ทำไมเดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน
Why February has 28 days
คำถาม
เดือนอื่นๆมี 30 หรือ 31 วัน แต่ทำไมเดือนกุมภาพันธ์จึงมีเพียง 28 วัน ทุกๆ 4 ปี แถมอีก 1 วัน เป็น 29 วัน ........ และทำไมต้องเป็นเดือนกุมภาพันธ์

คำตอบ ต้องขอย้อนเวลากลับไปที่อาณาจักรสุเมเรี่ยนราว 5,000 - 6,000 ปี ที่แล้ว
ชาวสุเมเรี่ยนในดินแดนเมโสโปเตเมียในลุ่มน้ำไตกรีสและยูเฟรตีส (ปัจจุบัน ประเทศอีรัก) เป็นชาติแรกที่เปิดมิติแห่งอารยธรรม พวกเขามีองค์ความรู้ด้านภาษา คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ดาราศาสตร์ และอีกหลายศาสตร์ สิ่งที่น่าทึ่งบรรพชนเหล่านั้นเริ่มต้นเอาวิชาดาราศาสตร์มาผสมผสานกับความเชื่อกลายเป็นต้นแบบ "โหราศาสตร์ 12 จักรราศี" และถ่ายทอดมายังอาณาจักอียิปส์ก่อนที่จะแพร่กระจายไปทั่วโลกตราบจนปัจจุบัน

.jpeg)
.jpeg)
ยังไม่มีใครอธิบายได้ว่า ชาวสุเมเรี่ยนเป็นใคร มาจากไหน เจริญขึ้นมาได้อย่างไร
รู้เพียงอย่างเดียวพวกเขาโผล่ขึ้นมาในหน้าประวัติศาสตร์แบบ "สายฟ้าแลบ" (sudden civilization)
ท่ามกลางมนุษยชาติที่ยังสาระวนกับการกินการอยู่แบบวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ แต่ชาวสุเมเรี่ยน
มีองค์ความรู้ที่น่าทึ่ง มีคณิตศาสตร์ฐาน 60 ที่เราๆท่านๆยังคงใช้ทุกเมื่อเชื่อวัน มีความรู้วิศวกรรมศาสตร์
สามารถก่อสร้างวิหารขนาดมหึมา สร้างระบบชลประทานเพื่อการเพาะปลูกไม่ต่างกับวิศวกรรมการชฃประทานในปัจจุบัน

.jpeg)
จักรราศีทั้ง 12 ของชาวสุเมเรี่ยน เป็นต้นแบบวิชาโหราศาสตร์
สังเกตว่าราศีเริ่มต้นคือ "แพะ" และจบราศีสุดท้าย "ปลา"

เปรียบเทียบชื่อจักรราศีของชาวสุเมเรี่ยน กับชื่อจักรราศีปัจจุบัน

จักรราศีของชาวอียิปส์ที่รับไม้ต่อมาจากสุเมเรี่ยน เป็นที่น่าสังเกตว่า
การเรียงลำดับเริ่มต้นที่ "ราศีเมษ" (Aries) และจบราศีสุดท้ายหมายเลข 12
ที่ "ราศีมีน" (Pisces) สัญลักษณ์คือ "ปลาคู่"
ทำไมชาวสุเมเรี่ยนและอียิปส์เริ่มต้นโหราศาสตร์ที่ "ราศีเมษ"
เพราะในยุคนั้นดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equionox)
ดวงอาทิตย์อยู่ในราศีเมษ (Aries)

.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)

.jpeg)
โหราศาสตร์ของชาวอียิปส์เริ่มต้นที่ "ราศีเมษ" และจบสุดท้ายที่ "ราศีมีน"
เริ่มต้นปฏิทินโรมันในชื่อ "ปฏิทินจูเลี่ยน"
ราว 45 ปี ก่อนคริสตกาล ท่านแม่ทัพโรมัน "จูเรียส ซีซ่าร์" เจ้าของวลีเด็ด "ข้ามา ข้าเห็น ข้าชนะ" ยกกองทัพเข้ามาครอบครองอาณาจักรอียิปส์อย่างผู้ชนะตามสโลแกน แต่ก็ประสบความพ่ายแพ้สินเชิงในเรื่องความรักต่อฟาร์โรสาวสวยอย่างพระนางคลีโอพัตรา แน่ละครับหนุ่มใหญ่ห่างลูกห่างเมียจากกรุงโรมมาพบสาวสวยวัยเอาะๆก็ย่อมหมดสภาพนักรบจนถึงขั้นชี้ไม้เป็นนกชี้นกเป็นไม้
ท่านซีซ่าร์หมดอารมณ์กับปฏิทินโรมันโบราณที่ไม่ตรงกับฤดูกาลจึงต้องการสร้างปฏิทินฉบับใหม่ให้ทันสมัย เรื่องนี้เข้าทางปืนพระนางคลีโอพัตราเพราะอียิปส์มีความรู้ดารารศาสตร์อย่างดีจึงช่วยผลิตปฏิทินฉบับใหม่ให้ปีหนึ่งมี 12 เดือน และ 365 วัน ครบ 4 ปี แถมอีก 1 วัน เป็น 366 วัน
ปฏิทินฉบับนี้ให้ชื่อว่า "ปฏิทินจูเลียส์ ซีซ่าร์" (Julian Calendar) และแน่นอนครับตามสไตล์ของอียิปส์ต้องเอาจักรราศี 12 เข้ามาประกบด้วย ท่านซีซ่าร์คงไม่ขัดข้องอะไร (อันนี้ผมว่าเองเพราะตามใจภรรยาสาวสวย) โดยจัดอันดับให้เริ่มต้นจากปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม เป็นวันแรกของ "ราศีเมษ" (Aries) และไล่ไปเรื่อยจนถึงราศีสุดท้ายคือ "ราศีมีน" (Pisces) ตรงกับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ผลการประกบระหว่างปฏิทินจูเลี่ยนกับจักรราศีซึ่งบางเดือนมี 30 วัน บางเดือนมี 31 วัน บวกไปเรื่อยๆถึงเดือนกุมภาพันธ์ตรงกับราศีมีน (Pisces) เหลืออยู่เพียง 28 วัน จาก 365 วัน ....... เดือนกุมภาพันธ์จึงต้องรับเงื่อนไขนี้โดยปริยาย และทุกๆ 4 ปี ชดเชยให้อีก 1 วัน เป็น 29 วัน
ยอดนักรบซีซ่าร์กับพระนางคลีโอพัตรา เคยเป็นภาพยนต์ดังในอดีต
.jpeg)
.jpeg)
รูปร่างหน้าตาของปฏิทิน Julian Calendar
ปฏิทินฉบับนี้เริ่มปีใหม่ที่เดือนมกราคมตามชื่อของเทพเจ้า "เจนัส"

.jpeg)
ต่อมาจักพรรดิ์โรมันชื่อ ออกุสตุส เปลี่ยนชื่อเดือนที่ 7 และ 8 จากเดิม
เป็นชื่อของจูเลียส (July) และออกุสตุส (August)

.jpeg)
พันกว่าปีต่อมา ค.ศ.1582 ปฏิทินจูเลียนเริ่มคลาดเคลื่อนเพราะสะสมวันหายไป 1 วัน ต่อ 128 ปี
ทำให้ปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox) มาก่อนกำหนด 21 มีนาคม 10 วัน
ร้อนถึงท่านสันตปาปาเกรกอเรี่ยนที่ 13 ต้องปรับปฏิทินจูเลี่ยนใหม่โดยประกาศให้วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม
กลายเป็นวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม ปฏิทินฉบับนี้ได้ชื่อใหม่ว่า Gregorian Calendar และใช้เป็นปฏิทินสากล
ตราบจนปัจจุบัน

ในฐานะที่ชอบศึกษาเรื่องแบบนี้จึงหาโอกาสไปเยี่ยมคำรบหมุมศพของท่าน
สันตปาปาเกรกอเรี่ยนที่ 13 ณ วิหาร St Peter สำนักวาติกันกรุงโรม ประเทศอิตาลี
ตั้งใจจะไปให้ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม 2006 แต่ด้วยเหตุขัดข้องในการเดินทางจึงไปในวันที่
17 ตุลาคม 2006

การประกบระหว่างปฏิทินเกรกอเรี่ยน (รับมรดกมาจากปฏิทินจูเลี่ยน) กับจักรราศี 12
จะเห็นชัดเจนว่าราศีสุดท้ายคือ "ราศีมีน" (Pisces) ตรงกับเดือน 19 กุมภาพันธ์ - 20 มีนาคม
ดังนั้นเศษที่เหลือ 28 วัน จากเดือนต่างๆจึงมาลงที่กุมภาพันธ์
อนึ่ง ถ้ายอดนักรบจูเลียส์ ซีซ่าร์ ยกทัพมาครอบครองทวีปเอเซียกลาง ที่ใช้ปฏิทิน "มหาศักราช" (Saka Calendar) ประวัติศาสตร์ของเดือนกุมภาพันธ์คงไม่ใช่ 28 - 29 วัน เพราะหลักการปฏิทินฉบับนี้ตรงกับปฏิทินโหราศาสตร์แบบเป๊ะๆ โดยราศีเมษ (Aries) เริ่มต้นวันที่ 1 เดือนไจตระ และไล่ไปเรื่อยถึง "ราศีมีน" (Pisces) ก็ตรงกับวันที่ 1 เดือน Phalgun
ปฏิทินฉบับนี้แพร่เข้ามาที่ดินแดนภารตะ ส่งไม้ต่อมายังอาณาจักรขอมโบราณ อาณาจักรสุโขทัย และสิ้นสุดที่อาณาจักรศรีอยุธยาตอนต้น
