Operation Transcontinental Vernal Equinox 2022
ปฏิบัติการ "วสันตวิษุวัตข้ามทวีป 2565"
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
.jpeg)
มนุษยชาติแม้จะต่างกันสิ้นเชิงในเรื่องเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม และอีกหลายอย่าง ...... แต่พอถึง "ดาราศาสตร์" บรรพชนทั่วโลกใช้ปรากฏการณ์เดียวกัน นั่นคือ "วิษุวัต" (equinox) สิ่งก่อสร้างของเขาเหล่านั้นแม้จะมีรูปร่างลักษณะต่างกัน ล้วนสะท้อนปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ "ในหลักการเดียวกัน"
ปฏิบัติการวสันตวิษุวัตข้ามทวีป เคยทำมาแล้วเมื่อ 19 - 21 มีนาคม 2559 ระหว่างปราสาทภูเพ็ก สกลนคร ประตูท่าแพ เชียงใหม่ ปราสาทนครวัด กัมพูชา และปิรามิด chichen Itza Mexico ครั้งนี้ 20 - 21 มีนาคม 2565 มาทำใหม่ระหว่างปราสาทภูเพ็ก สกลนคร ปราสาทบ้านปรางค์ โคราช ประตูท่าแพ เชียงใหม่ และสุริยะปฎิทินอินเดียแดงโบราณที่รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา (Ancient Solar Calendar at Cahokia Illinoins USA)
วสันตวิษุวัต คืออะไร?
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะเอียงประมาณ 23.5 องศาจากแนวดิ่ง ทำให้มุมตกกระทบของแสงอาทิตย์เปลี่ยนไปทุกวันยังผลให้อุณหภูมิที่ผิวโลกเปลี่ยนไปด้วยและเกิดเป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ 4 อย่าง
วสัตวิษุวัต (vernal equionox) กลางวันเท่ากับกลางคืนฤดูใบไม้ผลิ 20 - 21 มีนาคม
ครีษะมายัน (summer solstice) กลางวันยาวที่สุด ฤดูร้อน 21 - 22 มิถุนายน
ศารทวิษุวัต (autumnal equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืน ฤดูใบไม้ร่วง 22- 23 กันยายน
เหมายัน (winter solstice) กลางคืนยาวที่สุด ฤดูหนาว 21 - 22 ธันวาคม
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะมุมเอียงประมาณ 23.5 องศา จากแนวดิ่ง
ยังผลให้มุมตกกระทบของแสงอาทิตย์เปลี่ยนไปก่อให้เกิดปรากฏการณ์สำคัญ 4 ครั้ง
หรือฤดูกาล 4 อย่าง

วิถีการเคลื่อนตัวของดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ 4 ฤดู
อนึ่ง ดวงอาทิตย์ขึ้น ณ ทิศตะวันออกแท้ และตก ณ ทิศตะวันตกแท้
ในปรากฏการณ์ "วิษุวัต"
วสันตวิษุวัต (vernal equinox) แสงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลก
ณ เส้นศูนย์สูตร (equator) ทำให้กลางวันเท่ากับกลางคืน
.jpeg)
ทำความรู้จักกับ "สุริยะปฏิทินอินเดียแดงโบราณ" รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา (Cahokia Woodhenge, Illinois USA)
สุริยะปฏิทินคาโฮเกีย ตั้งอยู่ใกล้เมือง Collinville รัฐ Illinois สร้างขึ้นราวปี ค.ศ. 900 - 1100 โดยชนเผ่าอินเดียแดง เป็นเสาไม้หลายท่อนปักเป็นวงกลมห่างจากเนินดินขนาดใหญ่ชื่อ Monks Mound ซึ่งเป็นโบราณสถานของชาวพื้นเมืองวัฒนธรรมลุ่มน้ำมิสซิสซิปี้ ถูกค้นพบโดยบังเอิญเมื่อปี ค.ศ.1960 ขณะกำลังสำรวจออกแบบทางหลวงแผ่นดินระหว่างรัฐ นักโบราณคดีได้บูรณะสถานที่นี้ในปี ค.ศ.1980 และพบว่าแท่งเสาไม้ลักษณะวงกลมเหล่านี้สามารถชี้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์สำคัญ เช่น วิษุวัติ (equinox) และมายัน (solstice)

เนินดิน Monks Mound

.jpeg)
ป้ายอธิบายสุริยะปฏิทินคาโฮเกีย
สุริยะปฏิทินสองทวีป คาโฮเกีย สหรัฐอเมริกา กับ ขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก ประเทศไทย
สุริยะปฏิทินทั้งคู่แม้จะมีรูปร่างลักษณะต่างกันแต่ก็ใช้หลักการดาราศาสตร์เหมือนกัน สามารถระบุตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์สำคัญ คือ วิษุวัต (equinox) และมายัน (solstice) แสดงชัดเจนว่ามนุษยชาติทั่วโลกแมัจะต่างวัฒนธรรมต่างภาษา แต่เมื่อถึงดาราศาสตร์ทุกคนคิดเหมือนกันหมด

สุริยะปฏิทินขอมพันปี ปราสาทภูเพ็กสกลนคร กับสุริยะปฏิทินคาโฮเกีย ใช้หลักการดาราศาสรต์เดียวกัน
พบและสนทนากับนักโบราณคดีประจำพิพิธภัณฑ์คาโฮเกีย ชื่อ Bill Iseminger ถามท่านว่าทำไมมนุษยชาติทั่วโลกจึงคิดเหมือนกันในเรื่องปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ท่านไม่สามารถฟันธงได้ชัดๆว่าทำไม แต่อธิบายว่า "น่าจะเกิดจากการสังเกตตำแหน่งดวงอาทิตย์ที่มีผลต่อฤดูกาล" และเมื่อเห็นปรากฏการณ์ซ้ำๆกันทุกปีก็ได้ข้อสรุปว่านี่คือ "สุริยะปฏิทิน" และหาวัสดุอุปกรณ์มาสร้างสัญลักษณ์ให้สอดคล้องกับปรากฏการณ์ดังกล่าว
.jpeg)
ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์สำคัญของสุริยะปฏิทินคาโฮเกีย

ให้สัมภาษผู้สื่อข่าวทีวีท้องถิ่นของรัฐอิลลินอยส์

สุริยะปฏิทิน Cahokia แสดง sunset ในปรากฏการณ์ vernal equinox

สุริยะปฏิทินขอมพันปี แสดงดวงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณปรากฏการณ์ "วสันตวิษุวัต" (vernal equinox)
.jpeg)
.jpeg)
เชื่อว่าบรรพชนในยุคขอมเรืองอำนาจต้องเห็นปรากฏการณ์นี้

ผู้คนที่มีความเชื่อในพลังสุริยะมักจะมาที่นี่โดยไม่ต้องนัดหมายน
.jpeg)
สุริยะปฏิทินขอมพันปี ปราสาทภูเพ็ก สกลนคร แสดงตำแหน่งดวงอาทิตย์
ในปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์

สุริยะปฏิทินสองทวีปแสดงปรากฏการณ์รุ่งอรุณแห่ง "วสันตวิษุวัต"
ปรากฏการณ์ "วสัตวิษุวัต" กับประตูท่าแพ เชียงใหม่ และปราสาทปรางค์นคร อำเภอคง โคราช

ประตูท่าแพ เชียงใหม่ Cr: Pom Dararat

ดวงอาทิตย์ยามเช้าส่องแสงตรงช่องประตูปราสาทปรางค์นคร
Cr:อุ้มสี ธีรมา วิเสโส
สรุป
จากข้อมูลและภาพถ่ายเชิงประจักษ์ ยืนยันได้ว่ามนุษยชาติทั่วโลกแม้จะแตกต่างกันด้วยเผ่าพันธุ์ และวัฒนธรรม แต่เมื่อมาถึงเรื่องหลักการทางดาราศาสตร์เหมือนกันอย่างน่าอัศจรรย์ แม้ว่าสิ่งก่อสร้างเชิงสัญลักษณ์จะมีรูปร่างต่างกันแต่ก็สื่อความหมายเดียวกัน ........ ถ้าตั้งคำถาม ทำไมมนุษยชาติจึงคิดเหมือนกันในเรื่องปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ คำตอบของผมคือ ....... ต้องค้นคว้าต่อไป ครับ