ทอผ้าเส้นใยเฮ้มพ์ ...... มรดก 3,000 ปี จากบรรพชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ภาคอีสาน
Weaving hemp fiber cloth ....... 3,000 year heritage from prehistoric ancestors in the northeast
หลักฐานทางโบราณคดีที่พิพิธภัณฑ์บ้านเชียง ยืนยันบรรพชนในอดีตอันไกลโพ้นใช้เส้นใยจากพืชพื้นเมืองที่ชื่อ "เฮ้มพ์" มาทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม ....... สามพันปีผ่านไปเทคโนโลยีนี้หายไปกับสายลม ชาวอีสานในปัจจุบันพึ่งพาเส้นใยฝ้าย จีเอ็มโอ ที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย มาเป็นวัตถุดิบในการทอผ้าและเปิดมิติแห่ง "ผ้าย้อมคราม" แถมเรียกอย่างโก้หรูว่า "ผ้าไทย" ถ้าไปดูข้อมูลการนำเข้าฝ้ายของเว้ปสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรจะเห็นตัวเลขมูลค่านำเข้าปีละร่วมหมื่นล้าน ..... ถ้าท่านบรรพชนชาวบ้านเชียงฟื้นขึ้นมาได้คงจะชี้หน้าใส่เราๆท่านๆว่า ..... ของตูข้านะผ้าไทยแท้ๆโว้ย ส่วนของสูเจ้านะของปลอมคักๆ
Archaeological evidence at Ban Chiang Museum It is confirmed that ancestors in the distant past used fibers from a native plant called "hemp" to weave clothing. Three thousand years have passed and this technology is gone with the wind. Today's Isaan people rely on GMO cotton fibers imported from the United States, China, and India.Become a raw material for weaving and open the dimension of "Indigo-dyed fabric" and elegantly called "Thai fabric." If you look at cotton import data on the website of the Office of Agricultural Economics, you will see numbers. The value of imports is worth ten billion a year..... If the ancestors of Chiang villagers were revived, they would probably point at us and say, ..... My stuff is real Thai cloth. Your part is a fake.

ถ้าทุกท่านไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์บ้านเชียง จ.อุดรธานี จะเห็นการแสดงหลักฐานการใช้เส้นใยจากพืชพื้นเมืองที่ชื่อ "เฮ้มพ์" พร้อมด้วยอุปกรณ์การปั่นด้ายที่เรียกว่า "แวดินเผา"
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับพืชพื้นเมืองที่มีมาแต่ครั้งโบราณที่ชื่อว่า "เฮ้มพ์"
พูดตามความจริงนักโบราณคดีที่มีตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษระดับซี 10 ก็ไม่ทราบว่าบรรพชนเมื่อ 3,000 ปีที่แล้วเรียกพืชชนิดนี้ว่าอะไร แต่เราๆท่านๆยุคปัจจุบันตั้งชื่อพืชชนิดนี้อย่างอัปมงคลว่า "กัญชง" เลยกลายเป็นน้อง "กัญชา" และถูกเหมาเข่งให้เป็นยาเสพติดอยู่นานหลายปี ในทางวิทยาศาสตร์เอ็มพ์ มีชื่อภาษาอังกฤษ Hemp และชื่อวิทยาศาสตร์ Cannabis sativa ส่วนกัญชา ชื่อภาษาอังกฤษ Marijuana ชื่อวิทยาศาสตร์ Cannabis indica ทุกวันนี้ฝรั่งเรียกเฮ้มพ์ว่า "เฮ้มพ์อุตสาหกรรม หรือ Industrail Hemp" เพราะใช้ผลิตเสื้อผ้า เครื่องใช้ต่างๆ เนื่องจากเป็นเส้นใยที่คงทนมากกว่าฝ้ายหลายเท่าอีกทั้งอายุเก็บเกี่ยวก็สั้นกว่า แถมกินน้ำน้อยและไม่ต้องใช้สารเคมี อีกทั้งสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไชด์ได้ดีมาก จนได้ชื่อว่า Carbon Negative Plant หมายถึงดูดซับคาร์บอนระหว่างที่เป็นพืชได้มากกว่าการปลดปล่อยคาร์บอนในขั้นตอนการแปรรูปเป็นเสื้อผ้าและเครื่องใช้ ผู้เขียนได้ทดลองปลูกในที่ดินส่วนตัวที่ อ.วาริชภูมิ สกลนคร รวม 3 ครั้ง พบว่าเจริญงอกงามได้ดีมาก
แปลงทดลองปลูกเฮ้มพ์ด้วยระบบน้ำหยด ที่สวนดงไร่ อ.วาริชภูมิ สกลนคร

สามารถเจริญเติบโตได้เร็วมากสมกับเป็นพืชพื้นเมือง และไม่พบการทำลายของศัตรูพืชจึงไม่ต้องใช้สารเคมี

เฮ้มพ์มีทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมียสามารถผสมพันธ์ุเพื่อออกดอกและผลิตเมล็ดพันธ์ุ

พืชชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องกับ "ความยาวของแสงอาทิตย์" ภาษาวิชาการเรียกว่า "พืชที่ไวต่อช่วงแสง" แปลตรงตัวมาจากภาษาอังกฤษ Photosensitive Plant หมายถึงถ้าปลูกในช่วงฤดูหนาวที่กลางวันสั้นกว่ากลางคืน (short day) จะถูกกระตุ้นให้ออกดอกเพื่อผลิตเมล็ดพันธ์ุ แต่ถ้าปลูกในฤดูฝนเป็นช่วงกลางวันยาวกว่ากลางคืน (long day) จะไม่ออกดอกแต่สามารถเก็บเกี่ยวไปทำเส้นใย

เส้นใยเฮ้มพ์อยู่ที่เปลือก (Bast) ส่วนก้าน (Hurd) ใช้ทำวัสดุเครื่องใช้หลายชนิด เช่น กล่องใส่อาหารทดแทนโฟม ถ้วยกาแฟ ฯลฯ ที่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติ ที่ประเทศอเมริกามีอุตสาหกรรมเส้นใยเฮ้มพ์ขนาดใหญ่จึงมีก้าน (Hurd) เหลือมากมาย เอาไปทำวัสดุก่อสร้างทดแทนคอนกรีต เพราะมีความทนทานและเป็นฉนวนชั้นเยี่ยมเหมาะสำหรับภูมิอากาศหนาวจัดและร้อนจัด
หลักฐานทางโบราณคดีที่พิพิธภัณฑ์บ้านเชียง
เดินทางไปชมหลักฐานการทอผ้าของบรรพชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียง ได้พบวัตถุพยานและเอกสารของกรมศิลปากรที่น่าสนใจ ดังนี้ ครับท่าน

แสดงการทอผ้าในยุคโบราณด้วยอุปกรณ์ง่ายๆ

คำอธิบายเรื่องของการทอผ้าในยุคนั้น
โบราณวัตถุส่วนหนึ่งที่ตั้งแสดงเป็นเครื่อประดับที่เรียกว่ากำไลข้อมือและวัสดุอีกชิ้นไม่ทราบว่าคือเครื่องอะไรทั้งคู่มีเศษผ้าติดอยู่

ภาพขยายของโบราณวัตถุที่กล่าวถึงว่ามีเศษผ้าติดอยู่

ภาพขยายทำให้มองเห็นว่าเป็นเศษผ้า

อีกภาพเป็นโบราณวัตถุทำด้วยดินเผาเรียกว่า "แว สำหรับปั่นด้าย" ตั้งแสดงคู่กับกำไลข้อมือที่มีเศษผ้าติดอยู่

เจ้าหน้าที่อธิบายว่ากรมศิลปากรนำโบราณวัตถุที่มีเศษผ้าติดไปพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์และพบว่าเป็นเส้นในพืชที่ชื่อ "เฮ้มพ์" นักวิชาการบางท่านเรียกว่า "ป่านกัญชา"
หนึ่งในรายงานผลการวิจัยของนักศึกษาปริญญาโทของกรมศิลปากร

งานวิจัยยืนยันว่าเศษผ้าที่พบคือเส้นใยเฮ้ม หรือเส้นใยป่านกัญชา หรือปัจจุบันเรียกว่า "กัญชง"

รูปร่างหน้าตาของอุปกรณ์ "แว" ใช้ปั่นเส้นใยให้เป็นด้ายพร้อมที่จะนำไปทอผ้า

คำอธิบายว่า "แว" คืออะไร

ภาพสาธิตการปั่นด้ายด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า "แว"

หนังสือพิมพ์ Bangkok Post วันที่ 26 ตุลาคม ปี ค.ศ.2014 ลงข่างว่าพิพิธภัณฑ์ในสหรัฐอเมริกาส่งคืนโบราณวัตถุให้ประเทศไทย

ผลการตรวจสอบโบราณวัตถุเหล่านั้นพบว่าบางชิ้นมีเศษผ้าติดอยู่ นั่นคือ "เฮ้มพ์" (Hemp) แต่ไม่พบเศษเส้นใยไหม

รายงานทางวิชาการของนักโบราณคดียืนยันว่าเศษผ้าที่ติดอยู่บนเครื่อประดับยุคบ้านเชียงคือ "เฮ้มพ์"

เว้ปไซด์นี้ก็ยืนยันว่าเฮ้มพ์ (Hemp: Cannabis sativa) เป็นพื้ชพื้นเมืองที่ให้เส้นใยในบริเวณแหลมอินโดจีนมานานห้าพันปี ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "เส้นใยก่อนประวัติศาสตร์" (Prehistoric Textiles)
ฟื้นอดีต 3,000 ปี ด้วยแฟชั่นปัจจุบัน
ผมสรรค์สนธิ บุณโยทยาน นักพิภพวิทยา ประธานชมรมอารยธรรมสกลนคร อาจารย์แอ้ว ม.ราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร น้องอ๊อฟ ผู้เชี่ยวชาญการปลูกเฮ้มพ์อยู่ที่บ้านฝั่งแดง ต.ไฮหย่อง อ.พังโคน สกลนคร และคุณนกน้อย นักออกแบบเสื้อผ้า อ.เมืองสกลนคร เราทุกคนมีความมุ่งหวังที่จะฟื้นภูมิปัญญาของบรรพชนเพื่อสร้างมูลค่าแก่พืชพื้นเมืองที่ชื่อ "เฮ้มพ์" ให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของแฟชั่นเสื้อผ้าที่มี Story Behind ย้อนหลัง 3,000 ปี

อาจารย์แอ้ว ม.ราชมงคลอีสานวิทยาเขตสกลนคร และน้องอ๊อฟ ผู้เชี่ยวชาญการปลูกเฮ้มพ์ ที่บ้านฝั่งแดง ต.ไฮหย่อง อ.พังโคน สกลนคร ทดลองสั่งเส้นใยเอ็มพ์มาจาก สปป.ลาว ย้อมครามธรรมชาติ และว่าจ้างคุณป้าหอม ผู้นำกลุ่มสตรีทอผ้า บ้านต้นผึ้ง ต.ต้นผึ้ง อ.พังโคน สกลนคร ให้ทอเป็นผ้าผืน ส่งต่อให้คุณนกน้อยผู้เชี่ยวชาญออกแบบเสื้อผ้านำไปตัดเย็บเป็นเสื้อกั๊ก
ผลงานการทอผ้าจากเส้นใยเฮ้มพ์ และตัดเย็บเป็นเสื้อกั๊กสไตล์ยีนส์

ใส่เสื้อกั๊กไปโชว์ให้ชาวอเมริกันได้ชมที่รัฐไอโอว่า และรัฐแคลิปฟอร์เนีย
สรุป
พูดง่ายๆไม่ต้องอ้อมค้อม ...... มรดกของบรรพชนที่เรียกว่าเส้นใยทอผ้าจากพืชพื้นเมือง "เฮ้มพ์" หายไปกับกาลเวลานานถึง 3,000 ปี ถึงเวลาหรือยังที่เราๆท่านๆลูกหลานอีสานจะนำสิ่งดีงามกลับมาประยุกต์อีกครั้งหนึ่ง ให้สมกับคำคุยว่า "ภูมิใจในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีมาอย่างยาวนาน"