สะพานขอม กับ ปรากฏการณ์เหมายัน
.jpeg)
ถาม ..... ปรากฏการณ์เหมายัน (อ่าน เห - มา - ยัน) คืออะไร
ตอบ ..... ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ หมายถึงช่วง "กลางคืนยาวที่สุดในรอบปี" (เหมายัน มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต) ตรงกับวันที่ 21 - 22 ธันวาคม
.jpeg)
คำว่า "เหมายัน" (เห-มา-ยัน) มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤต "เหมัน + อายน" หมายถึง ฤดูหนาวมาถึงแล้ว ส่วนภาษาอังกฤษ Winter Solstice มาจากรากศัพท์ Latin : Solstitium แปลว่า "ดวงอาทิตย์หยุดนิ่ง" ดังนั้น ดวงอาทิตย์จะอยู่กับสะพานขอมตั้งแต่ 20 ธันวาคม จนถึงปีใหม่ 3 มกราคม
.jpeg)
เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้มนุษยชาติอย่างเราๆท่านๆมองเห็นภาพดวงอาทิตย์ "หยุดนิ่ง" เกิดจากการที่ดวงอาทิตย์ "เคลื่อนที่แบบตีโค้งที่ขอบท้องฟ้า" ทำให้เกิดภาพลวงตาเสมือนหยุดนิ่ง แต่ในความเป็นจริงดวงอาทิตย์ยังคงเคลื่อนที่ตามปกติ (The Moving Sun)
เปรียบเทียบภาพถ่ายดวงอาทิตย์ยามเช้าที่สะพานขอม วันที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 06:51 กับวันที่ 3 มกราคม 2567 เวลา 06:50 ถ้าดูด้วยสายตาอาจไม่เห็นความแตกต่าง แต่ในทางตัวเลขเชิงดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ มีความต่างกัน 1.13 องศา
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะเอียงจากแนวดิ่งประมาณ 23.5 องศา ทำให้มุมตกกระทบของแสงอาทิตย์เปลี่ยนไปในแต่ละวันเป็นเหตุให้ภูมิอากาศในพื้นที่นั้นๆเปลี่ยนแปลงกลายเป็น "ฤดูกาล" ...... เมื่อถึง "เหมายัน" แสงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลก ณ เส้นรุ้ง 23.5 S (Tropic of Capricorn) ทำให้ซีกโลกด้านเหนือเป็นฤดูหนาวและกลางวันสั้นกว่ากลางคืน เมื่อถึงวันที่ 21 - 22 ธันวาคม "กลางคืนยาวที่สุด" อนึ่ง .....ปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ มีทั้งหมด 4 ครั้ง
1. วสันตวิษุวัต 21 - 22 มีนาคม กลางวันเท่ากับกลางคืน ฤดูใบไม้ผลิ
2. ครีษมายัน 21 - 22 มิถุนายน กลางวันยาวที่สุดในรอบปี ฤดูร้อน
3. ศารทวิษุวัต 22 - 23 กันยายน กลางวันเท่ากับกลางคืน ฤดูใบไม้ร่วง
4. เหมายัน 22 - 22 ธันวาคม กลางคืนยาวที่สุดในรอบปี ฤดูหนาว

.jpeg)
ถ้าสังเกตที่ขอบฟ้าทุกเช้าตรู่จะเห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่กลับไปกลับมาระหว่างทิศเหนือและทิศใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ถึงพิกัดใต้สุดจะหยุดอยู่ที่นั่นราวๆ 10 วัน หลังจากนั้นจะเคลื่อนกลับไปทางทิศเหนือ เป็นที่มาของภาษาอังกฤษ Winter Solstice (คำว่า Solstice มาจากภาษา Latin แปลว่าหยุดนิ่ง) ส่วนภาษาสันสกฤตใช้คำอธิบายว่า Uttrayana หมายถึงเมื่อดวงอาทิตย์หยุดนิ่งที่ทิศใต้แล้ว ก็จะเริ่มเคลื่อนที่กลับไปทางทิศเหนือ (Uttara = North, Yana = Move)

จังหวัดสกลนครตั้งอยู่ที่พิกัดเส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ (Latitude 17 N) ดวงอาทิตย์ขึ้นที่ขอบฟ้าในปรากฏการณ์ เหมายัน ณ มุมกวาด 115 องศา (Azimuth 115)
.jpeg)
ปรากฏการณ์ "เหมายัน" (Winter Solstice) ถูกค้นพบอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่ปราสาทภูเพ็ก เมื่อ 21 ธันวาคม 2544 ..... ดวงอาทิตย์ยามเช้าตรู่ขึ้น ณ พิกัดมุมกวาด 115 องศา (Az 115) ตรงกับสัญญลักษณ์บนแท่งหิน "ครรภบัตร" ซึ่งเอกสารของกรมศิลปากรอธิบายว่าเป็น "ผังจักรวาล" ชมรมอารยธรรมสกลนครเรียกสิ่งนี้ว่า "สุริยะปฏิทิน"

แท่งหิน "ครรภบัตร" ที่ปราสาทภูเพ็ก บนยอดภูเขา + 520 เมตร จากระดับน้ำทะเล ที่บ้านภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม สกลนคร มีสัญลักษณ์แสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์ยามเช้าตรู่ที่พิกัดมุมกวาด 115 องศา (Az 115) ชมรมอารยธรรมสกลนครตั้งชื่อหินแท่งนี้ว่า "สุริยะปฏิทิน" เพราะสามารถชี้พิกัดดวงอาทิตย์ในวันสำคัญทางดาราศาสตร์ได้อย่างครบถ้วน (ภาพนี้ถ่ายเมื่อ 21 ธันวาคม 2545 เป็นภาพถ่ายครั้งที่สองของปรากฏการณ์ เหมายัน ที่ปราสาทภูเพ็ก)

กร๊าฟแสดงความยาวของชั่วโมงแสงอาทิตย์ในรอบปีของจังหวัดสกลนคร จะเห็นว่าวันยาวที่สุด 13 ชั่วโมง (Summer Solstice ครีษมายัน) วันสั้นที่สุด 11 ชั่วโมง (Winter Solstice เหมายัน)

กลางวัน กับ กลางคืน 11 : 13 ชั่วโมง ในปรากฏการณ์ "เหมายัน"
สะพานขอม กับ ปรากฏการณ์เหมายัน
ถาม ...... ชื่อ "สะพานขอม" มาจากไหน?
ตอบ ...... มาจากบันทึกของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งเสด็จมาตรวจราชการที่จังหวัดสกลนคร 15 มกราคม 2449

รูปร่างหน้าตา "สะพานขอม" ในปัจจุบัน

ตำแหน่งที่ตั้งสะพานขอมอยู่ตรงถนนหน้าประตูเมืองสกลนคร
.jpeg)
สะพานขอมและถนนขอมชี้ตรงไปที่ปราสาทกลางเมือง (ปัจจุบันมีชื่อใหม่ว่าพระธาตุเชิงชุม) ทุกท่านสามารถพิสูจน์ด้วยตนเองด้วยอุปกรณ์ GPS และ Google Earth

ปัจจุบันเป็นถนนสี่เลน สะพานขอมจึงอยู่ตรงกลางระหว่างถนนทางเข้าเมืองและทางออกจากเมือง ตัวสะพานขอมวางตัวในพิกัดดาราศาสตร์ที่มุมกวาด 115 องศา (Az 115)

ภาพถ่ายเมื่อ 15 มกราคม 2449 เมื่อครั้งกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาตรวจราชการที่จังหวัดสกลนคร และทรงบันทึกมีคำว่า "ถนนขอม สพานหินศิลาแลงฝีมือขอม"

ดวงอาทิตย์ยามเช้าตรู่ในปรากฏการณ์ "เหมายัน" ตรงกับ center ของสะพานขอม

อาจารย์วรวิทย์ ตงศิริ รองประธานชมรมอารยธรรมสกลนคร นั่งรับพลังสุริยะในปรากฏการณ์ "เหมายัน"

ผู้สร้างสะพานแห่งนี้ราวพันปีที่แล้วต้องเห็น "ราศีพิจิก" (Zodiac Scorpio) ขึ้นนำหน้าดวงอาทิตย์ช่วงเช้ามืดในปรากฏการณ์เหมายัน

ปัจจุบันหากไปยืนที่นี่ตอนเช้ามืดช่วงวันที่ 21 - 22 ธันวาคม ก็ยังคงเห็น "ราศีพิจิก"

ภาพถ่ายปี 2489 พอจะมองเห็นร่องรอยสะพานขอมที่เชื่อมโยงกับปราสาทเชิงชุมที่อยู่กลางเมืองสกลนคร

ลากเส้นตรงจากสะพานขอมจะไปบรรจบกับปราสาทเชิงชุม (ปัจจุบันวัดพระธาตุเชิงชุม) ที่อยู่กลางเมือง
ถึง
ถนนขอมที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวถึงถูกดัดแปลงเป็น Highway 4 เลน แต่ก็ยังคงวางตัวตามพิกัดเส้นทางเดิม ทำให้สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์เหมายันชัดเจนขณะขับรถยนต์เข้าเมืองตอนเช้าตรู่

ภาพถ่ายขณะขับรถยนต์เข้าเมืองเช้าตรู่ในปรากฏการณ์เหมายัน
สะพานขอมยังอยู่ที่เดิม ..... หรือถูกย้ายไปที่ใหม่?
ถาม ...... ตำแหน่งที่ตั้งและการวางตัวสะพานขอมยังคงอยู่ที่เดิมหรือไม่? เพราะมีคำร่ำลือว่ากรมศิลปากรได้ขุดสะพานขอมขึ้นมาสร้างใหม่ราวปี 2522 หลังจากที่กรมทางหลวงถมดินทับสะพานขอมเพื่อขยายถนนราวปี 2517 ทำให้ตำแหน่งที่ตั้งเปลี่ยนไปจากเดิม ?
ตอบ ..... กรมศิลปากรได้ทำการขุดสำรวจฐานรากสะพานขอมเมื่อเดือนมิถุนายน 2567 ทำให้มองเห็นฐานรากชัดเจนและพิสูจน์ได้ว่า "สะพานแห่งนี้อยู่ที่พิกัดเดิมและการวางตัวก็ยังคงเหมือนเดิม" เพียงแต่มีการใช้วัสดุชนิดใหม่เข้าไปเสริมส่วนบนของตัวสะพาน


กรมทางหลวงถมดินบดอัดทับสะพานขอมเพื่อขยายถนน
.jpeg)
ภาพนี้ยืนยันว่ากรมทางหลวงบดอัดดินทับสะพานขอมเพื่อขยายถนน

กรมศิลปากรต้องขุดสะพานขอมขึ้นมาใหม่เพื่อบูรณะเมื่อ 2522

กรมศิลปากรขุดสำรวจฐานรากสะพานขอมเมื่อเดือนมิถุนายน 2567 และอาจารย์วรวิทย์ ตงศิริ รองประธานชมรมอารยธรรมสกลนครลงพื้นที่หน้างานตลอดเวลาเพื่อสังเกตการณ์

การขุดสำรวจทำได้เฉพาะด้านทิศเหนือเท่านั้นเพราะด้านทิศใต้ติดกับไหล่ถนน
.jpeg)
เปรียบเทียบภาพถ่ายสะพานขอมด้านทิศเหนือเมื่อปี 2449 กับ ภาพถ่ายด้านทิศเหนือในปัจจุบันที่กรมศิลปากรขุดสำรวจเมื่อมิถุนายน 2567 ยืนยันว่าฐานรากยังคงเป็นของเดิม
ถาม ....... รู้ได้อย่างไรว่าภาพถ่ายสะพานขอมปี 2449 จำนวน 2 ภาพ ภาพไหนเป็นมุมกล้องด้านทิศเหนือและมุมกล้องด้านทิศใต้
ตอบ ...... ใช้วิธีพิสูจน์จากข้อมูลอุทกวิทยาที่ว่าด้วย "การตกตะกอน" บริเวณต้นน้ำ (Upstream) หรือท้ายน้ำ (Down stream) เพราะสะพานแห่งนี้ทำหน้าที่ "ฝายทดน้ำ" ที่ไหลมาจากหนองสนม

ดินตะกอน ณ ฐานสะพานไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับอีกภาพ แสดงว่านี่คือ "ท้ายน้ำ" (Down stream) ซึ่งเป็นด้าน "ทิศเหนือ" ที่หันหน้าไปทางหนองหาร

ดินตะกอนมีความหนากว่าภาพข้างบนแสดงเป็น "ต้นน้ำ" (Upstream) ด้าน "ทิศใต้" หันหน้าไปทางหนองสนม
.jpeg)
ตามหลักวิชาอุทกวิทยาและวิศวกรรมชลประทาน ดินตะกอนจะสะสมที่บริเวณหน้าฝาย (Upstream) มากกว่าบริเวณท้ายฝาย (Downstream) ด้วยเหตุนี้ความเร็วของน้ำจะลดลงเพราะถูกตัวฝายกั้นทำให้เกิดการตกตะกอนในบริเวณดังกล่าว
.jpeg)
ภาพ Drawing แสดงการวางตัวของสะพานขอม เปรียบเทียบกับผังเมืองสกลโบราณ

ภาพเชิงซ้อนของเมืองสกลโบราณกับแผนที่ Google Earth ทำให้เห็นหนองสนมอยู่ทางด้านทิศใต้ของสะพานขอม และหนองหารอยู่ทางทิศเหนือของสะพานขอม
บรรพชนชาวขอม ...... รู้จักปรากฏการณ์ "เหมายัน" หรือไม่?
ถาม ..... มีหลักฐานอะไรมายืนยันว่า ชาวขอมในอดีตร๔้จักปรากฏการณ์ "เหมายัน"
ตอบ ..... มีหลักฐานทางโบราณคดีแบบตัวจริงเสียงจริงอยู่ที่ปราสาทนครวัดในประเทศกัมพูชา ที่ระเบียงคตด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ (Southwest Corridor of Prasat Angkor Wat) มีภาพสลักนูนต่ำแสดงเรื่องราว "สงครามมหาภารตะ" หนึ่งในนั้นมีภาพยอดนักรบชื่อดัง คนไทยเรียกท่านว่า "ภีษมะ" (Bhishma) นอนตายอยู่บนห่าธนูของพระอรชุน เมื่อถึงปรากฏการณ์เหมายัน ...... แสงอาทิตย์ยามอัสดงจะส่องเข้ามาตรงกับตำแหน่งภาพสลักดังกล่าว
ถาม ..... ทำไมชาวขอมผู้สร้างปราสาทนครวัดจึงเจตนาให้แสงอาทิตย์ยามอัสดงในปรากฏการณ์ "เหมายัน" ส่องเข้ามาตรงกับภาพสลักยอดนักรบภีษมะนอนตายบนห่าธนู
ตอบ ..... จากเรื่องราวของสงครามมหาภารตะ สองพี่น้องรบราฆ่าฟันกับอย่างบ้าคลั่งผู้คนจำนวนมากล้มตายทั้งสองฝ่าย ท่านภีษมะซึ่งเป็นแม่ทัพใหญ่ของฝ่ายหนึ่ง แต่ก็เป็นญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายเกิดความเศร้าใจว่า "พี่น้องสองตระกูลมาฆ่าฟันกันทำไม" จึงเกิดความคิดต้องหาวิธีระงับศึกให้จงได้ ..... ท่านภีษมะไปแอบเจรจากับพระอรชุนซึ่งเป็นแม่ทัพอีกฝ่ายให้ยิงห่าธนูเข้ามาท่านยินดีแอ่นอกรับโดยไม่ขัดขวางและยอมตายคนเดียวเพื่อให้สองฝ่ายเลิกรบกันเสียที (ท่านภีษมะ เป็นลูกของพระแม่คงคา ไม่มีใครฆ่าท่านได้นอกจากท่านจะยอมตายด้วนตนเองเท่านั้น และท่านสามารถเลือกวันตายของตัวเองเมื่อไหร่ก็ได้) ..... ท่านเลือกวันตายในปรากฏการณ์ "เหมายัน" ขณะที่ดวงอาทิตย์เริ่มเคลื่อนตัวกลับไปทางทิศเหนือ ภาษาอินเดียใช้คำศัพท์ว่า Uttarayan (Uttara = North, Yan or Yana = Move) ผมเป็นนักเรียนเก่าจากมหาวิทยาลัยเกษตรรัฐปันจาบ ประเทศอินเดีย ปี 1970 - 1974 จึงเข้าใจความหมายของคำนี้อย่างดี
.jpeg)
ภีษมะ เป็นบุตรของพระแม่คงคา ไม่มีใครฆ่าท่านได้

ภีษมะ เป็นแม่ทัพใหญ่ยอดนักรบในสงครามมหาภารตะ ซึ่งอีกฝ่ายนำโดยพระอรชุน
ภาพสลักนูนต่ำ "ยอดนักรบภีษมะนอนตายบนห่าธนูของพระอรชุน" บนผนังกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทนครวัด
.jpeg)
เรื่องราวของสงครามมหาภารตะ ท่านภีษมะแอ่นอกรับห่าธนูของพระอรชุนอย่างเต็มใจ

ผมไปที่ปราสาทนครวัดหลายครั้งเพื่อเก็บข้อมูล (ครั้งแรกไปเมื่อปี 2004)

เก็บข้อมูลภาพสลักนูนต่ำที่ระเบียงคตของปราสาทนครวัดครบทุกด้าน

จับพิกัดทางดาราศาสตร์ของภาพสลักนูนต่ำ "ท่านภีษมะนอนตายบนห่าธนู" พบว่าทำมุมกวาด 245 องศา (Azimuth 245)
แสงอาทิตย์ยามอัสดงในปรากฏการณ์ "เหมายัน" (Winter Solstice) ทำมุมกวาด 245 องศา กับปราสาทนครวัด

นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกผ่านมาเห็นขณะกำลังใช้เข็มทิศจับพิกัดดาราศาสตร์ ...... ถาม What are you doing จึงอธิบายข้อมูลเรื่องราวของปรากฏการณ์เหมายันที่เกี่ยวข้องกับภาพสลักท่านภีษมะ

แสงอาทิตย์ยามอัสดงในปรากฏการณ์ "เหมายัน" ส่องเข้ามาที่ระเบียงคตด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทนครวัดด้วยมุมกวาด 245 องศา (Azimuth 245)



.jpeg)
4 ภาพข้างบนนี้แสดงให้เห็นแสงอาทิตย์ยามอัสดงในปรากฏการณ์ "เหมายัน" ส่องเข้ามาตรงกับภาพสลักท่านภีษมะนอนตายบนห่าธนู ณ ระเบียงคตด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทนครวัด
.jpeg)
.jpeg)
ขอขอบคุณไกด์ทัวร์ ที่ชื่อ "คุณนก" (Guide Prapaporn Matda) ที่อนุเคราะห์ภาพถ่ายเหล่านี้ เพราะวันดังกล่าวผมไม่ได้อยู่ที่นั่น เลยต้องส่ง messeger ไปขอให้คุณนกที่กำลังทำทัวร์ที่ปราสาทนครวัด ช่วยจัดการให้
ถาม ..... ปรากฏการณ์ "เห-มา-ยัน" ที่สะพานขอม เกี่ยวข้องอะไรกับ "วันตรุษจีน"
ตอบ ..... สะพานขอมวางตัวที่มุมกวาด 115 องศา ตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์เช้าตรูในปรากฏการณ์ "เห-มา-ยัน" (Winter Solstioce 21 Dec) ซึ่งตามปฏิทินจีน ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการคำนวณ "วันตรุษจีน" โดยใช้สูตร 21 December ...... ขึ้น 1 ค่ำ (ครั้งที่ 1 ) ....... (ขึ้น 1 ค่ำ ครั้งที่ 2 วันตรุษจีน)
.jpeg)
ตัวอย่างการคำนวณวันตรุษจีน ปี 2568 โดยใช้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ยามเช้าตรู่ในปรากฏการณ์ เห-มา-ยัน (Winter Solstice 21 Dec 2024) ณ สะพานขอม สกลนคร กับปฏิทินจันทรคติไทย
สรุป
สะพานขอมกับปรากฏการณ์ "เหมายัน" ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเจตนาของผู้สร้างที่มีความรู้ดาราศาสตร์ เชื่อมโยงกับเรื่องราวสงครามมหาภารตะและยอดนักรบภีษมะ