นาฬิกาแดดขนาดยักษ์เมืองสกล Google Earth ก็มองเห็น
เป็นไปได้ไม้ที่เมืองสกลจะสร้างนาฬิกาแดดขนาดยักษ์ด้วยต้นทุนที่จับต้องได้ เป็นห้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ ........ ทำได้ครับ เคยทดสอบแล้วที่โรงเรียนเทศบาล 4 อ.เมืองสกลนคร ด้วยฝีมือของครูและนักเรียนใช้เวลาแค่ 2 วัน ....... เป็นอุปกรณ์การเรียนคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ต้นทุนไม่กี่ร้อยบาท

นาฬิกาแดดชนิด Horizontal ขนาดยักษ์ ที่โรงเรียนเทศบาล 4 อ.เมืองสกลนคร

Google Earth ก็มองเห็น เพราะใหญ่ขนาดสนามบาสเก็ตบอล
แรงจูงใจการออกแบบนาฬิกาแดดขนาดยักษ์
ชอบอ่านเรื่องราวประเภทแนวลึกลับเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น ภาพขนาดยักษ์บนที่ราบสูงนาซก้า ประเทศเปรู (Nazca Lines Peru) และ Crop Circle ที่เชื่อกันว่าเป็นฝีมือของเอเลี่ยน ถ้าเมืองสกลจะมี "นาฬิกาแดดขนาดยักษ์" ที่มองเห็นชัดเจนจากมุมสูง ....... อะไรจะเกิดขึ้น หลายจังหวัด หลายประเทศ มี Landmark เป็นเอกลักษณ์รูปแบบต่างๆ ถ้าเราจะทำเหมือนเขาลอกแบบเขา ..... ไม่ใช่วิสัยของผมครับ ....... ถ้าจะให้ผมออกความเห็น ....... ต้องแหวกแนว หวือหวา ไม่เหมือนคนอื่นๆ ที่สำคัญ "มีนัยเชิงวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์"
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
วิธีการสร้าง ทำอย่างไร?
1.เริ่มต้นจากกระดาษแผ่นเดียว เป็น "ต้นแบบ" ผังหน้าปัดนาฬิกาแดดชนิดขนานกับพื้นโลก (Horizontal Sundial) มีรอยขีดเป็นเส้นระบุเวลา

.jpeg)
2.ลากเส้นตรงจากผังนาฬิกาแดดไปด้วยความยาวเท่าที่ต้องการ ยาวเท่าไหร่ก็ได้เพราะยิ่งยาวขนาดของนาฬิกาแดดก็จะยิ่งขยายใหญ่มากขึ้น สามารถทำได้ใหญ่กว่าสนามหลวง

นักเรียนกำลังวาดเส้นตรงจากต้นแบบ

.jpeg)
ช่วยกันทั้งครูและนักเรียน

.jpeg)
ที่สำคัญต้องลากเส้นให้ตรงกับต้นแบบ

.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
เสร็จแล้วทาสีให้สวยงามตามใจชอบ
3.คำนวนจุดบนเส้นตรงกลาง 12:00 น. ที่จะให้คนเข้าไปยืนตามความสูงของแต่ละคน โดยใช้สูตร Tangent 17 องศา เพราะสถานที่นี้ตั้งอยู่ ณ เส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ

.jpeg)



.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
นักเรียนเข้าไปยืนตามจุดที่ระบุความสูงของแต่ละคน

.jpeg)
เงาของคนๆนั้นจะชี้บอกเวลา

สามารถใช้ Drone ถ่ายภาพ selfie มุมสูง
วิธีสร้างต้นแบบนาฬิกาแดดชนิด Horizontal

.jpeg)
สร้างสามเหลี่นม COD โดยให้มุม O = 17 องศา เท่ากับเส้นรุ้งของสถานที่นี้

ลากเส้น DE ให้ตั้งฉากกับเส้น CD

.jpeg)
สร้างเส้น DF ให้ยาวเท่ากับ DE โดยใช้วงเวียน

ลบเส้นอื่นๆออกให้เหลือดังภาพ

จากจุด F ลากเส้นตรงทำมุมช่องละ 15 องศา ไปยังเส้น AB และทำเครื่องหมายไว้

.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
ลบเส้นต่างๆออกให้เหลือดังภาพ

.jpeg)
.jpeg)
จากเครื่องหมาย (จุดสีแดง) ลากเส้นตรงไปยังจุด O

.jpeg)
.jpeg)
ใส่ตัวเลขเวลาดังภาพ นี่คือต้นแบบนาฬิกาแดดชนิด Horizontal
.jpeg)
เอาไปทำต้นแบบขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้นตามใจชอบ
.jpeg)
นาฬิกาแดดขนาดยักษ์ ที่โรงเรียนเทศบาล 4 อ.เมืองสกลนคร
นาฬิกาแดด กับ คณิตศาสตร์ฐานหกสิบ (Sexagesimal System)
คณิตศาสตร์ที่ใช้คำนวนออกแบบนาฬิกาแดดมีที่มาจาก "คณิตศาสตร์ฐานหกสิบ" ของชาวสุเมเรี่ยนเมื่อห้าพันปีที่แล้ว ทุกวันนี้เราๆท่านๆก็ยังคงใช้คณิตศาสตร์แบบนี่อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เช่น หน้าปัดนาฬิกามีตัวเลขเพียง 60 ก็ต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ มิติแห่งเวลา เช่น วันหนึ่งมี 12 x 2 = 24 ชั่วโมง ปีหนึ่งมี 12 เดือน ล้วนมาจากคณิตศาสตร์ฐานหกสิบที่ใช้ "แม่ 12 " และตัวเลข 12 ยังแทรกอยู่ในระบบหลายอย่าง เช่น 12 นิ้ว เป็นหนึ่งฟุต การนับจำนวนสินค้านิยมคำว่า "โหล เท่ากับ 12 "
ถ้าจะถามว่า "ชาวสุเมเรี่ยน เอาคณิตศาสตร์แบบนี้มาจากไหน?" จารึกของบรรพชนเหล่านั้นพูดตรงๆว่า ........ รับมาจากพระเจ้า ที่ลงมาจากฟากฟ้า มิน่าเล่าภาพสลักพระเจ้าของเขาจึง "ต้องมีปีก"

.jpeg)
.jpeg)
คณิตศาสตร์ฐาน 60 Sexagesimal System ของชาวสุเมเรี่ยนเมื่อราวๆห้าพันปีที่แล้ว
ใช้คำนวณออกแบบนาฬิกาแดด โดยใช้หลักการ 1 วัน มี 12 x 2 = 24 ชั่วโมง

.jpeg)
ชาวสุเมเรี่ยนจารึกว่าความรู้ของพวกเขามาจากพระเจ้า
และพระเจ้าของเขามีปีกเป็นสัญลักษณ์ว่ามาจากท้องฟ้า

คณิคศาสตร์ฐาน 60 ใช้กับวิชาโหราศาสตร์ 12 จักรราศี
สรุป
เรื่องราวของนาฬิกาแดดมีที่มาจากอารยธรรมแห่งอดีตอันไกลโพ้น เป็นมิติแห่งเวลาที่ชาวสุเมเรี่ยนรับมาจาก "พระเจ้าที่ลงมาจากฟ้า" ฟังดูก็เหมือนภาพยนต์ประเภท Ancient Alien แต่นี่คือสิ่งที่บรรพชนจารึกไว้ในแผ่นดินเผาอายุห้าพันปี น่าคิดนะครับ ..... อยู่ดีๆทำไมบรรพชนเหล่านั้นจึงคิดหลักการ "คณิตศาสตร์ฐาน 60" ขึ้นมาได้