น้ำท่วมเมืองสกล 2560 ต่างกับน้ำท่วมภาคเหนือ 2567 อย่างไร?
เมืองสกลถูกน้ำท่วมครั้งใหญ่ในรอบ 30 ปี เนื่องจากฝนตกอย่างต่อเนื่องแทบทุกวันในเดือนกรกฏาคม 2560 และเมื่อถึงวันที่ 27 และ 28 กรกฏาคม มี "พายุเซินกา" เข้าพื้นที่ทำให้ฝนเทลงมาอย่างหนักราว 300 มม. ภายใน 48 ชั่วโมง ..... เป็นเหตุให้น้ำจากเทือกเขาภูพานไหลลงมาท่วมตัวเมืองขณะเดียวกันน้ำในทะเลสาบขนาดใหญ่ "หนองหาร" ก็เอิ่อล้นเพราะไม่สามารถระบายลงแม่น้ำโขงเนื่องจากแม่น้ำก่ำที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างหนองหารกับแม่น้ำโขงก็อยู่ในสภาพล้นตลิ่ง

ภาพเปรียบเทียบน้ำท่วมเมืองสกลนคร ปี 2560 กับน้ำท่วมภาคเหนือ ปี 2567


น้ำไหลลงมาจากเทือกเขาภูพานเข้าสู่ตัวเมืองสกลเพราะเกินขีดความสามารถที่จะอุ้มน้ำเนื่องจากปริมาณน้ำฝนสะสมหลายวันในช่วงเดือนกรกฏาคมบวกกับพายุเซินกาที่เข้ามาในวันที่ 27 - 28 กรกฏาคม


ตัวอย่างสภาพน้ำท่วมที่หมู่บ้านจัดสรร "อารียา1" ที่ผู้เขียนเป็นประธานนิติบุคคล

เปรียบเทียบสภาพน้ำท่วมในตัวบ้านกับสภาพหลังน้ำลดแล้วที่บ้านของผู้เขียน
สภาพน้ำท่วมเมืองสกล 2560 กับ น้ำท่วมภาคเหนือ 2567 มีความแตกต่างกันมาก
น้ำที่ท่วมเมืองสกลไหลลงมาจากเทือกเขาภูพานมีลักษณะ "น้ำใส" แต่น้ำท่วมที่ภาคเหนือมีลักษณะ "ขุ่นคลักเต็มไปด้วยขี้โคลน" สาเหตุจากการกัดเซาะดินบนภูเขาอย่างรุนแรง เมื่อน้ำลดลงจึงทิ้งขี้โคลนไว้เต็มบ้านเต็มเมือง
.jpeg)
ภาพน้ำท่วมในตัวเมืองสกลนคร กับน้ำท่วมในภาคเหนือ



ภาพหลังน้ำลดที่เมืองสกลไม่ค่อยมีปัญหาขี้โคลนสามารถทำความสะอาดได้ไม่ยากนัก ตรงกันข้ามกับภาคเหนือที่เต็มไปด้วยขี้โคลนและเศษไม้
สาเหตุของความแตกต่าง
1.เทือกภูเขาภูพานมีป่าที่ค่อนข้างหนาทึบประกอบกับมีหินทรายจำนวนมหาศาลช่วยชลอความเร็วและป้องกันการกัดเซาะ ภาษาวิชาการเรียกว่า "มีตัวช่วยชลอน้ำแบบธรรมชาติ" (natural check dam) น้ำที่ไหลลงมาจึงไม่มีขี้โคลน
2.ด้านล่างของเทือกเขาภูพานมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กจำนวนมาก "สร้างโดยโครงการพระราชดำริของพ่อหลวง ร.9" ช่วยรับน้ำไว้ก่อนที่จะไหลเข้าตัวเมือง ทำให้ระดับน้ำท่วมไม่สูงเท่ากับภาคเหนือ

สภาพความสมบูรณ์ของป่าบนภูเขาที่แตกต่างกันชัดเจน

ภูเขาภูพานมี "หินทราย" จำนวนมหาศาลช่วยทำหน้าที่ชลอน้ำ

สภาพทางธรณีวิทยาของภูเขาภูพานแม้จะมีความลาดชันพอๆกับภูเขาในภาคเหนือแต่ด้วย "หินทราย" จำนวนมากมาช่วยทำหน้าที่ป้องกันการกัดเซาะ

ลำธารน้ำบนภูเขาภูพานเต็มไปด้วยหินทราย สังเกตสีของน้ำจะใสไร้ตะกอนดิน

ลำธารบนภูเขาถูกปูด้วยหินทรายสามารถสกัดความเร็วของน้ำได้อย่างดี




ตามหลักฐานทางธรณีวิทยาภูเขาในจังหวัดสกลนครมี "หินทรายฝังอยู่ใต้ดิน" บริเวณที่อยู่ในทางไหลของน้ำจึงเป็นลำธารปูด้วยหินทราย

การทำความสะอาดหลังน้ำลดที่เมืองสกลนครจึงใช้เพียงอุปกรณ์ "ไม้กวาดทางมะพร้าว" แต่ที่ภาคเหนือจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลเพราะขี้โคลนหนาทึบ
การป้องกันดินถล่มและโคลนที่มากับน้ำ
เป็นที่ยอมรับว่าเราๆท่านๆ "ไม่สามารถห้ามฟ้าห้ามฝนหรือห้ามพายุ" น้ำท่วมเพราะฝนตกหนักจึงเป็นสิ่งเหนือขีดความสามารถของคนและถือว่าเป็น "ภัยธรรมชาติ" แต่ปรากฏการณ์ "โคลนถล่ม" น่าจะอยู่ในวิสัยที่ป้องกันหรือบรรเทาได้ ด้วยวิธีการ 2 อย่าง
1.เร่งสร้างคันกั้นลำธารที่อยู่บนภูเขา หรือ check dam ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อช่วยชลอความเร็วน้ำและลดการกัดเซาะ
2.ปลูกป่าบนภูเขาให้มากที่สุด เพราะต้นไม้จะช่วยชลอการ "กระแทกของน้ำฝน" และช่วยยึดดินกับชลอความเร็วของน้ำ เรื่องนี้อาจจะขัดอกขัดใจกับชาวบ้านที่ทำอาชีพปลูกพืชไร่บนภูเขา แต่อย่างน้อยก็ให้ช่วยปลูกและดูแลต้นไม้ในแนวสองข้างของลำธารบนเขา

.jpeg)
สร้าง check dam ด้วยวัสดุท้องถิ่นเพื่อชลอความเร็วของน้ำและปลูกหญ้าแฝกตามแนวลำธารป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง

ตัวอย่าง check dam บนภูเขาที่ชื่อ "ภูเพ็ก" สกลนคร (ภาพถ่ายเมื่อพฤษภาคม 2554)