ปลานิล Biofloc "Safe and Saab"
ทำไมต้องเป็นปลานิล
จริงๆแล้วระบบ Biofloc สามารถเลี้ยงปลาได้หลายชนิด แต่ในเชิงพาณิชย์ "ปลานิล" เลี้ยงง่ายกว่าปลาชนิดอื่นๆเพราะเป็นปลากินพืช สามารถให้ผลตอบแทนคุ้มค่าถ้ามีการนำไปแปรรูปเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด (value added products) ปลานิลจากฟาร์มนี้ไม่ขายแข่งกับแม่ค้าตลาดสด แต่จะแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จและเมนูพร้อมบริโภคที่มีมูลค่าสูง อนึ่ง ปลานิลมีคุณสมบัติทางกายภาพที่เหมาะแก่การทำชิ้นเนื้อไร้ก้าง (fillet)
ทำไมต้อง ...... "Safe and Saab"
เป็นครั้งแรกของจังหวัดสกลนครที่มีผู้ประกอบการเอกชนลงทุนตั้งฟาร์มปลาระบบ Biofloc เพื่อผลิตปลาที่สะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพเชิงโภชนาการ ..... ภาษาอีสาน "แซบ" (saab)
อนึ่ง ปลาในท้องตลาดทั่วไปมาจาก 3 แหล่ง
1. บ่อดิน
2. กระชังในแหล่งน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำสงคราม และแม่น้ำโขง
3. การทำประมงในแหล่งน้ำธรรมชาติ
ปลานิลระบบ Biofloc เป็นทางเลือกใหม่ที่เน้น "ความปลอดภัย และคุณภาพเชิงโภชนาการ"

สีของ Biofloc อาจดูเหมือนน้ำเสีย แต่นี่คือสีของกลุ่มจุลินทรีย์นับล้านๆตัว
ทำหน้าที่บำบัดของเสียจากปลาให้น้ำมีคุณภาพดีตลอดเวลา เปรียบเสมือนบ้านที่ดีของปลา
ระบบ Biofloc คืออะไร?
คำอธิบายง่ายที่สุดคือ ......
1. เลี้ยงปลาในภาชนะขนาดตั้งแต่ประมาณ 3 คิว ขึ้นไป จนถึง 100 คิว
2. จำนวนปลาที่เลี้ยงในภาชนะมีปริมาณมากกว่าเลี้ยงในบ่อดินหลายเท่า โดยปกติจะมีประมาณ 60 - 90 ตัว / น้ำ 1 คิว เปรียบเทียบกับการเลี้ยงในบ่อดิน ที่มีปริมาณ 2 ตัว / น้ำ 1 คิว
3. ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการควบคุมคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับปลาตลอดเวลา ด้วยการเติมอากาศให้น้ำเคลื่อนตัวหมุนเวียนเพื่อให้จุลินทรีย์จำนวนมหาศาลทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียที่เกิดจากปลา ของเสียเหล่านี้อยู่ในสภาพของ "แอมโมเนีย" ซึ่งเป็นพิษต่อปลา แต่จุลินทรีย์จะย่อยสลายให้กลายเป็นก๊าซ "ไมโตรเจน" ระเหยขึ้นไปในอากาศ


.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
รูปร่างหน้าตาของโรงเรือนระบบ Biofloc

ขบวนการควบคุมคุณภาพน้ำด้วยจุลินทรีย์ให้ย่อยสลายของเสียจากปลา
เป็นการผสมผสานระหว่าง การเลี้ยงปลา (aquaculture) กับเทคโนโลยีบำบัดน้ำ (water treatment)
เพื่อรักษาคุณภาพน้ำให้เหมาะสมตลอด 24 ชั่วโมง
จุดเริ่มต้นแนวคิดระบบ Biofloc มาจากไหน
ผู้เขียน สรรค์สนธิ บุณโยทยาน ได้รับทุนไปเข้าหลักสูตรการพัฒนาชนบทและการชลประทานระบบน้ำหยด ที่ประเทศอิสราเอล เมื่อปี พ.ศ. 2521 - 22 (ค.ศ.1978 - 1979) และ พ.ศ. 2539 ( ค.ศ.1996) ได้เห็นการเลี้ยงปลาระบบ Biofloc ในพื้นที่ทะเลทราย เมื่อกลับมาปฏิบัติราชการที่ประเทศไทยก็จำภาพเทคโนโลยีนี้อยู่ในใจตลอดเวลาสี่สิบกว่าปี คิดว่าวันหนึ่งถ้ามีโอกาศจะต้องเอามาใช้งาน ปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ได้นำเสนอเรื่องนี้ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครในฐานะกรรมการบริหารบริษัทประชารัฐสามัคคีสกลนครจำกัด ทำให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเกิดความสนใจและอนุมัติงบประมาณให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครดำเนินการก่อสร้างบ่อและทดลองสาธิตเพื่อเป็นต้นแบบแก่ผู้สนใจ โดยเริ่มต้นโครงการเดือนตุลาคม 2560
เดือนกรกฏาคม 2563 ผู้ประกอบการเอกชนในนาม "สวนป่าบ้านดิน" ให้ความสนใจที่จะทำธุรกิจเลี้ยงปลานิลระบบ Biofloc จึงมาขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากสาขาวิชาการประมง และเริ่มทำฟาร์มปลานิลด้วยภาชนะขนาดเล็กเป็นการเรียนรู้ จากนั้นได้ขยายกิจการใหญ่ขึ้นเป็นเชิงพาณิชย์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา

ระหว่างที่อยู่ประเทศอิสราเอลได้เห็นการเลี้ยงปลาระบบ Biofloc

สิงหาคม 2559 ประกาศต่อที่ประชุมบริษัทประชารัฐฯสกลนคร
จะนำระบบ Biofloc มาพัฒนา
ธันวาคม 2559 ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครอนุมัติงบประมาณ
ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเพื่อทำโครงการ
ตุลาคม 2560 เริ่มสาธิตการเลี้ยงปลานิลรุ่นแรก
มิถุนายน 2563 ผู้ประกอบการเอกชนในนามสวนป่าบ้านดินให้ความสนใจ
และมาประชุมกับสาขาวิชาการประมงเพื่อขอรับการสนับสนุนเทคโนโลยี
.jpeg)
กรกฏาคม 2563 ผู้ประกอบการเอกชน "สวนป่าบ้านดิน" อ.เมืองสกลนครเริ่ม
ทดลองเลี้ยงปลานิลในภาชนะขนาด 3 คิว และ 10 คิว เพื่อเรียนรู้
กุมภาพันธ์ 2564 เริ่มขยายกิจการเชิงพาณิชย์อย่างสมบูรณ์แบบ

.jpeg)

.jpeg)
.jpeg)
ระบบ Biofloc จำเป็นต้องมีระบบสำรองไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ
เพราะต้องจ่ายพลังงานให้ air pump ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง

.jpeg)
ทีมงานต้องผ่านการอบรมให้มีความรู้อย่างครอบคลุมทุกด้าน
ทำไมต้องมีฟาร์มปลาระบบ Biofloc?
1. ปลานิลในท้องตลาดปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากการเลี้ยงในกระชัง เช่น แม่น้ำโขง แต่ฟาร์มเหล่านี้มักประสบปัญหาปลาตายยกกระชังเพราะระดับน้ำเปลี่ยนกระทันหัน เนื่องจากมีการก่อสร้างเขื่อนพลังงานไฟฟ้าจำนวนมากทำให้การกักน้ำและปล่อยน้ำขึ้นอยู่กับธุรกิจการขายไฟฟ้ามากกว่าคำนึงถึงระบบนิเวศน์ดั้งเดิม
2. ปลานิลที่เลี้ยงในบ่อดินก็มักมีปัญหาพยาธิใบไม้ในตับ เพราะมีสัตว์เลือดอุ่น เช่น วัว ควาย และหอยน้ำจืด เป็นพาหะ (host) ประกอบกับชาวอีสานมีวัฒนธรรมกินปลาที่ไม่สุกเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งในท่อน้ำดีอันเกิดจากพยาธิ
3. บ่อดินก็มักเกิดปัญหาปลาติดโรค และตายยกบ่อเนื่องจากฝนตกหนักทำให้น้ำในบ่อเกิดภาวะ Turn over คือ น้ำฝนที่เย็นและหนักกว่าน้ำผิวบ่อทิ้งตัวลงไปกวนสารพิษที่สะสมอยู่ก้นบ่อให้ฟุ้งกระจายขึ้นมาเป็นพิษ
4. ระบบ Biofloc ใช้พื้นที่น้อย ใช้น้ำน้อย และไม่ต้องไปรบกวนที่สาธารณะอย่างอ่างเก็บน้ำ และแม่น้ำ ซึ่งอาจมีปัญหาทางสังคมและระบบนิเวศน์
Biofloc จึงเป็นทางเลือก "ตอบโจทย์" ของปัญหาเหล่านี้


.jpeg)
ปลานิล Biofloc เพิ่มมูลค่าได้จริงหรือ?
ปัจจุบันกระแสการบริโภคปลาดิบสไตล์ญี่ปุ่นในชื่อ Sushi กำลังมาแรงในหมู่ผู้บริโภคฐานะปานกลางและฐานะดี แต่ปลาเหล่านั้นต้องนำเข้า เช่น Salmon และปลาทะเลหลายชนิด ทำให้มีราคาสูงมาก และก็ไม่รับรองความปลอดภัยในเรื่องการปนเปื้อนระหว่างขนส่งระยะไกล และพยาธิที่เกิดในท้องทะเลซึ่งมีสัตว์เลือดอุ่น แมวน้ำ สิงห์โตทะเล พะยูน โลมา เป็นพาหะของวงจรพยาธิ
ผู้เขียนเคยเดินทางไปดูงานการเลี้ยงปลาแซลม่อนในกระชังขนาดยักษ์กลางทะเลที่เกาะ Tasmania ตอนใต้ของประเทศ Australia และได้เห็นสัตว์เลือดอุ่น เช่น แมวน้ำ และสิงห์โตทะเล จำนวนมากอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง สัตว์เหล่านี้เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนมนุษย์จึงสามารถเป็น host ของพยาธิที่ติดถึงคนได้ ดังนั้นการกิน sushi ปลาแซลม่อนดิบๆก็ไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่เราๆท่านๆเชื่อตามคำโฆษณา
ดังนั้น ปลานิลจากระบบ Biofloc จึงเป็นทางเลือกของผู้นิยม sushi เพราะมีความปลอดภัยมากกว่าปลาแซลม่อนจากทะเล
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
การดูงานกระชังปลาแซลม่อน ที่เกาะ Tasmania
.jpeg)
.jpeg)
การเลี้ยงปลาแซลม่อนในกระชังก็มีโอกาศติดพยาธิ
การกินปลาแซลม่อนก็ควรทำให้สุกเพื่อทำลายพยาธิ แต่ในความรู้สึกก็ไม่น่ากิน
ถ้ารู้ว่ามีพยาธิ
.jpeg)
ปลาแซลม่อนจากทะเลก็มีพยาธิเพราะวงจรชีวิตจากสัตว์เลือดอุ่น
สัตว์เลือดอุ่นจำนวนมากอาศัยอยู่ในทะเลไม่ห่างจากแหล่งเลี้ยงปลาแซลม่อน
ปลานิลจากระบบ Biofloc ปรุงเป็นเมนู Sushi ได้อย่างลงตัว และผู้บริโภคก็ยอมรับว่ามีรดชาดอร่อย ไม่มีกลิ่นคาว อีกทั้งเนื้อก็มีคุณภาพเข้าสะเปกเพราะน้ำในระบบ Biofloc เคลื่อนไหวตลอดเวลา ปลาจึงต้องว่ายทวนน้ำอย่างต่อเนื่องทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
Sushi ปลานิล Biofloc สวยงามและรดชาดสู้ปลาแซลม่อนราคาแพงๆได้สบาย

.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
เมนูปลานิล Biofloc อีกรูปแบบหนึ่ง

.jpeg)
.jpeg)
ผู้บริโภคสามารถดูข้อมูลจาก QR Code

.jpeg)

.jpeg)
ตัวอย่างข้อมูลใน QR Code
สรุป
ปลานิล Biofloc ไม่ใช่คู่แข่งของแม่ค้าตลาดสด แต่เข้าสู่ตลาดอีกระดับที่นิยมอาหาร Premium Grade เช่น fillet Steak Sushi และเป็นเมนู signature ของร้านอาหารชื่อดัง ที่สำคัญสามารถขายในราคาที่ลูกค้าจับต้องได้เพราะ made in Thailand


