ปราสาทขอมเมืองสกลวางตัวในมุมกวาดที่ต่างกัน 80 องศา และ 90 องศา ......... คลาดเคลื่อนหรือเจตนา?

ถาม ........ ปราสาทภูเพ็ก และปราสาทนารายณ์เจงเวง วางตัวที่มุมกวาด 90 องศา (Az 90) ส่วนปราสาทเชิงชุม และปราสาทดุม วางตัวที่มุมกวาด 80 องศา ......... ทำไมจึงไม่เหมือนกัน ออกแบบก่อสร้างผิดสะเป็ก?
ตอบ ........ไม่มีอะไรผิดพลาดเป็นเจตนาของผู้สร้างที่ออกแบบและก่อสร้างให้เป็นเช่นนั้น วิทยาศาสตร์มีคำอธิบายติดตามมาครับ

ปราสาทภูเพ็กวางตัวที่มุมกวาด 90 องศา (Az 90) ดวงอาทิตย์ยามเช้าขึ้นตรงหน้าปราสาทในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" ปีละ 2 ครั้ง คือ 21 มีนาคม "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) และ 23 กันยายน "ศารทวิษุวัต" (autumnal equinox) ....... ส่วนปราสาทเชิงชุม หรือพระธาตุเชิงชุม วางตัวที่มุมกวาด 80 องศา (Az 80) มีปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตรงหน้าปราสาทปีละ 2 ครั้ง วันที่ 15 เมษายน (มหาสงกรานต์) และ 23 สิงหาคม
เพื่อปูเรื่องก่อนเข้าสู่บทเรียนขอชักแม่น้ำทั้งห้าพอสังเขปดังนี้ ขอรับ
เริ่มต้นที่ดินแดนเมโสโปเตเมีย (ปัจจุบันเป็นประเทศอีรัก) ราว 5,000 ปี ที่แล้วนักโบราณคดีเรียกผู้คนที่นี่ว่า "ชาวสุเมเรี่ยน" (Sumerian) พวกเขาเป็นนักดาราศาสตร์ มีองค์ความรู้คณิตศาสตร์ขั้นเทพสามารถสร้าง "คณิตศาสตร์ฐาน 60" (sexagesimal system) ใช้กับการวางพิกัดกลุ่มดาวฤกษ์ที่เรียกว่า "จักรราศี" (zodiac) มีจำนวน 12 กลุ่ม หรือ 12 ราศี กำหนดให้แต่ละราศีกินพื้นที่บนท้องฟ้า 30 องศา รวมทั้งหมด 12 ราศี ก็เท่ากับ 360 องศา ครบรอบวงกลมพอดี (12 x 30 = 360)
ต่อมาราว 3,000 ปี ที่แล้ว หรือ 1,000 ปีก่อนคริตกาล (1000 BC) ข้อมูลดาราศาสตร์ถูกนำไปแปลความเป็น "วิชาโหราศาสตร์" โดยใช้ 12 ราศีเป็นตัวอ้างอิง ความรู้นี้ถูกถ่ายทอดไปยังอาณาจักรบาบิโลนและอาณาจักรอียิปส์ส่งไม้ต่อไปยังชมพูทวีป ยุโรป และกระจายไปทั่วโลก ...... ปัจจุบัน เราๆท่านๆที่เชื่อเรื่องโหราศาสตร์ก็ต้องพึ่งพามรดกของชาวสุเมเรี่ยนด้วย "จักรราศี"

ชาวสุเมเรี่ยนเป็นผู้สร้างจักรราศีโดยใช้ข้อมูลดาราศาสตร์โดยแต่ละราศีมีภาพเป็นสัญลักษณ์ นักโบราณคดีค้นพบหลักฐานจารึกบนแท่งหินเป็นรูปจักรราศี

ชาวอียิปส์ประดิษฐ์สัญลักษณ์จักราศีโดยกำหนดให้ "ราศีเมษ" (Aries) มีรูปร่างเป็นแกะ เป็นราศีเริ่มต้นอันดับที่หนึ่ง และราศีมีน (Pisces) รูปร่างปลาคู่ เป็นราศีสุดท้ายอันดับที่ 12

ชาวอียิปส์จึงนิยมสร้างสัญลักษณ์ของราศีเมษในรูปลักษณ์แกะ

สัญลักษณ์ราศีเมษปรากฏทั่วไปในโบราณสถานต่างของอียิปส์

ภาพวาดราศีเมษ (แกะ) ที่มหาวิหารแดนเดร่า

มหาวิหาร Dandera

มหาวิหาร Dadera ตั้งอยู่ริมแม่น้ำไนล์
การเคลื่อนที่ถดถอยของจักรราศีเนื่องจากแกนโลกไม่เสถียรมีการแกว่งเหมือนลูกข่าง นักดาราศาตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Precession of vernal equinox

การแกว่งของแกนโลกที่เป็นต้นเหตุของการเคลื่อที่ถอยหลังของจักรราศี
แกนโลกแกว่งเหมือนลูกข่างอย่างช้าๆกินเวลาราว 26,000 ปี ต่อรอบ

ปรากฏการเคลื่อนที่ถอยหลังของจักรราศีถูกค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวกรีก ชื่อ ฮิบปาชุส (Hipparchus) ซึ่งมีชีวิตอยู่ที่เมือง "นีเซีย" (Nicaea) 190 - 120 BC เมืองนี้ปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี

1000 BC หรือ 3,000 ปีที่แล้วที่มีการเริ่มต้นวิชาโหราศาสตร์โดยอ้างอิง 12 ราศีของวิชาดาราศาสตร์ ...... ตอนนั้นดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืน ดวงอาทิตย์ทำมุมกวาด 90 องศา (Due East Azimuth 90 ) จากทิศเหนือ และอยู่ตรงกับตำแหน่งของกลุ่มดาวฤกษ์ที่ชื่อ "ราศีเมษ" (Aries)

2,000 ปี ต่อมาดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืนและดวงอาทิตย์ตรงกับมุมกวาด 90 องศา (Az 90) ถอดหลังจาก "ราศีเมษ" (Aries) ไปอยู่ในราศีมีน (Pisces)

ปัจจุบัน 2025 AD ดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) ถอดหลังไปจนเกือบจะพ้น "ราศีมีน" (Pisces)

แสดงการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) ตั้งแต่ 1000 BC 100 AD 1100 AD 2025 AD และ 2800 AD ถึงตอนนั้นดวงอาทิตย์จะตรงกับ "ราศีคนแบกหม้อน้ำ" (Aquarius)
เมื่อถึงยุคขอมเรืองอำนาจ ราว AD 1100 ปรากฏการณ์เคลื่อนที่ถดถอยของดวงอาทิตย์ในจักรราศี ทำให้นักโหราศาสตร์ในราชสำนักต้องคิดหนักเพราะตำราโบราณยังคงยึดราศีเมษ (Aries) เป็นสัณลักษณ์ของ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) แต่ในความเป็นจริงทางดาราศาสตร์ดวงอาทิตย์ในราศีเมษ (Aries) ไม่ตรงกับ "วสันตวิษุวัต" อีกต่อไปแล้ว แต่เคลื่อนไปอยู่ที่มุมกวาด 80 องศา ...... จึงจำเป็นต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...... การสร้างปราสาทจึงมี 2 ทางเลือก
1. ถ้าจะยึด "วสันตวิษุวัต" ก็ยังคงหันหน้าปราสาทไปที่มุมกวาด 90 องศา (Az 90)
2. ถ้าจะยึด "ราษีเมษ" ก็ต้องหันหน้าปราสาทไปที่มุมกวาด 80 องศา (Az 80)
.jpeg)


รูปร่างหน้าตาการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ในจักรราศีในมุมมองจากโลก
ปราสาทภูเพ็ก และปราสาทนารายณ์เจงเวงยึด "ปรากฏการณ์วิษุวัต" เป็นหลักจึงวางตัวที่มุมกวาด 90 องศา (Az 90) ดวงอาทิตย์ตรงกับหน้าประตูปราสาท ปีละ 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 วสันตวิษุวัต (vernal equinox) 21 มีนาคม
ครั้งที่ 2 ศารทวิษุวัต (autumnal equinox) 23 กันยายน

ยุคขอมเรืองอำนาจ ปราสาทภูเพ็กในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) 21 มีนาคม ดวงอาทิตย์อยู่ในราศีมีน (Pisces)

ปราสาทภูเพ็กวางตัวในแนวมุมกวาด 90 องศา (Az 90)

Application Compass แสดงมุมกวาด 90 องศา ที่ปราสาทภูเพ็ก

ผู้ที่เชื่อถือปรากฏการณ์วิษุวัตมานั่งรับพลังสุริยะเช้าตรู่ที่ปราสาทภูเพ็ก

ปราสาทนารายณ์เจงเวงทำมุมกวาด 90 องศา

ปราสาทนารายณ์เจงเวงไม่สามารถเห็นดวงอาทิตย์เพราะถูกอุโบสถของวัดในปัจจุบันบดบังจนมิดชิดในด้านทิศตะวันออก
.jpeg)
อโรคยาศาลปราสาทบ้านพันนา อ.สว่างแดนดิน หันหน้าไปที่มุมกวาด 90 องศา
ปราสาทเชิงชุม และปราสาทดุม วางตัวหันหน้าไปที่มุมกวาด 80 องศา (Az 80)

ดวงอาทิตย์ขึ้นหน้าประตูวิหารของปราสาทเชิงชุม ณ มุมกวาด 80 องศา (Az 80) ในวันที่ 14 - 16 เมษายน มหาสงกรานต์

Application Compuss แสดงตัวเลขมุมกวาด 80 องศา ของปราสาทเชิงชุม

บาราย (สระพังทอง) ก็เห็นดวงอาทิตย์ที่กึ่งกลางบาราย ณ มุมกวาด 80 องศา

Application Compass แสดงตัวเลขมุมกวาด 80 องศา ที่ปราสาทดุม

ดวงอาทิตย์ยามเช้าวันที่ 15 เมษายน ที่ปราสาทดุม ตรงกับมุมกวาด 80 องศา
ปราสาทขอมจำนวนมากที่จังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน และประเทศกัมพูชา ก็มีทั้งหันหน้า ณ มุมกวาด 80 องศา และ 90 องศา ..... แสดงว่าการที่บรรพชนสร้างปราสาทให้หันหน้าแบบนี้ "ไม่ใช่ความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาด แต่เป็นเจตนา"

อโรคยาศาลกู่แก้ว ต.ดอนช้าง อ.เมืองขอนแก่น หันหน้า 80 องศา

วัดพระพายหลวง ที่สุโขทัย หันหน้าที่มุมกวาด 90 องศา

ไกด์นก Prapaporn Matda ลงพื้นที่วัดพระพายหลวง สุโขทัย เมื่อปี 2555 ยืนยันด้วย Application Compass ว่าโบราณสถานหลังนี้หันหน้าที่มุมกวาด 90 องศา

ลงพื้นที่ด้วยตัวเองที่วัดพระพายหลวงเมื่อธันวาคม 2566 ก็ยืนยัน 90 องศา

วัดมหาธาตุ สุโขทัย หันหน้าที่มุมกวาด 80 องศา

Google Earth แสดงปราสาทธม เมืองเกาะแกร์ เป็นมรดกโลก หันหน้าที่มุมกวาด 80 องศา

ลงพื้นที่ปราสาทธมด้วยตัวเองใช้เข็มทิศยืนยันปราสาทรูปทรงปีรามิดหลังนี้วางตัว ณ มุมกวาด 80 องศา

อโรคยาศาล ปราสาทเมืองเก่า โคราช ทำมุมกวาด 80 องศา

ปราสาทบ้านปางค์ศรีดา โคราช ทำมุมกวาด 80 องศา

อโรคยาศาล ปราสาทพลสงคราม หันหน้าที่มุมกวาด 80 องศา

อโรคยาศาส ปราสาทนางรำ โคราช ก็มุมกวาด 80 องศา


เข็มทิศ และ Google Earth แสดง มุมกวาด 80 องศา ที่ ปราสาทพนมวัน โคราช

ปราสาทตาเมือนโต้ด ที่ จ.สุรินทร์ ทำมุมกวาด 80 องศา


ปราสาทบันเตยไพร เมืองเสียมเรียบ กัมพูชา ก็ทำมุมกวาด 80 องศา
ถาม ....... การสร้างปราสาทให้ตรงกับ "ราศีเมษ" และ "วสันตวิษุวัต" มีประโยชน์อะไร ?
ตอบ ....... เป็นเรื่องของ "ความเชื่อ และศิริมงคล" มนุษยชาติยังคงวนเวียนอยู่กับเรื่องนี้ โหราศาสตร์ (Astrology) ยังคงมีอิทธิพลกับคนทั้งโลก ไม่งั้นเราคงไม่มีคำว่า "ฮวงจุ้ย" และ "ฤกษ์ยาม"
สรุป
การที่ปราสาทขอมในเมืองสกลนคร เช่น ปราสาทเชิงชุม และปราสาทดุม หันหน้าตรงกับมุมกวาด 80 องศา เพราะต้องการอ้างอิง "ราศีเมษ" (Aries) ส่วนปราสาทที่หันหน้ามุมกวาด 90 องศา เช่น ปราสาทภูเพ็ก และปราสาทนารายณ์เจงเวง ต้องการอ้างอิง ปรากฏการณ์ "วิษุวัต" ...... ผู้สร้างถือความเชื่อคนละตำรา ครับผม

