สะพานขอมที่เห็นในปัจจุบัน ............ โบราณสถานตัวจริง ...... หรือสร้างขึ้นใหม่?
มีข้อถกเถียงมากมายว่า ....... สะพานขอม โบราณสถานยุคขอมเรืองอำนาจ ตั้งอยู่ที่หน้าประตูเมืองสกลนครระหว่างถนนเข้าเมืองและถนนออกจากเมือง .... เป็นของจริงหรือของสร้างใหม่? เราต้องพิสูจน์ด้วยหลักวิทยาศาสตร์

.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
สะพานขอมอยู่ระหว่างถนนเข้าเมืองและถนนออกจากเมืองสกลนคร
สะพานขอมคืออะไร
สะพานขอม เป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อคมนาคมและทำหน้าที่ทดน้ำชลประทานในยุคขอมเรืองอำนาจ ปัจจุบันพบหลายแห่งในประเทศกัมพูชา แต่ที่ประเทศไทยมีแห่งเดียวที่จังหวัดสกลนคร (อ้างอิงจากข้อมูลกรมศิลปากร)

สะพานขอมที่พบในประเทศกัมพูชา
ปัญหาของทัศนียภาพปัจจุบัน
สะพานขอมตั้งอยู่ในที่ต่ำและถูกถนนทางหลวงประกบทุกด้านจึงทำให้เกิดปัญหาอย่างน้อย 3 ประการคือ
1.เป็นจุดอับสายตาเพราะอยู่ต่ำกว่าถนนมาก หมดสภาพ landmark ที่สะท้อนอดีตอันเรืองรองของเมืองหนองหารหลวงไปอย่างน่าเสียดาย
2.น้ำท่วมและน้ำขังเป็นประจำเพราะไม่มีท่อระบายน้ำ มีหญ้าขึ้นหนาทึบทำให้ยากต่อการบำรุงรักษาให้สวยงาม
3 ขยะจากพิธีกรรมทำให้เกิดความอุจาด ....... หลายท่านได้บุญได้โชคไปแล้วแต่ก็ลืมที่จะเก็บขยะ

.jpeg)
สะพานขอมอยู่ต่ำกว่าถนนมากจนเป็นจุดอับสายตา และมีปัญหาน้ำท่วมขังทุกปี

ขยะจากพิธีกรรม จริงๆบุญก็ได้ไปแล้วน่าจะช่วยรักษาความสะอาดด้วยนะ
ทำไมน้ำจึงท่วมสะพานขอม
ภาพถ่ายทางอากาศ ปี 2489 เทียบกับ Google Earth ปัจจุบัน คงเห็นได้ขัดเจนว่า "ลำห้วย" แถวนั้นหายไปหมดแล้ว และสะพานขอมก็อยู่ในวงล้อมของถนนแถมยังต่ำกว่าถนนสองเมตรกว่าๆ หนองสนมที่เคยทำหน้าที่อ่างเก็บน้ำก็เหลือเพียง 1/5 ของพื้นที่ ...... จากภาพถ่าย ปี 2489 สะพานขอมมีทางระบายน้ำลงหนองหารอย่างสะดวก ...... ว่ากันตามหลักวิศวกรรมการชลประทาน บรรพชนชาวขอมท่านออกแบบก่อสร้างเมืองได้ถูกต้องแล้วมีทั้งระบบระบายน้ำ สร้างคูเมืองทำหน้าที่เป็น dike ผลักดันน้ำให้ลงหนองหาร อีกทั้งเก็บกักน้ำไว้ใช้ยามแล้งด้วยบารายและหนองน้ำขนาดใหญ่ ..... แต่ชาวขอมปัจจุบันที่เรียกตัวเองว่า "ไทสกล" รื้อโครงสร้างเหล่านั้นทิ้งหมดแล้วน้ำเลยไม่มีทางไป ...... เข้าตำรา "ความรู้ปัจจุบัน ฤา จะเทียบชั้นกับวันวาน"
.jpeg)
ภาพถ่ายปี พ.ศ.2489 หนองสมมีขนาดใหญ่กว่าปัจจุบันมากราวห้าเท่าตัวสามารถทำหน้าที่ "แก้มลิงขนาดยักษ์" รองรับน้ำได้เยอะ
ภาพถ่ายปี พ.ศ.2489 มีลำน้ำจากหนองสนมผ่านสะพานขอมไปลงหนองหาร

ปัจจุบันลำน้ำที่เชื่อมโยงระหว่างหนองสนมกับหนองหารหายไปแล้ว
.jpeg)
ภาพวาดแสดงลำน้ำที่เคยมีในอดีต
ได้รับคำถามจากหลายท่าน ...... สะพานขอมปัจจุบันถูกบดบังในมุมที่ต่ำกว่าถนนมาก ถ้าไม่ตั้งใจจริงๆจะมองไม่เห็น ..... เป็นไปได้ไม้ควรยกให้สูงขึ้นเท่ากับถนนเป็น landmark ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพราะตั้งอยู่ทางเข้าเมืองเป็นหน้าเป็นตาและสัญลักษณ์เชิงประวัติศาสตร์แห่งตำนาน "หนองหารหลวง"
คำตอบ ........ ทำได้ครับ ด้วยเงื่อนไข 2 ประการ
1.ได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากร เพื่อได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อ พ.ศ.2478
2.ประชาคมไทสกลเห็นฟ้องต้องใจ เห็นดีเห็นงามไม่ขัดข้อง
คำถาม ถ้าทั้ง 2 เงื่อนไข "สอบผ่าน" ทางวิศวกรรมโยธามีปัญหาอะไรไม้
คำตอบ ท่านประสิทธิ์ สาขา ผอ.แขวงการทางสกลนคร 1 ยืนยันว่า "เล่นไม่ยาก" เพราะมีเทคโนโลยีพร้อม ขอเพียง 2 อย่าง คือ ไฟเขียว กับ หมากสะตางค์ อนึ่ง การย้ายโบราณสถานไม่ใช่ของใหม่ เมื่อปี ค.ศ.1964 - 1968 องค์การ UNESCO เคยทุ่มทุนเคลื่อนย้ายวิหารขนาดใหญ่ของท่านฟาโรส์แห่งอียิปส์ Abu Simbel ให้หนีพ้นจากน้ำท่วมเพราะรัฐบาลอียิปส์กำลังจะสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำไนล์โดยรับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต

การเคลื่อนย้านวิหาร Abu Simbel ริมแม่น้ำไนล์ เพราะจะสร้างเขื่อนไฟฟ้าขนาดยักษ์
ทัศนียภาพสะพานขอมยกระดับ
ถ้าทุกอย่างลงตัวทั้งแง่กฏหมาย มติของประชาคม และงบประมาณในกระเป๋าพร้อม เราๆท่านๆจะเห็น landmark แบบนี้ ป้าย cutout ขนาดใหญ่จะเป็นตัวดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว และยังอัดแน่นด้วยเทคโนโลยี smart tourism ด้วยระบบ sensor ในรัศมีราวๆ 20 เมตร ทันทีที่พก smartphone ผ่านเข้าไปในบริเวณจะมีข้อมูลอัตโนมัติเด้งขึ้นมาถาม ..... ท่านต้องการทราบเรื่องราว story behind สะพานขอมแห่งนี้ไม้ ถ้าต้องการ click YES ถ้าไม่ต้องการ click NO ถ้าต้องการจะ save or share ก็ทำได้ (เพราะถ้าออกนอกเขตสัญญาณข้อมูลจะถูก delete โดยอัตโนมัติ เพื่อไม่ให้เปลืองหน่วยความจำของเครื่อง)




.jpeg)
.jpeg)
"ข้อกฏหมาย" ของกรมศิลปากร
สะพานขอมได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อ ปี พ.ศ.2478 แต่ก็มีประเด็นโผล่ขึ้นมา ...... สะพานขอมที่เห็นในปัจจุบัน "เป็นของแท้ดั้งเดิม ....หรือของสร้างขึ้นใหม่?" ก่อนที่จะมีข้อยุติทางกฏหมาย เราๆท่านๆลองมาพิจารณาด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพราะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าครั้งหนึ่งสะพานขอมถูกกลบลงใต้ดินเพื่อก่อสร้างขยายถนนราวปี 2516 แต่ถูกร้องเรียน จึงขุดขึ้นมาประกอบใหม่ ทำให้หลายท่านสงสัย ........ สะพานขอมอันนี้ "เป็นของแท้ หรือของสร้างใหม่"
พิจารณา 2 กรณี
1.สะพานขอมถูกถมดินไปแล้วต่อมาเกิดการคัดค้าน ก็ขุดขึ้นมาประกอบใหม่โดยใช้ก้อนหินอันเดิมที่ฝังอยู่ใต้ดินมาจัดเรียง .......เป็นวิธีการบูรณะเช่นเดียวกันกับโบราณสถานทั่วๆไป
2.มีการนำศิลาแลงใหม่มาซ่อมแซมทดแทนของเดิมที่เป็นต้นฉบับโดยวางทับกับฐานรากเดิม

กำลังเริ่มถมดินกลบสะพานขอม

ถมดินเกือบมิดแล้ว
.jpeg)
.jpeg)
ภาพถ่ายก่อนปี 2516 มีนักศึกษาวิทยาลัยครูสกลนครกำลังมาชมสะพานขอม
การพิสูจน์เชิงประจักษ์
หลายท่านตั้งคำถามอย่างต่อเนื่องว่า .....สะพานขอมที่เห็นในปัจจุบันเป็น "ของดั้งเดิม หรือสร้างขึ้นใหม่" ในมุมมองของนักพิภพวิทยาก็ต้องพิสูจน์ด้วยหลักฐานที่เป็น "กายภาพ" จะได้ไม่ต้องมาเถียงกันด้วยแง่มุม "ความเห็น และความเชื่อจากเขาเล่าว่า" โชคดีที่มีภาพถ่ายเมื่อครั้งกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาตรวจราชการที่สกลนคร เมื่อ มกราคม พ.ศ.2449 (ภาพถ่ายนี้ได้มาจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณ์เมืองสกล ตึกหนึ่ง ม.ราชภัฎสกลนคร) จึงใช้ภาพ 3 แผ่น เป็นวัตถุพยานเพื่อเปรียบเทียบกับสะพานขอมปัจจุบัน
บันทึกของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ....... วันที่ 15 มกราคม ขี่ม้าไปบ้านนาเวง ระยะทาง 15 เส้น ไปตามถนนขอมสร้างไว้แต่ดึกดำบรรพ์ มีสะพานหินเป็นสพานศิลาแลง ฝีมือขอมทำดีน่าดูอยู่แห่ง 1 เป็นของสมัยเดียวกันกับเทวสถาน ที่ตำบลนาเวงมีเทวสถานเรียกว่า อรดีมายานารายณ์เจงเวง ตั้งอยู่บนเนินซึ่งมีซุ้มไม้ร่มรื่นดี.. (คัดลอกจากหนังสือ "รอยอดีตสกลนคร" สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ, 2540) หนังสือเล่มนี้อยู่ในห้องสมุดที่บ้านของผม
.jpeg)

.jpeg)
.jpeg)
1.เปรียบเทียบสภาพทั่วไป ระหว่างภาพถ่ายเมื่อครั้งกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาสกลนคร เดือนมกราคม พ.ศ.2449 กับภาพถ่ายในปัจจุบัน ...... หลายท่านเกิดความรู้สึก "ทำไมดูใหม่จัง" อย่างไรก็ตามการบูรณะโบราณสถานใช้วิธีสากลที่เรียกว่า Anastylosis คือทำเครื่องหมายก่อนรื้อถอนว่าก้อนไหนคืออะไรอยู่ตรงไหน เพื่อเวลาประกอบใหม่จะได้ถูกที่ถูกทาง หมายความว่าหินทุกก้อนเป็นของแท้ดั้งเดิมเพียงแต่ยกขึ้นประกอบใหม่ ...... ส่วนที่ขาดหายไปหาไม่ได้จริงๆก็สามารถทำเลียนแบบขึ้นใหม่ แต่ต้องใช้สีหรือเนื้อวัสดุที่ไม่เหมือนเดิมเพื่อให้รู้ว่า "นี่คือส่วนที่ทำขึ้นใหม่" กฏเกณฑ์นี้เป็นข้อตกลงของวงการโบราณคดีสากล ผมได้ทราบข้อนี้จากการไปดูงานที่ปีรามิดเม็กซิโก

2.เปรียบเทียบลักษณะของวัสดุ

.jpeg)
.jpeg)
ภาพถ่ายต้นฉบับเมื่อครั้งกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จ

.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
ภาพทั้งคู่เป็น "ศิลาแลง" แต่ต่างกันชัดเจนที่รูปร่างของหิน สะพานขอม พ.ศ.2449 มีการกัดกร่อนและสึกหลอโดยเฉพาะอย่างที่ขอบก้อนหินจะออก"ลักษณะทู่ๆ" ส่วนสะพานขอมปัจจุบันก้อนหินทุกก้อนเป็น "เหลี่ยมคมชัดเกินไป"
3.โครงสร้างไม่เหมือนกัน
โครงสร้างสะพานมีองค์ประกอบหลักๆ 3 อย่าง คือ ฐานรากหรือเสา เรียงแผ่นหินทับกันเป็นตัวสะพาน และราวสะพานอยู่ข้างบนสองข้าง

.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
ภาพต้นฉบับเมื่อครั้งกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จเมื่อ พ.ศ.2449
สะพานขอมต้นฉบับมีการเรียงก้อนหินเป็นตัวสะพานจากฐานราก 5 ชั้น แต่สะพานขอมปัจจุบันมีเพียง 4 ชั้น

บันไดสะพานขอมต้นฉบับมี 4 ขั้น แต่ปัจจุบันมี 3 ขั้น
ของ
การเรียงทับซ้อนของก้อนหินในแนวหน้าตัดเริ่มจาก Base ของตัวสะพานก็แตกต่างกันมาก
.jpeg)
ก้อนหินราวสะพานต่างกันสิ้นเชิง ต้นฉบับเป็นหินสองก้อนทับกัน แต่ของปัจจุบันเรียงหินก้อนเดียวและรูปร่างก็ไม่เหมือน ของเดิมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ปัจจุบันเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู
4.พิรุธที่รอยแตกของหิน
โบราณสถานก็เหมือนกับพระเครื่อง ต้องมี "ตำหนิที่เกิดขึ้นจากต้นฉบับ" เซี่ยนพระจะใช้ตำหนิที่คนทั่วไปมองข้ามเป็นตัวชี้ว่า "ของแท้ หรือเทียม" พนักงานสอบสวนก็ใช้ตำหนิบนหัวกระสุนเพื่อยืนยันว่ามาจากกระบอกปืนอันเดียวกัน นักพิภพวิทยาอย่างผมก็มาแบบเดียวกันครับ มองหา "ตำหนิ" ซึ่งคนทั่วไปอาจไม่สังเกต ..... วิธีแบบนี้ภาษาอีสานเรียกว่า "บักสี หาเหตุ"

.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)

สะพานขอมปัจจุบันไร้รอยตำหนิและมีเหลี่ยมคมชัดเจนผิดกับภาพถ่ายปี พ.ศ.2449

สะพานขอมปัจจุบันดูยังไงก็ของใหม่เมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่าย ปี พ.ศ.2449

สะพานขอมต้นฉบับ พ.ศ.2449 มีรอยแตกที่แผ่นหินบนฐานรากอันที่สอง แต่สะพานขอมปัจจุบันไม่มีรอยดังกล่าว
5.ฐานรากของสะพานต่างกันชัดเจน

.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)

.jpeg)
ฐานรากอันแรกของสะพานขอมต้นฉบับ (วงกลมสีแดง) กับสะพานขอมปัจจุบัน "ไม่เหมือนกัน" และเนื้อวัสดุก็ต่างกันสิ้นเชิง เห็นได้ว่าต้นฉบับมีสภาพผุกร่อนแต่ของปัจจุบันยังเหมือนใหม่ซิงๆ

เปรียบเทียบภาพถ่ายก่อนปี 2516 (เข้าใจว่าถ่ายโดยนักศึกษาวิทยาลัยครูสกลนคร) กับภาพถ่ายของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ปี 2449 ยังมีสภาพใกล้เคียงกัน เช่น ตำหนิรอยแตกที่ก้อนหินเหมือนกัน

.jpeg)
.jpeg)
นำภาพถ่ายก่อนปี 2516 มีรอยแตกที่ก้อนหินเหมือนกับภาพถ่ายของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ปี 2449 แต่ภาพถ่ายปัจจุบันไม่เห็น "รอยแตก" ที่ก้อนหิน แสดงว่าสะพานขอมปัจจุบันถูกสร้างขึ้นใหม่ภายหลังจากปี 2516
การนำเสนอด้วยภาพถ่ายเชิงประจักษ์น่าจะช่วยให้เราๆท่านๆตัดสินใจด้วยตนเองว่าอะไรคืออะไร ..... ความเห็นส่วนตัวเชื่อว่า มีการสร้างใหม่เฉพาะส่วนบนของตัวสะพานที่ถูกทำลายระหว่างก่อสร้างถนน โดยเอาหินศิลาแลงจากท้องถิ่นใกล้เคียงมาเป็นวัสดุทดแทนของเดิม ส่วนฐานรากที่อยู่ใต้ดินยังคงเป็นของท่านบรรพชนเมื่อพันปีที่แล้ว
เปรียบเทียบลักษณะหินและรอยตำหนิระหว่างภาพถ่าย ปี 2449 กับภ่ายปัจจุบัน

ภาพถ่ายระหว่างการก่อสร้างขยายถนนและสะพานขอมกำลังถูกฝังกลบ

สะพานขอมถูกฝังกลบด้วยการบดอัดดิน

ภาพถ่ายนี้น่าจะเป็นการ renovate ตัวสะพานหลักจากถูกฝังกลบ
ภาพถ่ายก่อนปี 2616 โดยนักเรียนฝึกหัดครูสกลนคร มองเห็นฐานรากสะพานอย่างชัดเจน

ภาพถ่ายฐานรากสะพานจากหนังสือรอยอดีตสกลนคร
สรุป
กรมศิลปากรโดยสำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น ได้ทำการขุดสำรวจฐานรากสะพานขอมเดือนมิถุนายน - กรกฏาคม 2567 ทำให้เห็นหลักฐานชัดเจนว่า ..... สะพานที่เห็นในปัจจุบันเกิดจากการซ่อมแซมโดยใช้ศิลาแลงตัดใหม่บวกกับวัสดุคอนกรีตเสริมเหล็กและปะหน้าด้วยกรวดให้ดูเหมือนก้อนศิลาแลง ..... โดยสร้างขึ้นบนฐานรากและเดิมแนวเดิม
เปรียบเทียบภาพถ่าย ปี พ.ศ.2449 กับ ปี พ.ศ.2567 มองเห็นหลักฐาน "เสาตอหม้อ" ของเดิม เป็นการยืนยันว่าตัวสะพานตั้งแต่เสาตอหม้อขึ้นไปเป็น "ของสร้างใหม่" ส่วนฐานรากยังคงเป็นของดั้งเดิมจากยุคบรรพชนชาวขอมเมื่อพันปีที่แล้ว