โครงการทดลองปลูกข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อย 2562 (2019)
.jpg)
โครงการร่วมมือระหว่างสาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กับสโมสรโรตารี่สกลนคร โรตารี่สากล ภาค 3340
โจทย์ ถ้าวันหนึ่งข้างหน้าต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำ เราๆท่านๆจะปลูกข้าวหอมมะลิใช้น้ำน้อยแต่ ให้ผลผลิตเท่าเดิมกับที่ปลูกทั่วๆไปในภาคอีสาน ได้หรือไม่?
สาระสำคัญของการทดลอง
1.ใช้พันธ์ุข้าวหอมมะลิ 105
2.ใช้น้ำชลประทานประมาณ 700 มม. เสริมกับน้ำฝน (supplemental irrigation)
3.ประมาณการผลผลิตเท่ากับข้าวหอมมะลิทั่วไปของภาคอีสาน 350 - 450 กก./ไร่
4.ดำเนินการโดยนักศึกษาสาขาวิชาพืชศาสตร์ชั้นปีที่ 3 จำนวน 2 คน ชื่อเล่น ปาเกียว และวิทย์
5.เริ่มเพาะกล้า วันที่ 1 สิงหาคม 2562 ปักดำ 29 สิงหาคม 2562 และเก็บเกี่ยว 21 พฤศจิกายน 2562
รวมอายุ 113 วัน
6.ใช้ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยอินทรีย์เท่านั้น
7.ควบคุมวัชพืชด้วยการเตรียมดินที่ดีและใช้น้ำขังในแปลงประมาณ 7-10 วัน
ขั้นตอนการเพาะปลูก
1.ปลูกปอเทือง (Sunn Hemp) เพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด

2.เพาะกล้าตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2562 (วันที่เมล็ดเริ่มงอก)


เพาะกล้าตั้งแต่วันที่ 1 - 29 สิงหาคม 2562
3.เตรียมดิน 27 - 28 สิงหาคม 2562

ใส่ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขุน)

เตรียมดินอย่างละเอียดเพื่อกำจัดวัชพืช
4.ดำนาด้วยกล้าต้นเดียว 29 สิงหาคม 2562

ถอนกล้า

ปักดำด้วยกล้าต้นเดียว 25 cm x 25 cm เพื่อทดสอบการประสิทธิภาพแตกกอ
5.ควบคุมวัชพืชด้วยการปล่อยน้ำขังประมาณ 10 วัน ระหว่าง 29 สิงหาคม - 7 กันยายน 2562

น้ำทำหน้าที่สารควบคุมวัชพืช

ใช้น้ำเป็นตัวกดดันวัชพืช
6.ลดการให้น้ำ เพียงรักษาความชื้นในลักษณะไม่มีน้ำขัง (Aerobic Condition) ช่วงนี้ใช้น้ำโดยเฉลี่ยวันละ 6 มม. และช่วยไม่ให้มีการปล่อยก๊าซมีเทนอันเนื่องจากสภาพน้ำขังเป็นเวลานาน (anaerobic condition)



7.ระยะตั้งท้อง ออกดอก และติดรวง
.jpg)
ระยะตั้งท้องเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2562 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ศารทวิษุวัต" (Autumnal equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืนในฤดูใบไม้ร่วง
.jpg)
ระยะออกดอกเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2562 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ราศีแมงป่อง (Zodiac Scorpio)

ระยะติดรวง

พร้อมเก็บเกี่ยว 21 พฤศจิกายน 2562
8.สุ่มตัวอย่างผลผลิต ตรวจ % เมล็ดเสีย ตรวจ % ความชื้น


สุ่มตัวอย่างผลผลิต

ตรวจสอบ % เมล็ดเสีย

ตรวจความชื้นโดยขอความอนุเคราะห์จาก ผอ.ศูนย์วิจัยข้่าวสกลนคร
9.ประเมินผลผลิต โดยการคัด % เมล็ดเสีย (เมล็ดลีบ) จากโรคไหม้คอรวง (Rice Blast Disease) และหักความชื้นให้เข้าสู่มาตรฐาน 15%

สูตรคำนวณผลผลิตที่ความชื้นมาตรฐาน

การประเมินผลผลิต ด้วยการหักเมล็ดเสีย หักความชื้นให้ได้มาตรฐาน ณ 15%
สรุป
1.เนื่องจากมีการระบาดของโรค "ไหม้คอรวง" (Rice Blast) ทำให้ผลผลิตส่วนหนึ่งเสียหายระหว่าง 26 - 30% ทำให้ได้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 441 กก./ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่ำสุด 328 กก./ไร่ (หากไม่มีโรคไหม้คอรวงระบาดน่าจะได้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 596 กก./ไร่ และผลผลิตเฉลี่ยต่ำสุด 548 กก./ไร่)
2.เป็นที่น่าสังเกตว่าปี 2562 มีปรากฏการณ์ฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายน และตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป็นต้นไป (มีพายุโซนร้อนชื่อ "โพดุล" เข้ามาในเดือนสิงหาคม ทำให้มีปริมามนน้ำฝนมากถึง 411 มม. ขณะที่ค่าเฉลี่ยรอบ 30 ปี อยู่ที่ 357 มม.)

เปรียบเทียบสถิติปริมาณน้ำฝนระหว่างปี 2562 (สีส้ม) กับค่าเฉลี่ย 30 ปี (สีเขียว) ของอำเภอเมืองสกลนคร

ข้อมูลปริมาณน้ำฝนจากสถานีอุตุนิยมวิทยาสกลนคร เปรียบเทียบระหว่าง ค่าเฉลี่ย 30 ปี (สีแดง) ปี 2561 (สีเขียว) และปี 2562 (สีเหลือง)
3.ประมาณการให้น้ำชลประทานเสริมน้ำฝน (supplemental Irrigation) ในช่วงการเพาะปลูกระหว่าง 29 สิงหาคม - 11 พศจิกายน 2562 รวมทั้งหมด 710 มม.

ประมาณการน้ำชลประทานที่ใช้ตลอดช่วงการเพาะปลูก 113 วัน เท่ากับ 710 มม.
4.การจัดช่วงเวลาเพาะปลูกให้ข้างหอมมะลิเหลืออายุเพียง 113 วัน ทำให้ลำต้นเตี้ยลงและไม่มีปัญหา "ข้าวล้ม" เมื่อเปรียบเทียบกับการทดลองเมื่อปี 2559 (2016)
.jpg)
เปรียบเทียบระหว่างข้าวหอมมะลิปี 2016 กับ ปี 2019
เหตุผลที่ใช้น้ำน้อย
1.เนื่องจากข้าวหอมมะลิเป็นพันธ์ุที่ไวต่อช่วงแสง (photosensitive variety) จะตั้งท้อง (booting) ได้ก็ต่อเมื่อถึงช่วงปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่เรียกว่า "ศารทวิษุวัต" (autumnal equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืนในฤดูใบไม้ร่วง จึงสามารถที่จะกำหนดให้มีอายุสั้นลงเหลือเพียง 113 วัน โดยเริ่มต้นเพาะเมล็ดให้งอกในวันที่ 1 สิงหาคม 2562 และเก็บเกี่ยววันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 ทำให้มีช่วงการให้น้ำชลประทานน้อยลงกว่าข้าวหอมมะลิทั่วไปที่เริ่มอายุตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนซึ่งมีอายุ 150 วัน
2.เมื่อกำจัดวัชพืชหมดแล้ว ให้ชลประทานน้ำเพียง 50 มม. ทุกๆ 8 - 10 วัน โดยไม่ต้องให้มีน้ำขังตลอดเวลา เฉลี่ยแล้วตกวันละ 5 - 6 มม.
3.เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก "มีเทน" จากสภาพน้ำขังเป็นเวลานาน ก๊าซชนิดนี้คือหนึ่งในบรรดาต้นเหตุการก่อปัญหาโลกร้อน
.jpg)
ข้าวหอมมะลิเป็นพันธ์ุไวต่อช่วงแสงจะตั้งท้องได้ก็ต่อเมื่อถึงช่วงปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ "ศารทวิษุวัต" (autumnal equinox) 23 กันยายน
.jpg)
ตารางการปลูกข้าวหอมมะลิทั่วไปในภาคอีสาน มีอายุราว 150 วัน
ขอบคุณ คณะอาจารย์สาขาพืชศาสตร์ทั้งสามท่าน อจ.กุ้ง อจ.สมชาย และ อจ.นัท ที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการอย่างแข็งขัน
ขอบคุณน้องๆนักศึกษาวิชาพืชศาสตร์ชั้นปีที่สาม คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร คือ "ปาเกียว และวิทย์" ซึ่งให้ความเอาใจใส่ ลงมือ ลงแรง อย่างจริงจัง

อาจารย์กุ้ง อาจารย์นัท และอาจารย์สมชาย สามแรงแข็งขันของสาขาพืชศาสตร์

น้องวิทย์และน้องปาเกียว นักศึกษาพืชศาสตร์ปี 3