rahu 2014 โดยพัฒนาสูตรคณิตศาสตร์กรีกโบราณจากสมการธรรมดามาเป็นระบบ "ภาพถ่าย digital"



ผลของการคำนวณใกล้เคียงกับข้อมูลจริง มีความคลาดเคลื่อนราวๆ 3 - 4%
ปี 2559 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีปในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (Vernal Equinox 2016) ระหว่างปราสาทภูเพ็กสกลนคร ประตูท่าแพ เชียงใหม่ ปราสาทขอมในเมือง Siem Reap Cambodia และ ปีรามิดชาวมายา ที่เมืองโบราณ Chichen Itza Mexico เพื่อพิสูจน์ว่า "วันวสันตวิษุวัต" เป็นที่รู้จักของมนุษยชาติมานานนับพันปี


.jpeg)
ปรากฏการณ "วสันตวิษุวัต" ที่ปีรามิดชาวมายา เม็กซิโก ปรากฏภาพเงาดวงอาทิตย์เหมือนพญางูยักษ์เลื้อยลงมาจากท้องฟ้า

ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร ดวงอาทิตย์ตรงกับหน้าประตู และสัญลักษณ์ที่แท่งหินครรถบัตร

ประตูท่าแพ เมืองเชียงใหม่โบราณ

ปราสาทพระขันฑ์ เมือง Angkor Thom Cambodia
ปี 2561 พบการเชื่อมโยงระหว่างคำจารึก "สงกรานต์" ภาษาขอมที่ขอบประตูปราสาทประธานของเมืองสกลโบราณ (ชื่อปัจจุบันพระธาตุเชิงชุม) กับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ดวงอาทิตย์ตรงกับประตู และ center ของเมือง ณ มุมกวาด 80 องศา ในช่วงวันสงกรานต์ 14 - 15 - 16 เมษายน
จารึกภาษาขอมที่ขอบประตูหินทรายของปราสาท (พระธาตุเชิงชุม) บรรทัดที่ 11 มีคำว่า "สงกรานต์" ในทางโหราศาสตร์หมายถึง .... ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าไปที่ราศีเมษ (Sun in Zodiac Aries)

เมืองสกลโบราณวางตัวในพิกัดมุมกวาด 80 องศา (Azimuth 80) เพื่อให้ตรงกับดวงอาทิตย์ในวันสงกรานต์



ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ตรงกับ center ของปราสาทเชิงชุม ในวันสงกรานต์

ดวงอาทิตย์ตรงกับ center ของ "บาราย" ซึ่งวางตัวขนานกับตัวเมืองโบราณ ณ มุมกวาด 80 องศา (Az 80)
ปี 2561 พิสูจน์ภาพวาดยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาผักหวาน อ.ส่องดาว สกลนคร สอดคล้องกับปรากฏการณ์ "วิษุวัติ" เป็นไปได้ว่าผู้คนยุคนั้นมีการเฉลิมฉลองในเทศกาลดังกล่าว


โขดหินที่มีภาพวาดยุคก่อนประวัติศาสตร์ วางตัวในพิกัดดาราศาสตร์ชัดเจน (เชื่อว่ามีการเลือกสถานที่นี้เพื่อใช้วาดภาพ)


ภาพวาดยุคก่อนประวัติศาตร์ ปรากฏอยู่บนหน้าผาทิศตะวันออกเท่านั้น และเมื่อตรวจสอบพบว่าตรงกับปรากฏการณ์ "วิษุวัต" ที่พิกัดมุมกวาด 90 องศา
ปี 2563 - 2564 ปฏิบัติการณ์ดาราศาสตร์เพื่อคำนวณมุมเอียงของแกนโลก ว่ายังอยู่ที่ 23.5 องศา หรือไม่? โดยใช้ร่องรอย (Marking on the Stone) ที่ปรากฏบนพื้นและผนังของปราสาทภูเพ็ก ..... ภายใต้ชื่อรหัส Operation Chou Li เป็นเกียรติแก่นักดาราศาสตร์ชาวจีนโบราณซึ่งค้นพบสูตรการคำนวณ



ปราสาทภูเพ็กมีร่องรอยขีดที่พื้นและผนัง พบว่ารอยขีดเหล่านี้ตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ ณ เที่ยงสุริยะ (Solar Noon) ในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" (Equinox) และ "มายัน" Solstice) เมื่อเอาอุปกรณ์ง่ายๆอย่างนาฬิกาแดดเข้าไปประกบ จะเห็นมุมตกกระทบของดวงอาทิตย์ในช่วงวันสำคัญดังกล่าว


ผลการคำนวณตามสูตรคณิตศาสตร์ได้ตัวเลข "มุมเอียงของแกนโลก" (Earth's axis tilt) เท่ากับ 23.62 องศา ใกล้เคียงกับ 23.44 องศา มีค่าคลาดเคลื่อนไม่เกิน 1%
ปี 2565 พบฟอสซิลสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์รูปร่างเหมือนสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก ณ บริเวณภูคุ้มข้าว ใกล้กับศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านนานกเค้า ต.ห้วยยาง อ.เมืองสกลนคร ได้แจ้งให้พิพิธภัณฑ์สิรินธรส่งผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจตามหลักวิชาการ และส่งไปพิสูจน์ที่ประเทศฝรั่งเศส ผลการตรวจสอบยืนยันว่าเป็น "จระเข้บก อายุราว 130 ล้านปี" ไม่เคยพบที่ไหนมาก่อนในโลก จึงตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Varanosaurus sakonnakhonensis เพื่อเป็นเกียรติแก่จังหวัดสกลนคร



12 มกราคม 2567 ดร.พรเพ็ญ จันทสิทธิ์ จากพิพิธภัณฑ์สิรินทร จ.กาฬสินธุ์ อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาของฟอสซิลจระเข้แคระพันธ์ุแรกของโลกให้นายณัฐวัสส์ วิริยานภรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร
ปี 2566 พบโครงสร้างคล้ายประตูที่เป็นหินทรายเกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติในยุคเมโสโซอิก อยู่บนหน้าผาภูเขา ชื่อภูผาขาม บ้านห้วยยาง ตำบลเหล่าโพนค้อ อ.โคกศรีสุพรรณ์ ที่พิกัด 360 m. จากระดับน้ำทะเล ซึ่งตรงกับภาพวาดยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในบริเวณเชิงเขา นักโบราณคดีให้ข้อมูลว่าอายุของภาพน่าจะอยู่ราวๆ 3,000 - 3,500 ปี ..... ทีมงานอารยธรรมสกลนคร ลงพื้นที่เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2566 พบว่าประตูแห่งนี้วางตัวตรงกับ "ปรากฏการณ์วิษุวัต" ที่มุมกวาด 90 - 270 องศา (Azimuth 90 - 270) เมื่อถึงวันที่ 20 - 22 มีนาคม ดวงอาทิตย์จะขึ้นและตกตรงกับ center ของประตู ...... จึงตั้งชื่อสถานที่นี้ว่า "ประตูมิติแห่งกาลเวลา" (Gate of Time)


ทีมงานชมรมอารยธรรมสกลนครลงพื้นที่ 21 พฤศจิกายน 2566

เปรียบเทียบประตูจริงด้านทิศตะวันออก (East View) กับภาพวาดยุคก่อนประวัติศาสตร์

เปรียบเทียบประตูจริงด้านทิศตะวันตก (West View) กับภาพวาดยุคก่อนประวัติศาสตร์
.jpeg)
ดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (Vernal Equinox) ขึ้นและตกตรงกับ center ของประตูตามความคาดหมาย
ปี 2566 - 2567 พบว่าสะพานขอมพันปี วางตัวในแนวมุมกวาด 115 องศา (Azimuth 115) ตรงกับดวงอาทิตย์ขึ้นเช้าตรู่ในปรากฏการณ์ เห-มา-ยัน (Winter Solstice) 20 ธันวาคม - 1 มกราคม จึงจัดกิจกรรมโดยชมรมไทเก็กสกลนคร และฟ้อนหางนกยูง พร้อมกับพิธีทางโหราศาสตร์



ปีใหม่ 1 มกราคม 2568 มีกิจกรรมทางโหราศาสตร์ การฟ้อนรำบวงสรวง และมวยโบราณ เพื่อนำมาสู่การเปิดเมืองสกลด้วยความศิริมงคล ..... อนึ่ง สะพานขอมวางตัวชี้ตรงไปยังปราสาทประธาน (พระธาติเชิงชุม) ที่ตั้งอยู่กลางเมือง



สรุป
ชมรมอารยธรรมสกลนครในฐานะภาคประชาชนยังคงเดินหน้าค้นคว้า วิจัย และนำเสนอสิ่งใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ต่อจังหวัดอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดชมรมฯได้ยื่นหนังสืออย่างเป็นทางการต่อ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2567 เพื่อนำเสนอผลงานดังข้างต้น และขอรับการสนับสนุนให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมค้นคว้า วิจัย และเผยแพร่ ส่งเสริมเพื่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจภายใต้มิติใหม่ ...... "สกลนครเมืองแห่งอารยธรรมพันปี"
อาจารย์วรวิทย์ ตงศิริ ชมรมอารยธรรมสกลนคร ยื่นหนังสือต่อ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2567
.jpeg)
.jpeg)
