ปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 วัดระยะทาง โลก - ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง
Opration Rahu Episode X How Far is the Sun?
วันที่ 2 กรกฏาคม 2562 เกิดปรากฏการณ์ "สุริยุปราคาเต็มดวง" (Total Solar Eclipse) ในทวีปอเมริกาใต้ มองเห็นได้ชัดเจนที่ประเทศอาเจนติน่า และชิลี ปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 ใช้ภาพถ่ายชัดๆของ "ราหูอมตะวัน" เพียงรูปเดียว สามารถคำนวณระยะทางระหว่างโลก - ดวงอาทิตย์ ด้วยสูตรคณิศาสตร์ของกรีกโบราณได้ภาพในไม่กี่นาที

ที่มาของปฏิบัติการราหู
เป็นปฏิบัติการทางดาราศาสตร์ที่ใช้ปรากฏการณ์ "จันทรุปราคา" และ "สุริยะปราคา" ในการคำนวณระยะทางจากโลก - ดวงจันทร์ และ โลก - ดวงอาทิตย์ ด้วยสมการคณิตศาสตร์ประยุกต์มาจากสูตรของกรีกโบราณเมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว ชื่อของปฏิบัติการราหู มาจากเรื่องราวของฮินดูโบราณที่กล่าวถึงพิธีกวนน้ำอมฤตและมีอสูรชื่อ "ราหู" มาแย่งน้ำอมฤตไปดื่มคนเดียว ร้อนถึงพระวิษณุต้องจัดการขั้นเด็ดขาดด้วยการใช้กงจักรตัดหัวอสูรตนนี้ ท่านที่สนใจรายละเอียดสามารถอ่านได้จากเว้ปไซด์เดียวกันนี้
ปฏิบัติการราหู (Operation Rahu) ดำเนินการแล้ว 9 ครั้ง แบ่งออกเป็นการคำนวณระยะทางโลก - ดวงจันทร์ 7 ครั้ง โลก - ดวงอาทิตย์ 2 ครั้ง และคราวนี้เป็นครั้งที่ 10
ปรากฏการณ์ "สุริยุปราคาเต็มดวง" ที่ทวีปอเมริกาใต้
วันที่ 2 กรกฏาคม 2562 ช่วงบ่ายแก่ๆของประเทศอาเจนติน่าและประเทศชิลี มีปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง
.jpg)
สุริยุปราคราเต็มดวงมองเห็นที่กรุง Buenos Aires Argentina วันที่ 2 July 2019 Local time 13:55
.jpg)
โปรแกรม Starry Night แสดงภาพการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงในราศี Gemini
.jpg)
เป็นการโปรโมทการท่องเที่ยวอย่างหนึ่ง
ขั้นตอนและวิธีการคำนวณระยะทาง โลก - ดวงอาทิตย์
เริ่มต้นจากปฏิบัติการอีราโต้สทีเนส (Operation Eratosthenes) วัดเส้นรอบวงโลกและเส้นผ่าศูนย์กลางโลก นำข้อมูลนี้ไปคำนวณระยะทางระหว่างโลก - ดวงจันทร์ ในปรากฏการณ์ "ราหูอมจันทร์" และเมื่อเกิดปรากฏการณ์ "ราหูอมตะวัน" ก็นำข้อมูลไปเข้าสมการ Angular Diameter จะได้ระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์

แสดงขั้นตอนปฏิบัติการ Operation Rahu Episode X
1.อ้างอิงผลการคำนวณเส้นรอบวงโลกจาก "ปฏิบัติการอีราโต้สทีเน้ส" (Operation Eratosthenes) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 ได้ข้อมูล เส้นรอบวงโลกเท่ากับ 38,451 Km และเส้นผ่าศูนย์กลาง 12,234 Km
Operation Eratosthenes 21 Marc 2012 เส้นรอบวงโลก 38,451 Km และเส้นผ่าศูนย์กลาง 12,234 Km
2.อ้างอิงผลจากปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 8 (Operation Rahu IX) ได้ค่าระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ 363,356 Km

Operation Rahu IX 28 July 2018

Operation Rahu IX ได้ข้อมูลระยะทาง โลก - ดวงจันทร์ 386,619 Km และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของดวงจันทร์ 3,579 Km

เปรียบเทียบวิธีการคำนวณระยะทางโลก - ดวงจันทร์ ระหว่างต้นฉบับของท่าน Aristarchus of Samos กับโปรแกรมการคำนวณด้วยระบบ Digital กับภาพถ่ายปรากฏการณ์จันทรุปราคา
3.Operation Rahu X วันที่ 2 กรกฏาคม 2562 ใช้ภาพถ่ายปรากฏการณ์ "สุริยุปราคาเต็มดวง" (Total Solar Eclipse) จาก Space.com by Hanneke Weitering (Many Thanks for your nice photos of Solar Eclipse) นำมาสร้างภาพเชิงซ้อนเพื่อยืนยันว่าดวงจันทร์สามารถบังดวงอาทิตย์ได้สนิทเมื่อมองจากโลก ด้วยทฤษฏีเรขาคณิตที่เรียกว่า Angular Diameter หมายถึง "ภาพดวงจันทร์ในระยะทางที่มองจากโลกมีขนาดเท่ากับภาพของดวงอาทิตย์อย่างพอดี" ดังนั้นระยะทางจากโลก - ดวงอาทิตย์ จะเท่ากับ 400 x ระยะทางโลก - ดวงจันทร์ ขณะเดียวกันขนาดของดวงอาทิตย์ก็จะเท่ากับ 400 x เส้นผ่าศูนย์กลางดวงจันทร์ อนึ่งทฤษฏีนี้อาจเปรียบเปรยได้กับวลีไทยโบราณ "เส้นผมบังภูเขา"

ภาพถ่ายต้นฉบับของปรากฏการณ์ "สุริยุปราคาเต็มดวง" จากเว้ปไซด์ Space.com by Henneke Weitering
.jpg)
นำภาพจากปรากฏการณ์สุริยุปราคาจาก Internet มาสร้างภาพเชิงซ้อนเพื่อยืนยันว่าภาพของดวงจันทร์มีขนาดเท่ากับดวงอาทิตย์อย่างพอดี (Cr.from website Space.com by Hanneke Weitering)
.jpg)
อีกภาพหนึ่งของปรากฏการณ์สุริยุปราครากับการสร้างภาพเชิงซ้อน สังเกตว่าขนาดของดวงจันทร์สามารถสวมเข้าได้พอดีกับรอยแหว่งของดวงอาทิตย์

ทฤษฏี Angular Diameter หรือเรียกง่ายๆว่า "เส้นผมบังภูเขา"

ผลการคำนวณระยะทางและขนาดของดวงอาทิตย์
สรุป
ผลของปฏิบัติการราหู ครั้งที่ 10 (Operation Rahu X)
1.ระยะทางโลก - ดวงอาทิตย์ เท่ากับ 154,647,600 Km Error 1.4% เมื่อเปรียบเทียบกับโปรแกรมดาราศาสตร์ The Starry Night
2.ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดวงอาทิตย์ 1,431,600 Km
ท่านที่สนใจเชิญพบกับ Operation Rahu Episode XI......... How Far is The Sun วันที่ 26 Dec 2019 ณ ปราสาทภูเพ็ก บนยอดภูเขา +520 m บ้านภูเพ็ก ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
