จารึกภาษาขอมที่ปราสาทเชิงชุม (พระธาตุเชิงชุม) สกลนคร ....... แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ชยานักษัตร วันอังคาร ...... ตรงกับวันอะไรในปฏิทินปัจจุบัน
ปราสาทขอมที่ตั้งอยู่กลางเมืองสกลนครโบราณถูกดัดแปลงเป็นศิลปะล้านช้างเมื่ออาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจราวพุทธศตวรรษที่ 19 (พ.ศ.1801 - 1900) และอาณาจักรล้านช้างเข้ามาแทนที่ทำให้ปัจจุบันมีรูปลักษณ์เป็นเจดีย์ในชื่อ "พระธาตุเชิงชุม" อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าไปดูขอบประตูหินทรายที่อยู่ข้างในองค์พระธาตุจะเห็น "จารึกภาษาขอม"
ผู้เชี่ยวชาญภาษาโบราณของกรมศิลปากรได้แปลจารึกออกมาเป็นภาษาไทย เริ่มต้นบรรทัดแรก ...... "แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ชยานักษัตร วันอังคาร" ข้อความแค่นี้ ..... บอกไม่ถูกว่าตรงกับปฏิทินปัจจุบัน พ.ศ.อะไร เดือนไหน วันที่เท่าไหร่?
เป็นหน้าที่ของชมรมอารยธรรมสกลนครในการสานต่อผลงานของกรมศิลปากรโดยใช้วิชาดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ ปฏิทินมหาศักราช และคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยตีความ
.jpeg)
ดูภายนอกของพระธาตุเชิงชุมจะไม่รู้ว่าข้างในมีปราสาทขอม แต่ถ้าเข้าไปข้างในด้านหลังหลวงพ่อองค์แสนจะเห็นประตูปราสาทยุคขอมเรืองอำนาจทำด้วยหินทราย
.jpeg)
ขอบประตูด้านขวามือ (หันหน้าเข้าประตู) มีจารึกภาษาขอม 12 บรรทัด

ขอบประตูที่มีจารึกภาษาขอม

ผู้เชี่ยวชาญภาษาโบราณของกรมศิลปากรแปลจารึกออกมาเป็นภาษาไทย

บรรทัดที่ 1 และ 2 มีคำแปลภาษาไทย ..... แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ชยานักษัตร วันอังคาร .... แต่ก็ยังไม่ทราบว่าตรงกับ พ.ศ.อะไร เดือนไหน วันที่เท่าไหร่?
วิธีการตีความโดยใช้วิชาดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ ปฏิทินมหาศักราช และคณิตศาสตร์
1.เริ่มต้นที่ปฏิทินขอม "มหาศักราช" เดือน 7 ตรงกับราศีตุล Libra ชื่อเดือน Ashwin เทียบกับปฏิทินปัจจุบันคือวันใดวันหนึ่งระหว่างวันที่ 23 กันยายน ถึง 22 ตุลาคม
.jpeg)
2.ชยานักษัตร ภาษาขอมมีรากศัพท์มาจากภาษาอินเดียโบราณ "ไจตระ นักษัตร" (Chitra Nakshatra) ตามหลักโหราศาสตร์ของอินเดียอยู่ระหว่างราศีกัลย์ (Virgo) และราศีตุล (Libra) สอดคล้องกับปฏิทินมหาศักราช
.jpeg)

.jpeg)
3.ตรวจสอบย้อนหลังด้วยโปรแกรมดาราศาสตร์ โดยวิธีไล่สุ่มไปทีละปีในช่วงระหว่าง AD 1000 - AD 1300 ซึ่งเชื่อว่าอิทธิพลขอมอยู่ที่จังหวัดสกลนครและคาดว่าปราสาทหลังนี้น่าจะสร้างในช่วงดังกล่าว ...... อนึ่ง เพื่อให้การไล่สุ่มง่ายขึ้นจึงเพ่งเล็งไปที่ช่วง ปี ค.ศ.1180 - 1220 ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในที่สุดพบว่าตำแหน่งดวงอาทิตย์ที่อยู่ ณ พิกัดระหว่างราศีกัลย์ (Virgo) และราศีตุล (Libra) ตรงกับ AD 1204 หรือ พ.ศ.1747
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชระหว่าง ค.ศ.1180 - 1220

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ The Starry Night Pro Plus แสดงผล วันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ.1204 ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งระหว่างราศีกัลย์ (Virgo) กับราศีตุล (Libra)
4.ตรวจสอบด้วยโปรแกรมดาราศาสตร์ The Starry Night Pro Plus เพื่อหาว่า "แรม 8 ค่ำ" คือวันไหนของราศีดังกล่าว ..... พบว่าตรงกับ 19 ตุลาคม AD 1204 หรือ พ.ศ.1747 อนึ่ง แรม 8 ค่ำ คืออายุของเฟสดวงจันทร์ (Phase of the Moon) 23.58 days ตรงกับวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ.1204 หรือ พ.ศ.1747
.jpeg)
โปรแกรมดาราศาสตร์ The Starry Night Pro Plus ยืนยัน คืนวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ.1204 ดวงจันทร์มีอายุ 23.58 days old หรือ แรม 8 ค่ำ
5.ตรวจสอบด้วยโปรแกรมคณิตศาสตร์ของปฏิทินสากล (Gregorian Calendar) คำนวณวันในรอบอาทิตย์ (Day of the week) วันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ.1204 หรือ พ.ศ.1747 เป็น "วันอังคาร" (Tuesday) ตรงกับจารึกภาษาขอม

โปรแกรมคำนวณวันในรอบสัปดาห์ยืนยัน 19 October 1204 = Tuesday วันอังคาร
6.ใช้โปรแกรม Conversion Gregorian Calendar to Saka Cakendar แสดงผล วันดังกล่าวตรงกับ 27 Ashvin Month Saka 1126 Mangalavara (มังกาละวารา = วันอังคาร)
7.สอบเทียบวันและปี 19 ตุลาคม ค.ศ.1204 อยู่ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ด ค.ศ.1120 - ค.ศ.1218
.jpeg)
อนึ่ง จารึกภาษาขอมเก่าที่สุดเท่าที่พบในจังหวัดสกลนคร คือจารึกภูถ้ำพระ บ้านหนองสะไน ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก ระบุมหาศักราช 988 ตรงกับ ค.ศ.1066 (พ.ศ.1609) แสดงว่าดินแดนแห่งนี้มีอิทธิพลขอมเข้ามาปกครองก่อนหน้า ค.ศ.1066 จึงกล่าวได้ว่าเมืองสกลนครโบราณมีมาก่อนรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นานกว่า 114 ปี ซึ่งน่าเป็นไปได้ว่าตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าสุริยะวรมัน ที่ 1 (ค.ศ.1002 - 1049)

จารึกภาษาขอมที่ภูถ้ำพระ อ.กุดบาก ระบุมหาศักราช 988 ตรงกับ ค.ศ.1066 เป็นรัชสมัยพระเจ้าอาชาวรมันที่ 3 (Harshavarman III 1066 - 1080)
สรุป
การตีความตั้งแต่ข้อ 1 ถึง ข้อ 6 มีความสอดคล้องกันทั้งหมด ถ้าเป็นภาษากฏหมายระบบกล่าวหา ...... พยานบุคคล วัตถุพยาน และผลการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ชี้ไปที่จุดเดียวกัน จึงลงความเห็นว่า จารึกภาษาขอม แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ชยานักษัตร วันอังคาร คือ .... 19 ตุลาคม ค.ศ.1204 หรือ พ.ศ.1747 อยู่ในช่วงปลายรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และยังทราบอีกว่าจารึกนี้เกิดขึ้นหลังจากที่สร้างเมืองเสร็จแล้ว มีการอยู่อาศัยของพลเมือง มีระบอบการปกครองแบบเจ้านาย เพราะกล่าวถึงชื่อหมู่บ้านสองแห่งและตำแหน่งชนชั้นปกครองระดับชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีคำว่า "กัมเสตง" เป็นตำแหน่งชั้นสูงระดับเจ้า ก็แสดงว่าเมืองสกลโบราณต้องถูกสร้างก่อนหน้าจารึกนี้หลายปี อีกทั้งเมื่ออ้างอิงข้อมูลจารึกภาษาขอมพบที่ "ภูถ้ำพระ" บ.หนองสะไน ต.นาม่อง อ.กุดบาก สกลนคร ระบุมหาศักราช 988 (ค.ศ.1066 พ.ศ.1609) แรม 10 ค่ำ เดือน 7 วันจันทร์ เก่ากว่ารัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ถึง 114 ปี

