Operation Spica ......... ไขปริศนาเมืองโบราณศรีเทพ
มุมมองในมิติวิทยาศาสตร์และศาสตร์แห่งความเชื่อ ...... ผู้สร้างโบราณสถานขนาดใหญ่ "เขาคลังนอก และเขาคลังใน" (ชื่อปัจจุบัน) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีความผูกพันกับดาวฤกษ์ Spica หรือ "ดาวรวงข้าว" เพราะต้องการให้บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรือง อารยธรรมอินเดียเรียกดาวดวงนี้ว่า Chitra (ออกเสียง จิตตระ) หมายถึงความสุกสว่าง และความรุ่งเรือง
ราวพุทธศตวรรษ ที่ 11 อารยธรรมชาวภารตะเข้ามาสู่ดินแดนแห่งนี้ทำให้เกิดเมืองใหม่ในชื่อที่นักโบราณคดีเรียกว่า "ทวารวดี" ความเชื่อของอินเดียจึงติดมาด้วย ........ จึงต้องค้นหาว่าจุดเริ่มต้นของความเชื่อนี้มาจากไหน?

ผม สรรค์สนธิ บุณโยทยน นักพิภพวิทยา ร่วมกับไกด์นก ชื่อ facebook Prapaporn Matda มัคคุเทศก์อาชีพ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อนำมาประมวลในปฏิบัติการข้ามประเทศ โดยผมปฏิบัติการที่มหาวิหารนาลันทา รัฐพิหาร อินเดีย เมื่อปี 2552 ส่วนไกด์นกเก็บข้อมูลที่โบราณสถานศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2558
.jpeg)
แผนที่แสดงพิกัดมหาวิหารนาลันทา อินเดีย กับเมืองโบราณศรีเทพ ประเทศไทย
เมืองโบราณศรีเทพเปิดฉากอารยธรรมด้วย "ทวารวดี" อิทธิพลจากอินเดีย
เริ่มต้นที่โบราณสถานนาลันทา (Nalanda Ruins) รัฐพิหาร อินเดีย
โดยส่วนตัวเชื่อว่าสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ในชื่อ "มหาวิหารนาลันทา" เป็นต้นแบบของ "เขาคลังนอก" ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
ก่อนอื่นขอนำเรื่องราวโบราณสถานนาลันทาให้เราๆท่านๆรู้จัก สถานที่แห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สร้างในสมัยราชวงศ์คุปตะ (Gupta Empire) ราว 300 - 500 AD มีผู้คนมาเล่าเรียนวิชาต่างๆมากมายจากแดนไกลๆ มีความรุ่งเรืองอย่างสุดขีดหลายร้อยปี แต่เมื่อถึง 1200 AD ถูกกองทัพจากตรุกีเข้ามาทำลายจนกลายเป็นเมืองร้าง ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้บูรณะให้ได้เห็นหลักฐานสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่และได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ปี 2016 (World Heritage Site by UNESCO July 15, 2016)
คำถาม ...... มหาวิหารนาลันทา (Nalanda Mahavihara) เกี่ยวข้องกับเมืองศรีเทพ อย่างไร?
คำตอบ ......... มหาวิหารแห่งนี้เป็น "มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งแรกของโลก" และเมืองศรีเทพก็รับอิทธิพลของพุทธศาสนาจากอินเดีย จึงน่าจะมีอะไรเชื่อมโยงกัน
นักบวชพุทธชาวจีน หรือคนไทยเรียกท่านว่า "หลวงจีน" ก็เคยเดินทางมาที่นาลันทา เช่น หลวงจีนฟาเหียน (Faxian) AD 399 - 412 พระถังซำจัง (Xuanzang) AD 630 - 643 หลวงจีนยี่ผิง (Yijing) AD 673 - 700
คำถาม ....... มหาวิทยาลัย "นาลันทา" สอนวิชาอะไร
คำตอบ ........ สอนหลากหลายวิชาครอบคลุมวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์สาขาต่างๆ หนึ่งในนั้น มีวิชาดาราศาสตร์ (Astronomy) และศาสตร์แห่งความจริงของธรรมชาติ (Metaphysic)
.jpeg)
ป้ายอธิบายที่มาของมหาวิทยาลัย "นาลันทา" มีวิชา ดาราศาสตร์ และศาสตร์แห่งความจริงในธรรมชาติ
.jpeg)
นาลันทามีสิ่งก่อสร้างรูปร่างสถูปขนาดใหญ่มากมาย
.jpeg)
บรรยากาศทั่วไปของโบราณสถาน Nalanda
.jpeg)
ยืนยันชัดเจนว่า "นาลันทา" คือมหาวิทยาลัยของพุทธศาสนา
.jpeg)
เกือบทุกมุมของโบราณสถานเต็มไปด้วยพระพุทธรูป
สื่อท้องถิ่นสกลนคร "ลุยผ่านเลนส์" ออก Youtube เรื่องนี้
ปัจจุบันมหาวิหารนาลันทาเป็นที่ศัทธาของชาวพุทธทั่วโลก
พระสงฆ์จากประเทศไทยนิยมเดินทางมาจาริกบุญที่นี่ทุกปี
.jpeg)
เปรียบเทียบศิลปะมหาวิหารนาลันทา กับ สถูปเขาคลังนอก เมืองโบราณศรีเทพ มีหลักการเดียวกันคือ "สร้างสถูปบนฐานยกพื้นสูง"
พระพุทธรูปศิลปะนาลันทา กับพระพุทธรูปเมืองศรีเทพ
.jpeg)
พระพุทธรูปนาลันทา กับ พระพุทธรูปในถ้ำเขาถมอรัตน์ ทางทิศตะวันตกของเมืองศรีเทพ
.jpeg)
พระพุทรูปนาลันทา กับ พระพุทธรูปเมืองศรีเทพ
.jpeg)
บินตรงกรุงเทพ - Gaya India
.jpeg)
ใช้เวลาเก็บข้อมูลที่นาลันทาเกือบทั้งวัน เล่นเอาบรรดาเพื่อนๆที่มาด้วยกันออกอาการหงุดหงิดเพราะเขาเหล่านั้นถนัด ชิม ช้อป แชะ เหมือนนักท่องเที่ยวทั่วๆไป คราวหน้าจะมาคนเดียวดีกว่า
.jpeg)
มหาวิหารนาลันทาขณะกำลังบูรณะ
.jpeg)
สร้างในยุคอาณาจักรคุปตะ ราว ค.ศ.319 - 467
ลงพื้นที่โบราณสถานแห่งนี้ในเดือนมกราคม 2552 เพื่อเก็บข้อมูลด้านโบราณคดีและดาราศาสตร์โดยใช้
1. เข็มทิศแม่เหล็ก พบว่ามหาวิหารหมายเลข 13 หันหน้าตรงกับพิกัดดาราศาสตร์ที่มุมกวาด 95 องศา (Azimuth 95)
2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ The Starry Ninght Pro ทำภาพจำลองท้องฟ้าย้อนหลังไปที่ ค.ศ. 300 - 500 โดยใช้ตำแหน่งภูมิศาสตร์ N 25 08 16 E 85 26 32 พบว่าโบราณสถานแห่งนี้หันหน้าตรงกับ "ดาวฤกษ์ชื่อ Spica หรือดาวรวงข้าว" ที่มุมกวาดจากทิศเหนือ 95 องศา เช่นกัน
3. ใช้ Google Earth ตรวจสอบก็แสดงผลว่ามหาวิหารหันหน้า 95 องศา
ยืนยันว่าพิกัดตามเข็มทิศ ภาพจำลองด้วยโปรแกรมดาราศาสตร์ และ Google Earth แสดงข้อมูลตรงกัน

ส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างในอุทยานประวัติศาสตร์นาลันทา
ลงพื้นที่ด้วยตัวเองเมื่อเดือนมกราคม 2552

ใช้เวลาเก็บข้อมูลเกือบทั้งวันจนเพื่อนๆที่ไปด้วยออกปากว่า "หินก้อนเดียวเดินดูทั้งวันเชียวหรือ" อย่างว่าแหละครับคนเหล่านั้นเขาไม่ได้สนใจกับการวิจัย เขามาท่องเที่ยวชมความอลังการและ selfie จากนั้นก็ไปหา shopping

ใช้เข็มทิศแม่เหล็กจับพิกัดการวางตัวของมหาวิหาร
.jpeg)
เข็มทิศแม่เหล็กแสดงผลว่ามหาวิหารแห่งนี้วางตัวโดยหันหน้าในแนวดาราศาสตร์ที่มุมกวาด 95 องศา (azimuth 95)
ข้อมูลจากแผนที่แม่เหล็กโลกแสดงผลว่าบริเวณตอนเหนือของประเทศอินเดียอยู่ในโซน "ความเบี่ยงเบนเท่ากับศูนย์" (zero deviation) หมายความว่าเข็มทิศแม่เหล็กชี้ตรงกับทิศเหนือแท้ของโลก และแสดงผลทิศทางอย่างถูกต้องโดยไม่ต้องมีการปรับชดเชยแต่อย่างใด
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ The Starry Night Pro แสดงภาพจำลองท้องฟ้า ณ โบราณสถานแห่งนี้ ย้อนหลังไปที่ช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ.300 - ค.ศ.500 พบว่าที่ตำแหน่งมุมกวาด 95 องศา (azimuth 95) ตรงกับดาวฤกษ์ชื่อ Spica หรือดาวรวงข้าว อยู่ในราศีหญิงสาว (zodiac virgo)

การวิจัยของนักวิชาการอินเดีย ชื่อ M.B. Rajani and Viraj Kumar ให้ความเห็นว่าโบราณสถานนาลันทา (Nalanda's temples) หันหน้าไปที่ตำแหน่งดาวฤกษ์ Spica ในราศีหญิงสาว (zodiac virgo)
.jpeg)
การตรวจสอบด้วย Google Earth ก็ยืนยันว่ามหาวิหารหมายเลข 13 ในโบราณสถานนาลันทา หันหน้าตรงกับพิกัดดาราศาสตร์ที่มุมกวาด 95 องศา
ถาม ....... ทำไมอารยธรรมโบราณจึงให้ความสำคัญกับดาว Spica ในราศีหญิงสาว (Virgo)
ตอบ ....... ดาว Spica ในราศี Virgo ขึ้นที่ขอบฟ้าตรงกับฤดูการเก็บเกี่ยวราวเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่บรรพชนกำลังมีความสุขกับผลผลิตการเกษตร สัญลักษณ์ของราศีจึงเป็นภาพหญิงสาวถือรวงข้าว (ข้าวสาลี) เพราะการเกษตรคือชีวิต บ้านเมืองไหนมีผลผลิตอุดมสมบูรณ์ก็หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง ดังนั้นบรรพชนจึงให้ความสำคัญกับดาว Spica (ภาษาไทยเรียกดาวดวงนี้ว่า .... ดาวรวงข้าว)
ดาว Spica อยู่ในกลุ่มดาวฤกษราศีหญิงสาว (Virgo) มีภาพหญิงสาวถือรวงข้าวสาลี
จริงๆดาว Spica มีดาวฤกษ์ 2 ดวง คู่กัน จึงทำให้มองดูสว่างสุกใสในฤดูเก็บเกี่ยว
อารยธรรมโบราณ เช่น อียิปส์ เชื่อว่าดาวรวงข้าว Spica นำมาสู่ความเจริญรุ่งเรือง จึงมีการสร้างวิหารให้ตรงกับดาวดวงนี้
คำถาม ..... โบราณสถานอื่นๆในประเทศอินเดียที่วางตัวในแนวประมาณ 95 องศา มีอีกไม้?
คำตอบ ...... มีครับ เช่น มหาวิหารพุทธคยา (Maha Bhodi Gaya Temple) และโบราณสถานที่เมืองสารนาท (Sarnath Ruin)

ลงพื้นที่สำรวจบริเวณวิหารพุทธคยา มกราคม พ.ศ.2552
ภาพถ่าย Google Earth แสดงการวางแนวของวิหารพุทธคยาที่มุมกวาด 95 องศา (Az 95)

พื้นที่หน้าวิหารพุทธคยา ผู้คนนิยมมานั่งสมาธิโดยไม่สะทกสะท้านกับความพลุกพล่าน
.jpeg)
เข็มทิศที่พื้นบริเวณหน้าวิหารแสดงพิกัดมุมกวาด 95 องศา
.jpeg)
ภาพขยายเข็มทิศแสดงว่าวิหารแห่งนี้วางตัวที่มุมกวาด 95 องศา
Google Earth แสดง Sarnath Ruin หันหน้าที่มุมกวาด 95 องศา (Az 95)
ลงพื้นที่เมืองสารนาท มกราคม พ.ศ.2552
.jpeg)
เข็มทิศแสดงการวางแนวโบราณสถานตรงกับมุมกวาด 95 องศา (Az 95)

ภาพขยายเข็มทิศยืนยันว่าโบราณสถานหลังนี้วางตัวที่มุมกวาด 95 องศา (Az 95)
"เขาคลังนอก และ เขาคลังใน" อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ถอดแบบความเชื่อมาจากมหาวิหารนาลันทา จริงหรือ?
ก่อนอื่นขอนำเสนอเรื่องราวพอเป็นสังเขปเกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้ ตามเอกสารของกรมศิลปากรอธิบายว่า สร้างราวๆพุทธศตวรรษ ที่ 13 - 14 หรือ คริตศตวรรษ ที่ 8 - 9 (AD 700 - 800) โดยอารยธรรมทวารวดี หลังจากนั้นอาณาจักรขอมก็เข้ามาแทนในพุทธศตวรรษ 16 - 17 หรือ คริตศตวรรษ ที่ 11 - 12 ( AD 1000 - 1100)
คราวนี้มาเข้าประเด็นของผมนะครับ ได้ประสานงานกับไกด์อาชีพชื่อ Facebook Prapaporn Matda ลงพื้นที่เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 ส่งภาพมาให้จำนวนมากพอเพียงต่อการวิเคราะห์ยืนยันว่าที่นี่เริ่มต้นด้วยอารยธรรมทวารวดีจากอิทธิพลของอินเดีย เบื้องต้นจะเน้นที่โบราณสถาน 2 แห่ง ของเมืองโบราณศรีเทพ คือ เขาคลังนอก และเขาคลังใน ...... 8 ปีต่อมา วันที่ 13 ธันวาคม 2566 มีโอกาสลงพื้นที่โบราณสถานศรีเทพด้วยตนเอง
.jpeg)
ภาพ Google Earth แสดงตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานเขาคลังนอก และเขาคลังใน

ไกด์นก Propaporn Matda ลงพื้นที่ด้วยตัวเองเมื่อปี 2558

ภาพถ่ายโบราณสถานเขาคลังใน

ดูจากหลักฐานก็มั่นใจว่านี่คือยุค "ทวารวดี" พุทธศตวรรษที่ 13 - 14
ต่อด้วยยุคแห่งอาณาจักรขอม ในช่วงพุทธศตวรรษ ที่ 16 - 17
พิสูจน์ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ ...... สถูปเขาคลังนอก และเขาคลังใน รับอิทธิพลมาจากมหาวิหารนาลันทา จริงหรือ? ใช้หลักฐาน 2 อย่าง คือ ภาพถ่ายของไกด์นกยืนยันว่าที่นี่คือ "ทวารวดี" จากอารยธรรมอินเดีย สอดคล้องกับเอกสารของกรมศิลปากรที่เผยแพร่อย่างเป็นทางการ และการทำ simmulation ด้วยโปรแกรมตอมพิเตอร์ดาราศาสตร์ The Starry Night Pro ชึ่งมีความแม่นยำสูงมาก สามารถทำย้อนหลังได้ถึง 5,000 ปี
1. ภาพถ่าย Google Earth + Application Compass of Smartphone แสดงชัดเจนว่าสถูปเขาคลังนอก หันหน้าไปที่พิกัดมุมกวาด 95 องศา (azimuth 95) และเขาคลังในก็ทำมุม 95 องศา (azimuth 95) เหมือนกันทั้งคู่
ภาพถ่าย Google Earth ยืนยันการวางแนวของสถูปเขาคลังนอก ที่มุมกวาด 95 องศา
.jpeg)
คณะเพื่อนๆที่ลงพื้นที่อุทยานศีเทพด้วยกันเมื่อ 13 ธันวาคม 2566
.jpeg)
ลงพื้นที่สถูปเขาคลังนอกเมื่อ 13 ธันวาคม 2566
.jpeg)
ใช้ Application Compass พิสูจน์พิกัดทางดาราศาสตร์ของสถูปเขาคลังนอก
.jpeg)
เก็บข้อมูลพิกัดทางดาราศาสตร์พบว่าสถูปเขาคลังนอกวางตัวหันหน้าไปที่มุมกวาด 95 องศา (Azimuth 95)
.jpeg)
ภาพ Google Earth เขาคลังในทำมุมกวาด 95 องศา
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
คุณ Kitti Praphruerttakul Travel Agent at AMTAmfine ลงพื้นที่เขาคลังในและส่งพิกัดมาให้ พบว่าทำมุมกวาด 95 องศา
.jpeg)
ลงพื้นที่เขาคลังในด้วยตนเอง เมื่อ 13 ธันวาคม 2566 และเก็บข้อมูลการวางตัวพบว่าทำมุมกวาด 95 องศา (Az 95) เหมือนเขาคลังนอก
2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ The Starry Night Pro Plus สร้างภาพจำลองของท้องฟ้า ณ เขาคลังนอกย้อนหลังไปที่ ค.ศ.700 - 800 โดยใช้พิกัด N 15 29 12 E 101 08 40
เช้าตรู่ของเดือนตุลาคม ค.ศ.700 - 800 มีดาวฤกษ์ Spica หรือ ดาวรวงข้าวขึ้นที่ขอบฟ้ายามเช้ามืด ณ มุมกวาด 95 องศา (azimuth 95) ตรงหน้าของสถูปเขาคลังนอก
ภาพจำลองแสดงดาวฤกษ์ Spica ตรงกับตำแหน่งการวางตัว (alignment) ของสถูปเขาคลังนอก ณ มุมกวาด 95 องศา
.jpeg)

ภาพเปรียบเทียบ Google Earth สถูปเขาคลังนอก กับ มหาวิหารนาลันทา เห็นชัดเจนว่าทั้งคู่วางตัวในพิกัดมุมกวาดเดียวกัน ที่ 95 องศา
.jpeg)
เปรียบเทียบรูปลักษณ์ระหว่างมหาวิหารที่นาลันทา กับสถูปเขาคลังนอกที่ศรีเทพ
ข้อมูลทั้งหมดนี้ยืนยันว่าผู้สร้างเมืองศรีเทพเมื่อพันกว่าปีที่แล้ว มีความเชื่อว่า "ดาวรวงข้าว" เป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง ตามที่อินเดียโบราณตั้งชื่อดาวดวงนี้ว่า Chitra หมายถึง ความมีเสน่ห์ เฉลียวฉลาด สุกสว่าง และรุ่งโรจน์
https://www.spicastrology.com/about/#:~:text=In%20Hindu%20tradition%2C%20the%20star,eloquent%2C%20and%20self%2Dcentred.
คนอินเดียเรียกดาว Spica ว่า Chitra หมายถึง "สุกสว่าง" และเชื่อว่า ดาว Spica มีผลต่อความดีงาม ความฉลาดเฉลียว คารมคมคาย และมีเสน่ห์ของบุคคล
คำถาม ทำไมเขาคลังนอกวางตัวในแนวที่ 95 องศา และเขาคลังในก็วางตัวที่ 95 องศา เช่นเดียวกัน ...... บังเอิญ?
คำตอบ ไม่ใช่บังเอิญ เป็นเจตนาของผู้สร้างที่ต้องการให้สิ่งก่อสร้างทั้งคู่หันหน้าตรงกับดาวรวงข้าว แม้ว่ารูปร่างหน้าตาของโบราณสถานทั้งคู่แตกต่างกัน
.jpeg)
เขาคลังนอกและเขาคลังในวางตัวที่มุมกวาด 95 องศา (Az 95) เหมือนกัน
คำถาม ทำไมการวางตัวของสถูปเขาคลังนอกจึงเหมือนกับมหาวิหารนาลันทา ทั้งๆที่สร้างคนละสมัยกัน นาลันทาสร้างราว ค.ศ.400 แต่เขาคลังนอกสร้างราว ค.ศ.700
คำตอบ นี่คือประเด็นที่ผมสงสัยเป็นไปได้หรือไม่ "เขาคลังนอก" มีอายุเก่าแก่กว่า ค.ศ.700 ?
คำถาม
1.ถ้าเราๆท่านๆในยุคปัจจุบันต้องการสร้างบ้านหรือสถานที่อย่างใดอย่างหนึ่งให้ตรงกับดาวรวงข้าว (Spica) จะได้หรือไม่ ?
2.ถ้ามองไปตามมุมกวาดของเขาคลังนอกและเขาคลังในยุคปัจจุบันจะเห็นดาวรวงข้าว (Spica) หรือไม่ ?
คำตอบ 1.ได้ครับแต่ด้วยเหตุผลทางดาราศาสตร์ที่เรียกว่า precession of equinox เกิดจากการ "แกว่งของแกนโลก" ทำให้ตำแหน่งของดาว Spica ในยุคปัจจุบันเปลี่ยนพิกัดไปที่มุมกวาด 102 องศาแล้วละท่าน
2.เหตุผลเดียวกันกับ ข้อ 1.ดาวรวงข้าวเปลี่ยนตำแหน่งไปที่มุมกวาด 102 องศา และเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากจะทำให้มองไม่ชัดเพราะแสงอาทิตย์รบกวน
ผลจากการแกว่งของแกนโลกที่เรียกว่า precession of equinox ทำให้มุมเอียงของโลก (Earth's Axis Tilt) เปลี่ยนไป ดังนั้น อีก 14,000 ปีข้างหน้าดาวเหนือของเราจะย้ายจากดาวฤกษ์ Polaris เป็นดาวฤกษ์ Vega ขณะเดียวกันพิกัดของดาวฤกษ์ทุกดวงบนท้องฟ้าก็จะไม่เหมือนเดิม

ถ้าจะสร้างสถูปแห่งใหม่ในปี 2023 เลียนแบบเขาคลังนอกเพื่อให้ตรงกับดาว Spica ก็ต้องหันหน้าไปที่มุม 102 องศา

โปรแกรมดาราศาสตร์ The Starry Night Pro แสดงค่าพิกัดของดาว Spica ในยุคปัจจุบัน ณ ตำแหน่ง 102 องศา
.jpeg)

แต่ปัญหาของเราๆท่านๆในปัจจุบัน คือ ดาว Spica เคลื่อนที่มาใกล้ดวงอาทิตย์มาก แสงอาทิตย์ยาวเช้าตรู่จะรบกวนการมองเห็น

เปรียบเทียบพิกัดมุมองศา "การวางตัว" ของสถูปเขาคลังนอกโบราณ กับ ถ้าจะสร้างใหม่ในยุคปัจจุบัน
การวางตัวของพิกัดโบราณสถาน 3 แห่ง เขาคลังนอก เขาคลังใน และเขาถมอรัตน์ มีนัยสำคัญอะไรไม้ ?
เขาถมอรัตน์ มีภาพแกะสลักพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีขนาดใหญ่ที่ผนังถ้ำหินปูน นักโบราณคดีให้ข้อมูลว่ามีอายุร่วมสมัยกับเมืองโบราณศรีเทพ และห่างออกไปทางทิศตะวันตกประมาณ 16 กิโลเมตร มีลักษณะคล้าย "เขาพระสุเมรุ" เขาถมอรัตน์
คำถาม ทำไมบรรพชนเลือกสถานที่ตั้งเมืองศรีเทพทางทิศตะวันออกของภูเขาถมอรัตน์ ........ ทำไมไม่เลือกทางทิศตะวันตก?
คำตอบ พิจารณาตามสภาพทางภูมิศาสตร์พื้นที่บริเวณทิศตะวันตกของเขาถมอรัตน์ไม่เหมาะแก่การสร้างเมืองเพราะ "มีสภาพเป็นลอนลูกคลื่น และความลาดเทสูง เสี่ยงต่ออันตรายจากน้ำป่า และการกัดเซาะที่รุนแรง" ...... แต่พื้นที่ปัจจุบันของเมืองศรีเทพ มีสภาพเหมาะสมทางภูมิศาสตร์มีความราบลุ่ม ใกล้พื้นที่ชุ่มน้ำเหมาะแก่การหาอาหารและมีน้ำใช้สอยตลอดปี จึงน่าจะเป็นเหตุผลในการตัดสินใจสร้างเมือง โดยมีสถูปเขาคลังนอก และสถูปเขาคลังในเป็นศาสนสถานสำคัญ
พิจารณาพื้นที่ตามหลักการอุทกวิทยา พื้นที่ด้านทิศตะวันตกของเขาถมอรัตน์ "ไม่เหมาะแก่การสร้างเมือง" เพราะเป็นลอนลูกคลื่นและความลาดเทสูง มีความเสี่ยงต่อน้ำป่าและการกัดเซาะที่รุนแรง แต่พื้นที่ปัจจุบันมีความราบลุ่ม อยู่ใกล้พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) หาอยู่หากินง่ายและมีน้ำใช้สอยอุดมสมบูรณ์ บรรพชนผู้สร้างเมืองศรีเทพมีความรู้ด้านวิศวกรรมชั้นครูจึงมองออกว่าจะเลือกพื้นที่อย่างไร
.jpeg)
ปัจจุบันเขาคลังนอกอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาถมอรัตน์จะมองเห็น sunset แต่ถ้าเลือกไปตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาถมอรัตน์จะเห็น sunrise
.jpeg)
ทัศนียภาพ "ภูเขาถมอรัตน์" รูปร่างคล้าย "เขาพระสุเมรุ"
.jpeg)
เขาถมอรัตน์จากภาพถ่าย Google Earth
ช่างแห่งเมืองศรีเทพใช้แท่งหินปูนแกะสลักเป็นพระพุทธรูปยืนบนฐานดอกบัว
นักโบราณคดีให้ข้อมูลว่าพระพุทธรูปนี้เป็นศิลปะทวราวดีร่วมสมัยกับเมืองโบราณศรีเทพ น่าเสียดายว่า "เศียรพระพุทธรูปถูกตัดออกไป" น่าจะเป็นฝีมือของขบวนการนักค้าวัตถุโบราณ

แผนที่ Google Earth แสดงการวางตัว เขาถมอรัตน์ เขาคลังนอก และเขาคลังใน
.jpeg)
การวางตัวแบบนี้มีนัยสำคัญอะไรไม้?
ภาพจำลองพิกัดทางดาราศาสตร์ของเขาถมอรัตน์ เขาคลังนอก และเขาคลังใน
มาดูความเชื่อมโยง "ดาวรวงข้าว" (Star Spica) ในราศีหญิงสาว (Zodiac Virgo) กับสถานที่ทั้งสามแห่ง
เขาถมอรัตน์ กับ เขาคลังนอก
มองจากเขาคลังนอกไปทางทิศตะวันตก 16.6 กิโลเมตร จะเห็น "ยอดภูเขาถมอรัตน์" ที่พิกัดมุมกวาด 272 องศา ช่วงวันที่ 14 - 16 กันยายน ค.ศ.700 เห็นภาพดวงอาทิตย์ยามอัสดงในราศีหญิงสาว (zodiac virgo) หย่อนตัวลงที่ยอดเขาและเมื่อสิ้นแสงอาทิตย์จะเห็น "ดาวรวงข้าว" สุกสว่างในบริเวณนั้น
คำถาม ...... ทำไมเขาคลังนอกจึงตั้งอยู่นอกเมืองศรีเทพ
คำตอบ ....... ความเห็นส่วนตัว เขาคลังนอกน่าจะเก่าแก่ที่สุดในบรรดาโบราณสถานที่อยู่ในบริเวณเมืองศรีเทพ โดยเลือกตำแหน่งที่ตั้งให้ตรงแนว East - West กับ "ยอดภูเขาถมอรัตน์" ที่อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตก และเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เพราะรูปร่างคล้ายเขาพระสุเมรุ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจะปรากฏกลุ่มดาวหญิงสาวและดาวรวงข้าวใกล้กับเขาถมอรัตน์ ...... บรรพชนยุคนั้นผูกพันกับ "ดาวรวงข้าวในราศีหญิงสาว" เป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์ตามความเชื่อที่มาจากมหาวิหารนาลันทาประเทศอินเดีย
ตรวจสอบอย่างละเอียดพบว่าพิกัดดาราศาสตร์ของสถูปเขาคลังนอกกับยอดภูเขาถมอรัตน์อยู่ในแนวเส้นตรง E - W ด้วยมุมกวาด 272 องศา (azimuth 272) คลาดเคลื่อนจากแนวเส้นตรงตะวันออกแท้ (due east) - ตะวันตกแท้ (due west) เพียง 2 องศา ....... เข้าใจว่าท่านบรรพชนตั้งใจจะวางตำแหน่งเขาคลังนอก กับ เขาถมอรัตน์ ในเส้นตรง "วิษุวัต" (Equinox Line, E - W) แต่การเล็งพิกัดที่อยู่ห่างกัน 16.6 กิโลเมตร ย่อมเกิดความคลาดเคลื่อนเพราะสมัยนั้นใช้ทักษะที่เรียกว่า "ตาดู หูฟัง" ถ้าเป็นยุคปัจจุบันเราๆท่านๆเล่นอุปกรณ์เชื่อมโยงกับดาวเทียมระบบ GPS ทุกอย่างจึงออกมาเป๊ะเว่อร์
อนึ่ง ความหมายของ "วิษุวัต" คือปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ กลางวันเท่ากับกลางคืน ดวงอาทิตย์ขึ้น ณ ทิศตะวันออกแท้ (due east) พิกัดมุมกวาด 90 องศา (azimuth 90) และตก ณ ทิศตะวันตกแท้ (due west) พิกัดมุมกวาด 270 องศา (azimuth 270) แต่ละปีมีปรากฏการณ์วิษุวัติ 2 ครั้ง
"วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) เกิดขึ้นต้นฤดูใบไม้ผลิ ปัจจุบันตรงกับวันที่ 21 - 22 มีนาคม ปฏิทินอินเดียโบราณถือว่าเป็นวันปีใหม่
"ศารทวิษุวัต" (autumnal equinox) เกิดขึ้นต้นฤดูใบไม้ร่วง ปัจจุบันตรงกับวันที่ 22 - 23 กันยายน ปฏิทินอินเดียโบราณเรียกว่า "ครึ่งปี"
ความเชื่ออินเดียโบราณถือว่า "ทิศทางของพิกัดดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในปรากฏการณ์วิษุวัต มีความศักดิ์สิทธิ์" ...... มิน่าเล่าบรรพชนจึงพยายามสร้างสถูปยักษ์เขาคลังนอกให้ตรงกับพิกัดนี้โดยยึดเขาถมอรัตน์เป็นจุดเริ่มต้น ขณะเดียวกันก็จัดการให้เขาคลังนอกหันหน้าตรงกับ "ดาวรวงข้าว" ในราศีหญิงสาวเป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์

หน้าตาของปฏิทินอินเดียโบราณ ในชื่อ "มหาศักราช" (Saka Calendar) อาณาจักรขอมและอาณาจักรโบราณในดินแดนสุวรรณภูมิก็ใช้ปฏิทินฉบับนี้ กรุงสุโขทัย และ กรุงศรีอยุธยาตอนต้นก็ใช้
.jpeg)
การวางตัวตามพิกัดดาราศาสตร์ของเขาถมอรัตน์กับเขาคลังนอก โดยเขาถมอรัตน์อยู่ทางทิศตะวันตกที่มุมกวาด 272 องศา (Az 272) ในทางกลับกันมองจากเขาถมอรัตน์ไปยังเขาคลังนอกทางทิศตะวันออกจะเป็นมุมกวาด 92 องศา (Az 92) ........ แสดงว่าการวางตัวของเขาคลังนอกกับเขาถมอรัตน์คลาดเคลื่อนจากแนว ตะวันออกแท้ (due east) - ตะวันตกแท้ (due west) เพียง +2 องศา
GPS แสดงการวางตัวของเขาคลังนอกเล็งไปที่ยอดภูเขาถมอรัตน์ ด้วยมุมกวาด 272 องศา (Az 272) คลาดเคลื่อนจาก Equinox Line (Az 90 E - Az 270 W) เพียง +2 องศา
.jpeg)
เชื่อว่าเจตนาของบรรพชนต้องการให้เขาคลังนอก กับเขาถมอรัตน์ อยู่ในเส้นตรงแห่ง "วิษุวัต" (Equinox Sun's Path) แต่ยุคนั้นเครื่องมือทางดาราศาสตร์ยังไม่ทันสมัยเท่าปัจจุบัน
ภาพจำลองดวงอาทิตย์ขึ้นและตก ระหว่างเขาคลังนอก และเขาถมอรัตน์ ในปรากฏการณ์ "วิษุวัต" ทั้ง 2 ครั้ง
.jpeg)
ดวงอาทิตย์ขึ้น ณ เขาคลังนอก ปรากฏการณ์วสันตวิษุวัต มองจากเขาถมอรัตน์
.jpeg)
ดวงอาทิตย์ตก ณ เขาถมอรัตน์ ปรากฏการณ์วสันตวิษุวัต มองจากเขาคลังนอก
ดวงอาทิตย์ขึ้น ณ เขาคลังนอก ปรากฏการณ์ศารทวิษุวัต มองจากเขาถมอรัตน์
.jpeg)
ดวงอาทิตย์ตก ณ เขาถมอรัตน์ ปรากฏการณ์ศารทวิษุวัต มองจากเขาคลังนอก
เนื่องจากเมืองโบราณศรีเทพมีความผูกพันกับ "ดาวรวงข้าว" (Spica) ในราศีหญิงสาว (Virgo) จึงปรากฏกลุ่มดาวนี้ราวเดือนกันยายน
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ The Starry Night Pro Plus แสดงภาพจำลองปรากฏการณ์บนท้องฟ้าด้านทิศตะวันตก เดือนกันยายน ค.ศ.700 เห็นกลุ่มดาวราศี "หญิงสาว" (Virgo)
ภาพจำลองดวงอาทิตย์อัสดงเหนือยอดเขาถมอรัตน์ ที่พิกัดมุมกวาด 272 องศา ระหว่างวันที่ 14 - 16 กันยายน ค.ศ. 700
.jpeg)
ภาพจำลองของโปรแกรมดาราศาสตร์ แสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์อัสดง (sunset) และปรากฏกลุ่มดาวราศีหญิงสาว (Virgo) และดาวรวงข้าว (Spica) เหนือยอดเขาถมอรัตน์
.jpeg)
เมื่อสิ้นแสงอาทิตย์จะเห็นดาวรวงข้าว (Spica) ในราศีหญิงสาว (Virgo) ที่ขอบฟ้าเหนือภูเขาถมอรัตน์อย่างชัดเจน
.jpeg)
ภาพจำลองจาก Google Earth แสดงความสัมพันธ์เชิงดาราศาสตร์ระหว่างเขาคลังนอก กับเขาถมอรัตน์
ดวงอาทิตย์ตกในปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" ที่เขาถมอรัตน์ มองจากเขาคลังนอก
.jpeg)
หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" จะมองเห็นดาวรวงข้าว (Spica) ในราศีหญิงสาว (Virgo)
เขาถมอรัตน์ กับ เขาคลังใน
เขาคลังในตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาคลังนอก ห่างกัน 2.3 กิโลเมตร และห่างจากเขาถมอรัตน์ 16.8 กิโลเมตร

พิกัดดาราศาสตร์ของเขาถมอรัตน์และเขาคลังใน หากมองจากเขาคลังในไปทางทิศตะวันตก เขาถมอรัตน์อยูที่มุมกวาด 280 (Az 280)
ภาพจำลองอาทิตย์อัสดงเหนือเขาถมอรัตน์ ด้วยโปรแกรม The Starry Night Pro Plus

ดวงอาทิตย์อัสดงเหนือยอดเขาถมอรัตน์ระหว่างวันที่ 23 - 25 สิงหาคม ค.ศ.700 มองจากเขาคลังใน
.jpeg)
ภาพจำลองอาทิตย์อัสดงเหนือยอดเขาถมอรัตน์ระหว่าง 23 - 25 สิงหาคม ค.ศ.700 เห็นกลุ่มดาวหญิงสาวข้างบน มองจากเขาคลังใน
เมื่อสิ้นแสงอาทิตย์มองจากเขาคลังในจะเห็นดาวรวงข้าวในราศีหญิงสาวอยู่เหนือขอบฟ้าเขาถมอรัตน์
คำถาม ......... ทำไมอาทิตย์อัสดงเหนือยอดเขาถมอรัตน์ มุมมองจากเขาคลังนอก เป็น 14 - 16 กันยายน แต่มุมมองจากเขาคลังในเป็น 23 - 25 สิงหาคม
คำตอบ .......... เพราะพิกัดที่ตั้งของเขาคลังนอกกับเขาคลังในอยู่ห่างกัน 2.3 กิโลเมตร ทำให้มุมมองในแนวเส้นตรงไปยังเขาถมอรัตน์ต่างกัน โดยเขาคลังในจะเห็นอาทิตย์อัสดงในราศีหญิงสาวก่อนเขาคลังนอก ตามภาพข้างล่างนี้
.jpeg)
เขาคลังในเห็นอาทิตย์อัสดงในราศีหญิงสาว 23 - 25 สิงหาคม ส่วนเขาคลังนอกจะเห็น 14 - 16 กันยายน
คำถาม ........ ปัจจุบัน ยังสามารถมองเห็นอาทิตย์อัสดงบนยอดเขาถมอรัตน์จากมุมมองเขาคลังนอกและเขาคลังใน หรือไม่
คำตอบ ......... ยังมองเห็นครับ แต่ราศีจะเปลี่ยนจาก "หญิงสาว" (Virgo) ไปเป็น "สิงห์" (Leo) ด้วยเหตุผล "แกนโลกแกว่ง"
.jpeg)
อาทิตย์อัสดงเหนือยอดเขาถมอรัตน์ยุคปัจจุบันจากมุมมองเขาคลังนอกยังคง 14 - 16 กันยายน แต่เปลี่ยนราศีจาก "หญิงสาว" เป็นราศี "สิงห์" (Leo)
.jpeg)
อาทิตย์อัสดงเหนือยอดเขาถมอรัตน์ยุคปัจจุบันจากมุมมองเขาคลังในยังคง 23 - 26 สิงหาคม แต่ราศีเปลี่ยนจากราศี "หญิงสาว" (Virgo) ไปเป็นราศี "สิงห์" (Leo)
เขาคลังนอกและเขาคลังในเรียงตัวแนว เหนือ -ใต้ เป๊ะ
คำถาม
1.มีวัตถุประสงค์อะไร ?
2.ใช้วิธีอะไรในการวางตำแหน่งให้ตรงขนาดนั้นเนื่องจากทั้งสองอยู่ห่างกัน 2.3 กิโลเมตร
.jpeg)
เขาคลังนอกและเขาคลังในห่างกัน 2.3 กิโลเมตร แต่อยู่ในแนว เหนือ - ใต้ ตรงเป๊ะ

ถ้าบรรพชนยุคทวารวดีมาเกิดใหม่ ท่านคงจะท้าทาย ........ สูเจ้ารู้วิธีทำของตูข้าไม้ละ? ....... ห้ามเอาเปรียบกันด้วยอุปกณ์ยุคดิจิตอลนะเว้ย ต้องใช้เครื่องมือโบราณ เช่น มีด ไม้ จอบ เสียม
คำตอบ
1.บรรพชนยุคทวารวดีรับอิทธิพลมาจากอินเดีย ความเชื่อเรื่องภูเขาศักดิ์สิทธิ์เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าเรียกว่า "เขาพระสุเมรุ" จึงเป็นเรื่องสำคัญ ...... ตามความเชื่อเขาพระสุเมรุอยู่ที่ "ขั้วโลกเหนือ" ดังนั้นในการทำพิธีจึงต้องให้ฐานโยนีและน้ำศักดิ์สิทธิ์ไหลผ่าน "ท่อโสมสูตร" ไปทางทิศเหนือ ผมไปดูตัวอย่างที่วิหารพุทธคยาประเทศอินเดีย จะเห็นชัดเจนว่า "ฐานโยนี และพระพุทธบาท" ชี้ไปที่ "ทิศเหนือ" ดังนั้นการเรียงตัวของเขาคลังนอกและเขาคลังใน จึงอยู่ในแนวชี้ไปยังทิศเหนือเพื่อให้ตรงกับ "เขาพระสุเมรุ" อันศักดิ์สิทธิ์ ....... อนึ่ง วัฒนธรรมจากอินเดียที่เข้ามามีอิทธิพลในเมืองศรีเทพ เป็นการผสมผสานระหว่าง "ฮินดู พราหมณ์ และพุทธ" จนแทบจะแยกไม่ออก ปัจจุบันก็ยังเป็นเช่นนั้น พิธีกรรมและความเชื่อของชาวพุทธในประเทศไทยจึงเต็มไปด้วยกลิ่นอายของฮินดูและพราหมณ์ ตัวอย่างชัดมากที่สุดได้แก่ "ศาลพระพรหมณ์" หน้าโรงแรมเอราวัน ที่ กทม. ผู้คนแห่ไปขอพรเพื่อความศิริมงคลหรือมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ความเชื่อของฮินดูและพุทธโบราณเชื่อว่าเขาพระสุเมรุอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ

ผมลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้วยตนเองที่มหาวิหารพุทธคยาเมื่อมกราคม 2552

มหาวิหารแห่งนี้มีห้องบูชาศิวลึงค์และฐานโยนีทั้งๆที่เป็นพุทธสถาน
.jpeg)
ห้องบูชาศิวลึงค์ภายในมหาวิหารพุทธคยา
.jpeg)
เข็มทิศแสดงฐานโยนีชี้ไปที่ทิศเหนือตรงกับตำแหน่งเขาพระสุเมรุ

รอยพระพุทธบาทในมหาวิหารพุทธคยาก็ชี้ไปที่ทิศเหนือ

"ปราสาทภูมิโปน" ยุคเจนละ ที่จังหวัดสุรินทร์ เก่าที่สุดในบรรดาปราสาทโบราณของประเทศไทย มีท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า "ท่อโสมสูตร" อยู่ด้านทิศเหนือ

ท่อโสมสูตรชี้ไปที่ทิศเหนือ เหมือนกับฐานโยนีที่มหาวิหารพุทธคยา ประเทศอินเดีย
2.การวางแนวให้ตรงกับ N - S ใช้วิธีคณิตศาสตร์โบราณ เรียกว่า Shadow Plot เคยทำมาแล้วหลายครั้งในการออกแบบนาฬิกาแดดและตรวจสอบการวางตัวของปราสาทขอมโบราณ วิธีนี้ใช้อุปกรณ์พื้นบ้านธรรมดา

การทำ shadow plot ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร เพื่อตรวจสอบการวางแนวของปราสาทว่าตรงกับ N - S และ E - W หรือไม่
การทำ shadow plot ใช้อุปกรณ์ง่ายๆดังที่เห็นในภาพ
.jpeg)
ทำเครื่องหมายที่ปลายเงาดวงอาทิตย์ทุกๆ 10 นาที ตั้งแต่เช้าจนบ่ายแก่ๆจะได้ curve อย่างที่เห็น และลากเส้นตรงระหว่างจุดตัดของเส้นรอบวงช่วงเช้าและบ่าย จะได้แนว E - W
.jpeg)
ทำเส้นตั้งฉากกับแนว E - W จะได้ N - S

Shadow Plot ที่ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร เพื่อตรวจสอบแนวของตัวปราสาทว่า E - W และ N - S จริงหรือไม่
.jpeg)
ผลการทำ shadow plot ยืนยันว่าปราสาทภูเพ็ก สกลนคร วางตัวในแนว E - W และ N - S
เคยทำการอบรมนักเรียนให้ทำ shadow Plot ตามโครงการค่ายดาราศาสตร์
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)

เมื่อทำ shadow plot เสร็จ จะได้แนวเส้น E - W และ N - S
.jpeg)

ใช้ไม้เล็งแนวไปตาม N - S ทีละ 50 เมตร และทำสัญลักษณ์โดยปักไม้ไว้ยาวตามระยะทางที่ต้องการ
ทำไม ....... ปรางค์ยุคขอม ได้แก่ปรางค์ศรีเทพ และปรางค์สองพี่น้อง วางตัวตามแนว E - W ตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "วิษุวัต" (Equinox) แต่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ? ผิดกับเขาคลังนอกและเขาคลังในที่หันไปทางตะวันออก ...... ต้องมีเหตุผลอันควร เพราะบรรพชนเหล่านั้นไม่ทำอะไรเล่นๆ การก่อสร้างปราสาทต้องใช้แรงงานและทรัพยากรมากมาย
.jpeg)
ปราสาท หรือปรางค์ ทั่วไปจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออกตรงกับดวงอาทิตย์ขึ้นในปรากฏการณ์วิษุวัต
.jpeg)
แต่ทำไมปรางค์ยุคขอม 2 หลัง ของเมืองศรีเทพ หันหน้าไปทิศตะวันตกในปรากฏการณ์วิษุวัต?

ปรางค์สองพี่น้อง และปรางค์ศรีเทพ วางตัวตรงกับดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์วิษุวัต แต่ทั้งคู่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก?

พิจารณาเหตุผลที่น่าจะเป็นไปได้ ....... บรรพชนผู้ก่อสร้างปรางค์ทั้งสองหลังมีเงื่อนไข 2 ประการ พูดง่ายๆว่า ล้อกสองสะเป็ก คือ
1.วาง center-line ของปรางค์ให้สอดคล้องกับปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" (autumnal equinox)
2.มีราศีหญิงสาว (Virgo) และดาว "รวงข้าว" (Spica) อยู่ในท้องฟ้า
เงื่อนไขนี้จะเป็นไปได้ ...... ต้องหันหน้าปรางค์ไปทางทิศตะวันตกเท่านั้น หากหันไปทางทิศตะวันออกจะมองไม่เห็นราศีหญิงสาวและดาวรวงข้าว เพราะถูกบดบังด้วยแสงอาทิตย์ เพื่อพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่ ต้องสั่งให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ The Starry Night ย้อนเวลากลับไปที่ AD 1000 และทำ simmulation ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าในปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" (Autumnal Equinox) และนี่คือภาพที่เห็น ครับ
อนึ่ง มีการพบรูปสลัก "สุริยะเทพ" จำนวนหลายรูป อ้างอิงความเชื่อของอินเดียโบราณ ภาษาของเขาใช้คำว่า Surya Devta ตรงกับภาษาอังกฤษ Sun God และวิหาร Sun God ในประเทศอินเดีย เช่น Sun Temple Modhera รัฐ Gujarat มีความสัมพันธ์กับ "ปรากฏการณ์วิษุวัต" (equinox) จึงหันหน้าตรงไปที่ "ทิศตะวันออกแท้" (due east) ทำมุมกวาด 90 องศา (azimuth 90)
จากหลักฐานการพบ "สุริยะเทพ" ทำให้เชื่อว่าปรางค์ศรีเทพและปรางค์สองพี่น้องต้องมีความสัมพันธ์กับปรากฏการณ์วิษุวัต ..... แต่ที่ต้องหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ก็เพราะมีข้อผูกพันธ์กับ "ดาวรวงข้าว" (Spica) และราศี "หญิงสาว" (Virgo) ตามความเชื่อดั้งเดิมของเมืองศรีเทพ ...... ถ้าปรางค์หันไปทางตะวันออก จะมองไม่เห็นภาพดังกล่าวเพราะถูกแสงอาทิตย์บดบัง
ปรางค์ศรีเทพ และ Sun Temple Modhera ทั้งคู่วางตัวในแนว "วิษุวัต" แต่ต่างกัน ที่ปรางค์ศรีเทพหันไปทางตะวันตก ด้วยมุมกวาด 270 องศา แต่ Sun Temple หันไปทิศตะวันออกด้วยมุม 90 องศา
.jpeg)
สุริยะเทพพบที่เมืองศรีเทพ (ซ้าย) สุริยะเทพ Sun Temple Modhera รัฐ Gujarat India
ปรางค์ศรีเทพ (ซ้าย) Sun Temple Modhera India (ขวา)
.jpeg)
Sun Temple Modhera ภาพโดยไกด์ Paradee Netrasarika
.jpeg)
ปรางค์ศรีเทพหันหน้าไปทิศตะวันตกในแนวมุมกวาด 270 องศา เพื่อตรงกับ "สุริยะเทพ" และ "ดาวรวงข้าว" ในราศี หญิงสาว (Virgo)
.jpeg)
หากปรางค์ทั้งสองหันหน้าไปทิศตะวันออกแสงอาทิตย์จะบดบังและมองไม่เห็นราศีหญิงสาวและดาวรวงข้าว
.jpeg)
.jpeg)
ดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" ขึ้นมาก่อนราศีหญิงสาวและดาวรวงข้าวทางทิศตะวันออก (ที่มองเห็นดาวรวงข้าว Spica ขณะดวงอาทิตย์ขึ้น เพราะทำ graphic แต่งภาพให้รู้ว่าดาวอยู่ตรงนี้)
.jpeg)
ทดลองหันหน้าปรางค์ไปทางทิศตะวันออก และสั่งให้โปรแกรม The Starry Night ลบแสงอาทิตย์ออก จะเห็นราศีหญิงสาวและดาวรวงข้าว ในปรากฏการณ์ "ศารทวิษุวัต" (Autumnal Equinox) ...... แต่ยุคนั้นท่านบรรพชนไม่มีอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ต้องใช้ "ตาดู หูฟัง เท่านั้น"

เมื่อหันหน้าปรางค์ไปทิศตะวันตกดวงอาทิตย์เริ่มอัสดงทำให้มองเห็นราศีหญิงสาวและดาวรวงข้าว
.jpeg)
เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ราศีหญิงสาวและดาวรวงข้าวปรากฏชัดเจน
ดาวรวงข้าว Spica มีความสัมพันธ์กับฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวเพราะเมื่อเห็นดาวดวงนี้ขึ้นที่ขอบฟ้า เป็นสัญญาณให้รู้ว่าฤดูเก็บเกี่ยวข้าวกำลังจะมาถึงแล้ว การเก็บเกี่ยวจึงเป็นสัญลักษ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และรุ่งโรจน์
.jpeg)
ดาวรวงข้าว spica ในราศีหญิงสาว (Virgo) มีความสัมพันธ์กับการปลูกข้าว เพราะเมื่อเห็นดาวดวงนี้ก็เป็นการเตือนว่าฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวจะมาถึงในไม่ช้า
สรุป
การเชื่อมโยงความเชื่อ "ราศีหญิงสาว และดาวรวงข้าว ที่นำไปสู่ความรุ่งโรจน์" จากมหาวิหารนาลันทา วิหารพุทธคยา และสถูปที่เมืองสารนาท ประเทศอินเดีย กับเมืองโบราณศรีเทพ ทำให้มองเห็นเหตุผลของบรรพชน ...... ท่านเหล่านั้นต้องการให้บ้านเมืองมีศิริมงคลและความรุ่งโรจน์ จึงต้องมีสิ่งก่อสร้างอันอลังการเพื่อตอบสนอง และเป็นมรดกให้เราๆท่านๆในปัจจุบันได้ชื่นชมไปอีกนานเท่านาน ..... สาธุ
