อะไรจะเกิดขึ้นถ้าแม่น้ำโขงต้องเผชิญกับสภาพไร้ตะกอน ในยุคที่มนุษย์เอาแต่ได้อย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงธรรมชาติ ธันวาคม 2562 เกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนที่จังหวัดนครพนม "แม่น้ำโขงเปลี่ยนสี"

ภาพข่าวจากสื่อมวลชน

ภาพถ่ายจากเพื่อนที่ไปเที่ยวนครพนม
ประสบการณ์จากการเป็นที่ปรึกษาโครงการฟื้นฟูแม่น้ำสินธุ โดย USAID

เป็นที่ปรึกษาในโครงการฟื้นฟูแม่น้ำสินธุ ประเทศปากีสถาน ปี 2528 - 29

แผนที่แสดงแม่น้ำสินธุ ประเทศปากีสถาน
ธรรมชาติของแม่น้ำจะกัดเซาะตะกอนจากภูเขาต้นน้ำและลำเลียงไปตกตะกอนที่ปากแม่น้ำริมทะเล

เขื่อนเป็นตัวดักตะกอนทำให้น้ำที่ผ่านออกมามีสภาพ "ไร้ตะกอน" (Hungry River) จะเกิดการกัดเซาะอย่างหนักต่อตลิ่งและท้องน้ำ



นางฮิลลารี่ คลินตั้น เมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมประชุมผู้นำประเทศลุ่มน้ำโขงที่กัมพูชา เมื่อปี 2555 เตือนให้ระวังบทเรียนจากแม่น้ำมิซซีสซิปี้ นายกรัฐมนตรีไทยก็อยู่ในที่ประชุมด้วย





แม่น้ำโขงปัจจุบันตกอยู่ในสภาพ "แม่น้ำหิวโหย"

เปรียบเทียบภาพถ่ายแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย กับภาพถ่ายวันเดียวกันที่ จ.นครพนม สีของแม่น้ำโขงต่างกันอย่างชัดเจน แสดงว่าเขื่อนไซยะบุรีต้องเป็นต้นเหตุ

ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันไกล้คือ "สัตว์น้ำชนิดต่างๆจะหายไป" ผู้คน 60 ล้านจะขาดอาหารโปรตีน เคยบรรยายเรื่องนี้เมื่อปี 2013 ในนามของโครงการ Mekong Water Dialouge IUCN




ประเทศในยุโรปและอเมริกาประสบปัญหา "แม่น้ำหิวโหย" มานานแล้ว พวกเขาต้องแก้ปลายเหตุแบบกำปั้นทุบดินด้วยการขนหินกรวดไปเทลงท้ายเขื่อนอย่างต่อเนื่อง

.jpg)







ข้อเสนอทางแก้ไขของแม่น้ำโขงคือเปิดช่องระบายตะกอนที่ใต้เขื่อน ควบคุมด้วยเซ็นเซ่อร์ที่ติดตั้งไว้บริเวณ down stream เพื่อวัดความหนาแน่นของตะกอนว่าเพียงพอต่อการรักษาระบบนิเวศน์หรือไม่ หากตะกอนน้อยเกินไปจะส่งสัญญาณให้เปิดช่องระบายตะกอนมากขึ้น ระบบนี้ผมตั้งชื่อว่า Automatic River Sediment Regulator (ARISR) ออกเสียงว่า อาริซ่า
