ปราสาทภูเพ็ก ...... ถูกดัดแปลง?
ภาพแรกที่ผู้มาเยือนปราสาทโบราณหลังนี้ได้เห็น คือ พระพุทธรูปศิลปะขอม ทำให้หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของร่วมสมัยกับตัวปราสาท ..... ความจริงถูกสร้างขึ้นมาในช่วงเดือนธันวาคม 2550 ต่อเนื่องกับมกราคม 2551 และมีพิธีบวงสวงเมื่อ 21 มีนาคม 2551 ตรงกับปรากฏการณ์ "วันเพ็ญเดือนไจตระ" หมายถึงขึ้น 15 ค่ำ (full moon) ในวันเดียวกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox 21 Mar) ซึ่งถือว่าเป็นมหาฤกษ์ตามความเชื่อในยุคขอมเรืองอำนาจ ดังปรากฏในจารึกอโรคยาศาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
.jpeg)
ทำความรู้จักปราสาทภูเพ็ก
ปราสาทขอมหลังนี้ตั้งอยู่บบนยอดภูเขาที่ชื่อ "ภูเพ็ก" ขึ้นกับพื้นที่หมู่บ้านภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ จังหวัดสกลนคร กรมศิลปากรส่งทีมงานมาสำรวจเมื่อปี 2476 และขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อมีนาคม 2478 ปราสาทหลังนี้สร้างไม่เสร็จมีเพียงฐานและบางส่วนของห้องปรางค์ใหญ่

ปราสาทภูเพ็กตั้งอยูบนยอดภูเขา +520 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ทีมงานของกรมศิลปากรมาสำรวจและจารึกชื่อตัวเองไว้ที่ขอบประตู เมื่อวันที่ 7 เดือน 10 ปี พ.ศ.2476


ภาพถ่ายปัจจุบันของปราสาทภูเพ็ก สร้างได้เพียงฐานและบางส่วนของห้องปรางค์ใหญ่
พระพุทธรูปศิลปะขอมถูกสร้างขึ้นใหม่
ผมได้ติดตามเก็บข้อมูลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2551 พบว่าช่างแกะสลักฝีมือดีจากจังหวัดกาฬสินธ์ุทำหน้าที่รับเหมา โดยใช้วัสดุก้อนหินทรายขนาดใหญ่ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของปราสาท จากนั้นก็มีพิธีบวงสวงอย่างยิ่งใหญ่เริ่มตั้งแต่เช้ามืดวันที่ 21 มีนาคม 2551 ตรงกับวันเพ็ญ (full moon) และปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox)

.jpeg)
พระพุทธรูปศิลปะขอมองค์นี้แกะสลักจากก้อนหินทรายบนยอดภูเขา ห่างจากตัวปราสาททางทิศตะวันตกประมาณ 40 เมตร

.jpeg)

ภาพถ่าย 4 มกราคม 2551 ช่างฝีมือดีจากจังหวัดกาฬสินธุ์ กำลังแกะสลักพระพุทธรูปอยู่ทางทิศตะวันตกของปราสาท

มีการทำพิธีตั้งแต่เช้ามืดของวันที่ 21 มีนาคม 2551

ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ (full moon)

มีการตั้งกล้องเพื่อถ่ายภาพดวงอาทิตย์

.jpeg)
.jpeg)
มีเครื่องประดับมากมายที่ตัวปราสาท

.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
พิธีบวงสวงเริ่มก่อนพระอาทิตย์ขึ้น โดยมีการสร้างพระพุทธรูปขนาดเล็กเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ร่วมพิธี

วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" 21 มีนาคม 2551 ถือเป็นมหาฤกษ์ตามความเชื่อขอมโบราณ ดังคำจารึกอโรคยาศาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

.jpeg)
.jpeg)
ผมติดตามอย่างใกล้ชิดโดยนอนค้างคืนที่ปราสาท
.jpeg)
.jpeg)
มีแขกคนสำคัญแต่งกายเต็มยศมาร่วมพิธีด้วย
ปราสาทภูเพ็กถูกดัดแปลงตรงไหน?
จากการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปราสาทหลังนี้ตั้งแต่ต้นปี 2544 ทำให้ทราบว่า "พื้นในห้องปรางค์ถูกดัดแปลง" ........ จากคำบอกเล่าของชาวบ้านทำให้ทราบว่าเคยมีคนมาขุดพื้นภายในห้องปรางค์ใหญ่ เพื่อหาสิ่งของมีค่า? และไม่ทราบว่าพบอะไรหรือไม่ เมื่อขุดเสร็จก็เอาดินมาถมและเทคอนกรีตทับ ต่อมาราวปลายปี 2550 หรือต้นปี 2551 มีการเอาแผ่นหินทรายมาปูทับพื้นคอนกรีต ..... ถ้าดูเผินๆอาจจะคิดว่าเป็นของโบราณร่วมสมัยกับตัวปราสาท แต่ผมมีหลักฐานเป็นภาพถ่ายยืนยันชัดเจนว่า "นี่คือการดัดแปลง" จากหลักฐานภาพถ่ายปี 2544, 2549 และ 2550 พบว่ามีการเทปูนที่ห้องตัวปราสาท 2 ครั้ง

ภาพถ่ายเมื่อเดือนกรกฏาคม 2544 มองเห็นพื้นคอนกรีตในห้องปรางค์ ผมไปที่นั่นกับลูกสาวคนเล็กชื่อน้องนุ้ย ตอนนั้นเป็นนักเรียนมัธยม ปัจจุบันอายุเกือบ 40 ปีแล้ว

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2547 อาจารย์จาก ม.ราชภัฎสกลนคร มาเป็นพรีเซนเตอร์ให้ ความตั้งใจคือชี้ไปที่รอยขีดบนก้อนหินที่แสดงตำแหน่งดาราศาสตร์แต่ภาพถ่ายมองเห็นพื้นคอนกรีตชัดเจน

.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
วันที่ 21 กันยายน 2549 มีคณะแสวงบุญมาร่วพิธี "ศารทวิษุวัต" (autumnal equinox) นั่งบนพื้นคอนกรีตของห้องปรางค์


.jpeg)

.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
3 ภาพนี้ เป็นวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 เห็นพื้นคอนกรีตเด่นชัดผมเป็นพรีเซนเตอร์เอง
2 กุมภาพันธ์ 2550 น้องสาวภรรยา มาช่วยเก็บข้อมูล บนพื้นคอนกรีตห้องปรางค์
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)

มาเห็นอีกที 21 มีนาคม 2551 พื้นคอนกรีตกลายเป็นแผ่นหินทรายเรียบร้อยแล้ว โดยส่วนตัวเชื่อว่ารับเหมาโดยทีมช่างแกะสลักพระพุทธรูปเพราะการตัดหินทรายให้เป็นแผ่นเรียบต้องใช้ฝีมือมากที่เดียวคนทั่วๆไปไม่สามารถทำได้ เข้าใจว่าเพื่อตกแต่งรับกับพิธีบวงสวง

สภาพพื้นห้องปรางค์ปัจจุบันปูด้วยแผ่นหินทราย ดูเผินๆทำท่าจะเนียน แต่ในสายตานักพิภพวิทยาอย่างผมถือว่าเป็นงานที่ไม่เรียบร้อยเพราะเรียงหินไม่เป็นระเบียบ ถ้าเป็นงานยุคนั้นจริงๆไม่เข้าตาท่านพราหมณ์ผู้ควบคุมงานแน่นอน

การเรียงหินปูพื้นแบบนี้ ...... ถ้าผมเป็นกรรมการตรวจรับ "สอบไม่ผ่านครับ" เพราะดูยังไงก็ไม่ร่วมสมัยกับยุคบรรพชนผู้สร้างปราสาทเมื่อราวพันปีที่แล้ว

เปรียบเทียบฝีมือการเรียงหินปูพื้นระหว่างปราสาทภูเพ็ก กับปราสาทพระวิหารที่กัมพูชา

การปูพื้นด้วยหินทรายของปราสาทพระวิหารดูเป็นระเบียบเรียบร้อย
ภาพขยายให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างพื้นคอนกรีต กับพื้นปูหินทรายภาพนี้ฟ้องชัดเจนว่ามีการเอาแผ่นหินทรายปูทับพื้นคอนกรีตทำให้แนวชั้นหินของผนังหายไป 1 ชั้น
การเทปูนมี 2 ครั้ง คือก่อนปี 2544 - 2549 และปี 2550
.jpeg)
ภาพนี้ยืนยันว่าต้องมีการเทปูนก่อนเดือนกรกฎาคม ปี 2544 และอยู่ต่อเนื่องจนถึงปี 2549
สรุป
ถ้าไม่มีการติดตามข้อมูลด้วยภาพถ่ายอย่างต่อเนื่อง คงยากที่จะเชื่อว่าพื้นของห้องปรางค์ใหญ่ในปราสาทภูเพ็กถูกดัดแปลง ..... ถ้าจะถามว่าใครเป็นคนทำ ..... ชาวบ้านบางคนเขารู้ครับแต่ไม่อยากพูด?