สะพานขอม ........ ชมรมอารยธรรมสกลนครขอนำเข้าสู่ห้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์
ในสายตาเราๆท่านๆสะพานขอมเป็นเพียงโบราณสถานเหมือนกับปราสาททั่วๆไปที่สะท้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์และโบราณคดี แต่ในอีกมุมมองสิ่งก่อสร้างแห่งนี้มีข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์บรรจุอยู่เสมือน "Hardware and Software" ที่พร้อมจะให้ความรู้แก่ผู้สนใจศึกษา ...... ตามมาครับแล้วท่านจะรู้ว่ามีอะไรในกอไผ่
.jpeg)
.jpeg)
วิชาอุทกวิทยา (Hydrology) เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ว่าด้วยพฤติกรรมของน้ำ
Hydrology is the study of the distribution and movement of water both on and below the Earth's surface, as well as the impact of human activity on water availability and conditions. อุทกวิทยา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายตัวและการเคลื่อนไหวของน้ำบนพิ้นผิวโลกและน้ำที่อยู่ใต้ดิน รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ในแง่มุมต่างๆ
ภาพถ่ายการขุดสำรวจสะพานขอมโดยกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น เมื่อเดือนมิถุนายน - กรกฏาคม 2567 ประกอบกับภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ.2489 ยืนยันว่าหนองสนมอยู่ทางด้าน "ต้นน้ำ" (upstream) ส่วนด้านที่ขุดสำรวจอยู่ "ท้ายน้ำ" (downstream) ของสะพานขอม

การขุดสำรวจดำเนินการเฉพาะด้าน "ท้ายน้ำ" (downstream) ของสะพาน เนื่องจากมีที่ว่างห่างจากถนนส่วนทางด้าน "ต้นน้ำ" (upstream) อยู่ชิดถนนทางออกจากตัวเมืองสกลนครมาก การขุดดินจะมีผลต่อการทรุดตัวของถนนจึงละเว้นการขุดในบริเวณดังกล่าว

ภาพถ่าย ปี พ.ศ.2489 เห็นชัดเจนว่า "หนองสนม" อยู่ทางต้นน้ำ (upstream) ส่วนลำห้วยที่ไหลลงหนองหารเป็นท้ายน้ำ (downstream) ของสะพานขอม

ภาพ Google Earth แสดงต้นน้ำอยู่ทางทิศใต้และท้ายน้ำอยู่ทางทิศเหนือของสะพานขอม
.jpeg)
ภาพขยายแสดงต้นน้ำ (upstream) และท้ายน้ำ (downstream)
ภาพถ่ายสะพานขอมเมื่อครั้งที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาตรวจราชการเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2449 แทบดูไม่ออกว่า photo 1 และ photo 2 ภาพไหนคือต้นน้ำ (upstream) หรือด้านท้ายน้ำ (downstream)



เมื่อนำหลักการวิชา "อุทกวิทยา" (Hydrology) เข้ามาพิจารณาจะสามารถแยกออกว่าภาพ Photo 2 เป็นต้นน้ำ (upstream) ส่วนภาพ photo 1 เป็นท้ายน้ำ (downstream) เพราะดูจาก "การตกตะกอนของดิน" โดยหลักการของอุทกวิทยาจะเกิดการตกตะกอนที่ "ต้นน้ำ" มากกว่า "ท้ายน้ำ" เพราะความเร็วของน้ำ (V1) ถูกฝายชลอไว้ทำให้ตะกอนที่มากับน้ำทิ้งตัวลง ส่วนน้ำที่ไหลผ่านฝายจะเพิ่มความเร็ว (V2) และพาตะกอนที่เหลือไปด้วย
ตามภาพนี้ความเร็วของน้ำ V1 ถูกเบรกให้ช้าลงด้วยตัวฝายทำให้เกิดการตกตะกอนบริเวณ "หน้าฝาย" ส่วน V2 มีความเร็วมากกว่าจึงพาตะกอนไปด้วย สังเกตจากความสูงของขาตอหม้อสะพานที่ไม่เท่ากัน ด้านต้นน้ำมีตะกอนดินสะสมมาก (sediment) ส่วนท้ายน้ำไม่ค่อยมีตะกอนดิน (less sediment)
.jpeg)
Diagram การวินิจฉัยทางอุทกวิทยาแสดงการตกตะกอนที่แตกต่างกันระหว่างต้นน้ำ (upstream) และท้ายน้ำ (downstream)
แนวคิดการแก้น้ำท่วมสะพานขอม ..... โดยพิจารณาเชื่อมต่อกับระบบระบายน้ำที่มีอยู่แล้วในบริเวณใกล้เคียง เทศบาลมีระบบระบายน้ำแบบฝังท่อใต้ดิน (Subsurface Drianage) จากหนองสนมไปลงหนองหาร?
.jpeg)
สะพานขอมในปัจจุบันกลายเป็นแอ่งเก็บน้ำโดยปริยายเพราะภูมิประเทศทางอุทกวิทยาถูกดัดแปลงเป็นถนนไปหมดแล้วน้ำจึงไม่มีที่ไป ...... เราๆท่านๆต้องช่วยกันหาวิธีแก้ไขเพื่อให้โบราณสถานแห่งนี้มีสง่าราศีสมกับ "หนึ่งเดียวในประเทศไทย"
.jpeg)
ที่หนองสนมพบว่ามีสถานีสูบน้ำ (Pumpimg Station) และทางน้ำล้น (spillway) แสดงว่าต้องมีท่อระบายน้ำอยู่ใต้ถนน (Subsurface Drainage) เชื่อมต่อไปยังหนองหาร
โดยหลักการอุทกวิทยาเชื่อว่าต้องมีท่อระบายน้ำอยู่ใต้ดินจากหนองสนมไปยังหนองหาร ไม่งั้นสถานีสูบน้ำ (Pumping Staion) และท่อระบายน้ำล้น (Spillway) จะเอาน้ำไปทิ้งที่ไหน

หาวิธีเชื่อมต่อท่อระบายน้ำจากสะพานขอมกับท่อระบายน้ำที่มีอยู่แล้ว ...... ควรไปหารือกับกองช่างของเทศบาลนครสกลนครเพื่อขอดูพิมพ์เขียวแนวการวางท่อระบายน้ำ (Watercourse of drainage) เพื่อออกแบบเชื่อมต่อให้สะดวกที่สุด ถ้าสามารถบังคับให้น้ำไหลแบบธรรมชาติตามความลาดเท (gravity flow) ก็จะดีมาก แต่ถ้าระดับความลาดเท (longitudinal profile) ไม่เอื้อก็จำเป็นต้องมีเครื่องสูบน้ำเข้าช่วย
วิชาดาราศาสตร์
มีภาพถ่ายสะพานขอมในวันที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาตรวจราชการ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2449 จำนวน 3 ภาพ ....... สามารถบอกได้ไม้ว่าแต่ละภาพดังกล่าวถ่าย "เวลาไหน" วิชาดาราศาสตร์ช่วยได้ ครับ
ลองมาพิจารณาหลักฐานเบื้องต้นในมือ ........ อันดับแรก รู้ว่าวันดังกล่าวตรงกับ 15 มกราคม พ.ศ.2449 (หรือไม่ก็ใกล้เคียงวันนั้น) อ้างอิงจากบันทึกของกรมพระยาดำรงราชานุภาพในหนังสือ "รอยอดีตสกลนคร" ของกรมศิลปากร อันดับสอง ...... ช่วงนั้นเป็นฤดูหนาวดวงอาทิตย์อยู่ในลักษณะ "ตะวันอ้อมข้าว" คือเอียงไปทางทิศใต้ เมื่อใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์สร้างภาพจำลอง จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นที่มุมกวาด 112 องศา (Azimuth 112) และตกที่มุมกวาด 247 องศา (Azimuth 247)
เมื่อสังเกตให้ดีจะเห็น "เงาดวงอาทิตย์" ปรากฏในภาพ เราสามารถใช้มุมตกกระทบของเงาในการคำนวณเวลาของภาพนั้นๆว่าถ่าย ณ เวลากี่โมง

เงาดวงอาทิตย์ปรากฏที่ก้อนหิน


เงาดวงอาทิตย์ปรากฏที่ขาตอหม้อของสะพาน
.jpeg)

เงาดวงอาทิตย์ปรากฏที่ก้อนหิน
วิธีคำนวณหาเวลาด้วยหลักดาราศาสตร์ (Astronomical Analysis)

วันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2449 ดวงอาทิตย์เคลื่อนตัวในลักษณะตะวันอ้อมข้าว ขึ้นที่มุมกวาด 112 องศา (Azimuth 112) และตกที่มุมกวาด 247 องศา (Azimuth 247)
ภาพแรก (Photo 1)


เงาดวงอาทิตย์แสดงว่ามุมตกกระทบเท่ากับ 22 องศา (Altitude 22)

การคำนวณด้วยโปรแกรมดาราศาตร์พบว่า เป็นเวลา 08:24 น. ดวงอาทิตย์อยู่ที่พิกัดมุมกวาด 112 องศา (Azimuth 122) และมุมเงย 22 องศา (Altitude 22) และช่างภาพน่าจะยืนอยู่ตรงนี้

ทิศทางของแสงอาทิตย์และมุมกล้อง

ทิศทางของดวงอาทิตย์และมุมกล้อง
ภาพที่สอง
.jpeg)

เงาดวงอาทิตย์ทำมุม 27 องศา ณ ขาตอหม้อของสะพาน


ดวงอาทิตย์อยู่ที่พิกัดมุมกวาด 237 องศา มุมเงย 27 องศา ณ เวลา 15:37 น.
.jpeg)
พิกัดของดวงอาทิตย์ ณ เวลา 15:37 น.
ภาพที่สาม
.jpeg)


ดวงอาทิตย์อยู่ที่พิกัดมุมกวาด 238 องศา (Azimuth 238) และมุมเงย 20 องศา (Altitude 20) เวลา 16:12 น.


ทิศทางของดวงอาทิตย์ขณะถ่ายภาพ ณ เวลา 16:12 น.
.jpeg)
เปรียบเทียบมุมดวงอาทิตย์ในแต่ละเวลา ของทั้ง 3 ภาพ
.jpeg)
พิจารณาเครื่องแต่งกายภาพที่ถ่ายช่วงเช้า 08:24 น. เป็นเครื่องแบบสีขาว แต่เครื่องแต่งกายช่วงบ่าย 15:37 น. และ 16:12 น. เป็นเครื่องแบบสีเข้ม
เปรียบเทียบภาพถ่ายปี 2449 กับ ภาพถ่ายปัจจุบัน มองจากมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ และ ตะวันออกเฉียงเหนือ

เปรียบเทียบภาพถ่าย ปี 2449 กับภาพถ่ายปัจจุบัน มองจากมุมตะวันตกเฉียงใต้ และ ตะวันออกเฉียงเหนือ มีต้นไม้ขนาดใหญ่เป็นจุดสังเกต

เปรียบเทียบภาพถ่าย ปี 2449 กับภาพถ่ายปัจจุบัน มีต้นไม้ขนาดใหญ่เป็นจุดสังเกต
.jpeg)
ตำแหน่งดวงอาทิตย์และเวลาของภาพถ่ายแต่ละรูป

.jpeg)
พิกัดของดวงอาทิตย์ในวันที่ 15 มกราคม 2449 ตั้งแต่เช้าจนเย็น (สีเหลือง คือพิกัดดวงอาทิตย์ตามภาพถ่าย 3 ภาพ)
ประมวลวิธีการคำนวณวัน เวลา ของภาพถ่ายสะพานขอม ด้วยวิชาวิทยาศาสตร์ซึ่งทุกประเด็นต้องมีความสอดคล้องกันในเชิงตรรกะ ดังนี้
1. อ้างอิงบันทึกของกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่เสด็จมาตรวจราชการที่จังหวัดสกลนครและได้กล่าวถึงสะพานและถนนขอม ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2449 แสดงว่ารูปถ่ายทั้ง 3 ภาพ ณ สะพานขอมน่าจะตรงกับวันดังกล่าว หรือไม่ก็ต้องใกล้เคียงกับวันนั้นมากที่สุด ........... อนึ่ง เดือนมกราคม เป็นฤดูหนาววิถีการเคลื่อนตัวของดวงอาทิตย์มีลักษณะ "ตะวันอ้อมข้าว" คือเอียงไปทางทิศใต้
.jpeg)
เดือนมกราคมเป็นฤดูหนาวการเคลื่อนตัวของดวงอาทิตย์ในลักษณะ "ตะวันอ้อมข้าว" เอียงไปทางทิศใต้
2. จากเหตุผลทางวิชา "อุทกวิทยา" ทำให้ทราบว่าภาพถ่ายสะพานขอม "ถ่ายจากมุมไหน" และวางตัวอย่างไรกับลำน้ำที่ไหลผ่าน
.jpeg)
.jpeg)
ตามหลักอุทกวิทยาบริเวณหน้าฝาย (upstream) จะมีการตกตะกอน (sedimentation) มากว่าท้ายฝาย (downstream)

ภาพถ่ายปี พ.ศ.2489 แสดงให้เห็นด้านต้นน้ำหน้าฝาย (upstream) อยู่ทางด้านทิศใต้ติดกับอ่างเก็นน้ำ "หนองสนม" และท้ายน้ำ (downstream) อยู่ด้านทิศเหนือไปทางหนองหาร
แสดงภาพถ่ายสะพานขอมกับด้านต้นน้ำ (upstream) และท้ายน้ำ (downstream)
.jpeg)
ภาพ graphic แสดงให้เห็นการวางตัวสะพานขอมกับต้นน้ำ (upstream) และท้ายน้ำ (downstream)
3. เหตุผลทางดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งและเงาของดวงอาทิตย์ที่ปรากฏในภาพถ่ายสามารถนำมาคำนวณเวลาขณะกำลังถ่ายภาพนั้นๆได้

เงาดวงอาทิตย์ที่ปรากฏในภาพถ่ายมีประโยชน์ต่อการคำนวณตำแหน่งของดวงอาทิตย์
.jpeg)
เราสามารถรู้ตำแหน่งดวงอาทิตย์จากเงา ..... อนึ่ง กล้องถ่ายรูปยุคนั้นไม่มีเลนส์ตัดแสงจึงต้องวางมุมกล้องในทิศทางที่ไม่ย้อนแสงอาทิตย์
.jpeg)
.jpeg)
ภาพ graphic แสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์ ณ เวลา 08:24 น. วันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2449
.jpeg)
graphic แสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์ ณ ภาพถ่ายทั้ง 3 ภาพ
4.เหตุผลทางโบราณคดี จากผลการขุดสำรวจสะพานขอมโดยกรมศิลปากร เมื่อเดือนมิถุนายน - กรกฏาคม 2567 ยืนยันว่าสะพานขอมปัจจุบันแม้ว่าจะมีการซ่อมแซมโดยใช้วัสดุใหม่เข้าไปทดแทนของเดิม แต่ก็ยังคงอยู่บนฐานราก (เสาตอหม้อเดิม) ไม่ได้เปลี่ยนแปลงทิศทางการวางตัว

เปรียบเทียบภาพถ่ายสะพานขอม ปี 2449 กับ 2567 ยังมองเห็นเสาตอหม้ออันเดิม แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือวัสดุที่เป็นตัวสะพานข้างบน
.jpeg)
ภาพถ่ายขณะที่กรมทางหลวงกำลังก่อสร้างขยายถนนและเอาดินมาบดอัดทับสะพานขอม ทำให้ตัวสะพานด้านบนถูกทำลายแต่ฐานรากที่เป็นเสาตอหม้อยังคงฝังอยู่ใต้ดิน ณ พิกัดเดิม
สะพานขอมกับปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ "เหมายัน" (Winter Solstice) และ "ครีษมายัน" (Summer Solstice)
การเคลื่อนตัวของดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์เหมายัน (winter solstice ) และ ครีษมายัน (summer solstice)
.jpeg)
สะพานขอมวางตัวในแนว มุมกวาด 115 (Azimuth 115) องศา และ 295 องศา (Azimuth 295)

ตำแหน่งดวงอาทิตย์ยามเช้าในปรากฏการณ์ ครีษมายัน (summer solstice) วิษุวัต (equinox) และ เหมายัน (winter solstice)
ดวงอาทิตย์ขึ้นในปรากฏการณ์เหมายัน (winter solstice) วันที่ 21 - 22 ธันวาคม กลางคืนยาวที่สุดในรอบปี นานถึง 13 ชั่วโมง กลางวันเหลือเวลา 11 ชั่วโมง สังเกตว่าห้าโมงเย็นก็มืดค่ำแล้ว

.jpeg)
การถ่ายภาพดวงอาทิตย์ตกในช่วง "ครีษมายัน" (summer solstice) ค่อนข้างลำบากเพราะเป็นฤดูฝน อย่างไรก็ตามช่างภาพของรายการลุยผ่านเลนส์ได้พยายามเก็บภาพให้ดีที่สุดเท่าที่เห็น ในภาพนี้จะสังเตเห็นดวงอาทิตย์หย่อนตัวลงด้วยมุมเอียง 17 องศา (เนื่องจากสะพานขอมตั้งอยู่ที่พิกัดเส้นรุ้ง 17 องศา) อนึ่ง ครีษมายัน กลางวันยาวที่สุดในรอบปี นานถึง 13 ชั่วโมง ณ เวลา หนึ่งทุ่มท้องฟ้ายังคงสว่าง อม กับ
สะพานขอม กับ โหราศาสตร์
สะพานขอมหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "เหมายัน" (winter solstice) และ ราศีพิจิก (Zodiac Scopio แมงป่อง)


พันปีที่แล้วบรรพชนชาวขอมผู้สร้างสะพานแห่งนี้ต้องทราบดีว่านี่คือ "ราศีพิจิก" ซึ่งหัวใจแมงป่อง คือดาวปาริชาต (Antares) ขึ้นตรงกับจุดกึ่งกลางสะพานในเช้าตรู่ของปรากฏการณ์ "เหมายัน"

.jpeg)
พลังแห่งราศีพิจิกอันแรงกล้าส่งตรงไปยังปราสาทที่อยู่กลางเมือง
.jpeg)
ชายผู้นี้เกิดในราศีพิจิก มีสมยานามตามท้องเรื่อง "ฤาษีเอก อมตะ" พลังของเขาจึงเหลือล้นในการแสวงหาสิ่งใหม่ๆแก่สังคมชาวเมืองสกล

วิชาโหราศาสตร์สากล ราศีพิจิก เป็นผู้มีพลังอำนาจสูงสุดในบรรดาจักรราศี considered the most powerful sign of zodiac

ทุกๆปี ในปรากฏการณ์ "เหมายัน" 21 - 22 ธันวาคม ท่านสามารถพิสูจน์เชิงประจักษ์ว่า ราศีพิจิก จะปรากฏหน้าสะพานขอม
.jpeg)
ปรากฏการณ์ "ครีษมายัน" (summer solstice) ช่วงวันที่ 21 - 30 มิถุนายน หลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจะเห็น "ราศีเมถุน หรือราศีคนคู่" (Zodiac Gemini) ราวๆเวลา 19:15 น. ผู้ที่เกิดในราศีนี้ก็สามารถมาประกอบพิธีตามความเชื่อของแต่ละท่าน ณ สะพานขอม
สะพานขอมกับวิชาฟิสิกส์และเรขาคณิต ...... ว่าด้วยการจับระดับพื้นราบ
โจทย์ ....... การก่อสร้างสะพานจำเป็นต้องวางก้อนหินให้ "ได้แนวระนาบ" แต่ยุคนั้นยังไม่มี "สายยางจับระดับน้ำ" ไม่มี smartphone หรือ อุปกรณ์ laser สำหรับจับระดับให้ได้ level กับพื้นโลก บรรพชนชาวขอมมีวิธีอย่างไร?
คำตอบ ...... นักโบราณคดียังค้นไม่พบจารึกหรือภาพสลักเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ด้วยหลักตรรกะวิทยาที่ดูจากหลักฐานวัตถุพยานซึ่งเป็นผลงานเชิงประจักษ์ ยืนยันว่าท่านเหล่านั้นต้องมีวิธีอย่างหนึ่งอย่างใดแน่นอน
ภาพนี้มองเห็นชัดเจนว่าสะพานขอมถูกวางตัวใน "แนวระนาบ" แต่โจทย์คือ ...... บรรพชนพันปีที่แล้วใช้อุปกรณ์อะไรในการ "จับระดับ"

วิธีที่ง่ายและเป็นไปได้มากที่สุดคือ อุปกรณ์ 2 อย่าง คือ เชือก ลูกดิ่ง และไม้ฉาก
.jpeg)
ขยับเส้นเชือกให้ได้ฉากกับลูกดิ่งและมองด้วยสายตาว่าน่าจะได้ระดับ

ใช้ไม้ฉากตรวจสอบทุกจุดให้ได้ "มุมฉาก" จะได้แนว "ระดับ" เพื่อเป็นเครื่องหมายในการวางก้อนหิน
ทดสอบโดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆพบว่าได้ผลดี มีความเป็นไปได้ว่าพันปีที่แล้วบรรพชนชาวขอมก็น่าจะทำแบบนี้ ....... นึกถึงตอนเรียนมัธยม ต้องท่องทฤษฏีเรขาคณิตบทที่ 1 "เส้นตรงเส้นหนึ่งตั้งอยู่บนเส้นตรงอีกเส้นหนึ่ง มุมประชิดรวมกันได้สองมุมฉาก" ทั้งหมดนี้ใช้วิชาฟิสิกส์ว่าด้วย "แรงดึงดูดของโลก (Gravitational Force) ทำให้เส้นเชือกตั้งฉากกับแนวระนาบ" และวิชาเรขาคณิตของท่านปีธากอรัส (Pythagoras) สองพันกว่าปีที่แล้ว


สรุป
ชมรมอารยธรรมสกลนครมีความภูมิใจที่จะนำเสนอ .......... สะพานขอมแห่งนี้เปรียบเสมือนห้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และ โหราศาสตร์ ลองมาเรียนรู้ไปด้วยกัน ครับ