ReadyPlanet.com
dot
bulletมูลนิธิ BCL
dot
สืบเสาะเจาะลึกเมืองสกล
dot
bulletถอดความศิลาจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบ "ฤกษ์อโรคยาศาล"
bulletมหัศจรรย์ "วสันตวิษุวัต" สกลนคร
bulletตรุษจีน ตรุษเวียต ตรุษไทสกล และบุญเบิกฟ้า
bulletผลงานเด่น ชมรมอารยธรรมสกลนคร 2544 - 2567
bulletสะพานขอม กับ ปรากฏการณ์เหมายัน
bulletทอผ้าเส้นใยเฮ้มพ์ ...... มรดก 3,000 ปี จากบรรพชนอีสาน
bulletน้ำท่วมเมืองสกล 2560 ต่างกับน้ำท่วมภาคเหนือ 2567 อย่างไร?
bulletจารึกปราสาทเชิงชุม แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ชยานักษัตร วันอังคาร ...... ตรงกับวันอะไรในปฏิทินปัจจุบัน
bullet"ศารทวิษุวัต" (Fall Equinox) มีผลอย่างไรกับพืช สัตว์ และมนุษย์
bulletเวลา ปราสาทหิน ปฏิทินสุริยะ และจังหวะสังคม ....... คำนิยมจากวารสารศิลปวัฒนธรรม
bulletชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ เผชิญหน้ากับ อารยธรรมทวารวดี ...... เกิดอะไรขึ้น?
bulletปราสาทขอมเมืองสกลวางตัวในมุมกวาดที่ต่างกัน 80 องศา และ 90 องศา ..... คลาดเคลื่อนหรือเจตนา?
bulletปราสาทบริวารที่ภูเพ็ก ..... ถ้าสร้างเสร็จน่าจะใหญ่ขาดไหน?
bulletสะพานขอม ...... ห้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์
bulletUnseen สะพานขอม ........ ไม่ใช่สะพานธรรมดา
bulletประตูมิติแห่งกาลเวลา Megalithic Gate of Equinox ...... Sakon Nakhon Thailand
bulletปฏิทินท่องเที่ยวดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เมืองสกล Mar 2024 - Feb 2025
bulletหนองหารหลวง ....... นครแห่ง "สุริยะปฏิทินพันปี"
bulletหนองหารหลวง ........ เมืองแห่ง "มหาสงกรานต์" จริงหรือ?
bulletปราสาทนารายณ์เจงเวง .....อะไรหายไปแล้ว อะไรเสี่ยงสูญหาย
bulletปราสาทภูเพ็ก ถูกดัดแปลง?
bulletสะพานขอมปัจจุบัน ....... โบราณสถานตัวจริง หรือสร้างใหม่?
bulletนาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรมเมืองสกล ...... มรดกจากบรรพชน
bulletSakon Hempmade มิติใหม่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
bulletความรู้ปัจจุบัน ฤาจะเทียบชั้นกับวันวาน Ancient Wisdom V/S Digital Technology
bulletพบฐานรากปราสาทขอมใกล้ลำน้ำก่ำ
bulletปราสาทภูเพ็ก สกลนคร สุดๆแห่งปราสาทขอมในประเทศไทย
bulletปฏิบัติการภูเพ็ก ดอนสวรรค์ พิสูจน์คำทำนายซินแส ฮวงจุ้ยเมืองสกล
bulletสุริยะปฏิทินขอมพันปี
bullet "อาทิตย์ทรงกลด" ณ ปราสาทขอมเมืองสกล วิทยาศาสตร์ที่ลงตัวกับความเชื่อ
bulletโลกล้านปีที่แอ่งสกลนคร
bulletกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ....... เป็นใคร ....... มาจากไหน?
bulletพระยาสุระอุทก .......หนองหารหลวง ตำนานที่จับต้องได้
bulletรับพลังสุริยะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ...... ที่สกลนคร
bulletกรมศิลปากรโยนหินถาม...เอกสารสิทธิ์ทับคูเมืองสกลโบราณ จะออกทางไหน
bulletหลากมิติอารยธรรม 4 ยุค "บ้านท่าวัด" ริมหนองหาร สกลนคร
bulletถอดจารึกขอม "ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น
bulletปราสาทขอมเมืองสกล.....เอาหินมาจากไหน ?
bulletพระธาตุดุม....ในอีกมุมมอง
bulletมุมมองใหม่ "สะพานขอม" ฝายทดน้ำชลประทาน
bulletไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง
bulletหนองหารหลวงเมืองหน้าด่าน ยันกับอาณาจักรจาม
bulletไขประตูสู่อดีตพระธาตุเชิงชุม ...... ในอีกมุมมอง
bulletประตูเมืองโบราณสกลนครอยู่ตรงไหน
bulletปฏิบัติการ "มหาสงกรานต์" ไขปริศนาจารึกเมืองสกลโบราณ
dot
เปิดประเด็นการท่องเที่ยว
dot
bulletวิสาขบูชา 22 พฤษภาคม 2567 สุริยันจันทรา กับ โบราณสถานชื่อดัง 4 แห่ง
bulletปราสาทบ้านปรางค์ มิติดาราศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ
bulletปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
bulletStory Board มหัศจรรย์ปราสาทภูเพ็ก ตำนานที่จับต้องได้
bulletเรือท่องเที่ยวหนองหารขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
bulletตัวอย่าง เส้นทางท่องเที่ยวสกลนคร 2 วัน 1 คืน
bulletยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเส้นทาง "ราชมรรคา"
bulletTourism Gimmick
bulletTourism Project Proposal
bulletสุริยะปฏิทินจักรราศีดอนสวรรค์ Don Sawan Zodiacal Solar Calendar
bulletSt.Peter's Fish โปรโมทการท่องเที่ยวและสร้างอาชีพใหม่....สกลนคร
bulletBig Project Tourism SNO
bulletAdventure Tourism (Search-Found-Selfie) ลุยป่าค้นหาขอมพันปี
dot
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ Operation Astronomy
dot
bulletOperation Rahu XVI How far is the moon
bulletOperation Eratosthenes II "Measuring Earth with one stick"
bulletย้อนอดีต 1,300 ปี ทวารวดีศรีเทพ มีอะไรที่นั่น?
bulletOperation Equinox 2024
bulletOperation Spica .... ไขปริศนา "เมืองโบราณศรีเทพ"
bulletย้อนอดีต "ราหูอมสุริยา" ก่อนเปลี่ยนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
bulletOperation Rahu Episode XV วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์
bulletเจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
bulletOperación Intercontinental Solsticio de Invierno ปฏิบัติการดาราศาสตร์ เห-มา-ยัน ข้ามทวีป ไทย - เม็กซิโก ธันวาคม 2022
bulletOperation Rahu Episode XIV Total Lunar Eclipse 8 Nov 2022 How Far is The Moon?
bulletOperation Transcontinental Equinox 2022 ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565
bulletOperation Chou Li Episode V ..... Earth's axis tilt 23.5?
bulletOperation Rahu Episode XIII How Far is the Moon (Lunar Eclipse 26 May 2021)
bulletOperation Bhishma Winter Solstice 2020 finding Earth's axis tilt
bulletOperation Rahu Episode XII Solar Eclipse and Summer Solstice 21 June 2020 How far and how big is the sun
bulletOperation Rahu Episode XI How far is the sun
bulletปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X) วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยะปราคาเต็มดวง
bulletปฏิบัติการชูหลี 4 มุมเอียงโลกยังคง 23.5 หรือไม่ (Operation Chou Li Episode IV)
bulletOperation Eratosthenes Episode II Mar 21, 2019 Measure Earth's circumference with one stick
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาคสาม Operation Doomsday Episode III
bulletOperation Galileo Episode II วัดความเร็วของโลก "หมุนรอบตัวเอง (Rotation) และโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Revolution)"
bulletOperation Rahu IX 28 July 2018 Total Lunar Eclipse วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletOperation Rahu VIII Measuring Distance Earth-Moon ปฏิบัติการข้ามทวีป Thailand - USA
bulletOperation Chou Li Episode III (Measure Earth Axis Tilt With One Stick)
bulletปฏิบัติการไจตระ ถอดรหัสคณิตศาสตร์ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป Operation Transcontinental Equinox 2016
bulletOperation Bhishma 2016 ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป ..... การหมุนรอบตัวเองและวงโคจรของโลกยังคงปกติหรือไม่?
bulletวัดมุมเอียงของโลก...ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode I measuring earth to moon วัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
bulletOperation Rahu Episode II สูตรใหม่คำนวณระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการ "เจนัส" วัดมุมเอียงของโลก
bulletOperation Rahu Episode III 4 April 2015 วัดระยะทางโลกไปดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการเวกัส 2558 "อีราโต้สทีเน้ส " ภาค 2 วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletOperation Rahu Episode IV วัดระยะทางโลก - ดวงจันทร์
bulletปฏิบัติการชูหลี (Operation Chou Li) ยืนยันมุมเอียงโลก 23.5 องศา
bulletOperation Rahu Episode V วัดระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์
bulletOperation Rahu Episode VI How far and how big is the Moon
bulletOperation Rahu Episode VII How far and how big is the sun
bulletOperation Chou Li Episode II (Measuring Earth's Tilt)
bulletวัดโลกทั้งใบ ไทย กัมพูชา ปฏิบัติการ "อีราโตสทีเนส" ข้ามประเทศ
bulletปฏิบัติการ "กาลิเลโอ" วัดความเร็วการหมุนของโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลกภาค 2 ข้ามทวีป ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร VS ปีรามิดเผ่ามายา เม็กซิโก
dot
แนะนำผู้เขียน
dot
bulletนายกสโมสรโรตารีสกลนคร ปีบริหาร 2556 - 2557
bulletสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
dot
สากกะเบือยันเรือรบ กับปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
dot
bulletปฏิบัติการอัสวีน่า ปราสาทภูเพ็ก (Operation Ashvina 23 Sep 2019)
bulletพระพุทธรูปศิลปะขอมซ่อนอยู่ใต้โพรงหินที่ปราสาทภูเพ็ก.....สื่อถึงอะไร
bulletภูเพ็ก....เมกกะโปรเจค นครที่สาปสูญ
bulletปฏิบัติการวันสิ้นโลก 2012 ท้าพิสูจน์ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร
bulletความเป็นมาของปราสาทภูเพ็ก
bulletตลึง ! พบ “ฝายหินพันปี” กลางป่าภูเพ็ก
bulletครบรอบ 10 ปี การค้นพบ "สุริยะปฏิทินพันปี" ปราสาทภูเพ็ก
bulletปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "เหมายัน" 21 -22 ธันวาคม ที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletเผยเทคนิคการออกแบบก่อสร้างปราสาทภูเพ็ก
bulletความเป็นมาของสุริยปฏิทิน
bulletพิสูจน์สุริยะวิถี กับปฏิทินมหาศักราชที่ปราสาทภูเพ็ก
bulletรับพลัง "สุริยันจันทรา" ประชันดาวหางแพนสตาร์
dot
เปิดโลกวิทยาศาสตร์
dot
bulletปลูกมะเขือเทศให้ได้ผลผลิตเกิน 10 ตัน / ไร่ Mission Impossible?
bulletประสบการณ์ส่วนตัว UFO ในแง่มุมวิทยาศาสตร์
bulletวันสถาปนากรุงศรีอยุธยา ....... มุมมองวิทยาศาสตร์
bulletปลูกป่าส่วนตัว กับ 2050 Net Zero Mission Impossible?
bulletพิสูจน์เชิงประจักษ์ "ปลูกป่าให้โตเร็ว" ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน
bulletBiofloc ...... Fish Farm 4.0
bulletทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
bulletBiofloc Farming เลี้ยงปลาระบบปิด Fisheries 4.0
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2019
bulletClimate Change Mitigation & Adaptation "It's Now or Never"
bulletฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ใช้น้ำน้อยระบบ Biofloc
bulletข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2561 (2018)
bulletGroundwater Bank (An alternative water management)
bulletข้าวหอมมะลิกับดาราศาสตร์ ปลูกปีละ 2 ครั้ง ได้หรือไม่?
bulletHow Herbal Medicine Works
bulletระบบให้น้ำโรงเรือนปลูกผักบริษัทประชารัฐ สกลนคร
bulletป่าเศรษฐกิจครอบครัวทางเลือกใหม่ win win ทั้งชาวบ้านและรัฐบาล
bulletEarth and Space Class
bulletวิเคราะห์ฤกษ์รัตนโกสินทร์ในมุมวิทยาศาสตร์
bulletปฏิบัติการพิมาย ชาตินี้มีครั้งเดียว Operation Phimai Once or Never
bulletนาฬิกาแดดโรงเรียนวิถีธรรม ม.ราชภัฏสกลนคร
bulletทำไมชาวมายาในเม็กซิโกจึงมีรูปร่างหน้าเหมือนคนเอเซีย
bulletปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ (sun overhead)
bulletเกาะติดไปกับยาน New Horizons เผยความลับพลูโต "ดาวเคราะห์ลูกเมียน้อย"
bulletทำนาน้ำน้อยแต่ผลผลิตสูง เป็นไปได้หรือไม่ More Rice With Less Water?
bullet21-22 มิถุนายน ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ครีษมายัน" Summer Solstice กลางวันยาวที่สุดในรอบปี
bulletดางหาง ISON ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปิดท้ายปี 2556
bulletมองหมากเม่าผ่านมิติดาราศาสตร์
bulletดาราศาสตร์ที่เราเห็น.....ล้วนเป็นภาพลวงตา
bulletเข้าพรรษาบางปีทำไมต้องเดือน 8-8
bulletประสบการณ์ตรงเรื่อง "ยูเอฟโอ" ผมคิดแบบวิทยาศาสตร์
bulletเกาะติดการค้นหาชีวิตบนดาวอังคาร กับยาน Curiosity
bulletหม้อหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมติดดิน
bulletนาฬิกาแดดต้นแบบมิติเวลาของมนุษยชาติ
bulletภาคปฏิบัติ....วัดโลกทั้งใบด้วยไม้แท่งเดียว
bulletการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส"
bulletชวนครูไทย วัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
dot
จับประเด็นร้อน
dot
bulletปรากฏการณ์แสงเหนือ ...... ความสวยงามที่แฝงภัยอันตราย
bulletอะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงเผชิญกับสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River)
bulletฤาตำนานหนองหารล่ม.....จะกลายเป็นเรื่องจริง
bulletทำไมคนถึงอยากครอบครอง "ดอนสวรรค์" ในบึงหนองหาร สกลนคร
bulletกู้ "หนองหาร" ด้วยมือเรา.....เริ่มต้นที่บ้าน
bulletบทเรียนอันเจ็บปวดของเขื่อนในอเมริกา....ฤา จะสะท้อนสามแสนล้านบาทเพื่อจัดการน้ำของไทย
bulletโบราณวัตถุพันปีสกลนคร....อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญหาย
bulletภัยมืดรุกชาวสกล...จากสาหร่ายพิษในหนองหาร
bulletน้ำท่วม "ตัวเมืองสกล" บทเรียนที่น่าจะถึงเวลาสรุปเสียที
bulletพายุ "นกกระเตน" ทำเสียหายสวนยางเมืองสกล
bulletฤา...นโยบาย 300 บาท จะช่วยบรรเทาปัญหา “หัวดำออก หัวหงอกเลี้ยง”
dot
อินเดียน่าโจนส์ (ภาคสรรค์สนธิ)
dot
bulletThe Cosmic Code of Borobudur รหัสจักรวาลแห่งบูโรพุทโธ
bulletThe Riddle of Ayutthaya
bulletทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม? Why does the new year begin on January 1 ?
bulletผลการดูงานสหกรณ์การเกษตรประเทศไต้หวัน 23 - 26 สิงหาคม 2559
bulletประกาศิตเทพเจ้ากูกูลข่าน The Return of God Kukulkan
bulletวางผังเมืองเชียงใหม่ด้วยวิธีดาราศาสตร์
bulletกุมภาพันธ์ ทำไมมี 28 วัน และทุกๆ 4 ปี เพิ่มอีกเป็น 29 วัน
bulletมองผ่านประตูพระธาตุพนมในอีกมุม
bulletจับพิรุธรูปสลักหินอ่อน "กษัตริย์เดวิท" ที่เมืองฟอร์เรนซ์
bulletย้อนอดีตกรุงเก่าอยุธยา ถือฤกษ์ "รามนะวามิ"
bulletท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "โสมสูตร" ที่ปราสาทขอมในกัมพูชาหายไปไหนหมด
bulletอาทิตย์ตั้งฉากกับพุทธสถานชื่อดังในวันวิสาขบูชาโลก
bulletปราสาทพิมายในมุมมองวิทยาศาสตร์
bulletมองปราสาทขอม ในแง่มุมดาราศาสตร์ การเมือง และความเชื่อ โดยนักรบออนไลน์ กับไกด์มืออาชีพ
bulletปริศนา "ปราสาทบายน" ฤา.....มนุษยชาติจะผ่านพ้นความขัดแย้ง
bulletประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ทำไมต้องใช้ชื่อว่า "วิสาขะ"
bulletราหู.....น้ำอมฤต.....สนามบินสุวรรณภูมิ
bulletอาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย
bullet"มาฆบูชา" ทำไมต้องใช้ชื่อนี้
bullet"ทัชมาฮาล" ในมุมมองดาราศาสตร์
bulletคำสอนพุทธองค์เปล่งประกายอีกครั้งในดินแดนภารตะ
bulletเมือง "สารนาท" ที่มาแห่งวันอาสาฬหบูชา
bulletแกะรอย "สุริยะเทพ" ที่ปราสาทพนมบาเค็ง
bulletปราสาทหินพิมาย กับสามเหลี่ยมพุทธมหายาน
bulletจากพระธาตุเชิงชุม ถึงพุทธคยา
bulletถอดรหัสขอมพันปี 80 องศา พบราศีเมษ
bulletไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง
bullet13 เมษายน 2551 วันสงกรานต์ จริงหรือ ?
bullet21 มี.ค. 51 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
bulletตำนานวันปีใหม่ มิติแห่งกาลเวลาของมนุษยชาติ
bulletเข้าพรรษา ปี 2550 ทำไมต้องมีเดือนแปดสองหน
bulletมหาสงกรานต์ 13–15 เม.ย.
bulletปฏิบัติการอีราโตสทีเนสวัดโลกทั้งใบ ด้วยไม้แท่งเดียว
bulletบ่าวคำหอม ล่ะเบ๋อ
bulletแวดวง BCL.
bulletปฏิบัติการ "อีราโทสทีเนส" วัดเส้นรอบวงโลกด้วยไม้แท่งเดียว




เวลา ปราสาทหิน ปฏิทินสุริยะ และจังหวะสังคม ....... คำนิยมจากวารสารศิลปวัฒนธรรม

                    เวลา ปราสาทหิน ปฏิทินสุริยะ และจังหวะสังคม 

 

         ที่มาศิลปวัฒนธรรม ฉบับเมษายน 2551
ผู้เขียนวิชชุ เวชชาชีวะ

 

          เผยแพร่วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ.2566... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.silpa-mag.com/history/article_100243
 
 
 
 
 
 
          บทความนี้เป็นการแนะนำหนังสือ “สุริยะปฏิทินพันปี ปราสาทภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร” ของ คุณสรรค์สนธิ บุณโยทยาน ซึ่งในข้อคิดเห็นของผู้แนะนำถือเป็นผลงานชิ้นเยี่ยมที่เปิดมิติใหม่สำหรับการศึกษาปราสาทหินขอม เนื่องจากสามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางโบราณคดี ดาราศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และมานุษยวิทยา ไว้ได้อย่างกลมกลืนและมีน้ำหนัก...
 
 
 
 
 
          อย่างไรก็ดี โดยที่หนังสือของคุณสรรค์สนธิอาจไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักและอาจอ่านไม่ง่ายอย่างที่ปรากฏในขั้นแรก เพราะวิธีการเล่าเรื่องอย่างเป็นกันเองทำให้ลำดับความบางช่วงกระโดด รวมทั้งมี “เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย” แทรกอยู่กระจัดกระจาย เช่น ข้อเสนอใหม่เกี่ยวกับปรากฏการณ์สุริยะที่ปราสาทพนมรุ้ง ฯลฯ ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องเบ็ดเตล็ดเหล่านี้น่าสนใจไม่แพ้ประเด็นหลัก ผู้แนะนำจึงพยายามสรุปเรียบเรียงประเด็นที่เห็นสำคัญในหนังสือให้ปรากฏชัดเจนขึ้น รวมทั้งเสนอข้อสังเกตและข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์สำหรับผู้สนใจจะได้ติดตามอ่านและศึกษาต่อยอดผลงานชิ้นพิเศษของคุณสรรค์สนธิชิ้นนี้ต่อไป.
 
          ในสังคมเมืองปัจจุบันที่พวกเราตื่นนอนขึ้นด้วยนาฬิกาปลุก ดำเนินภารกิจไปตามจังหวะของนาฬิกาข้อมือและปฏิทินตั้งโต๊ะ มีชีวิตอยู่ในวงรอบของจันทร์ถึงอาทิตย์ที่ค่ำคืนสว่างด้วยแสงไฟแทบไม่ต่างจากกลางวัน เราคงไม่ต้องใส่ใจว่าวันนี้พระอาทิตย์จะตกค่อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือหรือเฉียงใต้ คืนนี้พระจันทร์จะเต็มดวงหรือเหลือเพียงเสี้ยววง และพรุ่งนี้หรือสัปดาห์หน้า กลางวันหรือกลางคืนจะค่อยๆ ยาวขึ้นกว่ากัน... 
 
          แต่สำหรับบรรพชนของเราก่อนยุคแสงไฟฟ้า ปฏิทิน และนาฬิกา พวกเขาอาศัยความเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติเป็นเครื่องเตือนให้เตรียมดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ ทั้งเรื่องของตัวและสังคม

          คืนพระจันทร์เต็มดวงหรือใกล้เต็มดวงจึงไม่ได้หมายถึงแค่เพียงแสงสว่างยามค่ำที่ปกติเป็นของหายาก แต่ในหลายๆ ครั้งได้กลายเป็นสัญญาณนัดหมายเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชน หรือกรณีสังคมเกษตรในอุษาคเนย์หลายแห่ง เมื่อวันซึ่งกลางวันยาวที่สุดของรอบปีเริ่มผันผ่าน สมาชิกชุมชนจะถือเป็นสัญญาณเริ่มดำข้าวนาปีเพื่อให้ตั้งท้องพอดีกับฤดูที่กลางวันสั้นกว่ากลางคืนซึ่งจะตามมาในอีก 2-3 เดือน

         ในหนังสือ “สุริยะปฏิทินพันปี ปราสาทภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร” คุณสรรค์สนธิ บุณโยทยาน ได้อธิบายให้เราเห็นภาพความเกี่ยวโยงของปราสาทหิน ปฏิทินสุริยะ และจังหวะกิจกรรมทางสังคมของมนุษย์ในอดีตได้อย่างชัดเจนและน่าตื่นใจยิ่ง
 
         คุณสรรค์สนธินำเสนอว่า ในบรรดาโบราณสถานขอมจำนวนมากนั้น มีปราสาทหินจำนวนหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเป็น “สุริยะปฏิทิน” เพื่อให้สัญญาณกับพิธีกรรมและการทำมาหากินของชุมชนในอดีต ปราสาทภูเพ็กเป็นหนึ่งใน “สุริยะปฏิทิน” จำนวนน้อย (หากไม่ใช่เพียงแห่งเดียว) ที่ถูกค้นพบในเมืองไทย

          และแม้ว่าชื่อหนังสืออาจทำให้เราเข้าใจว่า ผู้เขียนคงมุ่งอธิบายแค่เรื่องปราสาทภูเพ็กเป็นสำคัญ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปราสาทภูเพ็กกลับได้รับการกล่าวถึงอยู่แค่เพียง 2 บท คือ ในบทนำและบทที่ 5
 
          ส่วนที่เหลืออีก 4 บท (หรือแม้กระทั่ง 2 บทที่เกี่ยวกับปราสาทภูเพ็กนั้น) มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นน่าสนใจต่างๆ มากมายทั้งทางกว้างและทางลึก อาทิ ดาราศาสตร์ของอารยธรรมโบราณ พัฒนาการของปฏิทินสุริยคติ ตัวอย่างสุริยะปฏิทินตามภูมิภาคต่างๆ ของโลก สุริยะปฏิทินกับเหตุผลทางเกษตรศาสตร์และมานุษยวิทยา/สังคมวิทยา สุริยะปฏิทินในเมืองพระนคร การพิสูจน์สุริยะปฏิทิน การค้นพบแท่นหินที่บันทึกรหัสดาราศาสตร์ การสร้างสุริยะปฏิทินขึ้นใหม่เพื่อรับใช้ปัจจุบัน ฯลฯ
 
          มุมมอง ข้อเสนอ และเนื้อหาที่แปลกพิเศษไม่ซ้ำใครรวมทั้งความซับซ้อนที่ซ่อนอยู่ในการเล่าเรื่องอย่างเป็นกันเอง (จนอาจเข้าทำนอง “อ่านง่าย เข้าใจยาก”) คือเหตุผลที่ผมเลือกหยิบหนังสือเล่มนี้มาแนะนำให้เราๆ ท่านๆ ได้รับทราบและลองพินิจพิจารณาเผื่อจะสามารถขยายผลในวงกว้างกันต่อไป
 
         สุริยะปฏิทิน

        คุณสรรค์สนธิเริ่มบทแรกของหนังสือโดยกล่าวถึงโบราณสถานหลายแห่งในพื้นที่แอ่งสกลนคร-นครพนม ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับอารยธรรมขอมไม่ว่าจะโดยแจ้งหรือโดยนัย อาทิ ปราสาทพนมรุ้ง พระธาตุพนม (ซึ่งคงสร้างคร่อมทับซากสิ่งก่อสร้างยุคขอมเรืองอำนาจอยู่) พระธาตุนารายณ์เจงเวง ปราสาทภูเพ็ก ฯลฯ โบราณสถานเหล่านี้มีจุดร่วมกันตรงที่ถูกออกแบบให้เกิดปรากฏการณ์พิเศษที่สัมพันธ์กับการขึ้น-ลงของดวงอาทิตย์ในวันอันจำเพาะหนึ่งๆ

        ในบทที่ 2 คุณสรรค์สนธิถอยออกมาอธิบายภาพกว้างเกี่ยวกับพัฒนาการความรู้ทางดาราศาสตร์ของอารยธรรมโลกยุคโบราณซึ่งสัมพันธ์ใกล้ชิดกับความพยายามของมนุษยชาติที่จะจัดวางระเบียบให้กับวันและเดือนภายใน 1 ปี ซึ่งก็คือแนวคิดที่เรารู้จักกันในนาม “ปฏิทิน”
 
         มนุษย์ในอดีตพบว่า การที่โลกซึ่งมีแกนเอียงเคลื่อนตัวรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบหรือ 1 ปี จะส่งผลให้เกิดฤดูกาลต่างๆ รวมทั้งวันซึ่งมีความสั้น-ยาวเปลี่ยนแปลงไปเป็นจังหวะจะโคน โดยวันพิเศษในรอบปี 4 วันซึ่งมีความหมายและถูกใช้เป็น “หมุดหมาย” (ทางเวลา) ของผู้คนในอดีต ได้แก่

        วสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) หรือวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันในครึ่งแรกของปี (Equinox = Equal Nights) ซึ่งในซีกโลกเหนือเส้นศูนย์สูตรจะตรงกับวันที่ 21 มีนาคม โดยในภูมิภาคที่มี 4 ฤดู ผู้คนจะถือเอาวันนี้เป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งหลังจากนี้ กลางวันจะค่อยๆ ขยายยาวขึ้นกว่ากลางคืน
 
        ครีษมายัน (Summer Solstice) หรือวันเดียวในรอบปีที่กลางวันยาวที่สุด ซึ่งจะอยู่ในราววันที่ 21 หรือ 22 มิถุนายน ฝรั่งถือว่าวันนี้เป็นวันสิ้นสุดฤดูใบไม้ผลิ เริ่มต้นฤดูร้อน หลังจากนี้ กลางวันจะค่อยๆ ลดความยาวลง

        ศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) หรือวันที่กลางวันกลับมายาวเท่ากับกลางคืนอีกครั้งในครึ่งหลังของปี ซึ่งมักตรงกับวันที่ 23 กันยายน ฝรั่งถือว่าเป็นวันสิ้นสุดฤดูร้อน เริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง หลังจากนี้ กลางวันจะค่อยๆ ลดความยาวลงอีกจนกระทั่งถึง

        เหมายัน (Winter Solstice) หรือวันที่กลางคืนยาวที่สุด ได้แก่วันที่ 21 หรือ 22 ธันวาคม ถือเป็นวันสิ้นสุดฤดูใบไม้ร่วง เริ่มต้นฤดูหนาว โดยหลังจากนี้ กลางวันจะค่อยๆ เพิ่มความยาวขึ้นจนกลับมาสู่วันวสันตวิษุวัต และหมุนเวียนเป็นวงรอบจังหวะตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นต่อไป
 
           บนพื้นฐานความรู้ดังกล่าว ผู้คนในอดีตได้ออกแบบอาคารหรือสิ่งก่อสร้างให้ทำหน้าที่เป็นเครื่องบ่งชี้บอกวันสำคัญทั้งสี่ (หรืออย่างน้อยก็หนึ่งในสี่วันข้างต้น) โดยจะเกิดปรากฏการณ์พิเศษขึ้นกับอาคารในวันดังกล่าว เช่น ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงกับยอดหรือจุดหมายตาอื่นๆ ของอาคาร หรืออาจสาดแสงส่องผ่านช่องประตูตามแนวแกนหลักเข้ามาภายใน เป็นต้น เราเรียกสิ่งก่อสร้างที่มีคุณสมบัติพิเศษเช่นนี้ว่า “สุริยะปฏิทิน”
 
           คุณสรรค์สนธิอธิบายแยกแยะว่า แม้ในความเป็นจริงจะมีอาคารหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ อีกหลายแห่งที่ได้รับการออกแบบให้เกิดปรากฏการณ์สัมพันธ์กับการขึ้น-ลงของดวงอาทิตย์ แต่ถ้าหากปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นในวันสำคัญทั้งสี่ (หรือหนึ่งในสี่) ของปี ก็ไม่ถือว่าอาคารหรือสิ่งก่อสร้างนั้นเป็น “สุริยะปฏิทิน” แต่อาจเป็นอาคารพิเศษอีกลักษณะ (ที่ผมขอตั้งชื่อลำลองไปพลางก่อนว่า “ปราสาทสุริยะ” โดยคุณสรรค์สนธิได้ขยายความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้บ้าง ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป)

           ปราสาทภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร แม้จะมีขนาดเล็ก (เพราะสร้างไม่เสร็จ) และไม่ปรากฏความสำคัญในทางศิลปกรรมหรือสถาปัตยกรรม แต่กลับมีลักษณะพิเศษของ “สุริยะปฏิทิน” นี้อย่างยากที่จะหาโบราณสถานอื่นๆ ในประเทศไทยเทียบเคียงได้
 
 
          สุริยะปฏิทินทั่วโลก

          แม้ว่าการศึกษาเรื่อง “สุริยะปฏิทิน” อาจยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก แต่คุณสรรค์สนธิก็ได้ค้นคว้าให้เราเห็นตัวอย่างของ “สุริยะปฏิทิน” ที่สำคัญในภูมิภาคต่างๆ ของโลกไว้ เช่น

          สโตนเฮนจ์ อังกฤษ (ซึ่งแสงอาทิตย์ในวันครีษมายันจะฉายส่องผ่านช่องกรอบเสาหินมากระทบ heel stone พอดี)

          นิวเกรนจ์ ไอร์แลนด์ (แสงอาทิตย์ยามเช้าของวันเหมายันจะส่องผ่านประตูไปกระทบจุดที่เชื่อว่าเคยมีโลงพระศพตั้งอยู่)

          พีระมิดเมืองยูแซกตุน เม็กซิโก (จากแท่นสังเกตการณ์ฝั่งตรงข้าม จะเห็นดวงอาทิตย์ในวันสำคัญทั้งสี่ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นเหนือยอดพีระมิดทั้งสาม โดยดวงอาทิตย์ในวันวสันตวิษุวัตและศารทวิษุวัตจะขึ้นตรงกับยอดพีระมิดองค์กลาง)
 
          มาชู ปิกชู เปรู (แสงอาทิตย์ในวันสำคัญทั้งสี่จะผลัดกันส่องผ่านช่องหน้าต่าง 3 บานไปกระทบกับแท่นหินที่ชื่อว่า อินทิฮัวตาน่า)

          นครวัด กัมพูชา (ดวงอาทิตย์ในวันวสันตวิษุวัตและศารทวิษุวัตจะขึ้นตรงกับยอดปรางค์องค์กลาง หากสังเกตจากตำแหน่งพิเศษบนลานซุ้มประตูกลาง นอกจากนี้ แสงอาทิตย์ในวันดังกล่าวยังจะสาดส่องต้องตรงรูปสลักพระวิษณุในพิธีกวนน้ำอมฤตบนระเบียงภาพแกะสลักอย่างพอเหมาะพอดีด้วย)
 
         หน้าที่ของสุริยะปฏิทิน

          สุริยะปฏิทินไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อความอัศจรรย์ใจของผู้พบเห็นล้วนๆ แต่เพียงอย่างเดียว

           ในบทที่สาม คุณสรรค์สนธิให้ข้อคิดเห็นว่า มนุษย์ในอดีตอาศัยสุริยะปฏิทินบ่งบอก “จังหวะเวลา” สำหรับการประกอบพิธีกรรมและการทำมาหากิน โดยเฉพาะการเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารเพื่อให้เกิดผลผลิตสูงสุด หรือการผสมพันธุ์สัตว์เพื่อให้ตกลูกในฤดูที่มีอาหารสมบูรณ์ (เช่น ต้นฤดูใบไม้ผลิ) เป็นต้น
 
           สำหรับกรณีประเทศไทยและพื้นที่ใกล้เคียง การศึกษาหลักวิชาเกษตรศาสตร์ทำให้คุณสรรค์สนธิพบว่า ข้าวพันธุ์พื้นเมือง (หรือข้าวนาปี) จะให้ผลผลิตสูงเมื่อถูกกระตุ้นให้สร้างรวงอ่อน ออกดอก และตั้งท้องด้วยแสงอาทิตย์ในช่วงที่วันกำลังลดสั้นลงเรื่อยๆ จึงเป็นไปได้มากว่าผู้คนในสมัยโบราณคงอาศัยสุริยะปฏิทินกำหนดช่วงเวลาหว่านดำข้าวพันธุ์พื้นเมือง (หรือข้าวนาปี) ในช่วงหลังวันครีษมายัน (ปลายมิถุนายน) เพื่อให้ข้าวตั้งท้องถูกต้องพอดีประมาณช่วงสัปดาห์ของวันศารทวิษุวัต (ปลายเดือนกันยายน)

           การเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสุริยะปฏิทินกับจังหวะกิจกรรมความเป็นอยู่ของผู้คนถือเป็นจุดเด่นประการหนึ่งในหนังสือของคุณสรรค์สนธิ เพราะเท่ากับเป็นการเปิดมิติหรือมุมมองใหม่ให้กับการศึกษาปราสาทหินและโบราณสถานขอม ซึ่งได้บูรณาการความรู้ทางดาราศาสตร์ เกษตรศาสตร์ สำหรับกรณีประเทศไทยและพื้นที่ใกล้เคียง การศึกษาหลักวิชาเกษตรศาสตร์ทำให้คุณสรรค์สนธิพบว่า ข้าวพันธุ์พื้นเมือง (หรือข้าวนาปี) จะให้ผลผลิตสูงเมื่อถูกกระตุ้นให้สร้างรวงอ่อน ออกดอก และตั้งท้องด้วยแสงอาทิตย์ในช่วงที่วันกำลังลดสั้นลงเรื่อยๆ จึงเป็นไปได้มากว่าผู้คนในสมัยโบราณคงอาศัยสุริยะปฏิทินกำหนดช่วงเวลาหว่านดำข้าวพันธุ์พื้นเมือง (หรือข้าวนาปี) ในช่วงหลังวันครีษมายัน (ปลายมิถุนายน) เพื่อให้ข้าวตั้งท้องถูกต้องพอดีประมาณช่วงสัปดาห์ของวันศารทวิษุวัต (ปลายเดือนกันยายน)

           การเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสุริยะปฏิทินกับจังหวะกิจกรรมความเป็นอยู่ของผู้คนถือเป็นจุดเด่นประการหนึ่งในหนังสือของคุณสรรค์สนธิ เพราะเท่ากับเป็นการเปิดมิติหรือมุมมองใหม่ให้กับการศึกษาปราสาทหินและโบราณสถานขอม ซึ่งได้บูรณาการความรู้ทางดาราศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และมานุษยวิทยาไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืนมีน้ำหนัก
 
            มิติใหม่ในการพิจารณาสิ่งก่อสร้างแห่งอดีตนี้ได้ก่อให้เกิดข้อเสนอและผลการศึกษาที่น่าสนใจกว้างขวางขึ้นไปกว่างานเขียนที่มีมาทั้งในด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม หรือคติความเชื่อที่สันนิษฐานว่าอยู่เบื้องหลังศาสตร์หรือสุนทรียศาสตร์เหล่านี้

          อย่างไรก็ดี มีประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่คุณสรรค์สนธิกล่าวถึงแต่ไม่ได้ลงรายละเอียด (อาจด้วยมีเรื่องอื่นรอให้เล่าอีกมาก) นั่นก็คือประเด็น “พิธีกรรม” ซึ่งจะให้ภาพความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสุริยะปฏิทิน และ “อำนาจ-ความรู้-ความชอบธรรม” ของผู้ปกครองได้ละเอียดขึ้น

          เป็นเรื่องที่ชัดเจนว่าการออกแบบและก่อสร้าง “สุริยะปฏิทิน” ต้องอาศัยความรู้ชั้นสูงทั้งทางดาราศาสตร์ วิศวกรรม และสถาปัตยกรรม ซึ่งแน่นอนที่องค์ความรู้เหล่านี้ย่อมอยู่ในอำนาจของชนชั้นปกครอง จึงไม่เป็นที่สงสัยว่าสุริยะปฏิทินคงต้องรับใช้
 
พิธีกรรมและความเชื่อของชนชั้นปกครองรวมทั้งกลุ่มปัญญาชนที่แวดล้อมเป็นลำดับแรก

           กระนั้นก็ดี พิธีกรรมหลวงที่มีขึ้นในวันซึ่งดวงอาทิตย์สร้างปรากฏการณ์พิเศษกับสุริยะปฏิทิน ก็คงช่วยส่งสัญญาณต่อให้ประชาชน (ซึ่งอาจไม่มีความรู้ทางดาราศาสตร์เพียงพอที่จะคำนวณหรือระบุวันสำคัญทั้งสี่ในรอบปีด้วยตนเอง) รับทราบถึงฤดูกาลที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ทำให้พวกเขาสามารถเตรียมประกอบกิจกรรมความเป็นอยู่ให้สอดคล้องกับจังหวะเวลา รวมทั้งได้รับผลผลิตที่สมบูรณ์ ซึ่งช่วยตอกย้ำให้พวกเขาสยบยอมต่อความรู้และอำนาจที่เหนือกว่าของผู้ปกครองอีกทอดหนึ่ง.
 
          “สุริยะปฏิทิน” ในรูปศาสนสถานหรือเทวาลัยจึงไม่ใช่เพียงแค่อาคารที่ชวนให้ตื่นตาหรืออัศจรรย์ใจเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เราเห็นถึงประเด็นความชอบธรรมของชนชั้นปกครองที่วางอยู่บนองค์ความรู้ทางดาราศาสตร์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม และเกษตรศาสตร์ (เพิ่มเติมจากฐานอำนาจที่เราคงรู้จักกันดีอยู่แล้วในเรื่องการจัดองค์กรราชการ ยุทธสงคราม การชลประทาน การผลิตซ้ำอุดมการณ์ความเชื่อ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถของชนชั้นปกครองที่จะบูรณาการความรู้เหล่านี้โดยอาศัยพิธีกรรมเป็นเครื่องช่วยให้เกิดผลได้ทางการเมืองที่ยั่งยืนด้วย
 
 
          “ท้าพิสูจน์” สุริยะปฏิทินที่ภูเพ็ก

          หลังจากชี้ให้เห็นถึงลักษณะพิเศษ ตัวอย่างและความสำคัญของสุริยะปฏิทินต่อสังคมแล้ว คุณสรรค์สนธิก็พาเรากลับมาสำรวจและ “พิสูจน์” ความเป็นสุริยะปฏิทินของปราสาทภูเพ็ก ในประเทศไทย

          ปราสาทภูเพ็กเป็นโบราณสถานยุคขอมเรืองอำนาจซึ่งก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ตั้งอยู่บนยอดเขาในชื่อเดียวกันที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 520 เมตร โดยเป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า ปราสาทตั้งอยู่บนเส้นแวงที่ 103.9 องศา ตรงกับตำแหน่งของนครวัด-นครธมตามแนวเหนือ-ใต้พอดี
 
           จากการสำรวจพบว่า ปราสาทภูเพ็กหันหน้าไปทางทิศตะวันออกแท้ คือทำมุมกวาด 90 องศากับทิศเหนืออย่างแม่นยำ ที่ธรณีประตูทิศตะวันออกและประตูหลอกของทิศที่เหลือมีรอยขีดกำหนดทิศอยู่ที่พื้นหิน โดยเมื่อวางเข็มทิศทาบลง ตำแหน่งเข็มจะทับซ้อนรอยดังกล่าวพอดี แสดงให้เห็นถึงความเที่ยงตรงในเรื่องการคำนวณและวัดระยะของผู้ออกแบบก่อสร้างในสมัยก่อนอย่างน่าทึ่ง

          เพื่อเป็นการยืนยันว่าปราสาทที่มีแกนอาคารทาบทับทิศแท้ทางภูมิศาสตร์สามารถทำหน้าที่เป็น “สุริยะปฏิทิน” ได้จริง คุณสรรค์สนธิจึงนำคณะผู้คนต่างๆ ขึ้นไปท้าพิสูจน์ปรากฏการณ์พิเศษของปราสาทภูเพ็กกับดวงอาทิตย์ถึง 8 ครั้งในช่วงปี 2544-45 ซึ่งเป็นวาระโอกาสของวันศารทวิษุวัต เหมายัน วสันตวิษุวัต และครีษมายัน ตามลำดับ
 
          ในการพิสูจน์ปราสาทภูเพ็กต่างกรรมต่างวาระนี้ คุณสรรค์สนธิและคณะพบว่าดวงอาทิตย์ในวันสำคัญทั้งสี่จะขึ้นตรงกับยอดศิวลึงค์ที่ตั้งอยู่นอกประตูด้านหน้าของปราสาทพอดี (จุดสังเกตจากกึ่งกลางห้องภายในปราสาท) โดยมีการถ่ายรูปยืนยันกันเป็นที่เอิกเกริก
 
           1. การพิสูจน์ “สุริยะปฏิทิน”Ž ที่ปราสาทภูเพ็ก ภาพสุภาพสตรีถือลูกดิ่งหน้าศิวลึงค์ และแท่งหินทรายที่มีสัญลักษณ์ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในจักรราศีสำคัญต่างๆ ถ่ายเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2546 เป็นวัน “วสันตวิษุวัต” การใช้ลูกดิ่งก็เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้นกับสัญลักษณ์บนแท่งหินทราย
            2. ดวงอาทิตย์ขึ้นที่หน้าปราสาทภูเพ็กในวัน “วสันตวิษุวัต”
            3. ดวงอาทิตย์ขึ้นอาบยอดศิวลึงค์ที่หน้าปราสาทภุเพ็กในวัน “ศารทวิษุวัต”
            4. ดวงอาทิตย์ขึ้นที่หน้าปราสาทภูเพ็กในวัน “เหมายัน” (ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม, เมษายน 2551 ที่ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณสรรค์สนธิ บุณโยทยาน)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
           ความน่าตื่นเต้นต่อไป

            ที่หน้าประตูทางเข้าทิศตะวันออกของปราสาทภูเพ็ก นอกจากจะปรากฏแท่งศิวลึงค์ตั้งอยู่แล้ว คุณสรรค์สนธิยังสังเกตเห็นแท่งหินทรายสี่เหลี่ยมขนาด 56 x 56 สูง 50 เซนติเมตร ตั้งอยู่ด้วย พื้นหน้าตัดบนแท่งหินทรายนี้ มีช่องจัตุรัสใหญ่อยู่ตรงกลาง ล้อมรอบไปด้วยช่องจัตุรัสเล็กที่เรียงกันเป็นจังหวะทั้งหมด 16 ช่อง หลายคนมองข้ามวัตถุโบราณหน้าตาธรรมดาชิ้นนี้ไป แม้กระทั่งนักโบราณคดีนักประวัติศาสตร์ก็อาจสันนิษฐานว่าวัตถุชิ้นนี้คงเป็นฐานโยนี

           แต่ในสายตาของคนช่างสังเกตช่างสงสัย คุณสรรค์สนธิได้ลองนำการเรียงตัวทางเรขาคณิตซึ่งปรากฏอยู่ที่พื้นบนของแท่งหินมาลอง “ถอดรหัส” ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ดู ผลลัพธ์ที่ได้กลับชวนให้อัศจรรย์ใจเป็นที่ยิ่ง เพราะช่องสี่เหลี่ยมบนพื้นแผ่นหินได้บอกพิกัดตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวันสำคัญทั้งสี่ตลอดจนวันสำคัญในจักรราศีอื่นๆ อีกบางจักรราศี
 
           ที่ชวนให้ตื่นใจยิ่งขึ้นไปก็คือ เมื่อคุณสรรค์สนธิกลับไปเยือนเมืองพระนคร จังหวัดเสียมราฐ ในกัมพูชา ด้วยมุมมองและองค์ความรู้ใหม่นี้ คุณสรรค์สนธิพบว่า ยังมีสิ่งก่อสร้างและปราสาทอื่นๆ นอกเหนือจากนครวัดที่ถูกออกแบบให้มีลักษณะของ “สุริยะปฏิทิน” อาทิ ปราสาทพนมบาแค็ง พิมานอากาศ ปักษีจำกรง บากง หรือแม้กระทั่งประตูทางเข้านครธม ที่น่าตื่นเต้น (อีกแล้ว) ก็คือ คุณสรรค์สนธิได้พบแท่นหินซึ่งบันทึกรหัสดาราศาสตร์ในลักษณะเดียวกันที่พนมบาแค็งด้วย โดยวางอยู่ตามจุดต่างๆ ของบริเวณปราสาทถึง 5 ตัว
 
 
 
 
           จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคุณสรรค์สนธิหรือใครที่ได้รับแรงบันดาลใจจะได้พยายาม “ถอดรหัส” แท่นหินเหล่านี้ออกมาเปรียบเทียบกันเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้จากแง่มุมใหม่ที่แทบไม่มีใครเคยได้รู้ได้ศึกษากันมาก่อน
 
           คุณสรรค์สนธิ บุณโยทยาน กับแท่งหินที่มีสัญลักษณ์สุริยะปฏิทินที่ชี้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในจักรราศีสำคัญต่างๆ ที่ปราสาทพนมบาแค็ง จังหวัดเสียมราฐ กัมพูชา (ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม, เมษายน 2551 ที่ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณสรรค์สนธิ บุณโยทยาน)
 
          ปราสาทสุริยะ

           คุณสรรค์สนธิกล่าวว่า ในบรรดาปราสาทขอมซึ่งส่วนใหญ่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกนั้น มีบางปราสาทที่สามารถเกิดปรากฏการณ์พิเศษกับดวงอาทิตย์ได้ แม้ว่าแนวแกนของอาคารจะไม่ได้วางอยู่บนทิศภูมิศาสตร์อย่างเที่ยงตรงก็ตาม ตัวอย่างเช่น ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทวัดภู พระธาตุนารายณ์เจงเวง เป็นต้น

           อย่างไรก็ดี คุณสรรค์สนธิย้ำว่าโบราณสถานเหล่านี้ไม่จัดเป็นสุริยะปฏิทิน แม้ว่าสถาปนิกในสมัยก่อนคงอาศัยหลักดาราศาสตร์ชุดเดียวกันในการคำนวณออกแบบก็ตาม 

           คุณสรรค์สนธิยกตัวอย่างของปราสาทพนมรุ้งและปรากฏการณ์พิเศษที่เกิดขึ้น พร้อมให้คำอธิบายใหม่ที่แย้งกับข้อสันนิษฐานเดิมๆ
 
ที่ผ่านมา นักโบราณคดีจำนวนหนึ่งเชื่อว่า แกนของปราสาทพนมรุ้งที่เบี่ยงเบนออกไปจากทิศตะวันออกแท้เกิดจากการคำนวณหรือการก่อสร้างที่ผิดพลาด ทำให้ปรากฏการณ์พิเศษที่เกิดกับปราสาทไม่ตรงกับวันสำคัญทั้งสี่ในรอบปีเสียทีเดียว (หรือในขณะเดียวกัน ก็มีนักวิชาการสมัครเล่นและนักการท่องเที่ยวบางคนที่ชี้ชวนให้ผู้คนเชื่อว่าปราสาทพนมรุ้งจะเกิดปรากฏการณ์พิเศษกับดวงอาทิตย์ในวันเปลี่ยนฤดูกาลทั้งสี่)

            แต่สำหรับคุณสรรค์สนธิ แกนอาคารของปราสาทพนมรุ้งถูกออกแบบให้เบี่ยงเบนออกจากทิศตะวันออกแท้อย่างจงใจ คุณสรรค์สนธิพบว่าค่าเบี่ยงเบนดังกล่าวคือ 5.5 องศาจากทิศตะวันออก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือด้านหน้าของปราสาททำมุมกวาดจากทิศเหนือแท้ 84.5 องศา ซึ่งเป็นตำแหน่งแรกที่ดวงอาทิตย์ขึ้นในราศีเมษ
 
            ดังนั้น แม้ว่าปราสาทพนมรุ้งจะเกิดปรากฏการณ์ที่แสงอาทิตย์สาดส่องลอดช่องประตูทั้ง 15 ช่องในสี่วันของรอบปี แต่วันเหล่านี้ย่อมมิใช่วันวสันตวิษุวัต ครีษมายัน ศารทวิษุวัต และเหมายัน อย่างแน่นอน นอกจากนั้น ปรากฏการณ์พิเศษที่พนมรุ้งยังเกิดขึ้นโดยทิ้งช่วงระหว่างเดือนอย่างไม่เสมอหรือเท่าๆ กัน ดังเช่นกรณีของสุริยะปฏิทินที่แท้จริงด้วย

             คุณสรรค์สนธิอธิบายว่า เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะปราสาทพนมรุ้งมีความหมายและหน้าที่แตกต่างไปจาก “สุริยะปฏิทิน”
 
             ปราสาทพนมรุ้งที่หันหน้าเล็งจุดเริ่มต้นของราศีเมษแสดงนัยความสัมพันธ์ที่มีต่อพระวิษณุ เนื่องจากราศีเมษถือเป็นช่วงเวลาประสูติของพระราม (ซึ่งก็คืออวตารหนึ่งของพระวิษณุ) นอกจากนั้น ยังสะท้อนการบูชาวันแรกของราศีซึ่งถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์หรือวันปีใหม่ทางสุริยคติของชนชาวอุษาคเนย์ (ก่อนที่จะมีการกำหนดให้วันปีใหม่ในราศีเมษนี้ตายตัว เช่น 13-15 เมษายนในกรณีของไทยหรือประเทศใกล้เคียง) มิใช่การบ่งบอกจังหวะวงรอบของปีดังเช่นหน้าที่ของสุริยะปฏิทิน
 
            สำหรับผู้สนใจปราสาทพนมรุ้งลึกซึ้งลงไปกว่านี้ คุณสรรค์สนธิยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมจากการสังเกตคำนวณด้วยว่า ในบรรดาวันพิเศษที่ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงและสาดแสงผ่านช่องประตู 15 ช่องของปราสาทนั้น จะมีเพียงบางวันซึ่งกลางคืนจะตรงกับวันเพ็ญ 15 ค่ำ โดยวันพิเศษเหนือพิเศษนี้เกิดขึ้นในราศีเมษครั้งที่ผ่านมาเมื่อ 4 เมษายน 2547 และจะเกิดขึ้นครั้งต่อไปๆ ในรอบ 100 ปีข้างหน้าด้วยการทิ้งช่วงจังหวะเป็น 11 ปี – 19 ปี – 27 ปี – 19 ปี – 11 ปี – 19 ปี – 27 ปี – 19ปี (ผู้ที่ต้องการท้าพิสูจน์คงต้องอดทนรอรอบถัดไปจนถึงปี 2558)
           ส่วนผู้สนใจโบราณสถานที่เกิดปรากฏการณ์พิเศษกับดวงอาทิตย์ แต่มิใช่สุริยะปฏิทิน คุณสรรค์สนธิกล่าวผ่านๆ ถึงตัวอย่างอีก 2 แห่ง ได้แก่ พระธาตุเชิงชุม ซึ่งหันหน้าทำมุมใกล้เคียงกันกับปราสาทพนมรุ้ง (สันนิษฐานว่าองค์พระธาตุอาจสร้างคร่อมทับปราสาทขอมโบราณในทำนองเดียวกับพระธาตุพนม) และปราสาทวัดภู ซึ่งคุณสรรค์สนธิกล่าวว่าหันหน้าเข้าหาตำแหน่งทิศที่สัมพันธ์กับครีษมายัน (หรือวันที่กลางวันยาวที่สุดในรอบปี) นัยว่าเพื่อให้ตรงกับวันที่ดวงอาทิตย์ร้อนแรงที่สุด โดยอาจมีการบูชายันต์มนุษย์ในวันนั้นด้วย
 
           ข้อเสนอที่เร้าความสนใจข้างต้นทำให้เราเอาใจช่วยคุณสรรค์สนธิให้มีเวลามากยิ่งขึ้นในการศึกษาประเด็นที่ยังคาค้างอยู่เกี่ยวกับปราสาทหินและโบราณสถานต่างๆ เพื่องานเขียนต่อๆ ไปจะช่วยเปิดหูเปิดตาเราให้สว่างกว้างขึ้นตามแนวทางสร้างสรรค์ที่หนังสือเล่มนี้ได้วางไว้แล้ว
 
           การผลิตซ้ำสุริยะปฏิทิน

           เนื่องจาก “สุริยะปฏิทิน” ถูกออกแบบและสร้างขึ้นบนองค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์ชุดหนึ่ง การเข้าถึงความรู้ชุดนี้ทำให้เราสามารถ “ผลิตซ้ำ” สิ่งก่อสร้างซึ่งเป็นสุริยะปฏิทินได้ใหม่

           ในบทสุดท้ายของหนังสือ คุณสรรค์สนธิได้นำเสนอไว้อย่างน่ารักน่าเอ็นดูเกี่ยวกับการสร้าง “สุริยะปฏิทิน” ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเป็น “จุดเร้าใจ”
 
สุริยะปฏิทินยุคใหม่นี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปของอาคารขนาดใหญ่โต แต่อาจเป็นเพียงแค่ซุ้มประตู ประติมากรรม หรือสัญลักษณ์ของท้องถิ่น หากด้วยการวางตำแหน่งอย่างถูกต้องสัมพันธ์กับหลักวิชา สิ่งก่อสร้างหรือวัตถุเหล่านี้ก็จะเกิดปรากฏการณ์สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ในวันพิเศษ 4 วันของรอบปี โดยอาจขยายผลเพื่อสร้างจุดขายและความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว รวมทั้งยังน่าจะช่วยกระตุ้นให้ผู้พบเห็นโดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา เกิดความกระตือรือร้นสนใจค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับดาราศาสตร์และการประยุกต์ใช้ความรู้นี้อย่างสร้างสรรค์กับเรื่องราวที่อาจดูเหมือนไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันชัดเจนในชั้นแรกต่อไป
 
          ส่งท้าย

           จากประสบการณ์การอ่านหนังสือและบทความจำนวนไม่น้อยเกี่ยวกับโบราณสถานขอม ทั้งไทยและเทศ ทั้งที่เป็นหนังสือนำเที่ยว บันทึกการเดินทาง หรือบทวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ไปจนถึงคติความเชื่อเบื้องหลัง ฯลฯ ผมคงต้องยอมรับว่าไม่เคยมีผลงานชิ้นใดที่ชวนให้ตื่นใจและหูตาสว่างไปกับเนื้อหาอันแปลกใหม่ รวมทั้ง “การค้นพบ” อันชวนทึ่งได้มากเท่ากับหนังสือของคุณสรรค์สนธิ บุณโยทยาน เล่มนี้
 
           ความพิเศษของ “สุริยะปฏิทินพันปี ปราสาทภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร” อยู่ที่ความครบเครื่องทั้ง
           1. การให้มุมมองและข้อเสนอใหม่ๆ อย่างสร้างสรรค์และแตกต่างไม่ซ้ำใคร
           2. การเชื่อมโยง “ศาสตร์” หลายแขนงเพื่ออธิบายอย่างน่าสนใจเกี่ยวกับประเด็นที่มักถูกจัดให้อยู่ในขอบเขตของ “ศิลป์”
           3. การที่ผู้เขียนทำการพิสูจน์ข้อเสนอของตนอย่างปราศจากอหังการและน่าเชื่อถือด้วยข้อเท็จจริงพร้อมกับประจักษ์พยานบุคคล และ
          4. การค้นพบอันน่าตื่นเต้นถึงร่องรอยโบราณวัตถุ เงื่อนงำและประเด็นชวนคิดต่างๆ ซึ่งช่วยเปิดแนวทางให้กับการศึกษาต่อๆ ไปได้อีกเป็นจำนวนมาก
 
            หากหนังสืออาจมีข้อจำกัดอยู่บ้างก็ตรงที่แต่ละบทดูเหมือนไม่สามารถคุมเนื้อหาตามหัวเรื่องได้สนิทนัก แต่มักปรากฏประเด็นแทรกประเด็นแถม (ซึ่งต้องยอมรับว่าน่าสนใจไม่แพ้ประเด็นหลัก) ปะปนอยู่จนทำให้ลำดับความบางตอนกระโดดไปกระโดดมา (เช่น ความเชื่อมโยงระหว่างสุริยะปฏิทินกับกิจกรรมการเกษตร เป็นต้น) หรือบางประเด็นที่สำคัญไม่แพ้ประเด็นอื่นๆ (เช่น โบราณสถานที่เกิดปรากฏการณ์กับดวงอาทิตย์แต่ไม่ใช่สุริยะปฏิทิน) ก็กลับไม่มีบทอันจำเพาะของตน หากมีเนื้อหากระจัดกระจายอยู่ในบทนั้นนิดบทนี้หน่อย ทำให้ค่อนข้างลำบากต่อการติดตาม อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับจุดเด่นและความพิเศษมากมายของหนังสือเล่มนี้แล้ว ข้อจำกัดข้างต้นก็แทบจะไร้ความหมายและอาจมองข้ามไปได้ไม่ยาก
 
           ทั้งนี้ คงต้องย้ำเน้นว่า คำนิยมข้างต้นไม่ได้เป็นเรื่องส่วนตัวเพราะผมไม่เคยพบรู้จักกับคุณสรรค์สนธิแต่อย่างใด หากผลงานที่ปรากฏพร้อมกับประสบการณ์ของผู้เขียนที่บันทึกไว้ในหนังสือเล่มนี้ทำให้ผมรู้สึกชื่นชมกับความเป็นนักคิด นักค้นคว้า และนักศึกษาผู้ไม่ยอมหยุดนิ่งของคุณสรรค์สนธิ

           ที่สำคัญก็คือ ผมรู้สึกปลื้มใจว่าผลงานสร้างสรรค์อันมีลักษณะสหวิทยาชิ้นพิเศษและวิเศษชิ้นนี้เป็นฝีมือของคนไทย ผมเชื่อมั่นเต็มร้อยว่าคุณภาพของหนังสือไม่เพียงสู้งานวิจัยหรืองานวิชาการต่างประเทศไหนๆ ก็ได้ หากยังอาจเหนือกว่าผลงานของชาวต่างชาติส่วนใหญ่ที่มีอยู่หลายขุมเสียด้วยซ้ำ
 
           จึงหวังว่าจะมีผู้เห็นคุณค่าเรียบเรียงและแปลผลงานของคุณสรรค์สนธิออกเป็นภาษาสากลเพื่อให้ความสามารถของคนไทยเป็นที่ปรากฏรับรู้ในวงกว้าง และเพื่อการศึกษาร่องรอยอารยธรรมกับชีวิตผู้คนในอดีตจะสว่างขึ้นด้วยมุมมองที่แปลกแตกต่างออกไปจากเดิม
 
           เผยแแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 24 มกราคม 2566... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.silpa-mag.com/history/article_100243






Copyright © 2010 All Rights Reserved.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน
The Foundation for Business and Community Leadership Development
โดย
นายอารีย์ ภู่สมบูญ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ