Operation Rahu Episode XIII
How Far is the Moon
ปฏิบัติการราหูครั้งที่ 13
วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์
เป็นปฏิบัติการที่ผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างประวัติศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และตำนานแห่งความเชื่อ โดยใช้ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "จันทรุปราคา" เป็นอุปกรณ์ในการคำนวณด้วยสมการของบรรพชนกรีกโบราณเมื่อสองพันกว่าปีที่แล้วต่อยอดด้วยเทคโนโลยีดิจิต้อลในยุคปัจจุบัน
.jpg)
.jpg)
Operation Rahu ดำเนินการมาแล้ว 12 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 15 เมษายน 2557 ครั้งสุดท้ายวันที่ 21 มิถุนายน 2563
ปฏิบัติการดาราศาสตร์ข้ามทวีป...... วัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์ "จันทรุปราคา" 26 พฤษภาคม 2564
ระหว่างปราสาทนารายณ์เจงเวง สกลนคร กับเมือง Des Moines Iowa USA และ เมือง Woodland Texas USA โดยทีมงาน 3 คน ทำการถ่ายภาพ "ราหูอมจันทร์" เพราะสามารถมองเห็นปรากฏการณ์ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ช่วงหัวค่ำที่ประเทศไทย (พระจันทร์ขึ้น) และช่วงเช้าตรู่ที่สหรัฐอเมริกา (พระจันทร์ตก)
.jpg)
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันทั้งประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา จึงทำให้สามารถปฏิบัติการข้ามทวีปได้ง่าย

Team A สรรค์สนธิ บุณโยทยาน นักพิภพวิทยา ประจำการที่ปราสาทนารายณ์เจงเวง อำเภอเมือง สกลนคร ตั้งแต่เวลา 17:30 น.เป็นต้นไป

Team B Plapy Sue Hudson นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชาวอเมริกันเชื้อชาติไทย ประจำการที่เมือง Des Moines รัฐ Iowa สหรัฐอเมริกา เวลา 05:30 น.
.jpg)
Team C Nui Gornwiga Boonyothayan พยาบาลวิชาชีพชาวอเมริกันเชื้อชาติไทย ประจำการบนดาดฟ้าของโรงพยาบาล Herman Memorial เมือง Woodland รัฐ Texas สหรัฐอเมริกา บังเอิญน้องนุ้ยเข้าเวรดึกพอดีจึงใช้เวลาว่างจากการตรวจคนไข้เดินขึ้นไป stand by บนดาดฟ้า แต่โชคไม่อำนวยท้องฟ้าปิดสนิทเมฆหนาทึบมองไม่เห็นราหูอมจันทร์แม้แต่แวบเดียว
ที่มาและแนวคิดของปฏิบัติการราหู
คำถาม ทำไมต้องใช้ชื่อ "ปฏิบัติการราหู"
คำตอบ เพราะการวัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ ใช้ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "จันทรุปราคา" หรือที่คนไทยเรียกว่า "ราหูอมจันทร์" เป็นเครื่องมือในการคำนวณโดยใช้สมการโบราณของนักดาราศาสตร์ชาวกรีก Aristarchus เมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว มาถึงยุคปัจจุบัน สรรค์สนธิ บุณโยทยาน นักพิภพวิทยา พัฒนาต่อยอดสมการโบราณด้วยระบบ digital ทำให้สามารถวัดระยะทางได้ง่ายและแม่นยำยิ่งขึ้นโดยใช้ภาพถ่าย "ราหูอมจันทร์" ที่คมชัดเพียงภาพเดียว นำมา plot ใน application PowerPoint เพื่อหาสัดส่วนเชิงคณิตศาสตร์ระหว่าง เส้นผ่าศูนย์กลางดวงจันทร์ (diameter of Moon) กับเส้นผ่าศูนย์กลางเงามืดของโลก (diameter of Earth's umbra) และนำข้อมูลไปเข้าสมการของท่าน Aristarchus
.jpg)
แนวคิดและหลักการ
สองพันกว่าปีที่แล้วนักดาราศาสตร์ชาวกรีก Pythagoras 570 BC - 495 BC คิดค้นสูตรคณิตศาสตร์และเรขาคณิตที่เราๆท่านๆยังคงต้องเรียนอยู่ในหลักสูตรปัจจุบัน ต่อมานักดาราศาสตร์ชาวกรีก Eratosthenes 276 BC - 194 BC ใช้สูตรคณิศาสตร์และมุมดวงอาทิตย์ระหว่างเมือง Alexandria และเมือง Syene คำนวณขนาดเส้นรอบวงโลก ในช่วงเวลา 310 BC - 230 BC นักดาราศาสตร์ชาวกรีก Aristarchus ได้นำผลการวัดเส้นรอบวงโลกไปเป็นส่วนหนึ่งของสมการคณิตศาสตร์ในการวัดระยะทางจโลก - ดวงจันทร์
ท่าน Aristarchus ใช้วิธีหาสัดส่วนเชิงคณิตศาสตร์ระหว่าง "เส้นผ่าศูนย์กลางดวงจันทร์ กับเส้นผ่าศูนย์กลางเงามืดของโลก" ด้วยการนับเวลา Phase การเคลื่อนตัวของดวงจันทร์
1.ดวงจันทร์เริ่มแตะขอบเงามืด เรียกว่า Phase 1
2.เคลื่อนเข้าไปจนมิดดวง เรียกว่า Phase 2
3.นับเวลาตั้งแต่ดวงจันทร์ถูกบังจนมิด (Phase 2) ถึงดวงจันทร์โผล่พ้นออกมาจากเงามืดเต็บใบ เรียกว่า Phase 3
วิธีนับเวลาการเคลื่อนตัวของดวงจันทร์ในปรากฏการณ์ "จันทรุปราคา" สามารถนำไปสู่สัดส่วนเชิงคณิตศาสตร์ระหว่างขนาดดวงจันทร์กับขนาดเงามืดของโลก
.jpg)
ตามทฤษฏีของกรีกโบราณเงามืดของโลก (Earth's umbra) มีความยาว 108 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางโลก
.jpg)
Operation Eratosthenes 21 มีนาคม 2555 ได้ขนาดเส้นรอบวงโลก

สูตรการคำนวณเส้นรอบวงโลกของท่าน Eratosthenes นักดาราศาสตร์ชาวกรีกเมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว
นำสัดส่วนเชิงคณิตศาตร์ไปสร้างรูปสามเหลี่ยมคล้ายและแปลงเป็นสมการวัดระยะทาง โลก - ดวงจันทร์
แนวคิดของท่าน Aristarchus ถูกนำมาพัฒนาต่อยอดด้วยเทคโนโลยียุคปัจจุบันคือ "การถ่ายภาพด้วยระบบดิจิต้อลและนำภาพไป plot ในโปรแกรม PowerPoint เพื่อหาสัดส่วนเชิงคณิตศาสตร์ระหว่างขนาดดวงจันทร์กับขนาดเงามืดของโลก ลองมาพิจารณาข้อดีของ Operation Rahu เปรียบเทียบกับวิธีดั้งเดิมเมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว
1.มีความเที่ยงตรงมากขึ้นเพราะใช้กล้องถ่ายรูประบบ digital ที่มีความคมชัด บวกกับโปรแกรม การใช้ PowerPoint เข้าช่วยในการวัดสัดส่วน
2.ทำได้ทั้งปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง และจันทรุปราคาบางส่วน แต่วิธีการของ
ท่าน Aristarchus ทำได้เฉพาะปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงเท่านั้น
3.การนับเวลาการเคลื่อนตัวของดวงจันทร์เมื่อสองพันกว่าปีที่แล้วอาจคลาดเคลื่อนได้ง่ายเพราะใช้ วิธี "ตาดู หูฟัง" ไม่มีอุปกรณ์เข้าช่วย เช่น กว่าจะรู้ว่าดวงจันทร์เคลื่อนตัวเข้าไปแตะขอบเงาโลก เพื่อเริ่มนับหนึ่งก็ต้องรอให้เกิดรอยแหว่งนิดนึงเสียก่อน ขณะเดียวกันการจับเวลาด้วยนาฬิกา ทรายก็ไม่ใช่ของง่าย
อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ได้แนวคิดดั้งเดิมของท่าน Aristarchus ก็คงไม่เกิด Operation Rahu ในยุคปัจจบัน ยอมรับว่าการ "คิดริเริ่มยากกว่าการพัฒนาต่อยอดหลายเท่านัก" ต้องขอขอบพระคุณอย่างสูงต่อบรรพชนในอดีตทั้งสามท่าน Pythagoras Eratosthenes และ Aristarchus ที่ได้จุดประกายความคิดและแรงดลใจให้กับ Operation Rahu
สัดส่วนเชิงคณิตศาสตร์ระหว่าง เงามืดของโลกกับขนาดของดวงจันทร์ ใน Operation Rahu ยุคปัจจุบัน
.jpg)
สูตรการคำนวณระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ ของท่าน Aristarchus
สรุปผลปฏิบัติการราหู
จากภาพถ่าย "ราหูอมจันทร์" ที่เมือง Des Moines USA เช้าตรู่วันพุธที่ 26 พฤษภาคม กับภาพถ่ายที่ปราสาทนารายณ์เจงเวง หัวค่ำวันเดียวกัน นำมาประมวลด้วยโปรแกรม PowerPoint เพื่อหาสัดส่วนเชิงคณิตศาสตร์ระหว่าง "ขนาดดวงจันทร์ กับขนาดเงามืดของโลก" และเข้าสมการกรีกโบราณออกมาเป็นระยะทาง โลก - ดวงจันทร์
อนึ่ง ระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ โดยเฉลี่ยเท่ากับ 384,400 กิโลเมตร

Team A ปราสาทนารายณ์เจงเวง อำเภอเมืองสกลนคร
วันนี้ตรงกับ "วิสาขบูชา" จึงมีผู้คนมาประกอบกิจกรรมเวียนเทียนรอบองค์ปราสาทนารายณ์เจงเวง (พระธาตุนารายณ์เจงเวง) ทีมงานต้องรอให้เห็นดวงจันทร์โผล่ขึ้นพ้นของฟ้าทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ราวเวลาทุ่มกว่าๆจึงได้ภาพถ่ายราหูอมจันทร์
ศาสตร์แห่งความเชื่อกับราหูอมจันทร์
แม้ว่าปฏิบัติการครั้งนี้เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์แต่ทีมงานก็ไม่ละเลยศาสตร์แห่งความเชื่อเพื่อความสบายใจของทีมงานทุกคน งานนี้คงหนีไม่พ้นท่านฤาษีเอก อมตะ รับหน้าที่เป็นเจ้าพิธีที่ปราสาทนารายณ์เจงเวงเพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายตามที่อาจารย์ซินแสต้อม หรืออาจารย์สุทธิธรรม พากเพียร เจ้าของเพจดูดวงโหราศาสตร์ไทยระบบรังสีดาว ได้ให้คำแนะนำว่า ไม่ควรไปกลางที่โล่งแจ้งเพราะเกิดจัทรคราสอาจดวงซวยเอาได้ จึงแนะนำให้สวดมนต์ ทำสมาธิ
คำแนะนำของอาจารย์สุทธิธรรม พากเพียร เจ้าของเพจดูดวงโหราศาสตร์ไทยระบบรังสีดาว
.jpg)
ฤาษีเอก อมตะ ทำพิธีเพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย
.jpg)
บรรยากาศกำทำพิธีปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายในปรากฏการณ์ราหูอมจันทร์

การเวียนเทียนเนื่องใน "วิสาขบูชา" รอบองค์ปราสาทนารายณ์เจงเวง
ทัศนียภาพยามหัวค่ำของปราสาทนารายณ์เจงเวง
.jpg)
Team A กำลังถ่ายภาพราหูอมจันทร์
ดวงจันทร์ขึ้นพ้นขอบฟ้าที่ทิศตะวันออกเฉียงใต้

ผลการคำนวณระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ จากภาพถ่ายของ Team A
Team B เมือง Des Moines Iowa State USA
ปฏิบัติการโดย Plapy Sue Hudson นักธุรกิจอเมริกันเชื้อชาติไทย ต้องรีบตื่นตั้งแต่ตีสี่ครึ่งเพื่อจับภาพราหูอมจันทร์ยามเช้าตรู่ทางทิศตะวันตก
.jpg)
ทัศนียภาพยามเช้าตรู่ที่เมือง Des Moines Iowa

Team B กำลังปฏิบัติการ
.jpg)
ภาพ close up ราหูอมจันทร์
ราหูกำลังอมจันทร์ก่อนที่จะลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก

ผลการคำนวณจากภาพถ่ายเมือง Des Moines Iowa State
Team C โดย Nui Gornwiga Boonyothayan พยาบาลวิชาชีพประจำโรงพยาบาล Herman Memorial Texas USA
ท้องฟ้าเช้าตรู่ของเมือง Woodland Texas มืดสนิทเพราะเมฆหนาทึบมองไม่เห็นราหู เผอิญวันนั้นน้อง Nui เข้าเวรกลางคืนพอดีใช้เวลาช่วงพักจากการตรวจคนไข้เดินขึ้นไปบนดาดฟ้าของโรงพยาบาล
.jpg)
Operation Rahu XIII Plus, Earth - Sun ?
ตามหลักดาราศาสตร์ "จันทรุปราคา" กับ "สุริยุปราคา" จะเกิดในช่วงเวลาไล่เรี่ยกัน ดังนั้น จันทรุปราคา 26 พฤษภาคม 2564 จะตามมาด้วยสุริยุปราคา (Solar Eclipse) 10 มิถุนายน 2564 แต่คนละสถานที่กัน ในที่นี้สามารถมองเห็นเวลาเช้าตรู่ในพื้นที่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา เข่น กรุงวอชิงตัน ดีซี และมหานครนิวยอร์ก เป็นต้น แต่ที่รัฐ Iowa มองไม่เห็นเพราะอยู่นอกเขต Team B ที่เมือง Des Moines จึงไม่สามารถเก็บภาพ ต้องขอยืมภาพถ่ายขององค์การ NASA มาใช้งาน ........ วัดระยะทาง โลก - ดวงอาทิตย์ โดยใช้สูตรคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า Theory of Angular Diameter หรือทฤษฏี "เส้นผมบังภูเขา ที่มีสัดส่วนประมาณ 1:400
ผลการคำนวณพบว่า ระยะทาง โลก - ดวงอาทิตย์ เท่ากับ 154,399,200 กิโลเมตร คลาดเคลื่อนประมาณ 3.2% จากระยะทางตามข้อมูล Wikipedia 149,597,870 กิโลเมตร
ปรากฏการณ์ "สุริยุปราคา" เกิดเวลาเช้าตรู่วันที่ 10 มิถุนายน 2564 มองเห็นในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา เช่นที่กรุงวอชิงตัน ดีซี แต่ที่เมือง Des Moines รัฐ Iowa มองไม่เห็นเพราะอยู่นอกพื้นที่ของปรากฏการณ์
.jpg)
ภาพถ่าย "ราหูอมสุริยะ" (Solar Eclipse) ที่มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีอนุเสาวรีย์เทพีสันติภาพเป็น foreground เปรียบเทียบกับภาพจำลอง (simulation) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ The Starry Night Pro Plus

ใช้โปรแกรม PowerPoint สร้าง Simulation เพื่อหาขนาดของดวงจันทร์ขณะที่กำลังบดบังดวงอาทิตย์
ขนาดของดวงจันทร์ที่สร้างด้วยโปรแกรม PowerPoint สวมทับดวงอาทิตย์ได้อย่างพอดี แสดงว่าระยะห่างระหว่าง โลก - ดวงจันทร์ - ดวงอาทิตย์ เข้าทางปืนทฤษฏี Angular Diameter ในอัตราส่วน 1:400
.jpg)
วัดระยะทาง โลก - ดวงอาทิตย์ ด้วยทฤษฏี Angular Diameter โดยเอาผลของ Operation Rahu Episode XIII คูณด้วย 400
.jpg)
อนึ่ง คนไทยกับคนอเมริกันมองเห็นราหูคนละมุมกันเพราะอยู่คนละซีกโลก
สรุป
Operation Rahu Episode XIII พัฒนาต่อยอดมาจากองค์ความรู้ของนักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ชาวกรีกโบราณเมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว สามารถแสดงผลระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ และ โลก - ดวงอาทิตย์ ด้วยภาพถ่ายเพียงใบเดียว ขอขอบคุณท่าน Pythagoras ท่าน Eratosthenes และท่าน Aristarchus เป็นอย่างสูงที่สร้างแรงดลใจให้เกิดปฏิบัติการราหูทั้ง 13 ครั้ง