เจาะลึกเบื้องหลังเมืองโบราณศรีเทพ Operation Spica EP 2
ไขปริศนา ..... บรรพชนใช้เทคโนโลยีอะไรในการก่อสร้าง และมีวัตถุประสงค์อะไร ?
.jpeg)
ถาม ...... บรรพชนยุค "ทวารวดี" เอาแรงจูงใจ และองค์ความรู้ในการก่อสร้างสถูปยักษ์ "เขาคลังนอก" (ชื่อปัจจุบัน) มาจากไหน
ตอบ ..... ความเห็นส่วนตัว เชื่อว่าเป็นอิทธิพลจากอินเดียโบราณของอาณาจักรคุปตะ ที่สร้างมหาวิหารนาลันทา (Nalanda Mahavihara) ด้วยเหตุผล 3 ประการ
1.มหาวิหารนาลันทาเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ของศาสนาพุทธ มีพระจีนชื่อดังอย่างพระถังซำจั้งเคยเดินทางมาศึกษาที่นี่ เป็นหลักฐานแสดงว่าองค์ความรู้และอิทธิพลของนาลันทามีการเผยแพร่ไปยังดินแดนต่างๆที่ห่างไกล


คำอธิบายที่มหาวิหารนาลันทากล่าวถึงการที่มีนักเรียนจากแดนไกลมาศึกษาที่นี่ เช่น พระถังซำจั้ง จากจีน เพราะเป็นศูนย์การเรียนรู้ศาสนาพุทธที่ยิ่งใหญ่

หนึ่งในหลักสูตรการเรียน มี "วิชาดาราศาสตร์"
2.สถูปยักษ์เขาคลังนอกมีลักษณะคล้ายมหาวิหารนาลันทาและวางตัวในพิกัดดาราศาสตร์เหมือนกันเพื่อให้ตรงกับ "ดาวรวงข้าว" (Star Spica) ในราศีหญิงสาว (Zodiac Virgo) ที่ความเชื่ออินเดียโบราณหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง ความเชื่ออันนี้ก็น่าจะมีอิทธิพลต่อบรรพชนศรีเทพในยุคนั้น
รูปร่างลักษณะสถูปเขาคลังนอกมีความคล้ายกับมหาวิหารนาลันทา ที่รัฐพิหาร อินเดีย

ลงพื้นที่มหาวิหารนาลันทา รัฐพิหร อินเดีย เมื่อปี 2552

ใช้เข็มทิศตรวจสอบการวางตัวของวิหาร

เข็มทิศแสดงการวางตัวของมหาวิหาร ที่มุมกวาด 95 องศา (azimuth 95)

ภาพถ่าย Google Earth ก็แสดงการวางตัวของมหาวิหารที่มุมกวาด 95 องศา
.jpeg)
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ The Starry Night Pro Plus แสดงภาพจำลอง ดาวรวงข้าว (Star Spica) ในราศี Virgo อยู่ที่พิกัด 95 องศา ในยุค AD 400
งานวิจัยของนักวิชาการอินเดียระบุว่า มหาวิหารนาลันทามีความผูกพันกับดาว Spicas

ชาวอินเดียโบราณเรียกดาว Spica ว่า "จิตรา" (Chitra) หมายถึงความสุกสว่าง และมีเสน่ห์
ดาว Spica เป็นสัญลักษณ์แห่งการเก็บเกี่ยวพืชพันธ์ุธัญญาอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เปรียบดั่งแสงตะเกียงและไข่มุก

ชาวอียิปส์โบราณก็เชื่อว่าดาว Spica นำไปสู่ความรุ่งโรจน์ และตั้งชื่อดาวดวงนี้ว่า "ดาวแห่งความเจริญรุ่งเรือง"
3.พิจารณารูปร่างหน้าตาของผู้คนในยุคทวารวดีจากโบราณวัตถุที่พบ มีความเป็นสายเลือดอินเดียสูงมาก เป็นไปได้ว่ามีการเดินทางมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณแหลมทองซึ่งปัจจุบันคือประเทศไทย

ภาพสลักและภาพปูนปั้นยุคทวารวดีมีลักษณะเหมือนคนอินเดีย
ถาม ........สถูปเขาคลังนอกวางตัวตามพิกัดดาราศาสตร์ ที่มุมกวาด 95 องศา เหมือนมหาวิหารนาลันทา จริงไม้?
ตอบ ....... จริงครับ สถูปหลังนี้ทำมุม 95 องศา มีการพิสูจน์ยืนยันด้วยหลักวิทยาศาสตร์ 3 ประการ
1.เปิดเกมส์เบื้องต้นด้วย Google Earth
ภาพถ่าย Google Earth แสดงพิกัดการวางตัวของสถูปเขาคลังนอก เบี่ยง 5 องศาจากทิศเหนือ และทำมุมกวาด 95 ทางทิศตะวันออก
2.ตรวจด้วย เข็มทิศแม่เหล็ก และ Application Compass and GPS with Smarthphone พบว่าได้ตัวเลขการวางตัว ณ ทิศตะวันออก 95 องศา (Azimuth 95) จากอุปกรณ์ทั้งคู่
บันไดด้านทิศตะวันออกของเขาคลังนอกหันไปที่มุมกวาด 95 องศา (Azimuth 95)
คุณนก มัคคุเทศอาชีพ Prapaporn Matda วางเข็มทิศที่ center ของบันไดทางขึ้นด้านตะวันตกของสถูปเขาคลังนอก ตัวเลขชี้ที่ Az 5 และ Az 95 แสดงว่าสถูปหลังนี้เบี่ยงจากทิศเหนือไปทางตะวันออก 5 องศา และเบี่ยงจากตะวันออกไปทางใต้ 5 องศา เท่ากับ 90 + 5 = มุมกวาด 95 หรือ Azimuth 95
.jpeg)
มัคคุเทศก์อาชีพ ชื่อคุณนก Prapaporn Matda ลงพื้นที่เมื่อ 22 กันยานยน 2566 ใช้ smarthphone ตรวจสอบพิกัด ได้ตัวเลข Az 95 องศา วาง Smarthphone ที่บันไดทางขึ้นด้านตะวันตก โดยหันหัวโทรศัพท์ไปทางตะวันออก
.jpeg)
คุณ Kitti Praphruettrakul แห่งบริษัททัวร์ AMTAmfine ไปที่เขาคลังนอก เมื่อ 10 ตุลาคม 2566 และเก็บข้อมูลการวางตัวของเขาคลังนอกด้วน Smartphone ณ พิกัด N 15 29 12 E 101 08 41 ตรงหน้าบันไดทิศตะวันออก
ข้อมูลของคุณ Kitti Praphruettrakul ยืนยันว่าเขาคลังนอกหันหน้าไปที่ตำแหน่งมุมกวาด 95 องศา (azimuth 95) อนึ่ง มุมกล้องยิงมาจากทิศตะวันออกจึงเห็นภาพโทรศัพท์กลับหัว
.jpeg)
คุณหมอ Sirirote Kittisarapong MD ไปที่เขาคลังนอกและวาง Smartphone ที่บันไดด้านทิศตะวันออกโดยหันหัวโทรศัพท์ไปทางทิศตะวันตก ได้ตัวเลขมุมกวาด 275 หรือ Azimuth 275 ถ้ากลับหัวโทรศัพท์มาทางตะวันออกก็จะได้ตัวเลขมุมกวาด 95 องศา (275 - 180 = 95)
3.ตรวจสอบพิกัดการวางตัวสถูปเขาคลังนอกด้วยวิธีโบราณใช้ไม้แท่งเดียววัดมุมดวงอาทิตย์ เรียกว่า Shadow Plot เป็นวิธีการที่บรรพชนในยุคโบราณใช้ออกแบบสิ่งก่อสร้าง เช่น ปีรามิด ปราสาท วิหาร ฯลฯ ...... ในที่นี้คุณนก หรือมัคคุเทศก์อาชีพ Prapaporn Matda ลงทุนเดินทางจาก กทม.ไปที่เมืองโบราณศรีเทพ วันที่ 22 กันยายน 2566 และยืนตากแดดเป็นชั่วโมงเพื่อส่งภาพและข้อมูลให้ผมวิเคราะห์ จริงๆแล้วผมอยู่ที่ USA รับข้อมูลผ่าน Facebook จากคุณนก เหตุผลที่ผมขอความช่วยเหลือให้คุณนกไปที่นั่นในวันดังกล่าวเพราะตรงกับปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" (Autumnal Equinox) ทำให้การทำ Shadow Plot ง่ายกว่าวันอื่นๆ เพราะเงาดวงอาทิตย์เป็นเส้นตรง
วัตถุประสงค์ของ Shadow Plot
3.1 หา "ทิศเหนือแท้" ตามหลักดาราศาสตร์ และเอาไปเปรียบเทียบกับแนวการวางตัวของสถูปด้านทิศตะวันตก (ตามแนวพื้นหิน) ว่า จะต่างกันที่ 5 องศา จริงหรือ?
3.2 หาค่าองศาของเส้นรุ้ง (latitude) ณ เขาคลังนอก
ตัวอย่าง การทำ Shadow Plot เพื่อหา "ทิศเหนือแท้ และองศาเส้นรุ้ง" ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร ในวัน "วสันตวิษุวัต" และ "ศารทวิษุวัต" เห็นได้ชัดเจนว่าเงาดวงอาทิตย์เป็นเส้นตรง
.jpeg)
วสันตวิษุวัต เงาดวงอาทิตย์เป็นเส้นตรง

ศารทวิษุวัต เงาดวงอาทิตย์เป็นเส้นตรง
วางก้อนหินที่ปลายยอดเงาทุกๆ 10 นาที จะได้เส้นตรง E - W
.jpeg)
ลากเส้นตรง (สีแดง จาก A) ให้ยาวออกไปทางทิศตะวันออก
.jpeg)
สร้างวงกลมโดยใช้ O เป็นศูนย์กลาง และ OA เป็นรัศมี จะตัดกับเส้นตรงที่ต่ออกมาจากจุด A ตั้งชื่อว่า B แบ่งครึ่งระหว่าง A - B ได้จุด C ลากเส้นตรง OC นี่คือแนวทิศเหนือแท้ ขณะเดียวกันเส้นตรง OC คือ "ความยาวเงา ณ เวลาเที่ยงสุริยะ" (solar noon) ซึ่งเป็นเงาที่สั้นที่สุดของวันนี้ และทำมุมฉากกับเส้นตรง AB หรือ แนว E - W
.jpeg)
วิธีการหาองศาเส้นรุ้ง ให้ลากเส้นตรงลงมาจรดกับปลายเงา ณ เวลาเที่ยงสุริยะ (solar noon) สังเกตว่าเงาจะตั้งฉากกับแนว E - W ดังนั้น มุมตกกระทบของแสงอาทิตย์ (angle of incident) ในวัน "วิษุวัต" เท่ากับองศาของเส้นรุ้ง ณ สถานที่นั้นๆ
ถาม ........ มุมตกกระทบของแสงอาทิตย์ในวัน "วิษุวัต" เท่ากับ "องศาเส้นรุ้ง" จริงหรือ
ตอบ ....... จริงครับ ตามหลักวิชาดาราศาสตร์แสงอาทิตย์ในวัน "วิษุวัต" ตั้งฉากกับพื้นผิวโลก ณ เส้นศูนย์สูตร (Equator) ทำให้มุมตกกระทบเวลาเที่ยงสุริยะเท่ากับองศาของเส้นรุ้ง ณ สถานที่นั้นๆ อย่างไรก็ตามวันอื่นๆที่ไม่ใช่ "วิษุวัต" มุมตกกระทบของแสงอาทิตย์จะเปลี่ยนไปและไม่เท่ากับองศาเส้นรุ้ง
พิสูจน์ด้วยวิชาเรขาคณิตตามทฤษฏีปีธากอรัส มุมตกกระทบของแสงอาทิตย์ในวัน "วิษุวัต" เท่ากับ "องศาเส้นรุ้ง" ตามภาพนี้แสงอาทิตย์ทำมุมฉากกับผิวโลก ณ เส้นศูนย์สูตร ทำให้ มุม a = มุม A
คุณนก ทำ Shadow Plot ที่เขาคลังนอก บนลานด้านทิศตะวันตก วันที่ 22 กันยายน 2566 ตรงกับปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" (Autumnal Equinox)
.jpeg)
พิกัดที่คุณนกทำ Shadow Plot ตรงกับลูกศรชี้ เป็นทิศตะวันตกของสถูปเขาคลังนอก
ใช้แท่งไม้สร้างเงาดวงอาทิตย์โดยวางก้อนหินที่ปลายเงา และส่งภาพมาให้ 4 ภาพ แต่พิจารณาแล้วมีภาพที่สอดคล้องกัน 2 ภาพ คือภาพที่มีก้อนหิน 3 ก้อน และ 4 ก้อน
.jpeg)
2 ภาพที่เลือก เพราะปักไม้ในตำแหน่งเดียวกัน ทำให้เงาดวงอาทิตย์สัมพันธ์กันโดยมุมกล้อง (หินหมายเลข 3 และ 4)
.jpeg)
ทำ Highlight ให้เห็นเงาชัดขึ้น
.jpeg)
ตั้งชื่อ จุดที่ไม้จรดกับพื้น A และ ก้อนหิน O and Q อนึ่งพิจารณาว่า ไม้ที่คุณนกถือมีการเอียงเล็กน้อย
.jpeg)
เนื่องจากไม้ที่ถือมีการเอียงเล็กน้อย (A) จึงใช้วิชาเรขาคณิตปรับให้ได้แนวดิ่ง (B) ลากเส้นตรง BO
.jpeg)
.jpeg)
ลากเส้นตรงผ่าน O และ Q จะได้แนว E - W เพราะนี่คือวัน "ศารทวิษุวัต" เงาดวงอาทิตย์จึงเป็นเส้นตรง
.jpeg)
สร้างวงกลมโดยใช้ BO เป็นรัศมี และมีศูนย์กลางตรงกับเส้นดิ่งที่จุด B ได้จุดที่วงกลมตัดกับ E - W ที่จุด C
.jpeg)
ลากเส้นตรง BC และ BC = BO มีจุดตัดกับวงกลม ณ จุด O และ C
.jpeg)
แบ่งครึ่งเส้น OC และลากเส้นตรงจากจุด B จะได้ทิศเหนือแท้ (N)
นำเส้นตรงทิศเหนือไปเปรียบเทียบกับแนวพื้นหินของสถูปที่อยู่ด้านหลัง
.jpeg)
พบว่าพื้นหินของสถูปเบี่ยงออกจากทิศเหนือไปทางตะวันออกด้วยมุมกวาด 5 องศา (Azimuth 5)
แสดงว่าด้านทิศตะวันออกของสถูปต้องตรงกับมุมกวาด 95 องศา (Az 95) สอดคล้องกับ GPS เข็มทิศ และ Google Earth
.jpeg)
ลากเส้นตรงจากปลายยอดไม้ลงไปจรดกับจุดกึ่งกลางของเส้น E - W ได้ตัวเลขมุม 15 องศา แสดงว่าสถูปเขาคลังนอกตั้งอยู่ที่พิกัดเส้นรุ้ง 15 องศา ตรงกับข้อมูล GPS and Google Earth
.jpeg)
แนวขอบสี่เหลี่ยมของเขาคลังนอกช่วยให้สามารถตรวจสอบการวางตัวเชิงดาราศาสตร์
ปฏิบัติการทางวิทยศาสตร์ทั้ง 3 วิธี ได้แก่ Google Earth, Compass + GPS and Shadow Plot ยืนยันสถูปเขาคลังนอกหันหน้าทางทิศตะวันออกด้วยมุมกวาด 95 องศา (Az 95)
ถาม .......การที่สถูปเขาคลังนอกหันไปทางทิศตะวันออกที่มุมกวาด 95 องศา มีวัตถุประสงค์อะไร?
ตอบ ....... จากที่กล่าวข้างต้นว่าเขาคลังนอกได้รับอิทธิพลความเชื่อและองค์ความรู้จากมหาวิหารนาลันทา อินเดีย จึงต้องหันหน้าเข้าหา "ดาวรวงข้าว" (Star Spica) ในราศี Virgo สื่อถึง "ความรุ่งโรจน์ของบ้านเมือง" เพราะดาวรวงช้าว (Spica) นำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของอาหารการกิน

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาตร์ The Starry Night ทำการจำลองภาพท้องฟ้าย้อนกลับไปที่ AD 700 พบว่าสถูปหลังนี้ตรงกับ "ดาว Spica" จริงๆ

ถ้ายุคนั้นมี Drone บินถ่ายภาพก็น่าจะเห็นภาพแบบนี้
ถาม ........ ปัจจุบัน "ดาวรวงข้าว" (Spica) ยังคงอยูที่พิกัดมุมกวาด 95 องศา เหมือนเมื่อพันกว่าปีที่แล้ว หรือไม่
ตอบ.......... ถ้าขึ้นไปยืนบนเขาคลังนอกตอนเช้ามืด ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน จะมองเห็น "ดาวรวงข้าว" ขึ้นที่ขอบฟ้าทางทิศตะวันออกในราศีหญิงสาว (Virgo) แต่พิกัดจะเปลี่ยนไปจากมุมกวาด 95 องศา (เมื่อครั้งโบราณ AD 700) เป็นปัจจุบัน ที่มุมกวาด 102 องศา เพราะเหตุผลทางดาราศาสตร์ที่เกิดจาก "แกนโลกแกว่ง" (precession of equinox)

ปัจจุบันดาวรวงข้าว (Spica) อยู่ที่พิกัดมุมกวาด 102 องศา

เปรียบเทียบพิกัดดาวรวงข้าว (Spica) เมื่อครั้งโบราณ AD 700 อยู่ที่มุมกวาด 95 องศา กับ ยุคปัจจุบัน AD 2023 เปลี่ยนไปอยู่ที่ใหม่ 102 องศา
ถาม ........ "แกนโลกแกว่ง" (precession of equinox) คืออะไร?
ตอบ ....... ปัจจุบันโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์และหมุนรอบตัวเองใน ลักษณะมุมเอียงจากแกนดิ่งราว 23.45 องศา มุมเอียงในองศานี้มิได้คงที่แต่มีการขยับไปมาระหว่าง 21 - 24 องศา โดยใช้เวลาครบ 1 รอบราวๆ 25,000 ปี ทุกวันนี้ขั้วโลกเหนือชี้ไปที่ดาว Polaris แต่อีก 14,000 ปี ข้างหน้า (14,000 AD) ดาวเหนือจะเปลี่ยนไปเป็น Vega ถ้าย้อนกลับไปอดีต 3,000 BC ดาวเหนือของเราคือ Thuban ปรากฏการณ์นี้ไม่อาจมองเห็นในชั่วอายุคนจึงทำให้เราๆท่านๆไม่รู้สึกอะไร
.jpeg)
แสดงการแกว่งของแกนโลกทำให้ดาวเหนือเปลี่ยนไปเป็นคนละดวง
.jpeg)
ถ้าย้อนเวลาไปที่ AD 700 ตอนสร้างเขาคลังนอกใหม่ๆจะเห็นดาวเหนือเฉียงไปทางขวามือ (NE) กลับมาในยุคปัจจุบันดาวเหนืออยู่ตรงทิศเหนือพอดี การแกว่งของแกนโลกมีผลให้พิกัดตำแหน่งของดาวเปลี่ยนไปอย่างช้าๆ แต่ปัญหาของเราๆท่านๆคือ "ไม่มีใครบันทึกไว้"
.jpeg)
ถ้าท่านมีอายุยืนยาวถึง 1,500 ปี ไปยืนอยู่บนเขาคลังนอกจะเห็นดาวเหนือเอียงไปทางซ้ายมือ (NE)
ถาม ........ นักวิชาการหลายท่านกล่าวว่า สถูปเขาคลังนอกอยู่ในแนวเดียวกับ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่ชื่อ "ถมอรัตน์" นัยว่าเพื่อเป็นศิริมงคล แต่ข้อสงสัยคือ บรรพชนยุคทวารวดีใช้วิธีอะไรในการวางตำแหน่ง จากการตรวจสอบเขาคลังนอกกับเขาถมอรัตน์ อยู่ในแนวพิกัดดาราศาสตร์ใกล้เคียงกับ Equinox มาก พูดง่ายๆ เกือบอยู่ในเส้นตรง E - W (ขณะเดียวกันโบราณสถานคู่แฝดคือ "เขาคลังใน" ไม่ได้อยู่ในพิกัดดังกล่าว)
ตอบ ...... ตรวจสอบด้วยภาพถ่าย Google Earth พบว่าเขาคลังนอกวางตัวเป็นเส้นตรงกับเขาถมอรัตน์ ด้วยมุมกวาด 272 องศา เคลื่อนจากพิกัด Equinox เพียง 2 องศา ...... อนึ่ง การวางตำแหน่งเขาคลังนอกให้ตรงกับพิกัดเขาถมอรัตน์โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นแนว E - W หรือ Equinox ไม่ได้ทำง่ายๆเพราะมีข้อจำกัดที่ระยะทางห่างไกลถึง 16.6 กิโลเมตร และไม่ทราบว่า แนวทิศ E - W ที่แท้จริงอยู่ตรงไหน
ภาพถ่าย Google Earth แสดงพิกัดระหว่าง เขาคลังนอก กับ ภูเขาถมอรัตน์

บรรพชนท่านคงอยากให้การวางตัวของเขาคลังนอกกับเขาถมอรัตน์อยู่ในเส้นตรง E - W เพื่อให้เห็นปรากฏการณ์ sunset ในวัน "วิษุวัต"
.jpeg)
คุณนก Prapaporn Matda ถ่ายภาพยอดเขาถมอรัตน์จากประตูด้านทิศตะวันตกของเขาคลังนอก เปรียบเทียบกับเข็มทิศ แสดงว่าอยู่ในแนวใกล้เคียง E - W มากจริงๆ ในภาพนี้เขาถมอรัตน์อยู่ที่พิกัดมุมกวาด 272 องศา (Az 272)
.jpeg)
ภาพนี้เน้น focus ที่เข็มทิศ ทำให้ภาพเขาถมอรัตน์มีลักษณะ Blur ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการถ่ายภาพ

คุณนกเป็น Presenter ที่ชั้นบนเขาคลังนอก กับภาพเขาถมอรัตน์อยู่ทางทิศตะวันตก

การวางตัวตามพิกัดภูมิศาสตร์ของโบราณสถานอื่นๆในเมืองศรีเทพกับเขาถมอรัตน์ พบว่ามีเขาคลังนอก กับปรางค์ฤาษี ที่วางตัวใกล้เคียงกับเขาถมอรัตน์ ในแนว E - W นอกนั้นอยู่ห่างออกไปทางทิศใต้
วิธีวางตำแหน่งเขาคลังนอกให้ได้พิกัด E - W กับเขาถมอรัตน์ ด้วยวิธีคณิตศาสตร์โบราณ ที่เรียกว่า Shadow Plot จำเป็นต้องเริ่มต้นกับการสร้างแนวเส้น N - S ให้ได้ก่อน

ขั้นแรกต้องทำ Shadow Plot เพื่อหาแนวทิศเหนือแท้ (true north) ในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการก่อสร้างสถูปเขาคลังนอก

ผมทำแบบนี้หลายครั้งแล้วครับกับโบราณสถานต่างๆ

เคยจัดการอบรมหลายครั้งที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ที่ประตูท่าแพเชียงใหม่ ประตูชุมพลโคราช และโรงเรียนมัธยมหลายแห่ง

เคยสาธิตให้เด็กชั้นประถมดูที่สกลนคร

เมื่อได้แนว N - S แล้วให้ทำเครื่องหมายด้วยแท่งไม้เรียงตัวทุกๆ 40 เมตร

แนวเส้นตรง N - S โดยมีเขาถมอรัตน์อยู่ทางตะวันตก

แบ่งออกเป็น 2 ทีม ทำการเล็งระยะไปที่เขาถมอรัตน์ตามแนว N- S และตรวจสอบว่าได้ฉากหรือไม่ ถ้ายังไม่ได้ฉากแสดงว่า "ยังไม่ตรง" ต้องขยับไปอีก
ขยับการเล็งระยะไปเรื่อยๆตามแนว N - S จนได้ตำแหน่งที่ "ทำมุมฉาก" แสดงว่า ณ จุดนี้คือแนว E - W ที่ต้องการ
.jpeg)
วางผังก่อสร้าง ณ จุดดังกล่าว โดยยึด Center เป็นตัวเริ่มต้นทำผังแปลน
.jpeg)
ก่อสร้างในกรอบที่กำหนด จะได้แนว E - W อย่างไรก็ตามย่อมมีความคลาดเคลื่อนที่เรียกว่า Human Error เพราะใช้ ตาดู หูฟัง แต่ท่านบรรพชนคลาดเคลื่อนเพียง 2 องศา ก็ถือว่าเก่งมากแล้วขอรับ
ถาม ...... โบราณสถานอื่นๆในเมืองศรีเทพ ตั้งอยู่ในพิกัด E - W กับเขาถมอรัตน์ ไม้เนี่ย
ตอบ ....... มีเพียง "ปรางค์ฤาษี" อีกหลังเดียวครับที่มีพิกัด E - W กับเขาถมอรัตน์ นอกนั้น เขาคลังใน ปรางค์ศรีเทพ และปรางค์สองพี่น้อง ไม่ตรงกับพิกัดดังกล่าว
เขาคลังใน ปรางค์สองพี่น้อง และปรางค์ศรีเทพ อยู่ไกลจากแนว E - W ของเขาถมอรัตน์ ประมาณ 2.3 กม.
ถาม ......... เมื่อสร้างเขาคลังนอกในแนว E - W กับเขาถมอรัตน์เสร็จแล้ว จะได้อะไรขึ้นมา?
ตอบ ......... จะเห็นภาพมหัศจรรย์ sunset ในปรากฏการณ์วิษุวัต (equinox) ที่เขาถมอรัตน์ แถมยังเห็นดาว Spica และราศี Virgo เหนือยอดเขาถมอรัตน์ในยามอาทิตย์อัสดงในวัน "ศารทวิษุวัต" นัยว่าเป็นศิริมงคลยิ่ง

ท่านพราหมณ์และเจ้านายชั้นสูงคงจะมายืนชมภาพนี้ทุกปีในปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต"

ในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" ถ้าท่านบรรพชนยืนอยู่บนยอดเขาถมอรัตน์ ก็จะเห็น "อาทิตย์อุทัย" ที่สถูปเขาคลังนอก
ถาม ....... บรรพชนทวารวดีรู้จักปรากฏการณ์ "วิษุวัต" จริงหรือ
ตอบ ....... บรรพชนยุคนั้นมีองค์ความรู้จากอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมหาวิทยาลัยนาลันทาที่มีหลักสูตรวิชา "ดาราศาสตร์" ไม่งั้นท่านจะสร้างสถูปที่ใหญ่โตขนาดนี้ได้อย่างไร อนึ่งคำว่า "วิษุวัต" มีรากศัพท์จากภาษาอินเดีย เพราะชาวภารตะรู้จักปรากฏการณ์นี้มานานนับพันปีแล้ว ปฏิทิมหาศักราชของอินเดียถือว่า "วสันตวิษุวัต" คือปีใหม่ วิหารจำนวนมากในอินเดียก็หันหน้าที่มุม 90 องศา ตรงกับดวงอาทิตย์รุ่งอรุณในวันดังกล่าว

ความเชื่อแห่งศิริมงคลในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" ฝักรากลึกในวัฒนธรรมของชาวเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ปราสาทขอมจำนวนมากก็สร้างให้ตรงกับวันนี้
ถาม ........ เขาคลังนอกเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่มีน้ำหนักมหาศาล น่าจะต้องมีการวางรากฐานที่มั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องได้ระดับกับแนวพื้นโลกไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง แต่ยุคนั้นไม่มีเครื่องมือจับระดับเหมือนปัจจุบัน ท่านเหล่านั้นใช้วิธีอะไร?
ตอบ ........ จากผลงานอันอลังการที่ปรากฏทำให้เชื่อมั่นว่าช่างในยุคนั้นต้องมีเทคโนโลยีในการ "จับระดับ" อย่างแน่นอน แต่เราๆท่านๆยังค้นไม่พบจารึกหรือหลักฐาน จึงต้องใช้สมมุติฐานเชิงตรรกะที่น่าจะเป็นไปได้ นั่นคือ ..... ลูกดิ่ง และจับมุมฉาก ดูเผินๆเหมือนเทคโนโลยีกำปั้นทุบดิน แต่ถูกต้องในหลักวิชาเรขาคณิตทฤษฏีบทที่ 1 ....... เส้นตรงเส้นหนึ่งตั้งอยู่บนเส้นตรงอีกเส้นหนึ่ง ..... มุมประชิดรวมกันได้สองมุมฉาก


Step 1 ขุดเปิดหน้าดินจนถึงระดับดินที่แข็งและปรับแต่งให้ราบเรียบด้วยสายตา

Step 2 ใช้ลูกดิ่งและเชือกเป็นตัวจับระดับและตรวจสอบด้วย "ไม้ฉาก" หากไม่ได้มุมฉาก แสดงว่ายังต้องขยับเชือกด้านใดด้านหนึ่ง

เมื่อขยับเชือกและตรวจสอบด้วยไม้ฉากพบว่าเท่ากันทั้งสองข้าง แสดงว่า "ได้ระดับแล้ว" เข้าตำราวิชาเรขาคณิตทฤษฏีบทที่หนึ่งของท่านปีธากอรัส
ทดลองกับของจริงด้วยอุปกรณ์ง่ายๆเหมือนกับยุคของบรรพชน ...โดยอาศัยกฏแห่งแรงโน้มถ่วงของโลก (Earth's gravitational Force) บวกกับทฤษฏีเรขาคณิตของท่านปีธากอรัส ในการหาแนวระนาบกับพื้นโลก

.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
ยังไม่ระนาบเพราะมุมระหว่างเชือกแนวดิ่งกับแนวนอนยังไม่เป็นมุมฉาก
.jpeg)
ไฮไล้ทด้วยสีให้เห็นชัดๆว่าเส้นเชือกแนวดิ่งกับแนวนอนไม่เป็นมุมฉาก
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
ปรับเส้นเชือกแนวนอนให้ได้มุมฉากกับแนวดิ่งทั้งสองจุด
.jpeg)
ไฮไล้ท์ด้วยสีให้เห็นชัดๆว่าเชือกแนวดิ่งทำมุมฉากกับเชือกแนวนอนทั้งสองจุด
.jpeg)
ตรวจสอบด้วยไม้ฉากพิสูจน์ว่าเชือกแนวนอน "เข้าสู่พิกัดระนาบกับพื้นโลก" ตามกฏของแรงโน้มถ่วงและทฤษฏีเรขาคณิตของท่านปีธากอรัส
.jpeg)

สามารถนำก้อนหินฐานรากมาวางให้เท่ากับระดับดังกล่าว

การจับระดับด้วยวิธีนี้สามารถยาวออกไปได้ตามต้องการแต่ต้องตรวจสอบทุกๆระยะเพื่อให้แน่ใจว่าได้ฉากทุกจุด
สรุป
จากพยานหลักฐานในปัจจุบันทำให้ทราบว่าท่านบรรพชนยุคทวาราดี มีองค์ความรู้เชิงวิศวกรรมเพื่อเชื่อมโยงกับความเชื่ออย่างลงตัว ถ้าท่านเหล่านั้นฟื้นขึ้นมาได้ อาจจะท้าทายเราๆท่านๆยุคไฮเท็ค .......สูเจ้าโยนอุปกรณ์ทันสมัยทิ้งให้หมด แล้วใช้วิธี "ตาดู หูฟัง" แบบตูข้า เอาไม้ละ
เข้าตำรา ..... ความรู้ปัจจุบัน ฤา จะเทียบชั้นกับวันวาน
